PA & Sound / Light On Stage ; แกะกล่องลองใช้

Samson Expedition XP1000

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

 

XP1000 ให้เสียงเบสนุ่มนวล กระชับ เสียงกลางคมชัด แหลมจัดจ้าน ตอบสนองความถี่ครบทุกอรรถรส ”

 

          Samson Expedition XP1000 เป็นอีกหนึ่งลำโพงคุณภาพ ที่ออกแบบมาในลักษณะเป็นลำโพง PA แบบ Portable โดยมีจุดเด่นหลักๆ คือออกแบบทุกอย่างไว้ในตู้เดียว ภายใต้คอนเซ็ปต์ all-in-one กับฟรีเจอร์ลูกเล่นอันหลากหลาย มีการออกแบบอย่างกระทัดรัด เหมาะสำหรับงานไลฟ์ซาวด์ งานดีเจ ปาร์ตี้ ร้านอาหารและในห้องสัมมนาขนาดเล็กไปหากลาง ตลอดจนห้องประชุมในออฟฟิศเพื่อใช้สำหรับพรีเซ้นต์งานในองค์กร และงานอะไรก็ได้ที่ต้องการคุณภาพเสียงที่ดี XP1000 มีระบบการสื่อสารผ่านบลูทูธ ประโยชน์ที่จะได้รับคือ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายที่เป็นเพลง/ดนตรีผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็ปท็อป พร้อมด้วยมิกเซอร์ขนาด 10 แชนเนล ที่ให้กำลังขับถึง 1000 วัตต์ (2 x 500) พร้อมกับภาคขยาย Class D สำหรับฟรีเจอร์ของมิกเซอร์ ประกอบด้วยช่องเชื่อมต่อสัญญาณ MIC/Line อินพุต แต่ละจุดจะมีช่องให้เลือกเชื่อมต่อทั้งแบบ XLR และ 1/4 นิ้ว อินพุตสามารถเชื่อมได้ทั้งไมโครโฟนและไลน์ที่มาจากเครื่องดนตรี ตลอดจนสัญญาณสเตอริโออินพุตที่ส่งมาจากอุปกรณ์ภายนอก เช่นเครื่องเล่น MP3 คีย์บอร์ด และอื่นๆ

 

 

 

          ในแต่ละแชนเนลยังมีลูกบิดใช้ปรับเสียงทุ้มและแหลม และสัญญาณ Mic และ Line สามารถควบคุมโดยการกดสัญญาณด้วยคอม เพรสเซอร์ เพื่อป้องกันการโอเวอร์โหลดหรือดิสตอร์ชันของสัญญาณได้อีกด้วย XP1000 ยังมีช่องต่อ USB ซึ่งใช้กับ Samson Stage XPD1 โดยจะเป็น USB ไวร์เลส ไมค์ลอยแบบบลูทูธ (ต้องซื้อแยกต่างหาก) สำหรับใช้ควบคุมเสียงที่ต้องการ XP1000 ยังมีเอฟเฟ็กต์ DSP จำนวน 16 พรีเซต ซึ่งเหมาะกับงานที่เป็นเสียงร้อง และการเซตอัพกับแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ XP1000 ยังมีสเตอริโอมอนิเตอร์ฝั่งเอาต์พุต พร้อมตัวควบคุมสัญญาณระบบที่ใช้กับลำโพงที่เป็นแอคตีฟเพาเวอร์ พร้อมกันนี้มิกเซอร์ยังมีภาคแพนทอมเพาเวอร์สำหรับใช้กับไมค์คอนเด็นเซอร์ ตามที่เราต้องการเซตอัพ

 

 

          XP1000 เป็นลำโพง 2 ทาง ซึ่งให้เสียงใสสะอาด ในระบบเสียงสเตอริโอ มีลำโพง 10 นิ้วเป็นซับวูเฟอร์ ให้ย่านความถี่ต่ำ ตอบสนอง Low-end ที่ดี พร้อมกับไดรเวอร์เสียงแหลมขนาด 1 นิ้ว มีขนาดมุมกระจายเสียงที่กว้างจาก 60 องศาและ 90 องศา เหมาะกับการเล่นสด พร้อมกับมี ABS ที่ติดตั้งเข้าด้วยกับตัวบอดี้ลำโพง ง่ายต่อการติดตั้งบนขาตั้ง หรือวางตะแคงบนเวที ทำเป็นลักษณะสเตจมอนิเตอร์ก็ได้เช่นกัน ฉะนั้น XP1000 จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัว ขนย้ายง่ายๆ ซึ่งเหมาะกับงานแสดงขนาดกลางไปหาใหญ่ งานบันเทิงทุกรูปแบบ งานการ ศึกษา งานธุรกิจ พรีเซ้นต์ต่างๆ ก็ใช้ได้ครอบคลุมทั้งหมด

 

          XP1000 ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความสมดุลระหว่างขนาดและคุณภาพเสียงให้ลงตัว รวมถึงการพกพาที่ง่ายขึ้น โดยทั่วไประบบที่มีขนาดเล็กจะมีข้อดีคือ สามารถขนย้ายโดยใช้คนเพียงคนเดียว และการแพ็กของก็ใช้เวลาไม่นาน การคนย้ายใช้รถยนต์ธรรมดาก็ได้หมด รถมินิแบบอีโคคาร์ก็ขนย้ายได้ XP1000 มีไดรเวอร์ขนาด 10 นิ้ว ที่ให้กลางและเบสนุ่มนวล คมชัด พร้อมเพาเวอร์แอมป์ในตัว ตัวมิกเซอร์จะติดตั้งอยู่ด้านหลังตู้ลำโพง โดยออกแบบเป็นหลุมหรือบล็อคเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำออกมาด้านนอก หรือติดตั้งใส่ด้านหลังตัวตู้ได้ ซึ่งเป็นทาง เลือกที่ดี การนำออกมาติดตั้งผ่านขาตั้งด้านนอก ย่อมทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเสียงได้อย่างอิสระ หรือหากว่าต้องการฟิกซ์ความดัง หรือความถี่ต่างๆ หรือการติดตั้งในจุดที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถล็อคแท่นมิกเซอร์ไว้ด้านหลังตู้ลำโพงก็ได้ การเชื่อมต่อสายสัญญาณจากตู้หนึ่งไปสู่อีกตู้หนึ่งก็ทำได้ง่ายๆ เพียงใช้สายเคเบิลลากไป ยาวแค่ไหนก็ได้ แต่ไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้สัญญาณสูญเสียเนื่องจากสายที่มักจะเกิดขึ้นตามระยะทางที่มากขึ้น

 

          มิกเซอร์ระดับ 10 แชนเนลก็เพียงพอสำหรับเครื่องดนตรี 3-4 ชิ้น การโชว์วงดนตรีที่รับงานเบาๆ ได้ ด้วยขนาดก็ถือว่าทำออกมาได้ยอดเยี่ยมทีเดียว ตัวมิกเซอร์มีภาคเอฟเฟ็กต์ที่ประมวลผลสูงถึง 24bit ซึ่งเป็นเอฟเฟ็กต์ดิจิตอลแบบ Built-in ให้คุณภาพเสียงระดับสตูดิโอ หรือจะปล่อยสัญญาณดนตรีเข้ามาเปิดเป็นแบ็กกิ้งแทร็กหรือเป็นแบ็กกราวด์มิวสิคผ่านบลูทูธก็ทำได้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากตู้ลำโพงให้การกระ จายมุมเสียงระดับ 90x60 องศา โดยเฉพาะฮอร์นถือว่าให้มุมที่กว้างพอสมควร รองรับการกระจายสู่กลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้ทั้งแบบหน้าตั้งหน้าตรงและวางเอียงบนพื้นตามที่อธิบายไปแล้ว พร้อมกับวัสดุที่ออกแบบมาเป็นพลาสติกที่แข็งแรงมาก แต่มีน้ำหนักเบา นอกจากนั้น XP1000 ถ้าให้เลือกแล้วละก็ ต้องบอกว่าการนำไปใช้ในห้องซ้อม หรือการใช้ร้องเดี่ยวๆ แบบการเล่นดนตรีโฟล์คซองตามร้านที่บริการแบบ cocktail ยามค่ำคืนก็ได้

  

 

 

รูปลักษณ์ภายนอก

 

          สำหรับตัวมิกเซอร์ถือเป็นหัวใจหลักส่วนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณต่างๆ และทำหน้าที่รับสัญญาณบลูทูธจากอุปกรณ์โมบายด้านนอกอีกด้วย ในส่วนแรกที่เราจะมาทำความรู้จักองค์ประกอบหลักของมิกเซอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้... (1) แชนเนลอินพุต ซึ่งมี 1 - 4 แชนเนล รองรับการเชื่อมต่อแบบ XLR และ LINE 1/4 นิ้ว สำหรับ XLR จะเป็นขั้วต่อแบบโลว์อิมพีแดนซ์ ซึ่งตัว XP1000 มีปรีแอมป์ Built-in อยู่ภายในส่วนของ LINE ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องดนตรีหรือซอร์สออดิโอ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณจากกีตาร์ คีย์บอร์ด กลองไฟฟ้า เครื่องเล่น MP3/CD และอุปกรณ์ทุกชนิดที่มีไลน์เอาต์พุต... (2) USB ไวร์เลสอินพุตถือเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นออปชันของ Samson นั่นคือ Stage XPD1 เป็นตัวที่ใช้รับสัญญาณไวร์เลสจากไมค์ XP1000 โดยที่ไม่ต้องต่อกับแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งตรงนี้สามารถควบคุมระดับความดังของสัญญาณได้ ผ่านแชนเนล 4… (3) สวิตช์ MIC/LINE จะอยู่บนทั้ง 4 แชนเนล ซึ่งตำแหน่ง MIC จะใช้เปลี่ยนเกนความดังของสัญญาณอินพุตทั้งการเชื่อมต่อแบบ MIC/LINE โดยใช้ตามชนิดประเภทของสัญญาณที่เชื่อมต่อ ซึ่งอัพได้ถึง 26dB หากเป็นระดับไลน์

 

 

รูปลักษณ์ภายนอกของ Mixer XP1000

 

          (4) สวิตช์ LIMIT/COMP ใช้เซตเพื่อคุมสัญญาณเพื่อบีบอัดหรือเซตช่องสัญญาณใดๆ ที่ต้องการลิมิต ส่วนคอมเพรสเซอร์จะใช้คุมระดับของไดนามิกสัญญาณ ซึ่งจะให้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งในเรื่องการเพิ่มระดับความดังและระดับสัญญาณของเสียง ก็เป็นไปตามชื่อของสวิตช์นี้ ส่วนลิมิตเตอร์จะใช้กำหนดคุมสิ่งที่คอมเพรสเซอร์ส่งมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพีก นับเป็นการปกป้องการโอเวอร์โหลดของระบบได้อีกทางหนึ่ง... (5) Equalizer มี knob ใช้ปรับย่านความถี่สูงและย่านความถี่ต่ำของแต่ละแชนเนล ซึ่งย่านความถี่สูงจะมีผลกับความถี่ที่ 10kHz ระดับ 15dB และสามารถคัตลงได้ในระดับเดียวกันคือ -15dB ในส่วนของย่านความถี่ต่ำ จะใช้ปรับเสียงทุ้ม ซึ่งสามารถบูตและคัตตั้งแต่ 100Hz … (6) สวิตช์เอฟเฟ็กต์ จะใช้เปิดเอฟเฟ็กต์ให้กับช่อง Mic หรือ Line อินพุตของทุกๆ แชนเนลทั้ง 4 ช่อง โดยจะมีไฟสีเขียวสว่างขึ้นเมื่อสวิตช์อยู่ในสถานะ ON… (7) Level Knob เป็นอีกหนึ่งอินพุตแชนเนล ที่มีผลต่อสัญญาณน้อยส์เมื่อปรับเกนไม่ดังมาก หรือกรณีที่ซอร์สไม่มีน้อยส์การปรับเกนก็จะไม่ถูกขยายมากเช่นกัน... (8) สเตอริโอแชนเนล 5/6, 7/8, 9/10 เป็นอินพุตสเตอริโอ เพื่อต่อกับ L/R แชนเนล อาทิ อุปกรณ์ที่มีอิม พีแดนซ์สูงๆ ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์สูง อาทิ ซินธิไซเซอร์ กลองไฟฟ้า เครื่องเล่น MP3/CD และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่ง XP1000 รองรับการเชื่อมต่อทั้งแจ็ค 1/4 นิ้วและ 1/8 นิ้ว รวมถึงขั้วต่อ RCA อีกด้วย...

 

          (9) MONITOR OUT เป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับลำโพงมอนิเตอร์ด้านนอก ซึ่งสัญญาณที่ออกไปจะต้องนำไปต่อกับอินพุตของตู้ลำโพงมอนิเตอร์หรือแอมป์ เอาต์พุตจุดนี้สามารถใช้ส่งไปยังมิกเซอร์ที่เป็นเพาเวอร์มิกเซอร์เพื่อเชื่อมกับคาบิเนทหรือตู้ลำโพงก็ได้... (10) REC OUT จุดนี้เป็นเอาต์พุตที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณไปยังเมนมิกซ์ เพื่อทำการบันทึกเสียงจากอุปกรณ์ข้างนอก สัญญาณนี้จะเชื่อมต่อในลักษณะ L/R ซึ่งเป็นบัสสัญญาณก่อนที่จะผ่านเฟดเดอร์มาสเตอร์ โดยทั่วไประดับความดังของสัญญาณจะอยู่ที่ -10dBV และอิมพีแดนซ์เท่ากับ 600 โอห์ม... (11) SPEAKER OUT เป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับแจ็คขนาด 1/4 นิ้ว โดยใช้เชื่อมต่อแจ็คของลำโพงฝั่งซ้ายและขวา ผ่านสายสัญญาณไปยังลำโพง ซึ่งโหลดอิมพีแดนซ์แต่ละข้างจะถูกออกแบบมาแล้วโดยว่า ห้ามใช้ต่ำกว่า 4 โอห์ม ในกรณีที่ต้องการนำไปเชื่อมต่อกับลำโพงอื่นๆ ที่ไม่ใช่รุ่น XP1000(12) AC Input เป็นจุดที่ใช้เชื่อมต่อกับไฟฟ้า มี 3 Pin เป็นสายเคเบิลแบบ IEC… (13) Power สวิตช์ ใช้เปิด/ปิด เพาเวอร์แอมป์ของ XP1000

 

 

ตัวอย่างไดอะแกรมการเชื่อมต่ออุปกรณ์

 

          (14) สวิตช์ SPEECH/MUSIC เป็นสวิตช์ที่ใช้เปลี่ยนการตอบสนองความถี่ทั้งหมดตามประเภทสัญญาณ เช่น ดนตรี หรือเสียงพูด บางครั้งเรียกว่า โทนคอนทัวร์ สำหรับในระบบ XP1000 ถ้าแอปพลิเคชันเป็นดนตรี ให้กดสวิตช์ลงเพื่อเลือกโหมด MUSIC ถ้าแอปพลิเคชันเป็นเสียงพูดก็ให้ปล่อยสวิตช์เป็นโหมด SPEECH… (15) Pairing Indicator ใช้แสดงสถานะของบลูทูธบนตัว XP1000... (16) Pairing Button กดปุ่มเพื่อให้โหมดบลูทูธทำงาน หรือเพื่อให้สัญญาณไร้สายจับคู่กับอุปกรณ์บลูทูธ... (17) MONITOR Level เป็น knob สำหรับใช้ควบคุมภาพ รวมทั้งหมดของสัญญาณ MONITOR OUT… (18) Effects Program เป็นตัวใช้เลือกเอฟเฟ็กต์ที่อยู่ในโปรแกรมความจำ ซึ่งมีให้เลือกทั้งหมด 16 โปรแกรม ความละเอียด 24-bit DSP… (19) Effect SEND knob เป็นลูกบิดคุมสัญญาณ SEND ทั้งหมดไปยังเอฟเฟ็กต์ของแต่ละแชนเนลที่ต้องการเชื่อมกับ EFFECTS ยูนิต หากต้องการให้กดปุ่มลง...

 

          (20) MASTER knob สำหรับลูกบิดตัวนี้ใช้ควบคุมสัญญาณมาสเตอร์ที่จะออกไปยังเอาต์พุต ซึ่งลูกบิดจะคุมระดับสัญญาณดังกล่าว โดยสัญญาณทุกๆ แชนเนลที่อยู่บนมิกเซอร์ทั้ง 10 แชนเนล โดยจะเราท์ผ่านลูกบิดตัวนี้ ซึ่งการเราท์ดังกล่าวยังเชื่อมไปยังเพาเวอร์แอมป์ เพื่อเชื่อมต่อไปยังแจ็คของลำโพงซ้ายและขวา... (21) METER LED Indicators มีมิเตอร์จำนวน 6 เม็ด ซึ่งใช้แสดงระดับดัง/เบาของสัญญาณเอาต์ พุตของ XP1000 ซึ่งจะออปติไมซ์ด้วย signal-to-noise ratio การปรับแต่ง VOLUME จะเป็นการเพิ่ม/ลดค่ามาตรฐาน VU ราวๆ +3 ถึง +6 แต่จะไม่เกี่ยวกับเม็ดสีแดง นั่นคือส่วน LIMITER… (22) READY indicator เป็นไฟบอกสถานะความพร้อมของอุปกรณ์ ว่าพร้อมจะทำงานแล้ว หากว่ามันสว่างอยู่... (23) PHANTOM สวิตช์ บนตัว XP1000 จะมีสวิตช์จ่ายไฟแพนทอมให้กับไมค์คอนเด็นเซอร์ เมื่อสวิตช์ทำงานไฟก็จะสว่าง ซึ่งแพนทอมเพาเวอร์จะจ่ายไฟเพื่อไปเลี้ยงวงจรไมค์ปรีบนตัวไมค์

 

 

การปลดล็อกมิกเซอร์

 

 

การถอดมิกเซอร์จากตู้ลำโพง

 

 

การเซตอัพ XP1000

 

          เมื่อแกะกล่องอุปกรณ์ออกมาจะพบว่า มีลำโพงและด้านหลังจะมีมิกเซอร์ ซึ่งตัวมิกเซอร์เป็นส่วนประกอบที่สามารถถอดแยกออกจากตู้ลำโพงได้ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการปรับจูนในรูปแบบ Front of House ได้ โดยด้านหลังตู้จะมีลูกบิดสำหรับหมุนล็อคและรีลีสคือถอด หลังจากนั้นผู้ ใช้สามารถดึงตัวบอดี้ของมิกเซอร์ออกจากด้านหลังตู้ ซึ่งเมื่อถอดมิกเซอร์ออกแล้วจะสังเกตเห็นด้านหลังตู้มีพื้นที่ยุบลงไป จากนั้นผู้ใช้สามารถนำลำโพงไปติดตั้งตามที่ต้องการ ซึ่งสามารถใส่สแตนด์ขาตั้งได้ โดยจะมีช่องต่อกับขาตั้งขนาด 1-3/8 นิ้ว แล้วปรับระดับสูง/ต่ำเพื่อให้อยู่ในระดับหูผู้ฟัง หรือตามความเหมาะสม และอีกกรณีคือการวางบนพื้นเพื่อทำเป็นมอนิเตอร์ก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้ง จากนั้นผู้ใช้สามารถนำสายสัญญาณเชื่อมต่อจากลำโพงซ้าย/ขวา ต่อเข้าไปที่มิกเซอร์โดยตรง โดยจะมีช่องที่เขียนว่า LEFT SPEAKER OUT และ RIGHT SPEAKER OUT ผ่านคอนเน็กเตอร์หรือแจ็ค

 

การเซตแอปพลิเคชัน

          ขั้นตอนแรกผู้ใช้ปิดเครื่องมิกเซอร์ให้สวิตช์เป็น OFF หลังจากนั้นให้ถ้าหากสายลำโพงยังไม่ต่อ ก็ให้เชื่อมต่อเข้าไปให้เรียบร้อย ถัดไปให้ลดระดับสัญญาณของ MASTER โวลุ่มลงมาที่ระดับ 0 แล้วเชื่อมต่อสายไฟ AC เข้าไปที่ XP1000 เสร็จแล้วเชื่อมต่อสายสัญญาณต่างๆ เข้าไปที่ตัวมิกเซอร์ ไล่ตั้งแต่ไมโครโฟน ซึ่งปกติควรจะใช้สายแบบหัว XLR จะช่วยให้สัญญาณมีน้อยส์ที่ต่ำกว่าแบบอื่น จากนั้นเชื่อมต่อสัญญาณพวกเครื่องดนตรีด้วยการใช้โฟนแจ็คแบบ 1/4 นิ้ว และสัญญาณจาก MP3 ขนาด 1/8 นิ้ว พวกกีตาร์ เบสและคีย์บอร์ด หลังจากต่อสายเรียบร้อยแล้วให้เปิดสวิตช์ ON บนตัวมิกเซอร์ XP1000 แล้วเร่งระดับ MASTER ให้อยู่ในระดับ 5 แล้วทดสอบพูดหรือเล่นสัญญาณเข้าไปที่แชนเนล 1 ซึ่งอาจ จะเป็นไมโครโฟน ค่อยเร่งระดับความดังตามความเหมาะสม ถ้าสัญญาณแรงไปก็ปรับลดลงมา จากนั้นถ้าหากต้องการใช้โหมด LIMITER ก็สามารถจัดการได้ ปกติจะมีไฟแสดงผลให้ทราบว่าสัญญาณมันพีคหรือแตกแล้ว ดังนั้น MASTER จะเป็นตัวช่วยให้สัญญาณดังกล่าวเบาบางลง หรือถูกจำกัด ถัดไปตัวมิกซ์ยังสามารถจัดการกับแชนเนลอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง ผู้ใช้สามารถดึงเอฟเฟ็กต์สำเร็จรูปบนมิกเซอร์มา ในแชน เนล 1-4 จะสามารถใส่เอฟเฟ็กต์ได้ด้วยการกดปุ่ม EFFECTS ของแชนเนลนั้นๆ ตามที่ต้องการใช้เอฟเฟ็กต์ จากนั้นปรับเอฟเฟ็กต์ด้วยการบิดตัว knob อย่างช้าๆ ตามที่ต้องการ หลังจากได้เสียงตามคาเร็กเตอร์ที่ต้องการแล้ว สัญญาณต่างๆ อาจจะไม่เป็นที่พอใจ ผู้ใช้สามารถปรับ EQ ย่านทุ้มแหลมเพิ่มเติมได้ โดยการคัตหรือบูตส์ย่านความถี่ตามประเภทของสัญญาณที่เข้ามา LOW จะมีผลต่อย่านความถี่ต่ำ HIGH จะมีผลต่อย่านความถี่สูง โดยจะปรับได้ตั้งแต่ระดับ -15dB ถึง +15dB ตรงนี้ก็อยู่ที่ศิลปะฝีมือของผู้ใช้งานเอง นอกจากนี้ในการใช้งานขั้นสูง ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ อาทิ รีเวิร์บ และอื่นๆ ตามที่ต้องการได้ รวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องฟีดแบ็กของสัญญาณที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

 

 

 

ทดลองฟังเสียง

 

 

การตอบสนองสเปกตรัมย่านความถี่ 123.82Hz

 

 

การตอบสนองสเปกตรัมย่านความถี่ 597.55Hz

 

 

การตอบสนองสเปกตรัมย่านความถี่ 5539.42Hz

 

          ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปทดลองฟังเสียงตัว Samson XP1000 ที่ บริษัท ธีระมิวสิค จำกัด ไล่ตั้งแต่การฟังเพลงที่บันทึกจากสตูดิโอ ที่เน้นเบสหนักๆ เน้นเสียงกลาง และหนักไปทางแหลมจัด มีครบทุกอรรถรส นอกจากนั้นในระหว่างที่ทดสอบฟังเสียงย่านความถี่ต่าง ก็ได้ทำการวัดทั้งเรื่องความดัง dB SPL ซึ่งก็ให้ค่าเป็นที่น่าพอใจ สำหรับการใช้งานด้านแสดงสดดนตรี และงานที่เน้นเสียงพูด ส่วนสเป็กตรัมความถี่ที่วัดได้ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจเช่นกัน ไล่ตั้งแต่ความถี่ต่ำไปหาความถี่สูง กำลังขับที่เต็มพิกัดของตู้ ซึ่งในสเป็กจะขับได้ข้างละ 250 วัตต์ ส่วนวัตต์พีคจะได้ 500 วัตต์ต่อข้าง สำหรับแพนทอมเพาเวอร์จะฟิกซ์โวลเตจไว้ที่ +15VDC เรามาดูว่าการตอบสนองความถี่เป็นเท่าไหร่ ผู้เขียนวัดได้ต่ำสุด โดยเฉลี่ยเป็นบางช่วงเวลาคือ 123Hz, 145.35Hz ไล่มาเป็น 220Hz, 328Hz, 290Hz… ย่านเสียงกลาง 742Hz, 893Hz, 942Hz… ย่านความถี่สูง 1.528kHz, 2.53kHz, 3kHz สรุปว่าตอบสนองครบทุกย่านความถี่ ในกรณีที่ต้องการเบสที่ลงลึกมากๆ คือต่ำกว่า 100Hz แนะนำให้ติดตั้งตู้ซับ วูฟเฟอร์เข้าไปจะเพิ่มพลังความหนักแน่นความดังย่านความถี่ต่ำได้อีกมาก เพราะคาเร็กเตอร์ของตู้ Samson XP1000 เนื่องจากเป็นลำโพง 2 ทาง มิติของเสียงจึงตอบสนองในลักษณะฟูลเรนจ์ แต่ว่าเบสอาจจะไม่จัดมาก เพราะดอกลำโพงมีขนาด 10 นิ้วข้างละดอก ส่วนแหลม 1 นิ้วข้างละดอกเช่นกัน ผู้เขียนได้ทดสอบฟังอยู่นาน เปิดเต็มพิกัด ระดับความดังที่วัดได้ในระยะ 1 เมตรจากหน้าตู้ เกิน 90dB SPL ซึ่งสามารถนำไปใช้กับงานต่างๆ ได้ทุกประเภทเลยก็ว่าได้

 

 

 

 

 

สนใจสินค้าสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ธีระมิวสิค จำกัด
100-108 เวิ้งนครเกษม เขตสัมพันธวงศ์ โทร. 02-224-8821, 02-226-1771 หรือ ร้านมิวสิค ซิตี้ ชั้น 4 เซ็นทรัลพระราม 9
โทร. 02-108-3129 และ ชั้น 3 เซ็นทรัลพลาซ่าเวสต์เกต บางใหญ่ โทร. 02-108-8998
เว็บไซต์ www.theeramusic.com

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด