PA & Sound / Light On Stage ; เรียนรู้และใช้งาน

Digital Mixing Console (9)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

 

“ O2R ในยุคนั้นถือว่าเป็นเจ้าพ่อตลาดดิจิตอลมิกเซอร์ ที่สตูดิโอหลายแห่งต้องมีไว้ กระทั่งมันกลายเป็นมาตฐานระดับโลก ”

 

... (เนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว..)...

 

 

DMP9-16 มุมมองด้านหน้า

 

 

DMP9-16 มุมมองด้านหลัง

 

          ผ่านเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1993 หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับ DMP11 ซึ่งเปิดตัวไปตั้งแต่ปี 89 ยามาฮ่าได้ปล่อย DMP9 ออกมาซึ่งมีสองเวอร์ชันนั่นคือ DMP9-8 และ DMP9-16 ทั้งสองยูนิตสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะให้รันแชนเนลได้ตั้งแต่ 24 หรือ 32 แชนเนลพร้อม กับสวิตช์ควบคุมการทำงานและลูกบิดต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือจอ LED นับว่าเป็นดิจิตอลมิกเซอร์เอ็นจิ้นตัวแรกๆ เลยทีเดียว ถัดมาช่วงทศ วรรษ 1994 ยามาฮ่าเปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น ProMix01 จุดเด่นของรุ่นคือสามารถที่จะโปรแกรมได้เหมือนการทำงานอะนาลอก ซึ่งให้ฟิลลิ่ง แบบเดียวกัน และมิกเซอร์บางค่ายก็ยึดใช้ตามๆ กันมา สำหรับ ProMix01 ได้ออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถดัดแปลงเพื่อให้ทำงานได้แบบมิกเซอร์ PA เพื่อรับงานอีเว้นต์ขนาดย่อม แต่ให้ผู้ใช้จัดการทำงานได้อย่างไหลลื่นกว่าระบบเก่า และคุณภาพเสียงที่พอสู้กับคู่แข่งที่เป็นบอร์ดอะนาลอกได้ จากข้อเท็จจริงระบบมิเตอร์ก็ออกแบบมาที่ระดับ 0dB และค่าสูงสุดก่อนที่จะเกิดการแตก ซึ่งระบุไว้คือ +15dB ด้วยขนาดกระทัดรัดและให้ความรู้สึกได้ถึงกลิ่นอะนาลอก

 

 

O2R เวอร์ชันแรก

 

          กลางทศวรรษ 90 คือปี 1995 ยามาฮ่าได้เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น O2R (โอทูอาร์) สำหรับงานบันทึกเสียง ซึ่งมีการเปิดรับมาตฐานการเชื่อมต่ออย่าง AES/EBU, ADAT, Tascam และรูปแบบการส่งสัญญาณดิจิตอลในรูปอื่นๆ พร้อมกับสามารถติดตั้งการ์ดออปชันเพิ่มเติมได้ กับจำนวนแชนเนลสูงสุดที่ 44 แชนเนล พร้อมพาราเมทริกอีคิวขนาด 4 แบนด์ และไดนามิกโพรเซสซิ่ง บวกกับอินพุตดีเลย์ และมีเอฟเฟ็กต์ต่างๆ มาพร้อมกับเครื่อง สามารถทำการออโตมิกซ์และทำงานอื่นๆ ได้สารพัด สำหรับ O2R ในยุคนั้นถือว่าเป็นเจ้าพ่อตลาดดิจิตอลมิกเซอร์ที่สตูดิโอหลายแห่งต้องมีไว้ กระทั่งมันกลายเป็นมาตฐานระดับโลก จากข้อเท็จจริง O2R กลายเป็นดิจิตอลมิกเซอร์ที่มืออาชีพให้การยอมรับมากที่สุดรุ่นหนึ่งในยุคนั้น ซึ่งสามารถทำงานโปรเจคสตูดิโอได้อย่างสบาย และเป็นจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตงานดนตรีไปตลอดกาล

 

 

O3R

 

          ปลายยุค 90 ในปี 1997 ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่นใหม่กระทัดรัดนั่นคือรุ่น O3D (โอทรีดี) สำหรับรุ่นนี้เป็นคอนโซลที่ให้ทั้งพลังและการทำงานคล้ายกับ O2R แต่ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่า สามารถทำเป็นแร็คมิกเซอร์ได้ จุดเด่นของ O3R คือรองรับการทำงานเซอร์ราวด์ได้ และมีการอัพเดตซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถใช้เป็นรีโมทคอนโทรลจาก ESAM II ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัดต่อวิดีโอ กลุ่มเป้าหมายของคอนโซลรุ่นนี้คือกลุ่ม Post-Production สำหรับฟรีเจอร์ของ O3R สามารถใช้เมาส์คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อและใช้เพิ่มคลิกคำสั่งต่างๆ บนตัวคอนโซลได้

 

 

O1V เวอร์ชันแรก

 

 

ProMix01 ด้านบน

 

 

ProMix01 ด้านข้าง

 

          ถัดจากนั้นในช่วงปี 1998 ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น O1V หลังจากประสบความสำเร็จกับรุ่น ProMix 01 มาแล้ว คราวนี้มีการออกแบบหน้าตากันใหม่ พร้อมกับฟรีเจอร์ที่สามารถใช้งานร่วมกับการ์ดออปชันตระกูล Mini-YGDAI ซึ่งจะมีสล็อตด้านข้างตัวเครื่องสำหรับติดตั้งเข้าไป ตัวบอดี้ออกมาให้มีขนาดเล็กกว่า O2R และ O3R โดยมีกลุ่มเป้าหมายคืองานบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอล รวมถึงงานที่ต้องการเชื่อมต่อกับลำโพงแบบมีเพาเวอร์ในตัว ด้วยขนาดเล็กกระทัดรัด แต่สามารถทำงานไลฟ์ซาวด์ได้

  

 

PM1D บอร์ดคอนโซลสำหรับงานไลฟ์ซาวด์

 

 

PM1D วางเลย์เอาท์ลูกบิดต่างๆ เป็นระเบียบ

 

 

PM1D พร้อมชุดสเตจบ็อกซ์

 

          ยุคทศวรรษ 2001 ยามาฮ่าเปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น PM1D จากที่เปิดตัว O2R และมียอดขายแบบถล่มทลายมาแล้ว คราวนี้ ยามาฮ่า ยังไม่หยุดพัฒนาระบบดิจิตอล ฝ่ายวิศวกรได้เริ่มมองไปยังตลาดที่เป็นงานไลฟ์ซาวด์ ซึ่งตัว PM ซีรี่ส์ เปิดตัวมาเพื่อตอบโจทย์งานด้านนี้โดย เฉพาะ ผลลัพธ์คือได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อวงการอีกครั้ง และเป็นประวัติการณ์ของดิจิตอลมิกเซอร์สายพันธ์ใหม่ในยุคนี้ สำหรับ PM1D เป็นดิจิตอลมิกเซอร์ตัวแรกซึ่งอยู่ใน ซีรี่ส์ PM กลุ่มเป้าหมายคืองานไลฟ์ซาวด์ พร้อมกับคอนโทรลเซอร์เฟซที่แยกกัน และมีเอ็นจิ้น DSP และ I/O ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันเป็นระบบ ทำให้ระบบมีความแข็งแกร่งขึ้นและไม่มีปัญหาเรื่องน้อยส์และการรบกวนกันเอง ตามที่ระบบเก่าเผชิญมานานหลายทศ วรรษ สำหรับ PM1D ยังออกแบบปลั๊กอินการ์ดให้สามารถเชื่อมต่อ I/O แบบอะนาลอก ให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อะนาลอกอย่าง PM5000 ได้ สำหรับ PM1D ถือเป็นก้าวสำคัญและเป็นก้าวแรกในการสร้างคุณภาพเสียง ซึ่งมี DSP จำนวน 2 เอ็นจิ้น สามารถเชื่อมเข้าด้วยกัน หรือการเชื่อมต่อแบบ mirror mode และมีเคเบิลการเชื่อมต่อในลักษณะ redundant ทำให้ระบบมีความเสถียรสูงขึ้น พร้อมกับฟังก์ชันทางดิจิ ตอลครบถ้วน ทั้งจำนวน I/O ที่สามารถขยายได้ถึง 48 mix และเมทริก 24 บัสเอาต์พุต ตัวบอร์ด PM1D เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาแก้ปัญหางานไลฟ์ซาวด์ระดับไฮ-เอ็นด์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสถียร ความรวดเร็ว ฟังก์ชันและคุณภาพบอร์ดตัวนี้ตอบโจทย์ได้ครบถ้วน

 

 

DM1000

 

 

DM2000

 

          เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2002 ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น DM2000 รุ่นนี้เป็นคอนโซลที่ให้มีระดับแซมปลิ้งเรทสูงถึง 96kHz และมีจำนวน 96 แชนเนล รองรับการทำงานเซอร์ราวด์และโปรดักชันทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานมิกซ์หรือทำเป็นมอนิเตอร์ก็ตาม พร้อมกับช่องเชื่อม ต่อรีโมทขนาด 9-pin ซึ่งสามารถเชื่อมกับซอฟต์แวร์ DAW เช่น Steinberg Nuendo นอกจากนั้นตัว DM2000 สามารถติดตั้งการ์ดออปชันขนาด 16 แชนเนลแบบ Mini-YGDAI เพื่อส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ภายนอกได้ ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่มากและไม่เล็กจนเกินไป ทำให้กลุ่มโปรดักชันต่าง ๆ คว้าเอาไว้ แม้งานไลฟ์ซาวด์ก็สามารถนำไปใช้ได้ หรือจะเป็นสตูดิโอก็ยิ่งเหมาะสม และรุ่นเวอร์ชัน 2 ถูกปล่อยออกมาเพื่อรองรับงานไลฟ์ซาวด์โดยตรง ถัดมาในช่วงนั้น ยามาฮ่า ได้เปิดตัวคอนโซลรุ่น O2R96 หลังจากก้าวแรกที่เปิดตัว O2R มาแล้วและตัว O2R96 ได้ตอกย้ำความสำเร็จอีกครั้ง เนื่องจากบอร์ดรุ่นนี้ได้พัฒนาคู่ขนานกับบอร์ด DM2000 และรวมถึงได้บรรจุเทคโนโลยีและฟรีเจอร์ที่ล้ำยุคเฉกเช่นเดียวกัน ทำให้บอร์ดทั้งสองตระกูลกลายเป็นสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ดิจิตอลที่ให้คุณภาพเสียงดี มีสมรรถนะพร้อมทั้งโดดเด่นด้วยฟังก์ชันใหม่ๆ

 

 

O1V96 เวอร์ชันที่ 2

 

 

O2R96 เวอร์ชันที่ 2

 

          ในช่วงทศวรรษ 2003 ยามาฮ่าได้เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น DM1000 ซึ่งมีสเป็กสูงพอสมควรคือรองรับอินพุตได้ถึง 48 แชนเนล แต่ตัวคอนโซลกลับมีขนาดเล็ก ในเวอร์ชัน 2 รองรับการเชื่อมต่อกับรีโมทคอนโทรล ESAM II ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเดิมทีความสามารถนี้ทำได้เฉพาะรุ่น O3R และรุ่นนี้ดูเหมือนจะประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ได้มากมาย จากโปรดักชันยันงานระดับบรอดคาสต์ หรืองานไลฟ์ซาวด์ก็ทำได้ สามารถนำไปทำได้ทุกอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ เรียกว่าเป็นบอร์ดดิจิตอลที่สามารถใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ครอบจักรวาลที เดียว ช่วงเวลาเดียวกัน ยามาฮ่า ยังเปิดตัวดิจิตอลคอนโซลรุ่น O1V96 ซึ่งบอร์ดรุ่นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานของมืออาชีพ ตั้งแต่โปรดักชันจนถึงสตูดิโอส่วนตัว และงานไลฟ์ซาวด์ก็ทำได้ไม่แพ้รุ่นอื่นๆ สำหรับ O1V96 เป็นอีกรุ่นที่มีความสามารถรอบด้าน ภายใต้บอร์ดขนาดเล็ก และรองรับแซมปลิ้งเรทสูงถึง 96kHz มีขนาดมอเตอร์เฟดเดอร์ 100mm พร้อมรองรับการมิกซ์แบบเซอร์ราวด์ และสามารถควบคุมการทำงานซอฟต์แวร์ DAW ได้อีกเล็กน้อย นับเป็นบอร์ดดิจิตอลเหมาะกับมือใหม่ที่เริ่มเบนเข็มมาเล่นดิจิตอลมิกเซอร์

 

 

PM5D

 

 

M7CL

 

          ช่วงทศวรรษ 2004 ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น PM5D ซึ่งได้ตอบสนองต่อกลุ่มที่ต้องการคอนโซลทำงานอะไรก็ได้ บางครั้งผู้ใช้รู้สึกว่า PM1D มีขนาดไม่เหมาะกับตน ทางเลือกง่ายๆ อาจจะไปเล่นรุ่นที่เล็กลงมาคือ DM200 แต่นั่นสถานการณ์อาจจะไม่เอื้ออำนวยนักเพราะ สมรรถนะบางอย่างก็มีเฉพาะในรุ่น PM1D ดังนั้นตัว PM5D จึงเสนอทางเลือกใหม่ที่ให้คุณภาพที่อยู่ในเกรดเดียวกับ PM5D โดยลดจำนวนแชน เนลลงมา ซึ่งทาง ยามาฮ่า ระบุว่าตัวเลข 5 นั้นหมายถึง 0.5 ทำนองว่าเจอกันครึ่งทาง สำหรับฟรีเจอร์หลักๆ จะตอบสนองการเชื่อมต่อแบบบอร์ด อะนาลอกอินพุต ซึ่งจุดเชื่อมต่อจะวางตำแหน่งคล้ายๆ กับบอร์ดอะนาลอก การจัดการเฟดเดอร์ สทริป และส่วนอื่นๆ ทำให้มองดูแล้วคล้ายกับบอร์ดอะนาลอกมากๆ ทำให้ผู้ที่เคยชินกับอะนาลอกสามารถปรับตัวได้เร็ว ในขณะที่สมรรถนะไม่เป็นรองใคร ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2005 ยามาฮ่า เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่คือ M7CL ซึ่งการพัฒนารุ่นนี้เกิดจากคำถามที่ว่า "มิกเซอร์อะนาลอกให้เสียงสมจริงและใช้งานง่ายจริงหรือ" ซึ่งมีการดัดแปลงวิธีการสั่งงานด้วยระบบทัชสกรีนขึ้นเป็นครั้งแรก กล่าวคือวิธีการทำงานจะเปลี่ยนโฉมไปจากรูปแบบเดิมโดยสิ้นเชิง การเข้าถึงคีย์คำสั่งต่างๆ สามารถผสมผสานการทัชสกรีนและการใช้สวิตช์แบบเก่าๆ ได้ ซึ่งหลายๆ รุ่นก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่าง ยามาฮ่า จึงนิยามให้บอร์ดดิจิตอลให้ใช้งานง่ายๆ ถ้าไม่ง่ายก็อาจจะไม่น่าสนใจ แต่โดยพื้นฐานของทุกๆ ฟังก์ชันจะแบ่งออกเป็นสองเพจ ซึ่งตัว M7CL ได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่คือ Centrallogic ซึ่งเป็นคอนเซ็บต์แรก ที่ให้ผู้ใช้เข้าถึงส่วนกลางของบอร์ดและทุกๆ แชนเนลภายใต้นิ้วของผู้ใช้

 

 

LS9 ซีรี่ส์

 

 

M7CL-48ES

 

          ทศวรรษ 2006 ยามาฮ่า เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ชื่อ LS9 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผับบาร์และไลฟ์เฮาส์ ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่น่าเข้าไปยึดครองให้ได้ และถือเป็นตลาดที่มีความชัดเจนในเรื่องความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายเป็นครั้งแรก เป็นทั้งกึ่งๆ มืออาชีพยันมือโปรทีเดียว โดยอาศัยต้นแบบที่พัฒนาจากรุ่น M7CL โดยใช้โนฮาวทั้งหมดใส่เข้าไปใน LS9 ซึ่งฟังก์ชันหลายๆ ตัวจะพบในบอร์ดรุ่นใหญ่ เพียงแต่ LS9 จะถูกย่อส่วนลงมา ทำให้มีฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นซึ่งสามารถทำงานไลฟ์ซาวด์ได้ โดยตระกูลนี้เปิดตัวออกมาเพียงสองรุ่นคือ LS9-16 และรุ่นใหญ่ขึ้นอีกคือ LS9-32

 

          ถัดไปในช่วงทศวรรษ 2010 ยามาฮ่า เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่คือ M7CL-48ES รุ่นนี้มีการพัฒนาออปชันต่างๆ ที่มีความหลากหลายขึ้น มีทั้งสเตจบ็อกซ์และคอนโซลมิกซ์ หลังจากที่ M7CL ได้ประกาศศักดิ์ดามาแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบของการต่อยอดจากรุ่นดังกล่าว และรุ่นนี้ ยามาฮ่า หมายมั่นปั้นมือที่จะทำให้บอร์ดนี้สามารถทดแทนการทำงานของบอร์ดอะนาลอกให้ได้ โดยรองรับชุดสเตจบ็อกซ์ถึงสามตัวคือรุ่น SB168-ES ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับคอนโซลโดยตรงผ่านพอร์ต EtherSound ซึ่งทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น การส่งสัญญาณต่างๆ สามารถผ่านตัว สเตจบ็อกซ์ ในปีนี้ตัว M7CL ได้ทำแอปฯชื่อ StageMix ออกมาสำหรับรันบน iPad ทำให้ผู้ใช้สามารถเซตอัพระบบและการทำมอนิเตอร์ได้สะดวกขึ้น รวมถึงทำให้การมิกซ์ของเอ็นจิเนียร์สะดวกขึ้น ไม่ว่าเขาจะอยู่ตำแหน่งใดๆ ก็ตาม

 

 

O1V96i เวอร์ชันที่ 3

 

 

CL ซีรี่ส์

 

          ในปี 2011 ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น O1V96i ซึ่งโดยพื้นฐานนั้นเป็นการต่อยอดแบบไมเนอร์เชนจ์ คือนำเอาเทคโนโลยีของการบันทึกเสียงแบบมัลติแทร็กมาใส่บนบอร์ด พร้อมกับแถมเอฟเฟ็กต์ VCM มาให้อีกด้วย ซึ่ง ยามาฮ่า เชื่อว่าจำเป็นต่อการทำงานไลฟ์ซาวด์ที่ต้องการลดภาระตู้แร็คเอฟเฟ็กต์ต่างๆ สำหรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB สามารถรองรับอินพุต/เอาต์พุตได้ถึง 16 แชนเนล สามารถบันทึกเสียงผ่านซอฟต์แวร์ชื่อดังอย่าง Steinberg Cubase AI6 และซอฟต์แวร์ DAW อื่นๆ ที่ผู้ใช้คุ้นเคย ทำให้ผู้ใช้สามารถบันทึกเสียงในรูปมัลติแทร็กด้วยสายเคเบิลเพียงเส้นเดียว ถัดมาในปี 2012 ยามาฮ่าเปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่คือตระกูล CL จากความต้องการของตลาดดิจิตอล ซึ่งคอนโซลในตระกูลนี้สามารถตอบโจทย์กลุ่มหมายหลักๆ คืองานไลฟ์ซาวด์ พร้อมกับความรู้สึกที่ว่าสามารถรองรับการทำงานศิลปินได้ทุกแนวดนตรี มีเครื่องมือให้ครบครัน และแน่นอนทุกอย่างถูกบรรจุอยู่ในตระกูลนี้เกือบทั้งหมด พร้อมเทคโนโลยีล้ำหน้าที่ ยามาฮ่า ค้นขึ้นเอง

 

 

QL ซีรี่ส์

 

          ในปี 2014 ยามาฮ่า เปิดตัวบอร์ดตระกูล QL หลังจากที่เปิดตัว CL ไปเมื่อสองปีก่อนหน้านั้น ตัว QL ได้เจาะกลุ่มฐานลูกค้าที่มีขนาดเล็กลงแต่ไม่ถึงกับเป็นกลุ่มมือใหม่ ซึ่งดูเหมือนจะอยู่ในฐานขนาดกลาง จุดเด่นตระกูล QL ได้ออกแบบให้รองรับเน็ตเวิร์ก Dante ซึ่งเป็นโพรโตคอลใหม่วิ่งบนไอพีแอด เดรส สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บันทึกเสียงผ่านระบบ Dante Virtual Soundcard (DVS) โดย QL จะมีขนาดกระทัดรัดกว่า จัดได้ว่าเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ครบเครื่องภายใต้แนวคิด all-in-one  ทั้งในด้านโพรเซสซิ่ง การเราท์ติ้งสเกลงานไลฟ์ซาวด์ขนาดเล็กไปหากลาง งานอีเว้นต์ที่เน้นการใช้เสียงพูด และการติดตั้งในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย

 

 

TF ซีรี่ส์

 

          สำหรับในปี 2015 ล่าสุด ยามาฮ่า เปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์ซีรี่ส์ใหม่คือรุ่น TF เป็นน้องใหม่สุด ฐานลูกค้าเป็นกลุ่มที่เน้นความประหยัด หรือเน้นงบประมาณที่ไม่มากนัก แต่สามารถนำไปใช้งานได้จากอีเว้นต์ขนาดเล็กไปหาคอนเสิร์ตขนาดกลาง โดยแบ่งไลน์การผลิตออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ TF5, TF3, TF1 จากใหญ่ไปหาเล็กตามลำดับ หากไล่เรียงภาพ รวมแต่ละรุ่นเริ่มจาก TF1 ซึ่งเป็นรุ่นเล็กสุดในซีรี่ส์นี้ สเป็กพื้นฐานจะประกอบด้วยมอเตอร์เฟดเดอร์จำนวน 17 ตัว หรือ 16 แชนเนล กับ 1 มาสเตอร์ รองรับการเชื่อมต่อสูงสุดที่ 40 อินพุต หรือ 32 โมโน บวก 2 สเตอริโอ กับอีก 2 รีเทิร์น มีช่องเชื่อมต่อบัส 20 ช่อง หรือ 8 โมโนกับอีก 6 สเตอริโอ พร้อมสเตอริโอบวกซับอีกอย่างละหนึ่งชุด มีกรู๊ป DCA 8 ชุดพร้อม Roll-out สำหรับ TF1 สามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณอะนาลอกแบบไมค์/ไลน์ได้ 16 แชนเนลแบบขั้วต่อ XLR/TRS กับ RCA อีก 2 ช่อง ซึ่งเป็นไลน์สเตอริโออินพุต และมีเอาต์พุตจำนวน 16 ช่องสัญญาณแบบ XLR สามารถบันทึกเสียงและเพลย์แบ็กได้จำนวน 34x34 แชนเนล ผ่านพอร์ต USB 2.0 พร้อมกับช่องเชื่อมต่อ USB แบบสโตเรจเช่นแฟลชไดร์ฟหรือฮาร์ดไดร์ฟแบบ External และสุดท้ายสามารถติดตั้งการ์ดออปชันตระกูล NY64-D ซึ่งเป็นออดิโออินเทอร์เฟซการ์ดอีก 1 สล็อต

 

          สำหรับดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น TF3 เป็นรุ่นขนาดกลาง ฟรีเจอร์พื้นฐานประกอบด้วย 25 มอเตอร์เฟดเดอร์ หรือ 24 แชนเนล กับอีก 1 มาส เตอร์ มีช่องเชื่อมต่ออินพุต 48 ช่องสัญญาณ แบ่งเป็น 40 โมโนกับอีก 2 สเตอริโอและอีก 2 รีเทิร์น มี Aux จำนวน 20 ชุด แบ่งเป็น 8 โมโน กับอีก 6 สเตอริโอ พร้อมสเตอริโอหนึ่งชุดและ Sub บัส มีกรู๊ป DCA 8 ชุด พร้อม Roll-out สามารถเชื่อมต่อกับขั้วต่อ XLR/TRS จำนวน 24 ช่องสัญ ญาณ กับอีก 2 RCA ไลน์อินพุต และช่องเอาต์แบบ XLR จำนวน 16 ช่อง รองรับการบันทึกเสียง/เพลย์แบ็ก 34x34 แชนเนล ผ่านพอร์ต USB 2.0 และพอร์ต USB อีก 2x2 ช่องสำหรับอุปกรณ์สโตเรจ และการ์ดออปชัน NY64-D อีก 1 สล๊อต สำหรับดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น TF5 ซึ่งเป็นรุ่นเรือธงในซีรี่ส์ TF มีฟรีเจอร์พื้นฐานคือมี 33 มอเตอร์เฟดเดอร์ หรือ 32 แชนเนล กับอีก 1 มาสเตอร์ มีอินพุต 48 ช่อง แบ่งเป็น 40 โมโน กับอีก 2 สเตอริโอและอีก 2 รีเทิร์น รองรับ Aux 20 ชุด แบ่งเป็น 8 โมโนกับอีก 6 สเตอริโอ พร้อมสเตอริโอและซับบัส พร้อมกรู๊ป DCA 8 ชุด ยังมีช่องเชื่อมต่อสัญญาณอะนาลอกอีก 32 แชนเนล ใช้ได้ทั้งขั้วต่อ XLR/TRS พร้อมอะนาลอก RCA 2 ชุด ส่วนเอาต์พุตรองรับสัญญาณอะนาลอกจำนวน 16 ช่อง และรันระบบการบันทึกเสียง/เพลย์แบ็กได้ 34/34 แชนเนล ผ่านพอร์ต USB 2.0 และชุดสำหรับอุปกรณ์สโตเรจ และสล็อตติดตั้งการ์ดออปชัน NY64-D อีกหนึ่งช่อง

 

          หากเปรียบเทียบ TF ทั้งสามรุ่นในด้านฮาร์ดแวร์ เรียงจาก TF1 / TF3 / TF5 จะพบว่าจำนวนมอเตอร์เฟดเดอร์หลักที่ต่างกันคือ 16 / 24 / 32 แชนเนล ส่วนอินพุต TF5 / TF3 จะเท่ากันคือมี 48 อินพุต สิ่งที่ทั้งสามรุ่นเหมือนกันคือจำนวนอะนาลอกเอาต์พุตมีจำนวน 16 แชนเนล และความสามารถในการบันทึกเสียง/เพลย์แบ็กและสล็อตการ์ดออปชันมีเท่ากันคือหนึ่งแชนเนล ในส่วนการ์ดออปชัน NY64-D เป็นการ์ด Dante I/O ซึ่งยามาฮ่ามีแผนจะวางตลาดประมาณไตรมาสที่สองของปี 2016 หน้าที่หลักๆ ของการ์ดตัวนี้คือจะเป็นออดิโออินเทอร์เฟซการ์ด สามารถรันได้ 64 อินพุตและ 64 เอาต์พุต โดยไม่มีการบีบอัดข้อมูล แซมปลิ้งเรทที่ 48kHz ความละเอียด 24-bit การ์ดนี้รันบนระบบ Dante เน็ตเวิร์ก ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับ Tio1608-D ซึ่งเป็น I/O อีกตัวซึ่งทำหน้าที่เป็นสเตจบ็อกซ์สามารถรันได้สูงถึง 48 อินพุตและ 24 เอาต์พุต (เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบอร์ดตระกูล TF ท่านสามารถติดตามอ่านได้จากคอลัมน์ Special reports ย้อนหลัง) นับระยะเวลาที่ ยามาฮ่า ผลิตดิจิตอลมิกเซอร์ออกสู่ตลาดจนถึงปัจจุบันก็ราวๆ 28 ปี อันที่จริง ยามาฮ่า มีดิจิตอลมิกเซอร์รุ่นอื่นๆ อีกหลายรุ่น ในบทความนี้ ผู้เขียนหยิบมานำเสนอเฉพาะรุ่นที่เด่นๆ เท่านั้น...

 

 

... (โปรดติดตามอ่านในตอนต่อไป..)...

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด