PA & Sound / Light On Stage ; Reports News

โครงการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง

 

โครงการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง

 

 

          ถาบันการอาชีวศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี และเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาการ สถาบันการอาชีวศึกษา เป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง ที่ชำนาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุ รักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้บริการทางวิชาชีพแก่สังคม ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 โดยกฎกระทรวงการรวมสถานศึก ษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 จำนวน 19 สถาบัน 161 วิทยาลัย และมีสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรจำนวน 4 สถาบัน 41 วิทยาลัย

 

          สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ได้จัดตั้งเป็นส่วนราชการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 มีเป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคน ที่แตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป กล่าวคือ เน้นผลิตบุคลากรที่มีสมรรถนะในการปฏิบัติ งานได้จริง มีความเชี่ยวชาญชำนาญเทคโนโลยี และมีคุณธรรมจริยธรรม นอกจากจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแล้ว สถาบันยังเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการผลิตและพัฒนากำลังคนอา ชีวศึกษา เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ท้องถิ่น และประเทศ และเพื่อรองรับการกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางอีกด้วย

 

 

โครงการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบและเสียง

  

          สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ร่วมมือกับสถา บันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้ลงนามร่วมกันระหว่าง นายสมพงษ์ จตุทอง ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 และ นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 เพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง คณะทำงานโครงการฯ ได้เข้าร่วมปรึกษาหารือกับทุกสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ผู้แทนหน่วยงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการบัน เทิง ธุรกิจระบบแสงและเสียง

 

          เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน พัฒนา และผลักดันมาตรฐานวิชาชีพและคุณ วุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง เพื่อเป็นการรองรับประ ชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บุคลากรในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง จะสามารถนำไปพัฒ นาศักยภาพและสมรรถนะของตน เอง ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้ตรงกับความต้องการ สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลัก สูตรการเรียนการสอน ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และจะนำ ไปสู่การเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน ให้กับประเทศไทยได้ในที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นในข้อสรุปการประชุมจากทุกภาคส่วนมีข้อสรุปร่วมกันคือ ทุกภาคส่วนเห็นด้วยกับการจัดทำมาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโน โลยีระบบแสงและเสียง เพื่อเป็นการยกระดับคนในอาชีพ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

          ทั้งนี้ การมีมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโน โลยีระบบแสงและเสียง จะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับมาตรฐานของทรัพ ยากรมนุษย์ในธุรกิจบันเทิง เพิ่มผลิตภาพส่วนบุคคลของบุคลากรด้านสาขาอา ชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งยังรับรองการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ที่เกิดจากประชา คมเศรษฐกิจอาเซียนได้อีกด้วย

 

          สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิชาชีพ ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ ให้การรับรององค์ กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคล ตามมาตรฐานอาชีพ เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ ติด ตามและประเมินผลองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคล ตามมาตรฐานอาชีพ รวมทั้งระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม สถานประกอบการ หน่วยงานรัฐและเอกชน ในการเผยแพร่ระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ นอกจากนี้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ มีจุดมุ่งหมายในการเป็นศูนย์กลางการรับรองสมรรถนะของกำลังคน ที่มีสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นกลไกให้บุคคลได้รับการยอมรับในความสามารถ และได้รับวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับสมรรถนะ ประสบการณ์ และความรู้ เพื่อใช้คุณ วุฒิวิชาชีพในการพัฒนา เจริญก้าวหน้าในอาชีพของตนในอนาคต คุณวุฒิวิชาชีพนี้สามารถเทียบเคียงและเชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิอื่นๆของประเทศต่อไป โดยคุณวุฒิวิชาชีพจะถูกแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ในกรอบคุณวุฒิ ดังนี้

 

          ระดับที่ 1 ผู้มีทักษะเบื้องต้น (Basic Skilled Personnel / Worker)

          ระดับที่ 2 ผู้มีทักษะฝีมือ (Skilled Personnel / Worker)

          ระดับที่ 3 ผู้มีทักษะเฉพาะทาง (Specialized Skilled Personnel / Worker)

          ระดับที่ 4 ผู้ชำนาญการในอาชีพ (Supervisors, Foreman, Superintendents Academically, Qualified Worker, Junior Management)

          ระดับที่ 5 ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ (Professionally Qualified, and Mid - Management)

          ระดับที่ 6 ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการอาชีพ (Experienced Specialists and Senior Management)

          ระดับที่ 7 ผู้ทรงคุณวุฒิในการอาชีพ (Top Management, Novel & Original)

 

 

จุดมุ่งหมายหมายของโครงการ

 

          จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มอาชีพ เพื่อให้การรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

 

 

วัตถุประสงค์โครงการ

 

            1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มอาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล และเหมาะสมกับประเทศไทย เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและระดับสากล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อรองรับประชา คมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 

            2. เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดทำ พัฒนา และเผยแพร่ มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ 

            3. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ เป็นที่รับรู้และยอมรับในทุกภาคส่วน

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

          ได้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง เพื่อใช้ในการรับ รองสมรรถนะของบุคคลในสาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง ในระบบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ที่พัฒนาโดยสถาบันคุณวุฒิวิชา ชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของประเทศในหน่วยงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

 

 

คุณวุฒิวิชาชีพกับผู้ประกอบอาชีพ

 

          ผู้ประกอบอาชีพที่มีและไม่มีคุณวุฒิทางการศึกษา แต่มีทักษะสามารถยกระดับความก้าวหน้าในอาชีพตนเองได้ ด้วยการต่อยอดความสามารถและพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ โดยเข้ารับการทดสอบความรู้ความสามารถ และสมรรถนะของตน จากองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อรับใบประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ และหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ อันเป็นเครื่องยืนยันระดับความชำนาญงาน และเป็นบันไดสู่ความก้าวหน้าต่อไป

 

 

คุณวุฒิวิชาชีพกับผู้ประกอบการ

 

          ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ สามารถช่วยลดต้นทุน และช่วยแก้ปัญหาเรื่องกำลังคนขาดทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานได้ ช่วยลดต้น ทุนในการฝึกอบรมพนักงาน และเพิ่มอัตราผลผลิต มาตรฐานอาชีพถูกนำไปพัฒนาและต่อยอดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสายวิชาชีพ สามารถทำงานได้จริงหลังจบการศึกษา ผู้ประกอบการจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทักษะของพนักงานได้

 

 

คุณวุฒิวิชาชีพกับสถาบันการศึกษา

 

          การผลิตกำลังคนของประเทศไทยจากระบบศึกษาปกตินั้น เน้นหลักสูตรที่เป็นฐานความรู้ (Knowledge Based) มานานแล้ว จึงทำให้การผลิตกำลังคนดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับความสามารถของกำลังคนที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีหน้าที่หลักในการพัฒนามาตรฐานอาชีพ ซึ่งหากสถาบันการศึกษานำไปประยุกต์ปรับหลักสูตร ให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Based) ได้ ก็จะทำให้การผลิตกำลังคนของประเทศ สอดคล้องกับความต้องการของวงการอุตสาหกรรมมากขึ้น

 

 

คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพ นักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง

 

          1. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขานักออกแบบระบบแสงเวที

          2. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขานักออกแบบระบบเสียง

          3. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขานักออกแบบระบบภาพ

          4. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขานักออกแบบระบบอะคูสติกส์

          5. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างติดตั้งระบบแสงเวที

          6. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างติดตั้งระบบเสียง

          7. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างติดตั้งระบบภาพ

          8. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้ควบคุมระบบแสงเวที

          9. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้ควบคุมระบบเสียง

          10. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาผู้ควบคุมระบบภาพ

          11. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างบำรุงรักษาระบบแสงเวที

          12. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างบำรุงรักษาระบบเสียง

          13. คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาช่างบำรุงรักษาระบบภาพ

 

 

โครงการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง จัดโดย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ซึ่งในฉบับหน้าเราจะมาติดตามความคืบหน้าของการสัมมนาประชาพิเคราะห์ร่างมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ นักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง ที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ว่าได้ข้อสรุปในด้านใดแล้วบ้างและมีขั้นตอนการทำความเข้าใจในเรื่องของคุณลักษณะในร่างมาตรฐานดังกล่าวอย่างไร ซึ่งในวันงานก็ได้รับความสนใจและร่วมมือจากทางผู้ประกอบการและผู้ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมบันเทิงและงานทางด้านระบบแสงและเสียงเป็นจำนวนมาก แล้วมาติดตามรายละเอียดกันต่อในฉบับต่อไปนะครับ...

 


          และเมื่อวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 ที่โรงแรมสวีสโซเทล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้มีการจัดงาน เสวนาอุตสาหกรรมแสงและเสียง ขึ้น ซึ่งในคราวนี้เป็นรอบของ การสัมมนาประชาพิเคราะห์ร่างมาตรฐานคุณ วุฒิวิชาชีพ นักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง โดยมี อ.วันชัย ลิ่มศิริวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการบันเทิง สาขาเทคโนโลยีระบบเสียง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ เป็นประธานการจัดงาน พร้อมพิธีกรผู้ดำเนินงาน คุณชมพูนุช ภัทรขจี ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรรายการ ที่เริ่มงานโดยกล่าวเชิญแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานได้รับชมการฉายภาพแสดงถึงความเป็นมา และความก้าวหน้าของโครงการ และความมุ่งหมายของการจัดงานในครั้งนี้ ต่อ จากนั้นทางประธานการจัดงาน อ.วันชัย ลิ่มศิริวงศ์ ก็ได้ขึ้นกล่าวทักทายผู้ร่วมงาน พร้อมกับกล่าวเสริมถึงจุดประสงค์และขั้นตอนการทำงานต่างๆของโครงการให้ทางผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ จากนั้นจึงเป็นการเปิดงานสัมมนาอย่างเป็นทางการโดยประธานโครงการ คุณสมพงศ์ จตุทอง ผู้อำนวยการสถา บันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ก็ได้ขึ้นกล่าวเปิดงาน พร้อมกับแนะนำวิทยากรผู้ร่วมบรรยายและอธิบายถึงความสำคัญและความแตกต่างของคุณวุฒิวิชาชีพกับคุณวุฒิทางการศึกษาที่มีการดำเนินการอยู่ขณะนี้ว่ามีความแตกต่างและมีประโยชน์ร่วมกันอย่างไร โดยวิทยากรผู้ร่วมบรรยายในครั้งนี้ประกอบด้วย คุณนิรัน ตั้งไพบูลย์ ที่ปรึกษาและออกแบบอิสระระบบ Audio Visual และ คุณธนาฒย์ ปิติพรเทพิน ที่ปรึกษาและออกแบบ Stage Lighting โดยวิทยากรทั้งสองท่านได้ขึ้นมาอธิบายการจัดแบ่งระดับของมาตรฐานทางคุณวุฒิที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกันก่อนว่ามีการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่หรือหัวข้อของระดับต่างๆในแต่ละแขนงของงานระบบแสงและเสียงที่ควรมีอยู่ ซึ่งต่างก็สร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก และสามารถมองและเข้าใจในความสำคัญของโครงการไปในทิศทางเดียวกัน และพร้อมสำหรับการดำเนินการของโครงการในลำดับขั้นต่อไป และในช่วงท้ายของการบรรยายก็ได้มีการตอบคำถามที่เป็นประเด็นสำคัญๆหลายประเด็น ซึ่งก็สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทางผู้เข้าร่วมงานได้อย่างดีเยี่ยม

 

ผู้ที่สนใจในข้อมูลดังกล่าวสามารถติดตามข้อมูลได้ทางเว็ปไซต์และเฟซบุ๊คของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 สำนักงานภายในวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ 7
ถ.กาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร. 0-7421-2515 www.veis3.go.th Facebook : สาขาอาชีพนักเทคโนโลยีระบบแสงและเสียง

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด