PA & Sound / Light On Stage ; เรียนรู้และใช้งาน

Audio Crossover (09)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

  

 

“ นัยยะการพัฒนาทฤษฎีการออกแบบของครอสโอเวอร์ Linkwitz-Riley
เป็นสมมติฐานสำคัญที่ได้จากเสียง ซึ่งถูกปลดปล่อยจากไดรเวอร์แต่ละตัวในแนวตั้ง ”

 

 

... (เนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว..)...

 

          ถัดมาเป็น order 4th หรือ LR4/LR-4 ใน order นี้อาจถือได้ว่าปัจจุบันถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในวงการออดิโอครอสโอเวอร์ โดยโครง สร้างจะเกิดจากการต่อ cascade ของฟิลเตอร์ Butterworth จาก order ที่ 2nd จำนวนสองชุด ซึ่งได้จุดตัดความชันเท่ากับ 24dB/octave หรือ 80dB/decade ลักษณะการเลื่อนเฟสจะเท่ากับ +/- 180 องศา โดยผลรวมเฟสต่างกันถึง 360 องศา ซึ่งมักจะเกิด in phase และจะมีปัญหาเรื่องคาบไทม์ดีเลย์ในช่วง low-pass แต่เวกเตอร์เฟสตรงข้ามอินพุต และรวมได้แรงดันเท่ากันที่ 1 โวลต์... ถัดไปเป็น order 8th หรือ LR8/LR-8 สำหรับ order นี้ กราฟจุดตัดความชันจะดิ่งมาก ซึ่งได้ค่าเท่ากับ 48dB/octave หรือ 160dB/decade ซึ่งเกิดจากการต่ออนุกรม order 4th ของฟิลเตอร์ Butterworth เข้าด้วยกัน โดยเฟสจะเลื่อน +/-360 องศา เฟสจึงมีค่าตรงกับอินพุตและรวมแรงดันได้ 1 โวลต์ สรุปว่า L-R ครอสโอเวอร์มีจุดเด่นอยู่หลายประการคือ... (1) ผลรวมของแรงดันเอาต์พุตทุกความถี่มีค่าเท่าเดิม โดยอ้างอิงกับจุดตัดครอสโอเวอร์... (2) เฟสของเอาต์พุตมีค่าเท่ากันทุกๆ ย่านความถี่ การันตีจากการตอบสนองโพลาร์ ณ. จุดตัดครอสโอเวอร์... (3) การตอบสนองแอมพลิจูดมีความเรียบตลอดทุกย่านความถี่ ที่จุดตัด 24dB/octave หลัง roll-off… (4) ผลรวมทางอะคูสติกระหว่างไดรเวอร์ 2 ตัวจะเป็นยูนิตี้ ซึ่งการตอบสนองแอมพลิจูดแต่ละข้างจะเป็น -6dB ซึ่งจะไม่พบปัญหาการพีคเมื่อรวมสัญญาณอะคูสติกทางเอาต์พุต... (5) ไดรเวอร์ทุกตัวจะเหมือนเชื่อมต่อสายแบบเดียวกัน นั่นคือเกิดการ in phase ทั้งหมด

 

ตัวแปรในการแก้ปัญหา

 

          สิ่งหนึ่งที่ถูกนำไปแก้ปัญหาระบบเสียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำ alignment ครอสโอเวอร์ที่ออกแบบโดย Linkwitz-Riley ทว่าถือเป็นเรื่องเรียบง่ายที่สุด โดยทั่วไปจะใช้กันเพียงไม่กี่มาตรฐานเท่านั้นคือ order 2nd ของ Butterworth ซึ่งต่ออนุกรมกัน ความซับซ้อนจะเกิดขึ้นเมื่อความถี่ของครอสโอเวอร์ถูกปรับแต่ง หลังจากท่านได้ศึกษาและปฏิเสธวิธีการทั้งหมดของมาตรฐานทำงานบางอย่าง บริษัทบางแห่ง ตัวอย่าง Rane ได้พัฒนาตัวแปรสำหรับการแก้ปัญหานั่นคือ order ที่ 4th ซึ่งเป็นครอสโอเวอร์ที่ Linkwitz-Riley ออกแบบโดยเฉพาะ ตามแนวทางในการแก้ปัญหาของเขา ซึ่งอาจจะมีมากกว่ารุ่นอื่นๆ ด้วยเหตุผลต่อไปนี้... (1) เหมาะที่จะใช้กับการจัดการ high-pass และ low-pass เอาต์พุตซึ่งทำ งานพร้อมๆ กันโดยจะให้ย่านความถี่เดียวกันเสมอ... (2) ในการเปลี่ยนแปลงย่านความถี่สามารถเปลี่ยนได้พร้อมกันทั้งย่าน high-pass และ low-pass เอาต์พุต โดยจะไม่มีผลต่อค่าแอมพลิจูดหรือค่า Q (Quality factor)… (3) Sensitivity ของฟิลเตอร์จะมีค่าต่ำมากๆ (Sensitivity เป็นตัวชี้วัดผลกระทบของอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ในที่นี้ยิ่งต่ำยิ่งดี)... (4) เป็นครอสโอเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งมีชุดฟิลเตอร์ order 4th ที่บรรจุในครอสโอเวอร์ของ Rane ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งในการแก้ปัญหาด้านความถี่เสียงให้ท่านได้

 

การแก้ไขไทม์และเฟส

 

          นัยยะการพัฒนาทฤษฎีการออกแบบของครอสโอเวอร์ Linkwitz-Riley เป็นสมมติฐานสำคัญที่ได้จากเสียง ซึ่งถูกปลดปล่อยจากไดรเวอร์แต่ละตัวในแนวตั้ง แน่นอนว่าไดรเวอร์ไม่มีค่าการหน่วงเวลาหรือไทม์ดีเลย์ในตัว มันจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และไม่สามารถห้ามอาการไทม์ดีเลย์ที่เกิดขึ้นได้เหมือนกับบนครอสโอเวอร์ใดๆ การทำงานผิดพลาดในลักษณะ lobing จะเกิดขึ้นเมื่อเสียงถูกปลดปล่อยจากไดรเวอร์ทั้งสองไปสู่ด้านหน้าพร้อมๆ กัน

 

 

รูปการวางตำแหน่งไดรเวอร์

 

          ในรูปการวางตำแหน่งไดรเวอร์ จะเป็นลักษณะการวางไดรเวอร์ทั้งสองเทียบแทนกัน

 

 

รูปเปรียบเทียบลักษณะเกิด lobing error และการแก้ปัญหาดีเลย์ไทม์ ฝั่งซ้ายมือไม่มี time alignment ด้านขวามี time alignment

 

          ส่วนรูปเปรียบเทียบลักษณะเกิด lobing error และการแก้ปัญหาดีเลย์ จะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของเสียงดังกล่าว จากด้านหน้าไปด้านหลัง ซึ่งทำให้เกิดข้อผิดพลาด นั่นคือภาวะ lobing ซึ่งไม่มีการจัดตำแหน่งในเรื่องเวลาหรือ time alignment สำหรับครอสโอเวอร์ของ Linkwitz-Riley จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับไดรเวอร์ที่ไม่อาจตอบสนองเรื่องการจัดตำแหน่งด้านเวลาได้เอง ซึ่งก็เหมือนใส่ยาวิเศษให้มัน อาการ lobing error นี้ค่าของมันไม่ได้เป็นศูนย์ แต่ลักษณะรูปทรงจะเอียงและทำให้แม็กนิจูดเกิดการผิดพลาดได้ โดยแสดงในรูปเปรียบเทียบลักษณะเกิด lobing error และการแก้ปัญหาดีเลย์ไทม์ (ฝั่งบนซ้าย) จะเห็นรูปทรงรัศมีของ lobing มันเอียงขึ้นไปด้านบน ส่วนรูปเปรียบเทียบลักษณะเกิด lobing error และการแก้ปัญหาดีเลย์ไทม์ (ฝั่งล่างขวา) จะเป็นรูปที่ไดรเวอร์ถูกจัดตำแหน่งของเวลาซึ่งจะเห็นว่า lobing จะไม่เกิดการเอียงซึ่งผลคือจะทำให้แม็กนิจูดทำงานได้เต็มที่

 

ครอสโอเวอร์ต้นแบบ

 

 

ตัวอย่างวงจรครอสโอเวอร์แบบพาสซีฟของ order ที่ 1st 

  

          ในการศึกษาครอสโอเวอร์ ควรเริ่มจากการศึกษาวงจรความถี่ชนิดต่างๆ อาทิวงจร cut-off วงจร high-pass ฟิลเตอร์ วงจร low-pass ฟิลเตอร์ สำหรับเอ็นจิเนียร์ที่ต้องการเน้นการใช้งานแบบรวบรัด อาจจะศึกษาการทำงานของฟิลเตอร์แต่ละแบบ รวมถึงลักษณะ order ต่างๆ เริ่มจาก order ที่ 1st, 2nd, 3rd, 4th ก็ว่ากันไป แต่สำหรับผู้ที่อยากลงลึกให้เข้าใจถึงแก่น เพื่อนำไปแก้ปัญหาระบบหรือออกแบบ หรือต้องการแม่นในเรื่องนี้ก็ต้องศึกษาตั้งแต่ระดับวงจรต้นแบบกันเลยทีเดียว ในวงจรครอสโอเวอร์แบบอะนาลอกจะประกอบด้วย ตัวต้านทาน หรือใช้อักษรย่อ R แล ตัวเก็บประจุ ใช้อักษรย่อ C โดยในวงจร order ที่ 1st จะไม่มีอะไรอื่นเลย นอกจาก R และ C ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวนี้ถูกนำมาใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เรื่องของ R จะขอเล่าย้อนนิดหน่อย เผื่อผู้อ่านบางท่านไม่ได้ศึกษาอิเล็กทรอนิกส์มาโดยตรง ถ้าท่านทราบดีอยู่แล้วก็ขอให้ข้ามเนื้อหาส่วนนี้ไปได้...

 

 

ลักษณะ R ขนาดมักจะบ่งบอกอัตราทนกำลังวัตต์จากน้อยไปมาก 

 

 

ลักษณะ R แบบกระเบื้องทนวัตต์แต่ความคลาดเคลื่อนสูง ในภาพมีเป็นขนาดทั้ง 5 วัตต์  

 

          สำหรับ ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (C; Capacitor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานตัวหนึ่ง มีหน่วยเป็น "ฟารัด" (F) ทำหน้า ที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน ซึ่งมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีบางชนิดที่มีประจุตรงข้ามกัน โดยทั่วไปท่านสามารถพบได้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เหมือน R… หากถามว่ามันทำงานยังไง...? และทำไมต้องเอามาใช้ในวงจรครอสโอเวอร์...? ตัว C จะทำงานสองสถานะ คือทำหน้าที่เก็บประจุและคายประจุ เมื่ออยู่ในสถานะเก็บประจุมันจะดูดอิเล็กตรอนไปไว้ที่แผ่นเพลต ในกรณีที่ปล่อยไฟฟ้าขั้วลบเข้าไป มันจะดึงอิเล็กตรอนจากแหล่งจ่ายไฟเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้น ขณะเดียวกันมันก็จะผลักอิเล็กตรอนไปยังฝั่งตรงข้าม พอมันผลักไปเยอะๆเพลตดังกล่าวจะมีแต่ประจุบวกมากกว่า เมื่อเก็บแล้วก็ต้องคายไม่งั้นอาจท้องแตกได้... (ฮา) สถานะการเก็บประจุเทียบได้กับการชาร์จไฟเข้าไปแบตเตอรี่ ถ้าไม่มีการต่อวงจรอย่างสมบูรณ์ อิเล็กตรอนมันจะยังฝังตัวอยู่แผ่นเพลตนั้น เมื่อไหร่ที่ต่อครบทั้งสองด้าน (ขั้วบวกและลบ) อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตจากฝั่งลบ ไปแผ่นเพลตบวกทันที จึงเรียกว่าการคายประจุนั่นเอง ทีนี้ตัวเก็บประจุที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่สองแบบคือ แบบค่าคงที่กับแบบเปลี่ยนค่าได้ และในชนิดค่าคงที่นั้น มีหลายแบบให้เลือก (น่าจะสัก 7 แบบ แต่คงไม่เอามาเล่าทั้งหมด) สำหรับวง จรครอสโอเวอร์จะนิยมใช้ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน ในวงการเรียกชื่อย่อว่า MKP เป็นตัวเก็บประจุที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และสามารถทำงานได้ทั้งแรงดันกระแสตรงและกระแสสลับ ถ้าทำงานกับกระแสสลับมันจะเปลี่ยนโหมดตัวเองไปทำงานคล้ายตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตรีน หรือ MKS (หาซื้อตามร้านใหญ่ๆ ในบ้านหม้อ หรือร้านอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ เช่น บ.นัฐพงษ์ฯ ก็มีขาย)

 

 

การนำ R กำลังวัตต์ต่ำหลายตัวมาประยุกต์ใช้แทน R วัตต์สูง

 

          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของวงจรครอสโอเวอร์ที่ขาดไม่ได้คือ ตัวเหนี่ยวนำ หรือ Inductor ใช้สัญลักษณ์ L บางทีอาจจะเรียกว่า คอยล์ หรือ รีแอคเตอร์ แล้วแต่จะเรียกกัน โดยมีหน่วยเป็น H "เฮนรี" มีสองขาทำงานเป็นพาสซีฟ โดยมีหน้าที่ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟ ฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน ลักษณะรูปร่างเป็นลวดทองแดงม้วนกลมๆ ซึ่งมีทั้งแบบแกนและไร้แกน เมื่อกระแสไหลผ่าน พลังงานจะถูกกักไว้ชั่วคราวในรูปของสนามแม่เหล็กอยู่ในตัวเหนี่ยวนำ เมื่อกระแสนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยสนามแม่เหล็กนั้นจะมีแปรผันตามเวลา จึงทำให้เกิดแรงดันไฟ ฟ้าในตัวนำ ทีนี้ก็เข้ากฎของฟาราเดย์ ที่สรุปไว้ว่า มันจะเกิดการต้านการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่มันสร้างขึ้น ตัวเหนี่ยวนำถือเป็นอุปกรณ์หนึ่งในสามคือ R, C และ L ถูกนำไปใช้ในวงจรพาสซีฟครอสโอเวอร์และวงจรพาสซีฟอื่นๆ มากที่สุด ซึ่งจุดเด่นของ L บางชนิดจะไม่ยอมให้ไฟ AC ไหลผ่าน จะยอมให้เฉพาะ DC ผ่านเท่านั้น เช่น โช้ค และยังสามารถใช้ในวงจรฟิลเตอร์เพื่อแยกสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกันและใช้ร่วมกับตัว C เพื่อให้สามารถปรับหาความถี่ได้ อย่างเช่นการหาความถี่วิทยุ เราคงไม่ลงลึกถึงระดับทฤษฎีวงจร เกรงจะหลุดคอนเซ็ปต์ของบทความนี้

 

 

การนำ R กำลังวัตต์ต่ำหลายตัวมาประยุกต์ใช้แทน R วัตต์สูง

 

 

การนำ R กำลังวัตต์ต่ำหลายตัวมาต่อเพิ่มกำลังวัตต์

 

 

ภาพ C ชนิด MKP

 

 

ภาพ C ชนิด MKS

 

 

ภาพขดลวดเหนี่ยวนำพันสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน

 

 

ภาพขดลวดค่า 1.8mH ขนาด 14AWG

 

 

ภาพขดลวดค่า 0.3mH ขนาด 20AWG

 

หลักการของครอสโอเวอร์

 

 

 

ครอสโอเวอร์ตัวนี้มีอุปกรณ์เกือบทุกเกรด

 

          ครอสโอเวอร์เป็นตัวจัดสรรค์ความถี่ โดยมีวงจรกรองความถี่หรือฟิลเตอร์ชนิดต่างๆ บรรจุอยู่ภายใน... ทำไมจึงต้องกรองความถี่ เวลาเสียงอยู่ในระบบไฟฟ้า เมื่อมันถ่ายทอดผ่านลำโพงหรือไดรเวอร์ เสียงนั้นจะถูกปล่อยผ่านไดรเวอร์ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ไดรเวอร์ที่สามารถตอบสนองทุกย่านความถี่ (20Hz-20kHz) ภายในตัวเดียวกัน แม้จะมีการทำไดรเวอร์ชนิดฟูลเรจน์หรือโคแอคเชียลออกมาก็ตาม สำหรับฟูลเรนจ์หรือโคแอคเชียลยังไม่สามารถตอบสนองเรื่องกำลังขับสูงๆ จัดๆ ได้ เหตุผลก็เพราะว่า การที่จะสร้างไดรเวอร์ที่ตอบสนองทุกย่านความถี่และให้กำลังขับสูงๆ น่าจะทำให้มีต้นทุนสูงอยู่และ ตัวอย่างไดรเวอร์ซับวูเฟอร์ ถ้าป้อนคลื่นความถี่ 50Hz ผลจะทำให้ลำโพงสั่น 50 ครั้งต่อวินาที และไดรเวอร์จะมีเสียงดังได้ คลื่นนั้นต้องมีแอมพลิจูด ยิ่งดังมากไดรเวอร์จะต้องสั่นรุนแรงมาก และต้องมี Sensitivity ที่สูงๆ ถามว่าแล้วไดรเวอร์ที่เราป้อนมันตอบสนองต่อความถี่นั้นหรือไม่ ปกติไดรเวอร์ที่ตอบสนองย่านความถี่ต่ำ จะมีสเป็กประมาณ 20-200Hz ซึ่งเป็นคอนซูมเมอร์โปรดักซ์ ในงานไลฟ์ซาวด์ของมืออาชีพจะเลือกใช้ขนาดที่ต่ำกว่า 100Hz หรือในโรงภาพยนตร์ระบบ THX จะเลือกใช้ต่ำกว่า 80Hz ตัวบอดี้มักจะมีกรวยขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 5 นิ้ว 8 นิ้ว 10 นิ้ว 12 นิ้ว 18 นิ้วหรือ 21 นิ้ว วัสดุจะตอบสนองการกระพือในอัตราความเร็วต่ำ เพราะผนังกรวยมีมวลมากทำให้ตอบสนองการสั่นที่รุนแรงได้ดี อย่างไรก็ดี ควรเช็คสเป็กไดรเวอร์จะทำให้รู้ว่ามันตอบสนองความถี่ตั้งแต่กี่เฮิรตซ์ถึงกี่เฮิรตซ์

 

 

B&C รุ่น 15CXN76

 

         ถัดไป ลำโพงเสียงกลาง หรือ มิดเรจน์ คุณสมบัติจะตอบสนองต่อความถี่ย่านกลางๆ ได้ดี โดยทั่วไปจะตอบสนองความถี่ช่วง 300 ถึง 5kHz ถ้าต้องการให้เสียงกลางออกมาชัดควรใช้ไดรเวอร์ชนิดนี้ ตัวบอดี้จะมีกรวยไม่ใหญ่ ซึ่งมีรูปทรงหลายแบบ ทั้งแบบฮอร์น แบบโดมแล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ในเครื่องโทรทัศน์ วิทยุ สำหรับงานพีเอ จะใช้หลายขนาดตั้งแต่ขนาด 6.5 นิ้วถึง 15 นิ้ว โดยสรุปคือตอบสนองความถี่ย่านไม่ต่ำเกินไปและไม่สูงจนเกินไป...  ถัดไป ไดรเวอร์เสียงแหลม หรือ ทวีตเตอร์ มีลักษณะขนาดเล็กและให้เสียงสูงจัด โดยทั่วไปมีให้เลือกทั้งแบบโดมและแบบฮอร์น คุณสมบัติจะตอบสนองความถี่ประมาณ 2k-20kHz ปัจจุบันมีทวีตเตอร์ชนิดพิเศษที่ทำด้วยริบบอนสามารถตอบสนองความถี่ได้สูงถึง 80kHz-100kHz อันที่จริงย่านนี้มันเกินที่หูคนเราจะรับได้ แต่ผู้ผลิตน่าจะมีเหตุผลว่าทำมาเพื่ออะไร และไดรเวอร์อีกประเภทที่น่าจับตามองคือ แบบโคแอ็คเชียล ภายในไดรเวอร์ตัวเดียวสามารถตอบสนองความถี่ได้กว้างมากตั้งแต่ 40Hz-18kHz ยี่ห้อ B&C ผลิตหลายมาให้เลือกหลายรุ่นตั้งแต่ 5 นิ้วจนถึง 15 นิ้ว แต่อิมพีแดนซ์ส่วนใหญ่จะเป็น 8 โอห์มซึ่งถ้าต้องการให้เหลือ 4 โอห์มต้องนำไดรเวอร์ 2 ตัวมาต่อขนานกันจะได้อิมพีแดนซ์รวมเท่ากับ 4 โอห์ม อย่างไรก็ดี โคแอ็คเชียลกำลังขับไม่สูงนักประมาณ 800 วัตต์ (B&C รุ่น 15CXN76) น่าจะเหมาะสำหรับการนำมาประกอบตู้แอมป์ ตู้แขวน ทำไซด์ฟีลด์หรือมอนิเตอร์จะเหมาะมาก เพราะตอบสนองความถี่ได้สะใจจริงๆ แต่กำลังขับตำแหน่งเมนพีเออาจจะไม่จุใจขาโหด

 

          เมื่อทราบคุณสมบัติของไดรเวอร์แต่ละประเภทแล้ว ทำให้เรารู้ว่า การจัดตำแหน่งย่านความถี่ต่างๆ ให้ไดรเวอร์นั้นมีความสำคัญอย่าง ไร ลำดับต่อไปเราจะมาศึกษาพื้นฐานวงจรกรองความถี่แต่ละประเภทกัน ซึ่งนั่นก็คือวงจรฟิลเตอร์นั่นเอง จะเห็นว่าการออกแบบระบบเสียงจำ เป็นต้องใช้ครอสโอเวอร์ที่ประกอบด้ว ยฟิลเตอร์แต่ละชนิดมาจัดการกับย่านความถี่ เฟส แอมพลิจูด รวมถึงไทม์ดีเลย์อีกด้วย...

 

 

... (โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป..)...  

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด