Certificate Unlock

ติวเข้มพร้อมลุยกับการสอบใบ Certificate (12) วัดใจกันในสนามสอบ CCNA

ดร.วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน

 

 

เพิ่ม Value Added ให้ชีวิตการทำงานผ่านการสอบใบ Certificate ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นใบเบิกทางที่หลายหน่วยงานยอมรับ รอบนี้เป็นสนามสอบ CCNA 200-120 อีกสักรอบ

 

     ฉบับนี้เป็นการติวสอบ CCNA ที่หนักไปทางเราเตอร์และโปรโตคอลเราติ้ง และในเดือนสิงหาคมจะมีการเปลี่ยนรหัสข้อสอบใหม่ ถึงกระนั้นก็ตามบทความนี้อาจดำเนินต่อไปจนกว่าจะจบ เนื่องจากเป้าหมายหลักคือการเรียนระบบเครือข่ายผ่านข้อสอบ CCNA

 

1. มีเหตุผลใดที่ทำให้เกิดข่าวสารที่เกี่ยวกับอินเตอร์เฟซต่อไปนี้ "administratively down, line protocol down" (รูปที่ 1)

 

 

รูปที่ 1

 

          A. There is no encapsulation type configured.

          B. There is a mismatch in encapsulation types.

          C. The interface is not receiving any keepalives.

          D. The interface has been configured with the shutdown command.

          E. The interface needs to be configured as a DTE device.

          F. The wrong type of cable is connected to the interface.

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : อินเตอร์เฟซสามารถถูกกำหนดให้ Enable หรือ Disable ก็ได้ด้วยคำสั่ง shutdown หรือ no shutdown หากอินเตอร์เฟซเกิดมีปัญหา Down เนื่องจากใช้คำสั่ง shutdown ก็จะปรากฏข่าวสารบนหน้าจอว่า “administratively down” แต่หาก Down เนื่องจากสาเหตุอื่นจะปรากฏข่าวสารว่า “interface is down” ขึ้นอยู่ว่าเป็นอินเตอร์เฟซอะไร ในกรณีที่เป็นการ Down เนื่องจากการใช้คำสั่ง ท่านสามารถใช้คำสั่ง no shutdown เพื่อให้อินเตอร์เฟซกลับคืนสู่สถานะอีกครั้ง

 

2. เมื่อมีการใช้งาน OSPF อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเตอร์ A ไม่สามารถเชื่อมต่อแบบประชิดติดกันกับเราเตอร์ B ได้ (รูปที่ 2)

 

 

รูปที่ 2

 

          A. The loopback addresses are on different subnets.

          B. The values of the dead timers on the routers are different.

          C. Route summarization is enabled on both routers.

          D. The process identifier on router A is different than the process identifier on router B.

 

          คำตอบ : ข้อ B

 

          คำอธิบาย : เพื่อให้เราเตอร์ทั้งสองสามารถเชื่อมต่อกันแบบประชิด (กลายเป็นเราเตอร์เพื่อนบ้านกัน) ตัวเราเตอร์ A และ B จะต้องมีห้วงจังหวะเวลาในการจัดส่งข่าวสาร Hello เข้าหากันที่เหมือนกัน รวมทั้งห้วงเวลาของการจัดส่งข้อมูลข่าวสาร Dead ที่เหมือนกัน ตลอดจนหมายเลข Area เดียวกัน

 

3. สมมติว่าเราเตอร์ได้เรียนรู้เส้นทางที่จะเดินทางไปสู่ปลายทางถึง 3 เส้นทาง โดยมีเส้นทางหนึ่งที่มาจาก EIGRP ซึ่งมีค่า Composite Metric เป็น 20514560 ส่วนเส้นทางอื่นๆ เป็นเส้นทางจาก OSPF และมีค่า Metric เป็น 782 ส่วนเส้นทางสุดท้ายมาจาก RIPv2 ซึ่งมีค่า Metric อยู่ที่ 4 อยากทราบว่าเส้นทางใดเป็นเส้นทางที่เราเตอร์จะติดตั้งและเก็บมันไว้ในตารางเราติ้งของมัน

 

 

รูปที่ 3

 

          A. The OSPF route

          B. The EIGRP route

          C. The RIPv2 route

          D. All three routes

          E. The OSPF and RIPv2 routes

 

          คำตอบ : ข้อ B

 

          คำอธิบาย : เมื่อใดที่เส้นทางหนึ่งๆ ถูกค้นพบและประกาศตัวโดยโปรโตคอลเราติ้งมากกว่า 1 ตัว เราเตอร์จะเลือกโปรโตคอลเราติ้งที่มีค่า Administrative Distance หรือค่า AD ที่น้อยที่สุดเป็นหลัก จากรูปที่ 3 จะเห็นว่า EIGRP (ในที่นี้คือ Internal EIGRP) มีค่า Distance เท่ากับ 90

 

4. สมมติว่าทางองค์กรใช้ EIGRP เป็นโปรโตคอลเราติ้ง จากรูปที่ 4 เส้นทางใดที่โฮสต์ที่มีไอพีหมายเลข 192.168.10.192/26 network to a host on the LAN attached to router R1

 

 

รูปที่ 4

 

          A. The path of the packets will be R3 to R2 to R1.

          B. The path of the packets will be R3 to R1 to R2.

          C. The path of the packets will be both R3 to R2 to R1 AND R3 to R1.

          D. The path of the packets will be R3 to R1.

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : คอมพิวเตอร์บน LAN ที่เชื่อมต่อไปยังเราเตอร์ R1 เป็นของเครือข่ายย่อย 192.168.10.64/26 จากรูปที่ 4 เป็นเอาต์พุตของตารางเราติ้งของ R3 เราจะได้เห็นว่าเครือข่ายนี้สามารถเดินทางไปหาได้โดยทางแอดเดรส 192.168.10.9 ซึ่งเป็นแอดเดรสในเครือข่าย 192.168.10.8/30 (เครือข่ายระหว่าง R1 กับ R3) แพ็กเก็ตที่มีปลายทางอยู่ที่ 192.168.10.64 จะถูกส่งไปบนเส้นทางจาก R3 -> R1 -> ไปยัง LAN บน R1

 

5. สมมติว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายกำลังค้นหาจุดที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของ EIGRP บนเราเตอร์ และต้องการยืนยันไอพีแอดเดรสของอุปกรณ์ว่ามีอุปกรณ์ใดและแอดดรสใดที่มีการเชื่อมต่อเข้ามาโดยตรงแบบประชิดติดกันกับเราเตอร์ตัวนี้ รวมทั้งค่า Queue และห้วงเวลาในการ Retransmit ข่าวสาร เมื่อเป็นเช่นนี้จะต้องใช้คำสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว

 

 

รูปที่ 5

 

          A. Router# show ip eigrp adjacency

          B. Router# show ip eigrp topology

          C. Router# show ip eigrp interfaces

          D. Router# show ip eigrp neighbors

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง show ip eigrp neighbors เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อตรวจสอบดูว่ามีเราเตอร์ใดบ้างที่เข้ามาเชื่อมต่อติดกันเป็นเราเตอร์เพื่อนบ้าน รวมทั้งแสดงข่าวสารเกี่ยวกับ Smooth Round Trip Timer – SRTT และ Queue Count (Q-count แสดงจำนวนของ EIGRP Packet ที่ถูกจับเก็บไว้ใน Queue เพื่อรอส่งออกไป) ของเราเตอร์เพื่อนบ้าน

 

6. จากรูปที่ 6 สมมติว่า R1 ไม่สามารถจัดตั้งเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเราเตอร์เพื่อนบ้าน รวมทั้งเราเตอร์ R3 อยากทราบว่ามีสาเหตุมาจากอะไร (เลือกมา 2 ข้อ)

 

 

รูปที่ 6

 

          A. All of the routers need to be configured for backbone Area 1.

          B. R1 and R2 are the DR and BDR, so OSPF will not establish neighbor adjacency with R3.

          C. A static route has been configured from R1 to R3 and prevents the neighbor adjacency from being established.

          D. The hello and dead interval timers are not set to the same values on R1 and R3.

          E. EIGRP is also configured on these routers with a lower administrative distance.

          F. R1 and R3 are configured in different areas.

 

          คำตอบ : ข้อ D และ F

 

          คำอธิบาย : คำถามนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบเงื่อนไขของ OSPF ในการจัดตั้งการเชื่อมต่อกับเราเตอร์เพื่อนบ้าน

ดังนั้นหากต้องการให้เราเตอร์ทั้ง 3 ตัวสามารถจัดตั้งการเชื่อมต่อตามปกติได้ต้องมีเงื่อนไขที่จะต้องเข้ากันได้ต่อไปนี้
          1. หมายเลขของ Area และประเภทของมัน
          2. ค่าที่ตั้งไว้ใน Hello Timer รวมทั้ง Dead Timer จะต้องเข้ากันได้
          3. รหัสผ่านประจำตัวเราเตอร์ที่ได้ตั้งไว้ระหว่างเราเตอร์เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ระหว่างกัน (หากมี)

 

7. คำสั่งประเภท Global คืออะไร

 

          A. A command that is set once and affects the entire router

          B. A command that is implemented in all foreign and domestic IOS versions

          C. A command that is universal in application and supports all protocols

          D. A command that is available in every release of IOS, regardless of the version or deployment status

          E. A command that can be entered in any configuration mode

 

 

รูปที่ 7

 

          คำตอบ : ข้อ A

 

          คำอธิบาย : เมื่อท่านได้เข้าสู่โหมด Global แล้วใส่คำสั่งเข้าไปที่โหมดนี้แล้ว คำสั่งดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กับ Running Configuration File ที่กำลังทำงานอยู่บน RAMและคำสั่งที่ติดตั้งหรือเรียกใช้ในโหมดนี้มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะอินเตอร์เฟซใดอินเตอร์เฟซหนึ่ง ตัวอย่างของคำสั่งในโหมดนี้ ได้แก่ คำสั่ง hostname ของเราเตอร์ เป็นต้น

 

8. เมื่อมีการติดตั้งใช้งาน EIGRP บนเราเตอร์ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเตอร์ A ในรูปที่ 8 จะต้องดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัปเดตเราติ้งกับเราเตอร์ C

 

 

รูปที่ 8

 

          A. AS numbers must be changed to match on all the routers

          B. Loopback interfaces must be configured so a DR is elected

          C. The no auto-summary command is needed on Router A and Router C

          D. Router B needs to have two network statements, one for each connected network

 

          คำตอบ : ข้อ A

 

          คำอธิบาย : คำถามนี้มีไว้เพื่อทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเราเตอร์ที่ทำงานบน EIGRP

ต่อไปนี้เป็นข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและต้องเข้ากันได้ดีระหว่างเราเตอร์ที่ใช้ EIGRP ด้วยกันตามภาพที่ปรากฏ
          1. หมายเลข AS ต้องตรงกัน
          2. ค่า K ต้องเข้ากันได้

 

9. เมื่อเราเตอร์ของซิสโก้ได้ถูกเปิดใช้งาน มีการบูตและเสร็จสิ้นจากการดำเนินการในขบวนการ POST (การตรวจสอบความพร้อมของระบบต่างๆ ภายในตัวเราเตอร์) แล้วถึงตอนนี้เราเตอร์ก็พร้อมที่จะค้นหาและโหลด Image แล้ว อยากทราบว่าเราเตอร์จะใช้ฟังก์ชั่นการทำงานอะไรต่อจากนี้ไป

 

          A. It checks the configuration register.

          B. It attempts to boot from a TFTP server.

          C. It loads the first image file in flash memory.

          D. It inspects the configuration file in NVRAM for boot instructions.

 

          คำตอบ : ข้อ A

 

          คำอธิบาย : ต่อไปนี้เป็นลำดับการทำงานของเราเตอร์ขณะบูตโดยดีฟอลต์ (เหตุการณ์ปกติ) มีลำดับดังนี้
          1. ดำเนินการบูตและทำ POST Test
          2. ดำเนินการที่เรียกว่า Bootstrap และดำเนินการโหลด IOS
          3. ตรวจสอบ Configuration Register (ปกติจะใช้ค่า 0x2102 เพื่ออ่านข้อมูลข่าวสารใน Startup Configure
              ซึ่งจัดเก็บอยู่ใน NVRAM หรือ 0x2142 เพื่อสตาร์ทการทำงานใน Setup Mode
          4. ตรวจสอบ Startup Configure File ใน NVRAM เพื่อบูตคำสั่งของระบบ จากนั้นทำการโหลด IOS Image จาก Flash

 

10. จากรูปที่ 9 อะไรคือความหมายของ MTU 1500 Bytes ที่ปรากฏในเอาต์พุตของภาพนี้

 

 

รูปที่ 9

 

          A. The maximum number of bytes that can traverse this interface per second is 1500.

          B. The minimum segment size that can traverse this interface is 1500 bytes.

          C. The maximum segment size that can traverse this interface is 1500 bytes.

          D. The minimum packet size that can traverse this interface is 1500 bytes.

          E. The maximum packet size that can traverse this interface is 1500 bytes.

          F. The maximum frame size that can traverse this interface is 1500 bytes.

 

          คำตอบ : ข้อ E

 

          คำอธิบาย : คำว่า Maximum Transmission Unit (MTU) หมายถึงขนาดที่โตที่สุดของแพ็กเก็ตซึ่งทำงานบน Layer 3 ที่เราเตอร์สามารถยอมรับได้ ปกติค่าไม่เกิน 1500 ไบต์ อย่างไรก็ตามในชีวิตจริงการเชื่อมต่อกันบนอินเทอร์เน็ตจะกำหนดให้แพ็กเก็ตมีขนาดอยู่ที่ 1450 หรือสูงกว่าเล็กน้อย แล้วแต่ไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) ค่ายใดเป็นผู้กำหนดบนเราเตอร์ แบบนั้นเราเรียกว่าค่า Path MTU

 

11. บนเราเตอร์ขององค์กรคอมพิวเตอร์หรือโฮสต์บน VLAN เดียวกันสามารถสื่อสารไปมาระหว่างกันได้ แต่จะไม่สามารถสื่อสารกันได้หากอยู่ใน VLAN ที่แตกต่างกัน อะไรคือสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ใน VLAN ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารไปมาระหว่างกันได้

 

          A. A router with subinterfaces configured on the physical interface that is connected to the switch

          B. A router with an IP address on the physical interface connected to the switch

          C. A switch with an access link that is configured between the switches

          D. A switch with a trunk link that is configured between the switches

 

          คำตอบ : ข้อ A

 

          คำอธิบาย : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่าง VLAN กันปกติจะไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือของเราเตอร์ที่ทำงานบน Layer 3 ดังนั้นท่านจำเป็นต้องเอาเราเตอร์มาเชื่อมต่อ VLAN ที่แตกต่างกัน โดยนำเราเตอร์มาเชื่อมต่อกับสวิตช์ซึ่งมี VLAN ต่างๆ ติดตั้งบนนั้น จากนั้นให้คอนฟิคอินเตอร์เฟซของเราเตอร์ที่เชื่อมกับสวิตช์ให้เป็น Sub Interface เสียก่อน จากนั้นติดตั้ง Trunking บนอินเตอร์เฟซนี้ เช่นเดียวกับพอร์ตอินเตอร์เฟซของสวิตช์ ซึ่งการทำ Trunking นี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่าง VLAN กันสามารถใช้เส้นทางนี้ไปมาหาสู่กันได้ 

 

          ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการติดตั้ง Trunking VLAN สำหรับเราเตอร์

RouterA(config)#int f0/0.1
RouterA(config-subif)#encapsulation ?
dot1Q IEEE 802.1Q Virtual LAN
RouterA(config-subif)#encapsulation dot1Q or isl VLAN ID
RouterA(config-subif)# ip address x.x.x.x y.y.y.y

          

12. คำสั่งใดมีไว้เพื่อแสดงปริมาณการใช้งานของซีพียูบนเราเตอร์

 

 

รูปที่ 10

 

          A. show protocols

          B. show process

          C. show system

          D. show version

 

          คำตอบ : ข้อ B

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง “show process” (คำสั่งเต็มคือ “show processes”) เป็นคำสั่งที่ให้ข้อมูลแก่เรามากมายเกี่ยวกับโปรเซสต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเราเตอร์ แต่อ่านให้เข้าใจได้ค่อนข้างยาก จุดประสงค์ของคำสั่งนี้ก็เพื่อให้ผู้ดูแลระบบรับรู้ถึงขีดจำกัดของเราเตอร์ ในกรณีที่เราเตอร์ทำงานช้าลง ปริมาณการใช้งานซีพียูก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ปัญหาได้ ปริมาณการใช้งานซีพียูตามมาตรฐานของซิสโก้คือไม่เกิน 75% ตลอดเวลา 5 นาที ในกรณีที่ยาวนานหรือมากเกินกว่า 5 นาที แสดงว่าซีพียูมีปัญหาการทำงานไม่ทัน ดังนั้นท่านต้องไปดูที่หน้าจอ เพื่อดูว่ามีโปรเซสใดที่ทำให้ปริมาณการใช้งานซีพียูทำงานหนักมากที่สุด ส่วนใหญ่โปรเซสที่ค่อนข้างกินแบนด์วิดธ์ของซีพียูจะเป็นพวกไฟร์วอลล์หรือ Access List ที่มีจำนวนของบรรทัดหรือกฎกติกาค่อนข้างซับซ้อน รวมทั้ง Voice Over IP ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุ

          อย่างไรก็ตามวิธีการอ่านข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น ได้แก่ การใช้คำสั่ง show processes cpu history ซึ่งเป็นคำสั่งที่ทำให้มีการแสดงในลักษณะกราฟง่ายๆ รวมทั้งช่วงเวลาที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น โดยจะมีการแสดงข้อมูลในลักษณะเวลา 1 นาที 1 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง

 

 

รูปที่ 11

 

13. อะไรคือสิ่งที่เราเตอร์จะทำหากติดตั้งและทำงานด้วย Distance Vector Routing Protocol (เลือกมา 2 ข้อ)

 

          A. Send periodic updates regardless of topology changes.

          B. Send entire routing table to all routers in the routing domain.

          C. Use the shortest-path algorithm to the determine best path.

          D. Update the routing table based on updates from their neighbors.

          E. Maintain the topology of the entire network in its database.

 

          คำตอบ : ข้อ A และ D

 

          คำอธิบาย : Distance หมายถึงระยะทางและทิศทางในการติดต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลภายใต้การทำงานของ Distance Vector Protocol จะมีการส่งผ่านกระแสข่าวสารเกี่ยวกับการอัปเดตเส้นทาง (Routing) ให้แก่กันเป็นห้วงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้การทำงานของ Distance Vector เราเตอร์ค้นพบเส้นทางที่ดีที่สุดโดยอาศัยการคำนวณค่าที่แสดงต้นทุนเส้นทาง ซึ่งเส้นทางใดที่มีค่าต้นทุนต่ำที่สุดจะถือว่าเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม Distance Vector จะใช้ค่า Metric ในการเลือกเส้นทาง

          โดยค่า Metric มีดังนี้

          • จำนวน Hop (ใช้โดย RIP)
          • ค่าแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่า
          • ค่าดีเลย์ที่น้อยกว่า
          • ค่าโหลดที่ต่ำกว่า
          • ค่า Reliability ที่สูงกว่า
          • ค่า MTU ที่มากกว่า

 

14. คำสั่งใดที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงข้อมูลที่ถูกรวบรวมเกี่ยวกับ OSPF Link State

 

          A. show ip ospf link-state

          B. show ip ospf lsa database

          C. show ip ospf neighbors

          D. show ip ospf database

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง “show ip ospf database” มีไว้เพื่อแสดงสถานะของการเชื่อมต่อหรือ Link State

 

          ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างข้อมูลจากคำสั่งซึ่งแสดงสถานะ Link State Advertisement ของ R2

R2#show ip ospf database
OSPF Router with ID (2.2.2.2) (Process ID 1)
Router Link States (Area 0)
Link ID ADV Router Age Seq# Checksum Link count
2.2.2.2 2.2.2.2 793 0x80000003 0x004F85 2
10.4.4.4 10.4.4.4 776 0x80000004 0x005643 1
111.111.111.111 111.111.111.111 755 0x80000005 0x0059CA 2
133.133.133.133 133.133.133.133 775 0x80000005 0x00B5B1 2
Net Link States (Area 0)
Link ID ADV Router Age Seq# Checksum
10.1.1.1 111.111.111.111 794 0x80000001 0x001E8B
10.2.2.3 133.133.133.133 812 0x80000001 0x004BA9
10.4.4.1 111.111.111.111 755 0x80000001 0x007F16
10.4.4.3 133.133.133.133 775 0x80000001 0x00C31F

 

15. จากรูปที่ 12 เป็นภาพแสดงอุปกรณ์ซิสโก้ที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่าย โดยอุปกรณ์ทั้งสองมีค่า Mask เป็น 255.255.255.252 ถ้าดูจากค่าเอาต์พุตในรูปที่ 12 มี 3 ประโยคใดที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับอุปกรณ์ทั้งสองนี้ (เลือกมา 3 ข้อ)

 

 

รูปที่ 12

 

          A. The Manchester serial address is 10.1.1.1.

          B. The Manchester serial address is 10.1.1.2.

          C. The London router is a Cisco 2610.

          D. The Manchester router is a Cisco 2610.

          E. The CDP information was received on port Serial0/0 of the Manchester router.

          F. The CDP information was sent by port Serial0/0 of the London router.

 

          คำตอบ : ข้อ A, C และ E

 

          คำอธิบาย : จากข้อมูลหน้าจอเอาต์พุตเราจะเห็นว่าไอพีแอดเดรสของเราเตอร์เพื่อนบ้านคือ 10.1.1.2 และในคำถามบอกว่า Subnet Mask ของเครือข่ายคือ 255.255.255.252 ดังนั้นจึงมีเพียงโฮสต์ไม่เกิน 2 เครื่องในเครือข่ายนี้ (22 – 2 = 2) ดังนั้นไอพีแอดเดรส (ของ Serial Interface) ของเราเตอร์ Manchester น่าจะเป็น 10.1.1.1 -> แพลตฟอร์มของเราเตอร์เพื่อนบ้านคือ Cisco 2610 ดังที่แสดงในหน้าจอเอาต์พุต -> อินเตอร์เฟซของเราเตอร์ Manchester ที่ใช้รับข้อมูลมาจากเราเตอร์ London คือ Serial0/

 

16. หากมีการ Enable IP Routing แล้ว อยากทราบว่ามีคำสั่งใดที่มีไว้ตั้งค่า Gateway of Last Resort ไปที่ Default Gateway (เลือกมา 2 ข้อ)

 

          A. ip default-gateway 0.0.0.0

          B. ip route 172.16.2.1 0.0.0.0 0.0.0.0

          C. ip default-network 0.0.0.0

          D. ip default-route 0.0.0.0 0.0.0.0 172.16.2.1

          E. ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 172.16.2.1

 

          คำตอบ : ข้อ C และ E

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง “ip default-network” และ “ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 (next hop)” เป็นคำสั่งที่มีไว้เพื่อจัดตั้ง Default Gateway ในเราเตอร์ของซิสโก้

 

17. ขอบเขตการทำงานหรือพารามิเตอร์ใดที่ท่านใช้เพื่อปรับแต่ง เพื่อให้เกิดผลเกี่ยวกับการเลือก Static Route เป็นเส้นทางแบ็กอัปเมื่อมีการใช้ Dynamic Protocol

 

          A. Hop Count

          B. Administrative Distance

          C. Link Bandwidth

          D. Link Delay

          E. Link Cost

 

          คำตอบ : ข้อ B

 

          คำอธิบาย : โดยดีฟอลต์ค่า Administrative Distance ของ Static Route คือ 1 ซึ่งเราเตอร์ถือเป็นค่าที่ดีกว่า Dynamic Routing Protocol หากท่านต้องการใช้ Dynamic Routing Protocol และใช้ Static Route เป็นเส้นทางแบ็กอัป ท่านจะต้องเพิ่มค่า AD ให้แก่ Static Route โดยกำหนดให้มีค่าสูงกว่า Dynamic Routing Protocol เช่น หากท่านใช้ RIP โดยค่า RIP อยู่ที่ 120 ดังนั้นท่านจะต้องกำหนดค่า AD ให้กับ Static Route สูงกว่า RIP เช่น 125 เป็นต้น

 

18. สมมติว่ามีการติดตั้ง OSPF ด้วยคำสั่ง

 

          City(config-router)# network 192.168.12.64 0.0.0.63 area 0

 

          หลังจากที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วกลับพบว่าอินเตอร์เฟซทั้งหมดของเราเตอร์ไม่สามารถเข้าร่วมในกระบวนการทำงานของ OSPF อินเตอร์เฟซ 3 ตัวใดในรูปที่ 13 ที่จะเข้าร่วมในการทำงานบน OSPF สอดคล้องกับการตั้งค่าใน OSPF (เลือกมา 3 ข้อ)

 

 

รูปที่ 13

 

          A. FastEthernet0/0

          B. FastEthernet0/1

          C. Serial0/0

          D. Serial0/1.102

          E. Serial0/1.103

          F. Serial0/1.104

 

          คำตอบ : ข้อ B, C และ D

 

          คำอธิบาย : ประโยคคำสั่ง “network 192.168.12.64 0.0.0.63″ เทียบเท่ากับเครือข่าย 192.168.12.64/26 เครือข่ายนี้ประกอบด้วย

 

          + เพิ่มค่า : 64 (/26= 1111 1111.1111 1111.1111 1111.1100 0000)
+ Network address: 192.168.12.64
+ Broadcast address: 192.168.12.127

 

          ดังนั้นอินเตอร์เฟซทั้งหมดที่อยู่ในพิกัดนี้จะสามารถเข้าร่วมกับ OSPF

 

19. บริษัท Lakeside มีการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ผู้บริหารจัดการเครือข่ายต้องการลดขนาดของตารางเราติ้งบนเราเตอร์ Central อยากทราบว่าบางส่วนใดของข้อมูลในตารางเราติ้งในเราเตอร์ Central สามารถแสดง Route Summary ที่ใช้แสดงเกี่ยวกับ LANs ใน Phoenix แต่ไม่มี Subnet เพิ่มเติม

 

 

รูปที่ 14

 

          A. 10.0.0.0/22 is subnetted, 1 subnets

               D 10.0.0.0 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial0/1

          B. 10.0.0.0/28 is subnetted, 1 subnets

               D 10.2.0.0 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial0/1

          C. 10.0.0.0/30 is subnetted, 1 subnets

               D 10.2.2.0 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial0/1

          D. 10.0.0.0/22 is subnetted, 1 subnets

               D 10.4.0.0 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial

          E. 10.0.0.0/28 is subnetted, 1 subnets

               D 10.4.4.0 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial0/1

          F. 10.0.0.0/30 is subnetted, 1 subnets

               D 10.4.4.4 [90/20514560] via 10.2.0.2, 6w0d, Serial0/1

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : 10.4.0.0/22 route จะรวมเอา 10.4.0.0/24, 10.4.1.0/24, 10.4.2.0/24 และ 10.4.3.0/24 เท่านั้น

 

20. มีการติดตั้ง Static Route เพื่อเชื่อมต่อไปที่เครือข่าย 10.5.6.0/24 บน HFD Router อยากทราบว่าจะเขียนคำสั่งใดเพื่อให้การติดตั้งครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ (เลือกมา 2 ข้อ)

 

 

รูปที่ 15

 

          A. HFD(config)# ip route 10.5.6.0 0.0.0.255 fa0/0

          B. HFD(config)# ip route 10.5.6.0 0.0.0.255 10.5.4.6

          C. HFD(config)# ip route 10.5.6.0 255.255.255.0 fa0/0

          D. HFD(config)# ip route 10.5.6.0 255.255.255.0 10.5.4.6

          E. HFD(config)# ip route 10.5.4.6 0.0.0.255 10.5.6.0

          F. HFD(config)# ip route 10.5.4.6 255.255.255.0 10.5.6.0

 

          คำตอบ : ข้อ C และ D

 

          คำอธิบาย : คำสั่งสำหรับติดตั้ง Static Route มีรูปแบบดังนี้

          ip route <แอดเดรสปลายทาง> < subnet-mask> <แอดเดรสของ Hop ต่อไป หรืออินเตอร์เฟซที่ใช้เป็นทางออก>
          + แอดเดรสปลายทาง : เป็นแอดเดรสของเครือข่ายที่ต้องการจะเดินทางไป (ไอพีแอดเดรสนี้จะต้องเป็นแอดเดรสเครือข่าย อย่ากำหนดเป็นไอพีแอดเดรสเจาะจง เช่น 192.168.10.0 จะกำหนดเป็น 192.168.10.12 ไม่ได้)
          + Subnet Mask: เป็นตัวเลข Subnet Mask ทั่วไป เช่น 255.255.255.0
          + แอดเดรสของ Hop ต่อไป : หมายถึงแอดเดรสที่เป็นไอพีของ Serial Interface ของเราเตอร์ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
          + อินเตอร์เฟซที่ใช้เป็นทางออก : อันนี้ ใช้ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดแอดเดรสของ Hop ต่อไป แต่กำหนดเป็นชื่ออินเตอร์เฟซแทน เช่น “ip route 10.5.6.0 255.255.255.0 fa0/0”:

 

21. ก่อนที่จะมีการติดตั้ง IOS เวอร์ชั่นใหม่ๆ อะไรคือสิ่งที่ท่านจะต้องตรวจสอบความพร้อมของเราเตอร์ และคำสั่งใดที่มีไว้สำหรับรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความพร้อมของเราเตอร์ก่อนที่จะดำเนินการอัปเกรด (เลือกมา 2 ข้อ)

 

          A. The amount of available ROM

          B. The amount of available flash and RAM memory

          C. The version of the bootstrap software present on the router

          D. show version

          E. show processes

          F. show running-config

 

          คำตอบ : ข้อ B และ D

 

          คำอธิบาย : ก่อนที่จะดำเนินการอัปเกรด IOS เวอร์ชั่นใหม่โดยมีการก๊อบปี้ IOS ลงบน Flash ท่านจะต้องตรวจสอบดูขนาดของ Flash Memory ที่ติดตั้งอยู่บนเราเตอร์เสียก่อน เนื่องจาก IOS เวอร์ชั่นใหม่ๆ นั้นกินเนื้อที่ของ Flash เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ให้ตรวจสอบดูขนาดของหน่วยความจำ RAM ด้วย เพราะเวอร์ชั่นใหม่อาจกินขนาดของ RAM มากขึ้น นอกเหนือจากการใช้เก็บค่า Running Configuration แล้ว ยังใช้เพื่อรองรับ IOS อีกด้วย ตลอดจนใช้รองรับการประมวลผลของซีพียูและเป็นบัฟเฟอร์ของ I/O หรืออินเตอร์เฟซต่างๆ

          คำสั่งที่ท่านสามารถใช้ได้คือ show version (บน) นอกจากนี้ท่านอาจใช้คำสั่ง show flash (ล่าง) ได้อีกด้วย (รูปที่ 16)

 

 

รูปที่ 16a แสดงหน้าจอคำสั่ง show version

 

 

รูปที่ 16b แสดงหน้าจอจากคำสั่ง show flash

 

22. คำสั่งใดที่สามารถเปิดเผยวิธีการครั้งล่าสุดที่ใช้ในการรีโหลดเราเตอร์

 

          A. show reload

          B. show boot

          C. show running-config

          D. show version

 

          คำตอบ : ข้อ D

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง “show version” สามารถใช้เพื่อแสดงการดำเนินการรีโหลดเราเตอร์ครั้งล่าสุด ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่ามีการรีเซตหรือรีโหลดเราเตอร์ครั้งล่าสุดเมื่อใด

 

 

รูปที่ 17 แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการรีโหลดของเราเตอร์จากคำสั่ง show version

 

23. คำสั่งใดที่ท่านอาจนำมาใช้บนเราเตอร์ซิสโก้เพื่อตรวจสอบเส้นทางในระดับ Layer 3 ให้กับโฮสต์

  

          A. tracert address

          B. traceroute address

          C. telnet address

          D. ssh address

 

          คำตอบ : ข้อ B

 

          คำอธิบาย : คำสั่ง traceroute เป็นคำสั่งที่มีไว้เพื่อเหตุผลหลายประการ
          1. ใช้เพื่อตรวจสอบดูว่าเครือข่ายปลายทางที่ต้องการนั้นอยู่ห่างออกไปประมาณกี่เครือข่าย
          2. ใช้เพื่อตรวจสอบดูว่าเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ปลายทางนั้นวิ่งผ่านเครือข่ายอะไรบ้าง
          3. ใช้เพื่อตรวจดูว่าค่าดีเลย์ที่จะเดินทางไปยังปลายทางนั้นมีเท่าใด
          4. จุดใดที่มีค่าดีเลย์สูงทำให้การเดินทางไปยังปลายทางใช้เวลามากและช้า
          5. อุปกรณ์หรือเครือข่ายปลายทางมีตัวตนมีสถานะพร้อมทำงานหรือไม่

 

 

รูปที่ 18 ตัวอย่างภาพประกอบการใช้คำสั่ง traceroute

 

          ตัวอย่างการใช้คำสั่ง Traceroute บนเราเตอร์

rp-10c-2611#traceroute
Protocol [ip]:
Target IP address: 150.1.4.2
Source address: 150.1.1.1
Numeric display [n]:
Timeout in seconds [3]:
Probe count [3]:
Minimum Time to Live [1]:
Maximum Time to Live [30]:
Port Number [33434]:
Loose, Strict, Record, Timestamp, Verbose[none]:
Type escape sequence to abort.
Tracing the route to 150.1.4.2

1 150.1.1.2 4 msec 0 msec 4 msec
2 150.1.2.2 4 msec 4 msec 0 msec
3 150.1.3.2 0 msec 0 msec 4 msec
4 150.1.4.2 4 msec * 0 msec

 

24. ข่าวสารอะไรที่เราเตอร์ซึ่งกำลังใช้งาน Link State Protocol นำมาใช้เพื่อสร้างและดูแลรักษาฐานข้อมูลโทโปโลยี (Topology) ของ OSPF (เลือกมา 2 ข้อ)

 

          A. Hello Packets

          B. SAP messages sent by other routers

          C. LSAs from other routers

          D. Beacons received on point-to-point links

          E. Routing tables received from other link-state routers

          F. TTL packets from designated routers

 

          คำตอบ : ข้อ A และ C

 

          คำอธิบาย : การค้นพบเราเตอร์เพื่อนบ้านถือเป็นก้าวแรกของเราเตอร์ที่ต้องตรวจสอบสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างเราเตอร์เพื่อนบ้าน เพื่อที่จะแสดงสถานะตัวตนของเราเตอร์ที่กำลังทำงานอยู่ จึงต้องมีการจัดส่งข่าวสารที่เรียกว่า Hello ออกมา โดยจะมีการจัดสร้าง Hello Packet และวิธีการที่จะแลกเปลี่ยนกันระหว่างเราเตอร์เพื่อยืนยันสถานะของตนเอง หลังจากที่เราเตอร์ได้จัดตั้งการเชื่อมต่อระหว่างกันแล้ว ตัวเราเตอร์อาจเริ่มส่ง LSAs ออกมา โดยจะจัดส่งไปทั่วทั้งเครือข่ายไปยังเราเตอร์ทุกตัวที่เป็นเพื่อนบ้าน (เราเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบประชิดกัน) เราเตอร์เพื่อนบ้านที่ได้รับข่าวสารนี้แล้วจะทำสำเนาไว้ชุดหนึ่ง จากนั้นจะส่งข่าวสารนี้ไปยังเราเตอร์ตัวถัดไป

 

25. ประโยคใดที่สามารถพรรณนาเกี่ยวกับการทำงานของ OSPF (เลือกมา 3 ข้อ)

 

          A. It supports VLSM.

          B. It is used to route between autonomous systems.

          C. It confines network instability to one area of the network.

          D. It increases routing overhead on the network.

          E. It allows extensive control of routing updates.

          F. It is simpler to configure than RIP v2.

 

          คำตอบ : ข้อ A, C และ E

 

          คำอธิบาย : OSPF เป็นเราติ้งโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Link State ซึ่งต่างจากอัลกอริทึมเก่า อย่างเช่น BellmanFord ที่ทำงานแบบ Vector ซึ่งเป็นวิธีการเดิมที่ใช้อยู่บนอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น RIP

          OSPF ใช้แนวความคิดใหม่ อย่างเช่น การอัปพเดตระหว่างเราเตอร์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ระบบการพิสูจน์สิทธิ์ รวมทั้งรองรับการทำงานของ Variable Length Subnet Masks (VLSM), Route Summarization และอื่นๆ มากมาย OSPF ใช้เทคนิคของการส่งข้อมูลในลักษณะท่วมท้นไปที่เราเตอร์รอบตัวเพื่อการอัปเดตเกี่ยวกับเราติ้ง การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดข่าวสารเกี่ยวกับการอัปเดตท่วมไปทั้งเครือข่าย

 

26. ผู้บริหารจัดการเครือข่ายได้คอนฟิกเราเตอร์ตัวใหม่และป้อนคำสั่ง copy startup-config running config บนเราเตอร์ จากนั้นผู้บริหารเครือข่ายได้ปิดเครื่องและเปิดเราเตอร์อีกครั้งจากระยะไกล เมื่อเราเตอร์กลับเข้ามาทำงานปรากฏว่ามีข้อความบนหน้าจอดังรูปที่ 19 อะไรคือปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

 

 

รูปที่ 19

 

          A. The network administrator failed to save the configuration.

          B. The configuration register is set to 0x2100.

          C. The boot system flash command is missing from the configuration.

          D. The configuration register is set to 0x2102.

          E. The router is configured with the boot system startup command.

 

          คำตอบ : ข้อ A

 

          คำอธิบาย : จะปรากฏ “System Configuration Dialog” ขึ้นเมื่อตรวจไม่พบ Startup Configuration File ผู้ดูแลระบบเครือข่ายทำผิดพลาด เนื่องจากคำสั่ง “copy startup-config running-config” จะทำการก๊อบปี้ Startup Config (ซึ่งยังว่างอยู่) บน Running Config (ซึ่งถูกติดตั้งหรือคอนฟิกโดยผู้ดูแลระบบเครือข่าย) ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้คอนฟิกจะถูกลบออกไป

 

          หมายเหตุ
          เราสามารถบอกให้เราเตอร์เพื่อที่จะเพิกเฉยต่อ Start-up Configuration สำหรับการโหลดเราเตอร์ในครั้งต่อไปโดยการตั้งค่า Register ไปเป็น 0×2142 แบบนี้จะทำให้ข้อความ “System Configuration Dialog” ปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการโหลดเราเตอร์ครั้งต่อไป

 

27. ค่าดีฟอลต์ Administrative Distance ของ OSPF คืออะไร

 

          A. 90

          B. 100

          C. 110

          D. 120

 

          คำตอบ : ข้อ C

 

          คำอธิบาย : Administrative Distance เป็นคุณลักษณะที่เราเตอร์ใช้เพื่อเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเมื่อมีเส้นทางต่างๆ สู่ปลายทางให้เลือกหลายเส้นทาง และจากเราติ้งโปรโตคอลที่ต่างกัน Administrative Distance ช่วยกำหนดความน่าเชื่อถือให้กับเราติ้งโปรโตคอล โดย Administrative Distance จะช่วยให้เราเตอร์ตัดสินใจเลือกว่าจะใช้เราติ้งโปรโตคอลตัวใดในเราเตอร์ตัวนี้ โดยดูจากค่าดีฟอลต์ของเราติ้งโปรโตคอลแต่ละตัว

 

 

รูปที่ 20 ตารางแสดงค่า Default Distance

 

28. ลักษณะพิเศษใดที่ใช้แสดงการทำงานของ Link State Routing Protocol (เลือกมา 3 ข้อ)

 

          A. Provides common view of entire topology

          B. Exchanges routing tables with neighbors

          C. Calculates shortest path

          D. Utilizes event-triggered updates

          E. Utilizes frequent periodic updates

 

          คำตอบ : ข้อ A, C และ D

 

          คำอธิบาย : เราเตอร์แต่ละตัวมีการทำงานภายใต้ Link State Routing Protocol และเรียนรู้เส้นทางทั้งหมดจาก Area ที่มันอาศัยอยู่ Link State Routing Protocol จะสร้าง Routing Update เท่านั้น (ไม่ใช่ตารางเราติ้งทั้งหมด) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเกิดขึ้น โปรโตคอล OSPF จะใช้ Dijkstra Algorithm เพื่อคำนวณหาเส้นทางที่สั้นที่สุด ซึ่งต่างกันกับ Distance Vector Protocol ตรงที่มีการจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอัปเดตเราติ้งออกมาทุกๆ ห้วงเวลาที่กำหนด หรือใช้วิธีการกระตุ้น (Trigger Update) แต่ Link State Routing Protocol จะใช้วิธีการที่เรียกว่า Event Triggered Update (หมายถึงการอัปเดตจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น)

 

29. จากข้อมูลในตารางเราติ้งในรูปที่ 21 อยากทราบว่าแพ็กเก็ตที่มาจากโฮสต์ภายในเครือข่าย 192.168.10.192/26 LAN สามารถถูกส่งออกไปที่ 192.168.10.1 ได้อย่างไร

 

 

รูปที่ 21

 

          A. The router will forward packets from R3 to R2 to R1.

          B. The router will forward packets from R3 to R1 to R2.

          C. The router will forward packets from R3 to R2 to R1 AND from R3 to R1.

          D. The router will forward packets from R3 to R1.

 

          คำตอบ : ข้อ C

           คำอธิบาย : จากข้อมูลในตารางเราติ้งจะพบว่าเครือข่าย 192.168.10.0/30 ถูกเรียนรู้ความมีตัวตนของมันผ่านเส้นทาง 2 เส้นที่มีค่า Path Cost เท่ากัน (192.168.10.9 และ 192.168.10.5) ดังนั้นกระแสจราจรที่มุ่งไปยังเครือข่ายนี้จะเป็นในรูปแบบ Load Balancing

 

30. C-Router ในรูปที่ 22 ถูกกำหนดให้เป็น "Router-on-a-Stick" เพื่อทำหน้าที่นำส่งข้อมูลข่าวสารไปมาระหว่าง VLANs และอินเตอร์เฟซทั้งหมดของเราเตอร์ ได้รับการติดตั้ง IP Routing ตามปกติ ส่วนโฮสต์ต่างๆ ใน VLAN ได้รับการติดตั้งให้มี Default Gateway ตามปกติ Configuration ใดที่สอดคล้องกับภาพนี้

 

 

รูปที่ 22

 

          A. These commands need to be added to the configuration:

                C-router(config)# router eigrp 123

                C-router(config-router)# network 172.19.0.0

          B. These commands need to be added to the configuration:

                C-router(config)# router ospf 1

                C-router(config-router)# network 172.19.0.0 0.0.3.255 area 0

          C. These commands need to be added to the configuration:

                C-router(config)# router rip

                C-router(config-router)# network 172.19.0.0

          D. No further routing configuration is required.

 

          คำตอบ : ข้อ D

           คำอธิบาย : เนื่องจาก C-Router เป็น Default Gateway ของ VLAN ทั้ง 3 ดังนั้นกระแสจราจรที่มีปลายทางอยู่ที่ VLAN ต่างกันจะต้องถูกส่งไปที่ C-Router ดังนั้น C-Router จะมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายของ VLAN ทั้ง 3 เนื่องจากเครือข่ายทั้ง 3 มีการเชื่อมต่อตรงไปที่ C-Router และข้อมูลข่าวสารนี้จะอยู่ในตารางเราติ้งของ C-Router อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้โปรโตคอลเราติ้ง

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด