PA & Sound / Light On Stage ; แกะกล่องลองใช้

Roland M-5000 - Digital Mixing Console (02)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

 

(เนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว...)

 

อย่างไรก็ดี การออกแบบวงจรแปลงสัญญาณมันจะมีชิปสำหรับแปลงสัญญาณพวกนี้ให้ด้วย คือเปลี่ยนคล็อคให้ เพราะมิเช่นนั้นเสียงมันเปลี่ยนแน่นอน เพราะเปลี่ยนคล็อคนิดนึงเสียงมันก็เพี้ยน

 

     สําหรับตัวคอนโซลจะไม่สามารถเปลี่ยนคล็อคเรตได้ อาจจะเป็นเหตุผลนึงที่ช่วยแก้ปัญหาการเกิดเสียงเปี๊ยะๆ ในกรณีที่ผู้ใช้พยายามเปลี่ยนคล็อคกลางครัน สำหรับ M-5000 ออกแบบให้รันได้ เฉพาะ 24bit/96kHz, 48kHz เท่านั้น อย่าง Apogee นี่เป็นอุปกรณ์ที่มีเสียงเปี๊ยะๆ เพราะมันค่อนข้างจะไดเร็ก ทำนองว่ามายังไงไปอย่างนั้น พอสัญญาณเข้ามา หากมีการเปลี่ยน Sampling rate มันจะเปี๊ยะก่อนเลย เกิดขึ้นตลอด อันนี้เป็นปัญหาของตัวฮาร์ดแวร์ แต่ในเรื่องคุณภาพเสียงยอมรับว่าเสียงดี แต่เป็นระบบไดเร็ก เวลาเปลี่ยนคล็อคปุ๊บเสียงก็มาเลย มันจะบุบบั๊บๆๆ ออกมาแล้วก็เปลี่ยนคล็อค ดังนั้นบอร์ดรุ่นไหนไม่มีตัวแปลงคล็อค หากไม่ใช้ Apogee สัญญาณที่ส่งจากสเตจบ็อกซ์ก็มีโอกาสเพี้ยนได้ อย่างยี่ห้อ TASCAM ที่เราขายบางรุ่นก็มีตัวคอนเวอร์เตอร์ค่า Sampling rate แต่บางรุ่นก็ไม่มี รุ่นที่มันไม่มีให้สังเกตง่ายๆ เวลาเราเอา 44.1kHz มาทำที่ 48kHz เสียงมันจะเปลี่ยน คือฟังปุ๊บทำให้เรารู้สึกได้ว่าเสียงมีการเปลี่ยน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องคีย์กับความเร็วเพลง

 

 

อะนาลอกเกน vs. ดิจิตอลเกน

 

          ถัดไปในเรื่องของเกน เค้าจะมีเกนอยู่สองแบบคือเป็นอะนาลอกเกนและเป็นดิจิตอลเกน บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเกนไม่เหมือน กัน จริงๆ แล้วตัวเครื่องมันจะมีความแตกต่างอยู่นิดนึงก็คือ ในเรื่องของหน่วย dB ซึ่งบนจอของคอนโซลมันจะโชว์ค่า dB เป็นค่าติดลบ ค่าเกนลบยิ่งมากหมายถึงเกนยิ่งดัง แต่ถ้าเป็นค่าบวกจะบ่งชี้ว่าค่า Attenuation ลดลงเยอะ มันจะมีส่วนนี้ที่มันแตกต่างกับยี่ห้ออื่นๆ เรื่องเกน อย่างที่ผมบอกว่ามันมีทั้งอะนาลอกและดิจิตอลเกน ให้สังเกตแถบสีแดง ก็คือจะโชว์สีแดง ส่วนดิจิตอลเกนก็จะคล้ายกับเกนไมค์ธรรมดา อย่างอะนาลอกเกน ถ้าเป็นสัญญาณจากไมค์หากเราเร่งเกนเยอะ มันจะมีน้อยส์เพิ่มเข้ามาเยอะ ทำให้ผมเร่งได้ไม่มากนัก อาจจะได้แค่ในระดับนึง พอเราปรับเกนอะนาลอกได้แล้ว เราค่อยมาชดเชยด้วยดิจิตอลเกน การทำงานของมันก็คือ จะเอาเกนนั้นมาแล้วก็ยกค่าเริ่มต้นมันจะถูกเซตเป็น 0dB หรือ Unity Gain แต่สามารถยกเกนให้สูงขึ้นเป็น 42dB ต่ำสุดก็เป็นค่า -42dB เช่นกัน ส่วนเกนอะนาลอกค่าบวกของเขาคือ 55dB ซึ่งก็คือค่าติดลบ... แต่เป็นค่าลบในมุมดิจิตอลนะ... อย่าสับสน

 

 

ฟังก์ชัน ANALYZER

 

          ถัดไปเป็นเรื่องของแชนเนล ตอนนี้ที่วิ่งอยู่คือ 40 แชนเนล หมายความว่า I/O หนึ่งตัวจะรันได้ 40 แชนเนล ก็คือไปกลับได้ 40 แชนเนล หากถามว่าคอนโซล M-5000 สามารถเชื่อมต่อกับสเตจบ็อกซ์ได้กี่ตัว ในกรณีที่ไม่มีการใส่การ์ดเพิ่มตัวบอร์ดจะเชื่อมต่อกับสเตจบ็อกซ์ได้ 2 แท่น เนื่องจากตัวบอร์ดจะมีพอร์ต REAC จำนวน 2 ช่อง ซึ่งมาพร้อมกับตัวเครื่องอยู่แล้ว นั่นคือ REAC พอร์ต A และ B ซึ่งรวมแล้วจะได้ 80 In/Out ไม่รวมกับช่องสัญญาณด้านหลังเครื่อง ถ้าในกรณีที่เราซื้อไปใช้กับสเตจบ็อกซ์ยี่ห้ออื่น อาจจะเป็น MADI หรือ Dante ก็แค่เพิ่มการ์ด Expansion สำหรับการเชื่อมต่อสเตจบ็อกซ์เราสามารถพ่วงกันได้ง่ายๆ เลยคือ สายเส้นนี้มันได้ 40in/40out แต่ว่าสเตจบ็อกซ์ของผมมันรองรับได้แค่ 24in/ 16out แสดงว่ามันยังขาดอยู่ ผมสามารถพ่วงสเตจบ็อกซ์เล็กๆ อีกหนึ่งตัว เพื่อให้มันเต็ม 40 ช่องสัญญาณได้ เราสามารถใช้สเตจบ็อกซ์มาต่อพ่วงกันแล้วลากสัญญาณผ่านสายเคเบิล Ethernet เส้นเดียวซึ่งจะได้สูงสุด 40 ช่องสัญญาณ แต่ถ้าต้องการมากกว่านั้น เราต้องเดิน 2 เส้น ก็แยกสเตจบ็อกซ์เป็นฝั่งละ 2 ตัว มันก็จะได้รวม I/O เป็น 80in/80out เพื่อดึงสัญญาณเข้ามาโพรเซสในระบบ สำหรับการเชื่อมต่อของ Roland จะไม่ต้องใช้สวิตช์ฮับ เราสามารถเชื่อมต่อจากสเตจบ็อกซ์เข้าไปเลย

 

 

ฟังก์ชันการสร้าง Link Channel

 

          นอกจากนั้นตัวคอนโซลยังมีฟังก์ชันที่ตรวจหาอุปกรณ์ให้โดยอัตโนมัติ ผมจะเปิดให้ดู ตอนนี้เครื่องมันจะมองเห็นตัวอุปกรณ์ ซึ่งมันระบุว่าต่อไว้ที่พอร์ต A คราวนี้ผมจะดึงสายเคเบิลออก แล้วเสียบสายเคเบิลเข้าไปใหม่อีกครั้ง ระบบจะทำการ Auto Detect ให้โดยอัตโนมัติเลย ตัวนี้ไม่ต้องทำการคอนฟิกใดๆ ทั้งสิ้น เสียบปุ๊บมองเห็นเลย สิ่งหนึ่งที่เราต้องจำเวลาเราเชื่อมต่อสายก็แค่ว่าจะให้เขาเป็นมาสเตอร์ (Master) หรือเป็นสเลฟ (Slave) อีกตัวจะทำหน้าที่เป็นสปลิตเตอร์ (Splitter) ที่จะใช้สำหรับการต่อพ่วงออกไปอีก สมมติว่าตัวนี้ต่ออยู่แล้วเรายังส่งไปยังระบบอื่นๆ จะเป็นบอร์ดห้อง OB, มิกซ์บนสเตจ ไอเดียก็จะคล้ายกับ MIDI THRU เป็นลักษณะแพทเทิร์นเดียวกัน คือบายพาสสัญญาณออกไป ทางเราเคยเจอปัญหานึง เป็นบอร์ดยี่ห้อนึง ใช้ในรายการกาลาแมร์ เขาถึงขนาดที่ว่าต้องรีบูตคอนโซลใหม่ รีบูต I/O แล้วกว่าจะบูตคอนโซลขึ้นมาได้ ใช้ไปเวลาเท่าไหร่ สำหรับการปิดเครื่องไม่ต้องใช้คำสั่ง Shutdown สามารถกดสวิตช์ปิดได้เลย ระบบ Roland จะเซตง่ายคือไม่ต้องมานั่งเซต IP Address มันจะมองเห็นอุปกรณ์โดยอัตโมัติ สำหรับคอมพิวเตอร์จะถูกใช้ในกรณีที่เราต้องการปรับค่าคอนฟิกของตัวแชนเนลมากกว่า

  

 

คุมรีโมทระยะไกลบน iPad

 

การควบคุมระยะไกล

   

          ไอเดียการใช้งานจะเป็นแบบเอดิเตอร์ เค้ามีซอฟต์แวร์ให้ เราสามารถเชื่อมต่อหรือลิงค์ผ่าน LAN ได้ ผ่าน Wi-Fi ได้ เพื่อปรับแต่งค่าต่าง ๆ เวลาเรายืนอยู่หน้าสเตจ เราอาจจะไม่ได้อยู่ที่หน้าเครื่อง เราสามารถลิงค์ผ่านระบบแล้วปรับค่าพารามิเตอร์ผ่านคอมพิวเตอร์ผ่าน iPad ได้ เสมือนเป็นรีโมทกลายๆ การทำงานจะครอบคลุมทั้งในส่วนของมิกเซอร์และสเตจบ็อกซ์ ซึ่งตัวสเตจบ็อกซ์ก็สามารถสั่งได้ด้วย บางครั้งการติดตั้ง สเตจบ็อกซ์อาจจะวางไว้ไกล ไม่สะดวกที่จะไปปรับแต่ง อาจจะลากไปวางไว้หน้าเวที ซึ่งอยู่ไกลตัวมิกเซอร์ เราสามารถเชื่อมต่อผ่านปลั๊ก LAN แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เราก็สามารถสั่งงานสเตจบ็อกซ์ได้ อย่างเช่นค่าเกนทำได้ ณ. ตรงนั้นเลย ไม่ต้องให้คนหน้าเครื่อง หรือแบ็กสเตจมาปรับ เพราะว่าเวลาเราต่อเข้า REAC อย่างนี้ เราสามารถปรับค่าเกนต่างๆ ผ่าน REAC ก็คือดึงค่าเกนต่างๆ โดยเราสามารถปรับได้ที่ตัวเครื่อง แต่ในกรณีที่อุปกรณ์วางอยู่บนเวที ซึ่งมันอยู่ไกล ซึ่งคนที่อยู่ FOH เขาอาจจะต้องการปรับเกนเพิ่ม เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์สั่งงานระยะไกลได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินไปปรับที่หน้าเครื่อง หรือใช้ให้ผู้อื่นเดินไปปรับแทน จะเห็นว่าสามารถปรับได้สองวิธี

 

          M-5000 สามารถต่อ Cascade ได้ คือสามารถเชื่อมต่อกันได้มากกว่า 2 ตัว แต่ว่าเท่าที่ผมถามทางเอ็นจิเนียร์เค้า เขาบอกว่าระบบ Cascade ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ต้องรอซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาอัพ ลักษณะจะเป็นเฟิร์มแวร์ บอร์ดตัวนี้ลักษณะการทำงานจะอิงกับเฟิร์มแวร์ เพราะว่ามันอยู่ที่ความต้องการของลูกค้า ที่จะต้องเพิ่มมาเรื่อยๆ อย่างถ้าใครซื้อเครื่องวันนี้ รออัพเดตเฟิร์มแวร์อย่างเดียว โดยไม่ต้องเปลี่ยนรุ่น ปัจจุบันเฟิร์มแวร์เพิ่งจะปรับแค่เวอร์ชัน 1.2 แค่นั้นเอง เพิ่งจะเริ่มได้เพียง 2 เวอร์ชัน ทีนี้ก็รออัพเฟิร์มแวร์ไปเรื่อยๆ อย่างตัวเค้า ผมบอกว่ามันไม่ได้ฟิกซ์อะไรเลย in/out ไม่มีการฟิกซ์เลย บอร์ดดิจิตอลบางรุ่นจะถูกฟิกซ์ I/O ไว้ตายตัว คุณมีได้เท่าไหร่ In คุณมีได้เท่านี้ และไม่เกินกว่านั้น คุณใช้งานน้อยกว่าสเป็กได้ แต่ถ้าต้องการมากกว่านั้นไม่ได้ อัพเฟิร์มแวร์ I/O ก็ไม่เพิ่ม หากคุณต้องการ I/O มากขึ้นก็ต้องไปซื้อรุ่นใหม่ มันจะออกมาในลักษณะนี้ สิ่งที่ผมคิดว่ามันก็แล้วแต่ว่าเป็นกรณีๆ ไป ที่เรามองว่าเดิมทีเขามีอยู่ 24 เฟดเดอร์ เค้ายังสามารถ Assign ได้เพิ่มอีก 3 ก้าน เราสามารถ Assign เป็นอะไรก็ได้แยกเป็นเดี่ยวๆ สามารถนำแชนเนลไหนมาวางก็ได้ โดยเลือกให้เป็นแชนเนล 25-26 อะไรทำนองนี้

 

 

ฟังก์ชัน DOWN MIX SETUP

 

เอฟเฟ็กต์โพรเซสเซอร์

 

          ทีนี้มาดูในเรื่องของเอฟเฟ็กต์ ไอเดียของเค้าจะเป็นลักษณะแบบนี้คือ ในหน้าเอฟเฟ็กต์ก็จะมีจำนวนสล็อต 8 ช่อง ขึ้นอยู่กับเราว่าจะดึงอะไรมาใส่ ซึ่งแปลว่าตัวบอร์ดจะมีเมนเอฟเฟ็กต์ให้เราใส่เข้าไปได้ 8 ชุด ลอยเอาไว้ จะเห็นว่าเหมือนดิจิตอลมิกเซอร์ทั่วๆ ไป นั่นคือมีเอฟเฟ็กต์ลอยเอาไว้ แล้วก็ Send ไปหาเอฟเฟ็กต์ In แต่คอนเซ็บต์จะไม่ใช่เอฟเฟ็กต์ใครเอฟเฟ็กต์มัน เอฟเฟ็กต์ของบอร์ดรุ่นนี้การทำงานจะไม่เหมือนกับปลั๊กอินในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเอฟเฟ็กต์บนคอมพิวเตอร์นั้นหนึ่งตัวสามารถใส่ได้ในทุกๆ แชนเนล โดยการปรับพารามิเตอร์ให้แตกต่างได้อย่างอิสระ แต่วิธีการใช้งานบนบอร์ดดิจิตอลมิกเซอร์อาจจะแก้ปัญหาลักษณะดังกล่าวได้คือ ผมจะทำการเลือก Insert Channel เข้าไปวางได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเอฟเฟ็กต์ลอยไว้แล้วเราต้อง Send สัญญาณไปให้เค้า แล้วก็ Return กลับมา ซึ่งสรุปว่าบอร์ดรุ่นนี้ก็จะเหมือนกับบอร์ดดิจิตอลทั่วไป เพียง แต่ว่าช่องสล็อตสำหรับใส่เอฟเฟ็กต์จะมี 8 ช่อง สมมติว่า เราต้องการให้เสียงร้องเด่นขึ้นมาก เราก็ Add เอฟเฟ็กต์ตัวนี้เข้าไปในแชนเนลของเสียงร้อง นั่นแปลว่าเรามีเอฟเฟ็กต์แยกเฉพาะ เราสามารถรวมก็ได้หรือแยกก็ได้ แต่ถ้าหากใช้ไปแล้วจะดึงมาใช้ซ้ำไม่ได้ ปกติถ้ามันอยู่ในระบบสแตน ดาร์ด มันก็จะอยู่ใน Aux Send โดยใช้ Send สัญญาณไปหาเอฟเฟ็กต์ใดๆ แล้ววนเอาต์พุตกลับมาทาง Return

 

          ตัวอย่างเช่น เรากำหนดเป็น Aux Send เอฟเฟ็กต์เสียงร้อง แล้วเราก็ดึงเข้าแชนเนล จะเห็นว่าวิธีนี้เป็นการเอาเอฟเฟ็กต์ตัวนี้เข้าที่แชน เนลนี้เพียงแชนเนลเดียว ในส่วนการทำแก็งค์เฟดเดอร์ บอร์ดรุ่นนี้ก็สามารถทำได้ แต่มันจะลิงค์กันแบบดิจิตอล เราจะไม่เห็นเฟดเดอร์วิ่งขึ้นลงในเทอมฟิสิกคัล นั่นคือเป็น VCA ธรรมดา เราต้องยกเกนรอไว้ แม้ว่าสไลด์เฟดเดอร์จะไม่ขยับ แต่ในเทอมของดิจิตอลมันทำงานปกติ แค่เราขึ้นเกนไว้ให้เค้า แล้วเราก็ปรับเฟดเดอร์ตัวเดียว วิธีการก็แค่เข้าไปในเมนูที่ใช้สร้างแก็งค์เฟดเดอร์ แล้วเราก็ Assign เป็น VCA จากนั้นเราก็เลือกว่าต้อง การคุมแชนเนลไหนบ้าง แล้วตัวที่เป็นเฟดเดอร์หลักก็จะทำหน้าที่คุมเกนตามที่เราลิงค์ไว้ สำหรับหลักการนี้จะคล้ายๆ กันทุกยี่ห้อ ส่วนคุณสมบัติของเฟดเดอร์ก็จะเป็นมอเตอร์เฟดเดอร์ สามารถตั้งออโตเมชันได้ สามารถเซฟได้หมด กลับมาที่เรื่องเอฟเฟ็กต์ ในหนึ่งแชนเนลจะลิงค์ได้ 8 เอฟเฟ็กต์พร้อมกัน การ Assign เราจะจัดส่งไปที่ Master Effect หรือ Assign เข้าที่แชนเนลนั้นๆ เลยก็ได้ สมมติ แชนเนล 1 ใส่เอฟเฟ็กต์ A แชนเนลที่ 2 ใส่เอฟเฟ็กต์ A เหมือนกัน แต่ว่าพารามิเตอร์จะปรับต่างกันไม่ได้ ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการซ้อนเอฟเฟ็กต์กัน จะเห็นว่ามันจะไม่เหมือนซอฟต์ แวร์ซะทีเดียว เพราะซอฟต์แวร์มันจะมีปลั๊กอินลอยไว้ ใครจะใช้ก็มาโหลดไป แต่ว่าบอร์ดรุ่นนี้จะไม่ได้เป็นแบบนั้น แต่มันจะเป็นในลักษณะที่ว่า มีฮาร์ดแวร์เสมือนอยู่ 8 ช่อง สามารถใช้ได้ทั้งหมด 8 แร็คเอฟเฟ็กต์ แต่ความแตกต่างที่เป็นจุดเด่นคือ มันไม่ได้เซตจากเอาต์พุต อย่างเดียว เราสามารถเอาอินพุตแชนเนลไหนไปวางก็ได้ เพื่อให้เอฟเฟ็กต์ตัวนี้ ทำงานกับสัญญาณอินพุตตัวนั้น นั่นแปลว่าเราจะไม่ฟิกซ์เฉพาะที่ Aux เพื่อให้ส่งไป เราจะดึงจากมันแล้ววนกลับมา ไอเดียก็จะคล้ายๆ การทำงานแบบโบราณเลย

 

          ในส่วนเอฟเฟ็กต์บนบอร์ดเยอะพอสมควร เช่น Stereo Reverb, Reverb Delay 2, Multitrack Delay, Mod Delay, SRV-2000 เป็นต้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือแบบมาตรฐานทั่วไป กับแบบที่ทำเป็นส่วนของเขาเอง ซึ่งอาจจะมีพวกอุปกรณ์เอฟเฟ็กต์รุ่นวินเทจที่เลิกผลิตไปแล้ว ก็จะมาบรรจุอยู่ในบอร์ดนี้ อย่างที่บอกเราสามารถปรับเพิ่มได้ สามารถ Assign เป็น User Preset ตามที่เราต้องการ ซึ่งตัวเอาต์พุตของบอร์ดจะมีอยู่ 16 เราก็ Assign เอฟเฟ็กต์ออกไปได้ ตรงนี้หมายถึงตัวเครื่องนะครับ รวมถึง AES อีก 1 ในส่วนของ In/Out เราจะ Assign จำนวนเท่าไหร่ก็ได้ตามที่อธิบายแล้ว เอฟเฟ็กต์ตัวอื่นก็มีให้เลือกเหมือนกัน เช่น Ducker มีไว้คุมเสียงแบ็กกราวด์มิวสิคให้ดังเบาลง เมื่อมีสัญ ญาณจากไมค์ดังขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับงานพวกดีเจในสถานีวิทยุ หรือการออนแอร์ออกอากาศ งานอีเว้นต์เปิดตัวสินค้า นอกจากนั้นก็ยังมีพวกมัลติคอมเพรสเซอร์ให้เลือกใช้งานอีกด้วย ซึ่งจะมีให้เลือกโหมด 1 และ 2 รวมไปถึงลิมิเตอร์ก็มีให้ มี DeEsser มี Expander จะเห็นเอฟเฟ็กต์สำคัญ ๆ พื้นฐานจะมีให้เกือบหมด คือเค้าจะเป็นแบบนี้ครับ ตัวคอมเพรสเซอร์จะมี 2 ตัว นั่นคือ Compress 1 และ 2 สำหรับตัว Compress 1 ก็เหมือน กัน อยู่ที่ว่าเราจะตั้งให้มันทำงานแบบไหน ผู้ใช้จะกำหนดให้มันอยู่ก่อน EQ หรือหลัง EQ ก็ได้ รวมไปถึงพวก Pre Fader Listening (PFL) ก็มี เป็นมาตรฐานของมิกเซอร์อยู่แล้ว เฟดเดอร์ต่างๆ มีครบหมด 

 

 

ไดนามิกโพรเซสเซอร์

 

ไมค์หนึ่งตัวสามารถ Sum สัญญาณทุกๆ แชนเนลได้หรือไม่

 

          ยกตัวอย่างเช่น ปกติไมค์กลอง Tom 1 จะเชื่อมต่อแชนเนลที่ 1 แต่ผมต้องการนำสัญญาณของไมค์ตัวนั้นจาก Tom 1 มาป้อนอินพุตแชนเนลที่ 2-3-4-5 เพื่อให้เฟดเดอร์ของแต่ละแชนเนล สามารถควบคุมสัญญาณแยกกันอิสระ โดยใช้เพียงแหล่งสัญญาณตัวเดียว ซึ่งวิธีนี้เรียก ว่าการ Send เกนของแหล่งสัญญาณมาให้อีกแชนเนลนึง อย่างกรณีที่เราต้องการมิกซ์กลองกระเดื่องกับ Sub Kick แต่บังเอิญสัญญาณ Sub Kick ไม่มี เราจึงพยายามจำลองสัญญาณจากกระเดื่องให้ออกมาคล้ายๆ กับมีสัญญาณจาก Sub Kick วิธีการก็คือเรา Add สัญญาณอินพุตเดียวกันได้ ปกติเฟดเดอร์ทุกอันมันเป็นอินพุตเดียวกัน ไอเดียนี้เรียกว่าทำยังไงก็ได้ให้เฟดเดอร์ทั้ง 4 ตัวให้ใช้อินพุตเดียวกัน แต่เวลาคอนโทรลเฟดเดอร์และพารามิเตอร์เราก็แยกกันอย่างอิสระ เราสามารถกำหนดให้แชนเนล 1-2 เป็นอินพุต 1 ได้ทั้งคู่ แต่เอาต์พุตแยกกันอิสระ คอนเซ็บต์แบบนี้เป็น Patch แบบลอย ดังนั้น เราจะนำอินพุตเข้ามายังไงก็ได้ ในบอร์ดอะนาลอกอย่างบอร์ดบางรุ่น จะมีช่อง Direct Out ซึ่งปล่อยสัญ ญาณออกไปแล้วป้อนกลับเข้ามาที่ช่องอินพุต ซึ่งบอร์ดดิจิตอลไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น ดิจิตอลสามารถ Patch อินพุตเข้าไปที่แชนเนลปลาย ทางที่ต้องการได้เลย ปกติบางรุ่นจะใช้ซอร์สอินพุตไม่ได้ กล่าวคือถ้าอินพุตนั้นถูกใช้ไปแล้วจะเรียกซอร์สนั้นไปใช้ไม่ได้อีก แต่ตัว M-5000 สามารถใช้งานได้ครับ แม้ในทางกายภาพด้านหลังบอร์ดจะมี Direct Out สามารถ Sum อินพุตได้ จากวิธีการข้างต้นก็ใช้หลักการคือ ใช้อินพุตเดียวกันแต่เพิ่มแชนเนลของสัญญาณ แล้วปรับค่าพารามิเตอร์แยกกันตามที่ต้องการ ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานของบอร์ดดิจิตอล ซึ่งบางยี่ห้อก็ทำได้ ของเราเองก็ทำได้เช่นกัน

 

 

เอฟเฟ็กต์ Rack

 

Solo in Place

 

          นอกจากนั้นยังมีตัว Solo ด้วยนะ ชื่อว่า Solo in Place สำหรับตัวนี้งานไลฟ์ซาวด์บางประเภทชอบใช้ ถ้ากดปุ่มนี้มันจะไปออกลำโพงปลายทาง อย่างเช่น เอ็นจิเนียร์ไม่ต้องการให้เสียงออกที่เมนพีเอ แต่ต้องการให้สัญญาณนั้นๆ ออกเฉพาะบนลำโพงมอนิเตอร์ที่อยู่บนเวที ก็จะใช้ปุ่มนี้ โดยปกติคนเค้าก็ไม่กล้าใช้ เพราะกลัวเสียงมันไปไหนต่อไหน เกรงว่าจะปล่อยเสียงที่ไม่สมควรปล่อยออกไป ส่วนพวกเกนเฟดเดอร์ สามารถส่งไปบนสเตจแล้วก็สามารถปรับแต่งด้วย iPad เค้าก็ไปคุมสัญญาณเองว่าอยากจะได้เกนไมค์เท่าไหร่ แต่ข้อจำกัดคือมันปรับ In/Out ไม่ได้ เพราะไม่งั้นจะมาวุ่นวายกับคอนโซลหลักตรงนี้ บน iPad สามารถปรับเกน ปรับ EQ อะไรต่ออะไรได้ผ่านซอฟต์แวร์ เราก็ฟีดสัญญาณไปให้นักดนตรีแต่ละคน ไปให้เขาจัดการกันเองเลย ใช้ได้ทั้ง iPad, PC, Mac ได้หมดเลย ตอนนี้อุปกรณ์ iPad มันกลายเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานของอุปกรณ์ดิจิตอลมิกเซอร์ไปแล้ว แต่ว่า PC, Mac ยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน บางเจ้าก็มีแต่บางเจ้าก็ไม่มี บางเจ้าก็ต้องต่อสายเชื่อมต่อค่อนข้างจะวุ่นวาย แต่ตัวนี้เขาใช้ Wi-Fi อย่างเดียว ใช้ LAN และ USB ได้ การกระจายสัญญาณไวร์เลสจะเชื่อมต่อกันระหว่างสองตัว หลังจากเราติดตั้งซอฟต์แวร์เสร็จ เราเสิร์ซหาตัวลูก/ตัวแม่ แล้วเชื่อมผ่าน Wi-Fi ปุ๊บมันจะมองเห็นกันเลย...

 

 

 

 

 

... (โปรดติดตามอ่านในตอนต่อไป... ครับ)....

 

สำหรับท่านใดสนใจรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
บริษัท กมลสุโกศล อีเล็คทริค จำกัด

เลขที่ 665 ถนน มหาไชย แขวง สำราญราษฎร์ เขต พระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02-222-2700-9, 02-221-4121-5

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด