News Print

ฟอร์ติเน็ตเตือน Ransomware จ้องเล่นงานกลุ่มธุรกิจการผลิต

 

นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้อำนวยการขาย แห่งภูมิภาคอินโดจีน (ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชาและเวียตนาม) แห่งฟอร์ติเน็ต

 

          Ransomware (ไวรัสเรียกค่าไถ่) เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่เมื่อติดไวรัสอันตรายชนิดนี้แล้ว จะเรียกร้องให้จ่ายเงิน ทุกท่านอาจเคยได้ยินข่าวมาแล้วว่า Ransomware ได้เคยปิดระบบของธุรกิจดูแลสุขภาพใหญ่หลายแห่งในปีที่แล้ว และยังคงมีองค์กรต่างๆ จ่ายเงินค่าไถ่จำนวนสูง เพื่อให้ปลดล็อคไวรัสร้ายออกจากระบบของตน ผลจากการวิจัยของฟอร์ติเน็ตเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา พบว่า องค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตกำลังจะตกเป็นเหยื่อของไวรัสร้ายนี้

           

          นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้อำนวยการขาย แห่งภูมิภาคอินโดจีน (ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชาและเวียตนาม) แห่งฟอร์ติเน็ต ได้ให้ความเห็นว่า “องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคที่ใช้ระบบดิจิตอลเป็นกลไกผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว  จึงอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน  และการทำ Cyber Threat Assessment นั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ครบครันจึงจะสามารถเห็นช่องโหว่ที่องค์กรมีอยู่ ประเภทและจำนวนภัยคุกคามที่เข้ามา และจะทราบถึงวิธีป้องกันภัยต่างๆ เหล่านั้นได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ฟอร์ติเน็ตมีความพร้อมที่จะให้คำปรึกษาแก่องค์กรในทุกอุตสาหกรรมและจะช่วยธุรกิจท่านก้าวหน้าโดยใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

           

          โดยระหว่างเดือนตุลาคม ปีคศ. 2015 ถึงเมษายนปีนี้ ฟอร์ติเน็ตได้รวบรวมทราฟฟิคจากผู้ประกอบการด้านการผลิตขนาดกลาง 59 รายใน 9 ประเทศในอเมริกา เอเชียแปซิฟิค และภูมิภาคยูโรเมดิเตอร์เรเนียน พบการคุกคามความพยายามคุกคามมากถึง 8.63 ล้านครั้ง ที่ตั้งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ซึง 78% ในจำนวนนั้นตั้งเป้าไปที่ผู้ประกอบการด้านการผลิตที่มีพนักงานมากกว่า 1000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก

           

          นอกจากนี้ การวิจัยยังพบการกลายตัวเป็นเจเนอเรชั่นใหม่ของไวรัสนี้ที่พัฒนาด้านการทำลายตัวเองได้ 

           

          ทำไมภัยตั้งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต? ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตใช้ระบบออโตเมติคมากขึ้น และใช้นโยบาย  Just-in-time inventory มากขึ้น ซึ่งหมายถึง ถ้าหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้กระบวนการ J-I-Tหยุดชะงักลงเกิดขึ้น จะทำให้ เกิดผลเสียกับธุรกิจอย่างมากมายแน่นอน

           

          ในขณะที่ ภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่มุ่งไปที่อุตสาหกรรมการผลิตนั้นอาจจะมองว่าเป็นเพียงมัลแวร์และสายพันธุ์ทั่วไป แต่ฟอร์ติเน็ตพบข้อมูลเชิงลึกว่า มัลแวร์จำนวน 29% นั้นเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโทรจันชื่อ Nemucod ซึ่งน่าสนใจตรงที่ หลายเดือนที่ผ่านมา Nemucod ได้หลุดออกจากท้อป 10 ของภัยคุกคามในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิต

           

          Nemucod เป็นโทรจันเกิดมานานแล้ว เดิมมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลด้านการเงิน เช่น ข้อมูลการล็อคอินของลูกค้าธนาคาร ทำงานโดยปลอมเป็นไฟล์แนบในอีเมล์ ซึ่งเมื่อเหยื่อคลิ๊กบนไฟล์ จะดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องทันที

           

          เราแปลกใจที่พบสายพันธุ์อง Nemucod จำนวน 4 ประเภทติดอันดับท้อป 10 ของมัลแวร์ที่โจมตีอุตสาหกรรมการผลิต โดยที่สายพันธุ์ 3 ประเภทมีพัฒนาการสูง คือมันไม่ต้องการเหยื่อในการลงมือกระทำการ เช่น การเปิดไฟล์แนบเพื่อให้เกิดภัย

           

          นี่ไม่ใช่ Ransomware ปกติทั่วไป Ransomware ใหม่มีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ และมีสายพันธุ์ล่าสุดชื่อ Locky ที่เราได้เห็นตัวอย่าง เช่น สามารถเข้ารหัสลับแบบ Windows APIs และ RSA ได้ และตั้งใจจะขัดขวางองค์กรที่พยายามถอดรหัสไฟล์นั้นโดยจะไม่จ่ายค่าไถ่

           

          มีสายพันธุ์ล่าสุดที่ฟอร์ติเน็ตกำลังตรวจสอบอีก ชื่อ DMA Locker ที่เมื่อติดไปแล้ว จะใช้ Remote command-and-control servers สร้างกุญแจ Unique encryption keys ซึ่งไม่สามารถถอดกุญแจกลับมาได้ หมายความว่า ถ้าไม่เอา DMA Locker ออกให้หมดจากเครือข่ายที่ติดเชื้อนั้น จะทำให้เกิดการเรียกร้องค่าไถ่มากยิ่งขึ้น

           

          ดังนั้น องค์กรควรลงมือปฎิบัติหลายประการเพื่อป้องกันตัวเอง อันได้แก่:

  • ควบคุมส่วน Network access
  • ใช้ระบบความปลอดภัยสำหรับอีเมล์ร่วมกับการกรอง Sandbox filtering
  • ดูแลและปิดซอฟท์แวร์และระบบปฎิบัติการให้ดี
  • จัดส่วนเครือข่าย เพื่อจำกัดการแพร่กระจาย
  • กำจัดหรือแยกโค้ดและอุปกรณ์ประเภท Legacy ที่มีช่องโหว่
  • จัดการแบ็คอัพระบบอย่างสม่ำเสมอ และจัดการแบ็คอัพนอกสถานที่
  • ลดจุดเสี่ยงภัย โดยลดซอฟท์แวร์และอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปพลิเคชั่นประเภทคลาวด์ที่ไม่ดูแลโดยทีมไอทีขององค์กร และจัดการแบ็คอัพ
  • ติดตั้ง Security clients บนอุปกรณ์ Endpoint devices และดูแลให้อัปเดทอยู่เสมอ
  • อบรมเจ้าหน้าที่ ให้มีความรู้วิธีการพิจารณาอีเมล์ปกติ ตรวจหาและหลีกเลี่ยงภัยที่มาทางเว็ปอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้สามารถเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งเครือข่ายทั้งหมด ถึงแม้เป็นสาขาที่มีการเชื่อมโยงเครือข่าย
  • สมมติว่าท่านกำลังจะตกเป็นหยื่อของภัยคุกคาม และให้หาแผนการจัดการภัย (Cyber Threat Assessment)

           

          ซึ่งข้อสุดท้ายเป็นข้อที่สำคัญที่สุด ถ้าท่านรู้ชัดว่าท่านกำลังเผชิญหน้ากับภัย ท่านจะมีวิธีปฎิบัติงานต่างไปจากที่ท่านทำอยู่ปัจจุบันนี้ไหม

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด