TECHNOLOGY TREND

OceanOne หุ่นยนต์นักล่าขุมทรัพย์ใต้สมุทร

 

          ทีมนักวิจัยของ Standford University ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่เลียนแบบร่างกายมนุษย์ (anthropomorphic bot) สำหรับภาระกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่มนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ หุ่นยนต์ตัวที่ว่านี้มีชื่อว่า OceanOne โดยภารกิจแรกของ OceanOne คือการดำสำรวจ La Lune เรือเดินสมุทรโบราณอายุ 350 ปี ที่อัปปางอยู่ทางตอนใต้ของผรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1664 โดยการสำรวจในครั้งนี้ ทำให้ทีมนักวิจัยค้นพบสิ่งของมีค่าและข้าวของเครื่องใช้โบราณในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ถูกบรรทุกมาในเรือโบราณลำนี้ด้วย

 

          OceanOne ถูกพัฒนาขึ้นที่ห้องวิจัยของ ศจ. เอาซามา คาทีบ (Prof. Oussama Khatib) ใน Standford University โดยโครงสร้างของ OceanOne ประกอบด้วยส่วนแขนสองข้าง และส่วนหางใบพัดซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และจอยสติกเป็นส่วนควบคุมการทำงาน หุ่นยนต์จะส่งภาพวิดีโอฟุตเทจ (video footage) จากกล้องถ่ายวิดีโอแบบ stereoscopic cameras และมีระบบโต้ตอบการสัมผัส (Haptic feedback) ที่ช่วยส่งแรงตอบสนองต่างๆ จากการสัมผัสกลับมายังผู้ขับหุ่นยนต์ จึงทำให้ผู้ขับสามารถรับรู้การสัมผัสที่เกิดขึ้นอย่างคร่าวๆ ได้ และช่วยให้ผู้ขับรู้สึกเหมือนกับได้ดำลงไปอยู่ในเหตุการณ์ตรงจุดที่ปฏิบัติภารกิจอยู่จริงๆ

 

 

          การทำงานของ OceanOne เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ ในการระหว่างภารกิจ หุ่นยนต์จะเคลื่อนไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้บนแผนที่ โดยจะควบคุมตัวมันเองให้คงตำแหน่งจากการจับทิศทางของกระแสน้ำแล้วควบคุมการขับเคลื่อนที่ผ่านทางใบพัดหางเพื่อเป็นการชดเชย และสามารถจะหลบหลีกสิ่งกีดขวางใต้น้ำได้อย่างอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันผู้ขับหุ่นยนต์ก็สามารถเข้าควบคุมการทำงานทั้งหมดด้วยมือแทนได้ในทันทีที่ต้องการเช่นกัน

 

          รูปแบบของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และหุ่นยนต์ในลักษณะที่ว่านี้ มีประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับภารกิจสำคัญๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ทำงานด้วยตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การซ่อมนิวเคลียร์รีแอคเตอร์ (nuclear reactor) ที่ได้รับความเสียหายในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ในการแข่งขัน (contest) ที่จัดขึ้นโดย DARPA เมื่อปีก่อน ภายใต้สถานการณ์จำลองในรูปแบบต่างๆ ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการยากเพียงไร ในการต้องปฏิบัติภารกิจที่มีความซับซ้อนจากระยะไกล โดยเฉพาะอย่างๆ ยิ่งในสภาพที่การช่องทางสื่อสารที่มีอย่างจำกัด ซึ่งสภาพการทำงานใต้น้ำก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ต่างกัน

 

          OceanOne สามารถทนต่อสภาพแรงกดดันใต้น้ำในระดับที่มนุษย์ไม่สามารถจะทนได้ และสามารถช่วยให้ภารกิจที่มีอันตรายทำได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น นั่นทำให้ในอนาคตยังมีงานอีกมากที่ OceanOne สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การซ่อมแซมท่อขุดเจาะน้ำมัน การซ่อมแซมสายเคเบิ้ลใต้น้ำ เป็นต้น

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด