Forward

Pokemon go

     กรณีศึกษาจากเกม โปเกมอน โก เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง เกมนี้เป็นเกมที่พัฒนาระดับโครงการขนาดใหญ่  ที่ร่วมกัน ของหลายบริษัท โดยนำโดย นีแอนติก ที่ร่วมกับ นินเทนโด และกูเกิ้ล เป็นเกมแนวที่ให้ผู้เล่นมีตัวตน เป็น อาร์วาต้า ในเกม หรือเรียกว่า อาร์พีจี RPG Role Player Game โดยใช้เทคโนโลยี ที่ผสมกับพื้นที่จริง ด้วยการใช้แผนที่ และการระบุตำแหน่งที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟนร่วมด้วย ออกแบบให้มีความเป็นจริงเสริม (augmented reality) ใช้สมาร์ทโฟนที่ต้องมีกล้องหน้า มีระบบตรวจจับพิกัดระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ตัวจับระดับการหมุนเอียง และจอสัมผัส

 

          เกมเพิ่งออกนำเสนอให้ผู้เล่นเมื่อเดือน กรกฎาคม โดยเริ่มจากประเทศที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจก่อน สำหรับประเทศไทยเริ่มเล่นได้ในเดือนสิงหาคม ปัจจุบันได้ขยายไปกว่า ห้าสิบประเทศ ในทั่วทุกภูมิภาค และคงครอบคลุมได้ทั้งโลก เกมจะให้ผู้เล่นจับสัตว์ในโลกแฟนตาซี นำมาต่อสู้ ฝึกฝน และแลกเปลี่ยนโปเกมอนเสมือนจริงที่จะมีอยู่ทั่วโลก ผู้เล่นสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จะมีระบบสนับสนุนการซื้อขายสิ่งของ ไอเท็มในเกม

           

          เกมนี้จึงจัดว่าเป็นนวัตกรรม ที่สร้างขึ้นมาในยุคดิจิทัล ที่ทำให้เห็นโมเดล Cyber Physical Model ได้ชัดเจน เป็นต้นแบบของการเริ่มเข้าสู่โลกไซเบอร์ สร้างสังคมไซเบอร์ ที่ผสมกับโลกจริง เราสามารถสร้างสิ่งสมมุติ ให้อยู่ร่วมกับโลกจริง เปลี่ยนจินตนาการในไซเบอร์ ให้แลดูสมจริงสมจัง

           

          Cyber Physical Model มีหลักการที่เราจะดึงโลกจินตนาการในไซเบอร์ มาผสมกับโลกแห่งความเป็นจริง โลกที่เราเคยดูภาพยนต์เรื่อง อาร์วาต้า กำลังใกล้เข้ามา โลกที่เราสามารถสร้างตัวแทนเรา แบบ RPG แล้วลงไปในโลกสมมุติ ที่เชื่อมโยงกับโลกจริง

           

          เกมได้ดึงผู้เล่น ที่เคยเล่นเกมที่ต้องนั่งอยู่กับที่ ให้มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้เกมใช้กับสถานที่จริง โลกจริง สร้างความท้าทาย ในการหาตัวสัตว์ในแฟนตาซี ที่สามารถทำให้ ผู้เล่นอยากค้นหา อยากจับมาสะสม เสริมแรงอยากรู้ อยากแสวงหา โดยมีความสนุกตื่นเต้น มีสังคม มีรางวัล เชื่อว่า เกมคงพัฒนาต่อ ให้ อาร์วาต้ามาพบกัน พูดคุยกัน มีสังคม รวมกลุ่มกันได้ในไซเบอร์

           

          จากเกมนี้ ทำให้เราคงจะได้เห็นความคิดต่อยอดอีกมาก ผู้คิดต่อ จะสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อการใช้งานต่อไปได้อีกมากมาย เช่น เราสามารถ ถ่ายรูปคู่กับ สิ่งที่อยู่ในไซเบอร์ เราอาจสร้างสัตว์ประหลาด เพื่อให้ผู้คนมาอยู่ร่วม สามารถถ่ายรูปออกมาได้สมจริง ร้านค้าอาจใช้วิธีการให้ลูกค้า เห็นสินค้าตัวเองร่วมกับของอื่นในโลกสมมุติได้

           

          การเชื่อมโยง ซื้อขายสินค้าออนไลน์ ในรูปแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน คงได้รับการพัฒนา ให้ ผู้ซื้อ เข้าไปชมสินค้าได้อย่างเสมือนจริง การทำงาน การสื่อสาร จะเป็นโลกที่ผสมผสานทั้งโลกจริงและไซเบอร์ไว้ด้วยกัน

เราสามารถประยุกต์ในเรื่องการทำงาน การสร้างสังคม เป็นเครื่องมือให้เกิดการทำงานร่วมกัน โลกในอนาคตจะมีโลกสมมุติ ที่สร้างในไซเบอร์ให้เห็นมากขึ้น

           

          โปเกม่อน โก น่าจะเป็นบทเรียน ให้เราได้ศึกษา วิเคราะห์ ได้เรียนรู้ และหาทางนำไปปรับใช้ เพราะจุดเด่นเหล่านี้ สามารถนำมาปรับใช้ กับชีวิต และการทำงาน การศึกษา การเรียนการสอน ของเราได้อีกมาก

 

          ก็อยากเตือนว่า อย่าสนุกกับการวิ่งไล่จับ โปเกม่อน อย่างเดียว อยากให้หยุดคิด วิเคราะห์ แล้วลองเหลียวดูว่า เราจะประยุกต์โดยใช้ โปเกมอน โก เป็นบทเรียน ที่เราจะเอาแนวคิด บางอย่าง มาต่อยอดได้อย่างไร 

 

     ยืน ภู่วรวรรณ

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด