Technology AV Media ; Special Reports

งานเปิดตัว WolfVision Cynap

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

“ ตอบโจทย์ทุกการพรีเซ้นต์ ด้วยนวัตกรรมทันสมัย
สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกชนิดทั้ง iOS, Windows, ลีนุกซ์, และแอนดรอยด์ ”

 

          WOLFVISION CYNAP เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้บริหารจัดการ การแสดงผลภาพอันล้ำสมัย ตัว CYNAP เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณภาพระดับความละเอียด 4K ออกสู่อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ โปรเจคเตอร์, สมาร์ทโฟน, แท็บเลต, พีซี, แล็บท็อป ผ่านเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi และผ่านการเชื่อมต่อพอร์ต HDMI รวมถึงคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ในห้องประชุมบอร์ดองค์กร และห้องเลคเชอร์ในสถาบัน การศึกษา รวมถึงอีเว้นต์ที่จัดอบรมสัมมนาต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมกับการพรีเซ้นต์มากขึ้น สำหรับงานเปิดตัว Cynap ครั้งนี้ ผู้เขียนได้เก็บบรรยากาศมาฝากผู้อ่านทุกท่านที่พลาดงานดังกล่าว ในการบรรยายในครั้งนี้ขอแนะนำตัววิทยากรคือ คุณโทมัส จาก WolfVision โดยเป็นผู้บรรยายในภาคภาษาอังกฤษ พร้อมกับมีพิธีกรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ บริษัทวิชัยเทรดดิ้ง ทำหน้าที่เป็นล่ามให้คำบรรยายเป็นภาษาไทย ถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเข้าสู่เนื้อหากันเลยนะครับ

 

 

          คุณโทมัส เริ่มบรรยายและกล่าวต้อนรับทุกท่านเข้าสู่งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณโทมัส ได้กล่าวในภาพรวมก่อนว่า... ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีความเป็นมาอย่างไร ส่วนรายละเอียดต่างๆ อย่างที่พิธีกรเรียนว่า หลังจากจบบรรยายแล้วทุกท่านสามารถสอบถามและลองเล่นอุปกรณ์ตามสเตชั่นต่างๆ ได้ ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแนะนำตัว Cynap ตัวที่เค้าเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบนี้ทำอย่างไร เนื่องจากตัว Cynap มีระบบการเชื่อม ต่อแบบสายสัญญาณและแบบไร้สาย ทั้งสองอย่างอยู่ในเครื่องเดียวกัน จะทำให้ยูสเซอร์หรือผู้ที่ทำงานด้าน SI เนี่ย มีความยืดหยุ่นในการทำงาน จะเชื่อมต่อผ่านสายก็ดี หรือผ่านไวร์เลสก็ได้ จากจุดนี้คุณโทมัสอธิบายว่า เครื่องที่เป็น Cynap หนึ่งเครื่องแล้วเชื่อมต่อจากพอร์ต HDMI มาเข้าที่เครื่อง Cynap จะเห็นว่าเครื่องด้านซ้ายและขวาจะมีจอภาพผลแสดงอยู่ก็มีการเชื่อมเข้ามาที่เครื่อง Cynap นี้เหมือนกัน ตรงนี้จะทำให้การทำพรีเซนเตชันมีความสมบูรณ์แบบ ในเชิงของการนำเสนอแบบวัตถุหรือออบเจ็กต์ สำหรับ Visualize ตรงนี้ไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน HDMI เอาต์ เราเชื่อมต่อด้วย LAN ซึ่งทำให้ Cynap สามารถคอนโทรล Visualizer นี้ได้ สำหรับสัญญาณเอาต์พุตของ Cynap มีความละเอียดระดับ 4K ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อสัญญาณไปที่จอระดับ 4K ได้เลย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าจะเลือกเชื่อมต่อแบบไหน บนตัวอุปกรณ์ Cynap มันจะแบ่งออก เป็นสองภาค... ภาคแรกเป็นแบบสาย แบบที่สองเป็นกลุ่มไร้สาย อุปกรณ์ในโลกนี้จะเห็นว่าคงหนีไม่พ้นตัว AirPlay ที่เราจะดึงภาพขึ้นมา ตัว AirPlay ก็คือแอปฯที่ใช้ทำงานด้านพรีเซนเตชันของภาพ ซึ่งจะรองรับตัวแอนดรอยด์ด้วย เป็นส่วนที่ใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์เลย นอกเหนือจากตัวแอปฯ ดังๆ ตัวอื่นแล้ว ตัว Cynap ก็มาพร้อมกับซอฟต์แวร์เฉพาะ ซึ่งสามารถใช้งานและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ตามปกติ

 

 

          สำหรับ WolfVision ถ้าสำรวจภายในอุปกรณ์จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ อย่างแรกก็คือเมนบอร์ดที่มีศักยภาพเพื่อใช้เรนเดอร์ภาพที่ความละเอียดสูง มีชิปประมวลภาพเป็น FPGA และ CPU Intel Core i5 ในตัว Cynap จะมีตัวเน็ตเวิร์คที่เชื่อมต่อเป็นสาย LAN และเป็นแบบไวร์เลสด้วย และยังมีหน่วยความจำและส่วนเก็บข้อมูลเป็นฮาร์ดไดร์ฟ ในบ็อกซ์อุปกรณ์จะมีออปชันให้เลือกคอนฟิกว่าเป็น HDMI หรือ LAN เราก็ใช้บ็อกซ์สแตนดาร์ดที่ใช้กันอยู่ หรืองานนั้นต้องการเชื่อมต่อ HDBaseT 2.0 ก็จะมีออปชันรองรับตรงนี้ ขึ้นอยู่กับการดีไซน์เพื่อใช้หน้างานของเรา เป็นที่ทราบกันดีว่า HDMI มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง ถ้ามีการออกแบบระบบเพื่อเชื่อมต่อสัญญาณในระยะทางไกลๆ ก็อาจจะไปใช้อย่างอื่นแทน 

 

ความเป็นมาของ Cynap

 

          ก่อนอื่นขอเล่าความเป็นมาของ Cynap หากถามว่าทำไมมันถึงกลายมาเป็นบ็อกซ์แบบนี้ ย้อนกลับไปราวปี 2010 ทางแอปเปิลมีการออกผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย เช่นพวก iPad, iPhone ปรากฎว่ามันเริ่มไปต่อไม่ได้ ทาง WolfVision จึงมานั่งคิดกันว่าจะหยุดพัฒนา หรือต่อยอดเทคโนโลยีตรงนั้น จากนั้นทางบริษัทเริ่มมองเห็นปัญหาและเริ่มเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพราะผู้ใช้ iPad เริ่มมีความต้องการบาง อย่างขึ้นมา ในช่วงนั้นฝั่งแอปเปิลค่อนข้างเปิดตัวมาแรง ซึ่งทาง WolfVision ก็เริ่มขึ้น แล้วมาจบเป็นตัว Cynap คิดว่าตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้น ทาง WolfVision ก็พยายามคิดว่า จะมีโซลูชันอะไรออกมา สิ่งแรกที่เค้าทำคือสร้างซอฟต์แวร์ตัวนึงขึ้นมาบน iPad ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถแชร์คอนเท้นต์ผ่าน iPad ได้ ทำให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อระบบถึงกันแล้วแชร์คอนเท้นต์ร่วมกันได้ ทางบริษัทเริ่มปล่อยซอฟต์แวร์นี้ออกมา จากนั้น 2 ปีก็เริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ปล่อยออกมาเริ่มมีดีมานด์ระดับนึง แต่มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของการสตรีมมิ่งสัญญาณภาพ เค้าจึงเริ่มพัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ภายหลังเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า จึงเริ่มพัฒนาตัวบ็อกซ์ Cynap ตัวนี้ขึ้นในปี 2013 โดยมีการฟอร์มทีมพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อพัฒนาสินค้าว่าจะตอบโจทย์ลูกค้ายังไง

 

          ทาง WolfVision ได้มีการเวิร์คช็อปและเชิญลูกค้ามาดูว่า ด้วยเทคโนโลยีนี้ตอบโจทย์ลูกค้าหรือเปล่า สุดท้ายจากปัญหาของลูกค้าหลากหลาย จึงสรุปปัญหาออกมาเป็นกล่องหรือบ็อกซ์ Cynap ตัวนี้ ซึ่งนั่นเท่ากับว่า Cynap ได้มีการพัฒนามาจากความต้องการของลูกค้าจริงๆ สุดท้ายสิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ ก็คือมีอยู่ 4 อย่าง... อันดับที่ 1 คือคุณถืออุปกรณ์อะไรก็ได้เข้ามาในห้องบรรยาย/ห้องประชุม... อันดับที่ 2 เดินเข้ามาปุ๊บไม่มีอะไรเลย สามารถใช้ตัวมีเดีย ตัวออฟฟิศต่างๆ ได้เลย แบบมีเดียเพลเยอร์ ซึ่งไฟล์มันจะมาเป็นอะไรก็ได้... อย่างที่ 3 สำหรับลูกค้าที่พรีเซนต์ทั่วไปก็รองรับ ในด้านเรคอร์ดดิ้งก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งมันก็ยังมีอีกฟรีเจอร์นึงที่ยังไม่ได้บรรจุไว้ในนี้ และที่มาของชื่อ Cynap เนี่ยก็คือมันเป็นจุดเชื่อมต่อของเซลล์สมอง มีการส่งข้อมูลไปยังเส้นประสาทผ่านจุดต่างๆ นี่เป็นที่มาของคำว่า Cynap มองอีกมุมมอง Cynap เป็นเหมือนศูนย์กลางในการเชื่อมต่อเพื่อแชร์สัญญาณภาพร่วมกัน เมื่อ Cynap นั่งอยู่ตรงกลางและทำหน้าที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ อย่างพวกมือถือทั้งหมด แล้วประมวลผลและทำการแสดงผล... อย่างที่ 4 เป็นวิธีการกระจายข้อมูลด้วยวิธีสตรีมมิ่งผ่านอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่า Webcast ปกติในเรื่องการแสดงความคิดเห็นทุกคนจะมีอยู่แล้ว แต่เรื่องการแสดงผลมันมีปัญหาตรงที่ว่า ในฐานะผู้ฟังจะไม่สามารถส่งภาพหรือแชร์ภาพขึ้นหน้าจอหลักได้ จุดเด่นของ Cynap เนี่ยนอกจากจะสามารถแสดงผลแล้ว ยังเชื่อมต่อสัญญาณภาพเข้าสู่โลกดิจิตอลได้ ถือว่าเป็นเครื่องแรกๆ ที่สามารถทำแบบนี้ได้ โดยเฉพาะในด้าน Visualizer 

 

ส่วนประกอบฮาร์ดแวร์

 

          ทีนี้มาดูส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ Cynap ว่ามีอะไรบ้าง อย่างแรกสมมติว่าคุณมีข้อมูล Excel ในแฟลชไดร์ฟ คุณสามารถดึงข้อมูลจากตรงนั้นเข้าสู่อุปกรณ์แล้วแชร์ภาพขึ้นจอและแชร์ให้คนอื่นๆ ได้ด้วย สามารถดึงไฟล์ Excel นำเสนอได้เลยจากตัวแฟลชไดร์ฟ พอเสร็จแล้วก็ดึงออก สามารถที่จะย่อและขยายได้ สามารถสั่งกระโดดข้ามสเปรดชีทได้ มันเหมือนเราใช้งานบนตัวซอฟต์แวร์ Microsoft Office หรือคอนเท้นต์ที่เป็นลักษณะภาพก็ได้ แต่การเชื่อมต่อภาพยังเป็น HDMI อยู่ สำหรับ Cynap สามารถพรีเซนต์ข้อมูลขึ้นสู่จอได้พร้อมกัน 4 เครื่อง ขณะเดียวกัน Cynap สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ คลาวด์ (Cloud : คือการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล... ผู้เขียน) ซึ่งผู้ใช้สามารถนำคอนเท้นต์เข้าไปเก็บไว้ในคลาวด์ได้ ในระหว่างการนำเสนอคอนเท้นต์อาจารย์ท่านนั้น ถ้าอยากรู้ความ หมายข้อมูลคำศัพท์ ก็สามารถเข้าไปเสิร์ซผ่านเบราเซอร์ได้เลย ซึ่งตัว Cynap จะมีหน้าต่างเบราเซอร์เฉพาะให้อยู่แล้ว สามารถเข้าไปที่ Google, Wikipedia ได้เลย ในกรณีที่มีการนำเสนอแล้วหากต้องการการย่อขยายไปพร้อมๆ กันตัว Cynap สามารถทำได้ง่ายมาก กล่าวคือสามารถขยายหน้าจอ Window ให้เล็กลงหรือให้ใหญ่ขึ้นก็ทำได้ เพื่อดึงความสนใจผู้ฟังกลับมา

 

 

 

 

 

Cynap ดีต่อวงการศึกษาอย่างไร

 

          ลองมาดูภาคการศึกษาบ้าง ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ในแวดวงการศึกษาเริ่มมีนวัตกรรมใหม่ นั่นหมายถึงว่า ในวงการศึกษาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเด็กรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังเติบโตมาพร้อมกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน มหาวิทยาลัยในต่างประเทศเริ่มมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนกันบ้างแล้ว โดยการนำเอา Cynap เข้าไปใช้ในห้องเรียน ซึ่ง Cynap ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องการเรียนการสอน... กรณีแรก Cynap ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถเรคอร์ดได้เลย ในระหว่างการเรียนการสอนข้อมูลต่างๆ จะถูกเรคอร์ดเอาไว้หมด ซึ่งมันสามารถส่งข้อมูลไปเก็บไว้เซิร์ฟ เวอร์ส่วนกลาง คนที่เรียนทางไกลหากต้องการดึงข้อมูลไปใช้งานก็สามารถดึงไปได้เลย อีกทางหนึ่งสำหรับอุปกรณ์ที่เป็นสมาร์ทดิไวซ์ ซึ่งนักศึก ษานำเข้ามาในห้องนั้น สามารถที่จะพรีวิวสิ่งที่เกิดขึ้นบนจอได้เลย หรือสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังผู้อื่นที่อยู่ภายในห้องได้เห็นทุกคน นั่นหมาย ความว่า เค้าสามารถส่งคอนเท้นต์กลับไปยังเพื่อนร่วมห้องได้ ระบบสามารถรวบรวมข้อมูลที่อยู่ในมือถือของนักเรียนแต่ละคนเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์หลักของมหาวิทยาลัยได้

 

          ถามว่าอาจารย์ต้องทำอะไรบ้าง เพียงแค่กดปุ่ม Start แค่นั้นแหละ ถ้านักเรียนคนไหนต้องการนำเอาสัญญาณเข้าไปที่เครื่องตัวเอง แค่สแกน QR Code ทุกอย่างก็จบ อันนี้สำหรับเครื่องที่รองรับ V-Solution กล่าวคือเป็นแอปฯพิเศษของทาง WolfVision ก็สามารถที่จะดึงภาพเข้ามาได้ ซึ่งเค้าก็มีการพัฒนาโซลูชันเพื่อรองรับความต้องการลูกค้า นี่คือความง่ายของนักเรียนที่ต้องการแชร์คอนเท้นต์หรือรับคอนเท้นต์จากอาจารย์ โดยการสแกนโค้ด แล้วก็เข้าระบบแชร์คอนเท้นต์ร่วมกับผู้อื่น แต่ก็มีส่วนที่ยากเหมือนกัน แต่ว่าถ้าได้ลองเล่นแล้วจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เราสามารถเอ็ดดูเคทได้ แล้วเซฟเป็นสแน็ปช็อต ในขณะเดียวกันถ้านักเรียนคนไหนต้องการเก็บข้อมูลเป็นบทๆ อย่างบทที่สามฉันจะเก็บแล้วนะ เพียงแค่เข้าไปที่ตัวดาต้าเบสแล้วดึงข้อมูลมาเลย สิ่งที่นักเรียนเอากลับบ้านไปก็คือคอนเท้นต์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนบวกกับเสียงของอาจารย์ ที่มีการนำเสนอจาก Cynap โดยการสตรีมกลับมาที่เครื่องเรา ดังนั้นนักเรียนที่ดึงคอนเท้นต์ไปจะเห็นภาพการบรรยายและเสียงของอาจารย์

 

          นอกจากนั้นนักเรียนยังสามารถชอร์ตโน้ตแทรกเข้าไปได้ แล้วเก็บเอาไว้เตือนความจำในคอนเท้นต์นั้นๆ สิ่งที่ คุณโทมัส พยายามบอกก็คือว่า ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์อะไรก็ได้ ที่เป็นดีไวซ์ต่างๆ ส่วนใหญ่คนที่มาฟังการพรีเซ้นต์วันนี้ ก็จะมีสมาร์ทโฟนกันทุกคน เราสามารถใช้รับและส่งข้อมูลขึ้นจอหลักผ่าน Cynap ตามที่อธิบายได้ รวมถึง Cynap ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถพรีเซ้นต์ข้อมูลขึ้นหน้าจอหลักในห้องเรียนได้ เปิดโอกาสให้แชร์ข้อมูลให้เพื่อนร่วมห้องหรืออาจารย์ได้เห็น สมมตินักศึกษาที่ต้องการแชร์ข้อมูลของเค้าขึ้นหน้าจอหลัก ถ้าเป็นตัว iPad ก็จะใช้ตัว AirPlay คราวนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะเอาคอนเท้นต์อะไรขึ้นไปแชร์บนจอ สำหรับ AirPlay ต้องดูนิดนึง เพราะมีข้อจำกัดกันเช่นกัน เนื่องจากระบบสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันเพียง 4 อุปกรณ์ นั่นหมายถึงส่งขึ้นจอได้พร้อมกัน 4 Display ซึ่งแปลว่าใครก็ตามที่มี iOS ก็สามารถโยนคอนเท้นต์ขึ้นไปพร้อมๆ กัน 4 เครื่อง จุดเด่นอีกอย่างของ Cynap เวลาประมวลผลภาพจะมีความนุ่มนวล ไหลลื่น ภาพไม่มีสะดุดหรือกระตุก

 

โลกของแอนดรอยด์

 

          สำหรับภาค iOS จบไปแล้ว คราวนี้มาดูภาคแอนดรอยด์ ในโลกนี้ก็ถือว่าเรามีลูกค้าทุกแห่ง เพราะแอนดรอยด์มีคนใช้กันเยอะ ซึ่งบนแอนดรอยด์จะใช้แอปฯอีกตัวนึง เพราะสามารถดึงและส่งภาพผ่าน Cynap ได้ สำหรับยูสเซอร์นั้นไม่ได้ต่างกัน ถ้าคุณใช้ iOS แค่กด AirPlay ส่วนแอนดรอยด์ก็เปิดแอปฯ เช่นกันมันก็จะสแกนหาสัญญาณเพื่อที่จะเกาะเครือข่ายของ Cynap ซึ่งเราจะเห็นว่ามีสัญญาณเน็ตเวิร์คอะไรที่อยู่ในบริเวณนั้นบ้าง สำหรับ AirPlay นั้นมาจากค่ายแอปเปิล ส่วนของแอนดรอยด์ก็เป็น Miracast ขออธิบายนิดนึงสำหรับผู้ที่จะโยนคอนเท้นต์ผ่าน Cynap จะต้องมีแอปฯ เสียก่อน ซึ่ง Miracast รองรับตัว Windows 8.1 ขึ้นไป สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดของ Miracast จะไม่อนุญาตให้ฟีดสัญญาณขึ้นจอหลายๆ เครื่องพร้อมกัน เค้าเลยมีอีกตัวนึงที่เรียกว่า V-Solution ถ้าเราไม่มีการติดตั้งตัว V-Solution นั่นหมายถึงจะมีคอมพิว เตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่จะฟีดภาพขึ้นไปโชว์ สำหรับตัว V-Solution ก็พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานบนแอนดรอยด์ได้ดี หรือบนโน้ตบุ๊คก็ดี ทำให้เราสามารถทำงานได้ยืดหยุ่นขึ้น ทำให้เราฟีดข้อมูลขึ้นไปได้ 4 เครื่องพร้อมกันหรือแอนดรอยด์ 4 เครื่องเช่นกัน เพื่อลดข้อจำกัดของ Miracast

 

          สิ่งที่ Cynap ปลดล็อคก็คือว่าการที่คุณนำอุปกรณ์ต่างๆ มาเองเนี่ย ไม่ว่าจะเป็น iOS, Windows, แอนดรอยด์ ลีนุกซ์ มันจะปลดข้อ จำกัดนี้ออก ตรงนี้เป็นอะไรที่สะดวกมากในการที่จะนำคอนเท้นต์ของเราขึ้นบนจอ สำหรับ WolfVision เองเค้าก็คำนึงถึงผู้ใช้งานเหมือนกันนะ ในการที่จะฟีดข้อมูลขึ้นไปบนจอ ซึ่งบนตัว Cynap จะมีแอปฯที่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเครื่องที่สามารถบริหารจัดการคอนเท้นต์และสัญญาณเน็ต เวิร์คได้ ในการที่เรานำคอนเท้นต์จากหลากหลายแหล่ง จากดีไวซ์แต่ละท่านขึ้นไปบนจอนั้น ถ้าเป็นระบบทั่วไปไม่มีทางเข้าใจ ดังนั้น Cynap จึงเป็นตัวกลางในการจัดการให้ยูสเซอร์เข้าถึงส่วนนี้ได้ง่าย แม้ว่าแอปฯอย่าง Miracast จะมีข้อจำกัดดังกล่าวก็ตาม ว่าจะจัดการยังไงให้ดีที่สุด

 

          Cynap จะทำการประมวลผลในเรื่องเรโซลูชันว่าความละเอียดเท่าไหร่ที่ถูกส่งเข้ามา ไม่ว่าเราจะพลิกแนวตั้งหรือแนวนอน ระบบของ Cynap จะจัดการให้ภาพดังกล่าวให้ใหญ่ที่สุด และออฟติไมซ์ให้เหมาะสมที่สุด เรียกว่าจัดแล้วทุกภาพมีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่ระบบจะทำได้ ภาพสไลด์สุดท้ายของการพรีเซ้นต์ จะเห็นว่า Cynap กำลังนำเสนออะไร มีโซลูชันอะไรบ้าง อันแรกจะเป็นเรื่องของคุณสามารถเอาอุปกรณ์ของคุณอะไรก็ได้เข้ามาที่จะทำการพรีเซ้นต์ และในเรื่องการทำเรคอร์ดดิ้งขึ้นมา พร้อมทั้งยังมีเรื่องของ Webcast อีกด้วย ทั้งสามฟังก์ชันถูกบรรจุอยู่ภายในกล่องตัวนี้แล้ว

 

          ในเรื่องความง่ายเนื่องจากแอปพลิเคชันที่มีให้แล้วบนตัว Cynap ทำให้ผู้บรรยาย/ผู้สอนไม่ต้องเตรียมอะไรมาเลย เพียงแค่ดึงข้อมูลจากคลาวด์อย่างเดียวแล้วก็เพลย์ หรือเราจะเพลย์จากตัวแฟลชไดร์ฟ หรือตัวคลาวด์ก็ได้ แล้วเสียบเข้าไปที่เครื่องดึงข้อมูลออกมา ตอนนี้แอปฯตัวนึงที่ยังไม่ถูกปล่อยออกมากับเฟิร์มแวร์ตัวล่าสุด เดี๋ยวรอสักพักเราสามารถอัพเดตได้ เพราะตอนนี้ยังไม่ถูกใส่มาคือ Cynap เนี่ย เค้าพยายามจะเริ่มต้นระหว่างคอนเท้นต์ที่เป็นเรื่องของดิจิตอลและคอนเท้นต์ที่อยู่ในรูปอะนาล็อกดีไวซ์ทั้งหลาย สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คอนเท้นต์อะนาลอกมาอยู่ในรูปของดิจิตอล ง่ายสุดก็คือเอาออปเจ็กต์ไปวางบนอุปกรณ์พวกโอเวอร์เฮดหรือ Visualizer ส่วนดิจิตอลก็เป็นพวกไฟล์คอนเท้นต์ต่างๆ ทั้ง หมดก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ซึ่งท่านคงทราบดีว่าการเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คของ Cynap นั้นง่ายแค่ไหน และครอบคลุมการใช้งานกับอุปกรณ์ทุกประเภท สุดท้ายตัว Cynap ก็จะทำงานตอบโจทย์ผ่านแอปพลิเคชันที่เราออกแบบ... สำหรับเนื้อหาของวิทยากรก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ…

 

กรณีที่เรามีฮาร์ดแวร์อย่างพวกดิจิตอลมิกเซอร์ ซึ่งมีพอร์ต DVI ส่งสัญญาณภาพออกมา เราจะนำมาประยุกต์ใช้กับตัว Cynap ได้ยังไง...

 

          คุณโทมัส : สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา วิธีการก็คือให้เรานำสัญญาณจาก DVI เราต้องการให้ภาพของจอมิกเซอร์ขึ้นจอใหญ่ใช่มั้ย ก็นำสัญญาณจากตัวมิกเซอร์มาเข้าพอร์ต HDMI IN และ Out สัญญาณออกไปได้ สามารถเรคอร์ดสัญญาณภาพบนจอมิกเซอร์ได้ ซึ่งตัวอุปกรณ์จะมี HDMI IN 1 และ 2 เวลาเราเลือกตัวคอนเท้นต์ คือในอินเทอร์เฟซเค้าจะเขียนว่าเป็นแล็ปท็อป จริงๆ มันก็คือ HDMI 1 อย่างในเคสนี้เราแค่ใช้ตัวแปลงสัญญาณภาพจาก DVI ให้เป็น HDMI เสียก่อน ดังนั้นต้องมีตัวแปลงสัญญาณ เพราะการเรคอร์ดภาพหรือแสดงผลภาพจากมิกเซอร์ จะมี 2-3 คอนเท้นต์ทุกอย่างถูกเรคอร์ดได้หมด รวมทั้งเสียง เพียงแค่ดึงคอนเท้นต์นี้เข้าไปบน Cynap ให้ได้ก่อนทุกอย่างจบ ไม่ว่าจะเป็น HDMI IN, สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, iPad ทุกอย่างดึงขึ้นมาได้หมด...

 

ข้อมูลที่เรคอร์ดจะเก็บไว้ในส่วนไหน…

 

          คุณโทมัส : มีสองกรณี ถ้าเรคอร์ดแล้วเราไม่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อะไรเลย มันจะเรคอร์ดอัตโนมัติไปที่ตัวฮาร์ดดิสก์ภายใน พออาจารย์มาต้องการเรคอร์ดแล้วเอาฮาร์ดดิสก์แบบ External มาเสียบปุ๊บ ข้อมูลมันจะเรคอร์ดที่ตัว External ทันที อย่างไรก็ดี มันจะหาแหล่งเก็บหากไม่เจอ สุดท้ายมันจะไปจบที่ Internal สำหรับอีกเวอร์ชันที่ถูกอัพเกรด มันจะมีดาต้าเบส ซึ่งหากมีการทำ Agenda ทำนองว่า ในช่วงเช้าใครสอนก็ใส่ข้อมูลเข้าไป พอเสร็จแล้ว ทุกอย่างก็จะถูกโหลดเข้าไปเก็บในซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย นั่นเป็นระบบภายในของมหาวิทยาลัย แต่โดยพื้นฐานของอุปกรณ์ตัวนี้ มันจะเรคอร์ดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ภายใน...

 

ตัว Cynap สามารถเห็นฮาร์ดดิสก์สูงสุดกี่กิกะไบต์

 

          คุณโทมัส : สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ FAT32 จะมองเห็นสูงสุดที่ 64 กิกะไบต์ สำหรับเคสที่เป็นภาพวิดีโอจะใช้พื้นที่เยอะ แต่ตรงนี้เวลา 1 ชั่วโมงจะใช้พื้นที่ประมาณ 1 กิกะไบต์ สำหรับการเรียนการสอน พื้นที่หน่วยความจำระดับนี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะได้ถึง 64 กิกะไบต์ เป็นข้อจำกัดของ FAT32 ถามว่าไฟล์วิดีโอที่ถูกเรคอร์ดเป็นฟอร์แมตอะไร ปัจจุบันยังเป็น AVI แต่เฟิร์มแวร์ตัวใหม่จะเป็นฟอร์แมต mp4

 

 

คุยกับผู้บริหาร

 

          หลังจากจบการบรรยาย ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารของกลุ่ม บริษัท วิชัยเทรดดิ้ง ผู้เขียนถามว่ากลุ่มเป้าหมายของ Cynap คือใคร ซึ่งท่านให้ความเห็นดังนี้... มันน่าจะเป็นกลุ่มองค์กร มหาวิทยาลัยด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นตลาดหนึ่ง แต่หลักๆ น่าจะเป็นองค์กร พวกบริษัทใหญ่ๆ ที่มีห้องประชุมบอร์ด ตอนนี้มันมีปัญหาหลักๆ ก็คือการพรีเซ้นต์มันเป็น Mechanism เวลาขึ้นลงบ่อยๆ มันก็ติด พอมันขึ้นมาปุ๊บบางทีวิทยากรยืนบังจอคนฟัง ทำไมล่ะ ผมมี iPad ผมก็ดูผ่าน iPad เป็น ซึ่งภาพมันจะถูกส่งขึ้นไปแล้วมันจะถูกฟีดกลับมา ตอนนี้ไมค์คือเรื่องเสียงมันตอบโจทย์ได้แล้ว แต่ Cynap มันจะมาแทนเรื่องภาพ คือปัจจุบัน เวลาคุณพรีเซ้นต์คุณต้องมีโน้ตบุ๊ค ทำการต่อสายผ่านโปรเจคเตอร์แล้วจิ้มแฟลชไดร์ฟแล้วขึ้นจอ แล้วเวลาภาพมันขึ้นจอสัญญาณภาพมันเดินผ่านสาย ผ่านสวิตเชอร์ทั้งหมดแล้วกลับมาที่จอใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว โน้ตบุ๊คที่คุณมีอยู่ไม่ต้องต่อสายแล้วนะ เพราะว่าคุณสามารถเชื่อมต่อผ่านไวร์เลสโดยการเกาะ Wi-Fi แล้วโชว์ภาพขึ้นมา ขณะ เดียวกันคนที่เหลือทั้งหมด ถ้าคุณมี iPad คุณก็เข้าไปเชื่อมต่อสัญญาณโดยการเกาะ Wi-Fi พอคุณสแกนหาเน็ตเวิร์กได้ คุณสามารถรับสตรีมมิ่งของสัญญาณภาพที่อยู่บนจอใหญ่ โดยแสดงผลแบบเดียวกันผ่าน iPad ของคุณ นั่นหมายถึงจอที่อยู่บนโต๊ะมันก็ออกไปหมด แล้ว iPad ที่คุณมีมันก็จะรับภาพกลับมา พอถึงคิวของคุณจะพรีเซ้นต์ จะเป็นเพาเวอร์พ้อยต์หรือวิดีโอ คุณก็แค่โยนกลับไปขึ้นบนจอ คอนเซ็ปต์ของตัว Cynap มันทำหน้าที่แบบนี้ ตอนนี้หลายๆ องค์กรที่เขาเจอปัญหา พวกห้องประชุมบอร์ด คือมันไม่สามารถย้อนภาพกลับมาโชว์ มันถึงต้องติดตั้งมอนิเตอร์ แล้วพอมันเป็นมอนิเตอร์ก็ดูไป แต่ไม่สามารถฟีดภาพกลับไปได้ ในเมื่อผมหรือคุณต่างก็มี iPad ทำไมไม่ใช้มัน ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว ทั้ง iPad, iPhone, แอนดรอยด์ ทำไมผมไม่สามารถทั้งส่งและรับกลับในเครื่องเดียว

 

Cynap จำนวนหนึ่งเครื่องเหมาะสำหรับห้องประชุมกี่ห้อง

 

          อันนี้มันเหมาะสำหรับห้องประชุมหนึ่งห้อง สมมติคุณมีห้องใหญ่ ประโยชน์ของห้องประชุมใหญ่ หรือในมหาวิทยาลัยก็ได้ นิสิตนักศึก ษาก็จะมีดีไวซ์เป็นของตัวเอง ทุกคนมีมือถือ มีโน้ตบุ๊ค มีพีซี เหมือนอาจารย์เวลาสอนเนี่ย ก็จะโยนภาพเข้าไปในโน้ตบุ๊คของนักศึกษาแต่ละคน นักศึกษาก็ดูจอใหญ่ หรือดูในอุปกรณ์ตัวเองก็ได้ จุดเด่นของมันถ้าดูผ่านอุปกรณ์ตัวเอง มันสามารถเขียนช็อตโน้ต เขียนแอนโนเตชัน (Annotation ; คำอธิบายประกอบ, หมายเหตุ) เหมือนกับคุณกำลังเลคเชอร์ตามอาจารย์แล้วคุณเขียนคำอธิบายหมายเหตุตาม เมื่อคุณเขียนจบเซสชันปุ๊บ คุณสามารถเซฟข้อมูลเข้าไว้ที่เครื่องของคุณได้เลย จากนั้นคุณก็เอาไฟล์นี้กลับบ้านไปนั่งอ่านดู อันนี้คือประโยชน์ในเรื่องของการ ศึก ษา ทีนี้พวกห้องประชุมใหญ่ๆ เนี่ย มันจะต้องมีเวที ซึ่งจะมีวิทยากรถูกมั้ย แต่ปัญหาของวิทยากรส่วนใหญ่คือจะหันหลังให้กับจอ ฉะนั้นคุณต้องมีมอนิเตอร์วางอยู่ด้านหน้า แต่ถ้าคุณมีระบบของ Cynap คุณไม่จำเป็นต้องมีมอนิเตอร์ คุณแค่สตรีมเอาภาพนี้มาอยู่บน iPad มันก็คือมอนิเตอร์บน iPad เวลาคนอื่นพรีเซ้นต์เขาสามารถเห็นภาพนี้ สามารถจับภาพบนจอใหญ่ได้เลย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีมอนิเตอร์ มันสามารถประยุกต์ใช้งานไปได้หลายอย่าง สำหรับเรื่องการพรีเซ้นต์ผ่านระบบไร้สายเนี่ย ผมว่าใครๆ ก็ทำได้ ยี่ห้ออะไรก็ทำได้ แต่ว่าการสตรีมมิ่งกลับมาบนจอเราเนี่ย ส่วนใหญ่ทำไม่ได้ นี่คือจุดแข็งของ Cynap เจ้าอื่นยังไม่มีใครทำได้แบบนี้ ของเราคือเจ้าแรก...

 

สำหรับผู้อ่านท่านใดต้องการอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่...
บริษัท เครื่องเสียง จำกัด
419/2 ซ. สุขุมวิท 63 (เอกมัย) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
Tel. 0-2715-0970-4 Fax. 0-2715-0969
E-mail : sales@sound.co.th, www.sound.co.th

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด