PA & Sound / Light On Stage ; Special Reports

งานสัมมนาระบบเสียงบนเวทีขั้นพื้นฐาน (01)

เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม

อีเมล์ : ฺBobby524@hotmail.com

แฟนเพจ : facebook.com/bobbysound88

 

  

 

“ Bass Drum ขนาด 22 นิ้ว ถือว่าเป็นสแตนดาร์ด
แต่ถ้าเป็นดนตรีแจ็ซ ขนาดของ Bass Drum จะเป็น 20 นิ้วหรือ 18 นิ้ว ”

 

 

          ผ่านไปแล้วกับงานสัมมนาดีๆ ที่สยามดนตรียามาฮ่าจัดขึ้น มีหัวข้อว่า “การบริหารจัดการระบบเสียงบนเวทีขั้นพื้นฐาน” โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาจากทั่วประเทศ บางคนก็ลงทุนขึ้นเครื่องบินตรงมาฟังงานนี้โดยเฉพาะ มีทั้งครูอาจารย์ ทั้งนักเรียน นักดนตรี ซาวด์เอ็นจิเนียร์ กลุ่มคนทำธุรกิจออกาไนเซอร์ก็มีเช่นกัน บรรยากาศในวันนั้นถือว่าเป็นกันเองมากๆ มีการถามตอบเกือบตลอดทั้งงาน ซึ่งบรร ยากาศดังกล่าวคล้ายๆ กับงานเวิร์คช็อปในต่างประเทศที่ผู้เขียนพบเจอมา กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมจะถาม และผู้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรก็จะตอบในสิ่งที่ผู้ฟังอยากรู้ งานนี้ได้วิทยากรผู้มากประสบการณ์ในวงการเครื่องเสียง PA ซึ่งก็คือ พี่ต้อม (คุณเติมยศ เดชสุภา) นั่นเอง เอาล่ะ... เรามาเข้าสู่เนื้อหากับสาระกันเลยครับ...

 

          พิธีกรกล่าว... ก่อนจะเข้าสู่การอบรมในครั้งนี้ต้องขอเรียนเชิญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า ขึ้นกล่าวเปิดงาน จากนั้น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท... กล่าวว่า... เป็นที่น่าดีใจ สำหรับท่านที่สนใจเข้ามาอบรมวันนี้ ก่อนอื่นต้องขอเท้าความก่อนว่าที่มาที่ไปทำไมถึงมีวันนี้ได้ เป็นเพราะว่าสิ่งหนึ่งที่เราต้องการจัดเตรียมไว้ให้กับนักเรียน โรงเรียนยามาฮ่า และการประกวดกันทุกครั้งก็จะมีขึ้นทุกปี ถือว่าเป็นงานใหญ่นะครับ ในปีที่ผ่านมามีการประกวดพวกแบนด์บ่อยๆ เราพบว่าน้องๆ ขึ้นมาบนเวทีตอนที่ซ้อมอยู่ตามโรงเรียน หรือตามห้องซ้อมนั้นอาจจะเล่นดีในระดับนึง แต่พอมาขึ้นเวทีแล้ว มักมีปัญหา เช่นว่า ปรับเสียงหน้าตู้ไม่ชัดเจน ทั้งๆ ที่มีการซาวด์เช็คกันไปแล้ว พอขึ้นมาบนเวทีจริงๆ ก็อาจจะเกิดการ Show must go on (การแสดงต้องดำเนินต่อไป) สิ่งเหล่านี้เราทำงานร่วมกับทาง JSS โปรดักชัน (แจ็คซาวด์) ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีของเรา ทีนี้เราจึงประชุมกันว่าเราน่าจะมีการจัดอบรมเรื่องพื้นฐาน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูและน้องๆ ที่เข้าประกวด รวมทั้งผู้ที่สนใจเรื่องของ Sound on Stage นี้ เราถือว่าโชคดีมาก เราได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ นั่นคือ คุณเติมยศ เดชสุภา

 

          วันนี้เราจะมาบอกเทคนิคเบื้องหลัง เวลาขึ้นเวทีแล้วเราต้องทำยังไง ลดการประหม่า การเซตอัพเบื้องต้น เกิดปัญหาหน้าตู้เราจะต้องทำยังไง ซึ่งวันนี้เราแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกจะเป็นการพูดถึงเรื่องทฤษฎีทั่วไป และช่วงที่ 2 เป็นการเวิร์คช็อป ซึ่งจะมีกิจกรรมเป็นวงของน้องๆ ขึ้นมาเล่น เราจะมาเวิร์คช็อปกันบนเวทีเลยว่าปรับแล้วเป็นยังไง นอกจากนั้นเรายังมีเซสชันโชว์ท้ายงาน วันนี้เพื่อไม่ให้เป็นการเสีย เวลา เรามาเริ่มการอบรมกันเลยดีกว่า แต่ก่อนที่จะเข้าอบรมผมขอแนะนำผู้บริหารของเรา มร. ฟุรุตะ ท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี วันนี้ได้จัดอบรมให้ทุกท่านได้มาร่วมฟังกัน อาหารสมองที่ดีในวันนี้ จากนั้นพิธีกรได้กล่าวว่า ขอต้อนรับท่านวิทยากรขึ้นบรรยาย คุณเติมยศ เดชสุภา กรรรมการผู้จัดการ บริษัท JSS โปรดักชัน ครับ...

 

 

 

 

 

วิทยากรเริ่มบรรยาย

 

 

          พี่ต้อม เริ่มบรรยาย... ผมขอเช็คนิดนึง สำหรับเรื่องของการเตรียมความพร้อมในการเล่นดนตรีที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพ หัวข้อหลักในวันนี้ เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องด้านเทคนิค รวมถึงการใช้ไมโครโฟนด้วย แต่ถ้าระหว่างที่ผมบรรยายหรือพูดไปเนี่ย ถ้าหากมีท่านใดสงสัยต้องการสอบถามก็สามารถถามได้ตลอดนะ เรามาดูกันว่าบนสเตจเนี่ย มันมีสิ่งที่ให้เราได้เห็น... เอ๊ะ...! เซตนี้มันอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นระดับคอนเสิร์ตอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะมีมากขึ้น ทีนี้เรามาดูว่า ในเรื่องการเตรียมตัวด้านความพร้อมอุปกรณ์ อย่าง กลอง การนั่ง การจับไม้ตีกลอง เพื่อให้เราตีฉาบหรือ Cymbal ให้ได้อย่างถนัด การนั่งสรีระต่างๆ สมาธิ การฟังมอนิเตอร์ ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน อย่างที่ผู้บริหารยามาฮ่า กล่าวไปแล้วว่า บางทีซาวด์เช็คดีแต่พอถึงตอนโชว์จริงล่มสลายก็มี ตรงนี้เกี่ยวกับเรื่องสมาธิ อารมณ์ที่ได้รับความกดดันจากคนดู ความกดดันจากคณะกรรมการ ตรงนี้มีผลหมดเลย ฉะนั้นสมาธิเป็นสิ่งสำคัญ พอเราไม่มีสมาธิเนี่ย สิ่งที่เราไม่ได้รับรู้อะไรเลย เรื่องสติและปฏิภาณในการฟัง มอนิเตอร์ที่เราขอดังๆ ก็จะไม่ได้ยินเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้เราต้องมีสมาธิ เพราะมันเป็นตัวคุมจังหวะ การฟังมอนิเตอร์ จะทำให้เล่นได้กระชับและแม่นยำ ใครเป็นมือกลองบ้างในนี้มีมั้ยครับ... ก็มีเยอะอยู่นะ... กลองเป็นสิ่งสำคัญ ถือว่าเป็นตัวให้จังหวะ...

 

 

 

          ทีนี้การฟังมอนิเตอร์ บางคนฟังแบบฟังจนล้นออกมาหมด ฉะนั้นเราต้องบาลานซ์ การซ้อมในสถานที่ต่างๆ เราต้องบาลานซ์เสียงให้ดีที่สุด สำหรับเรื่องของการฟังมอนิเตอร์กลองควรจะฟังอะไรบ้าง แน่นอนกลองควรจะเดินไปพร้อมกับเบส แล้วพวกเสียงร้อง จะมีเปียโนเข้ามาเติมบ้าง ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และพยายามฟังเสียงให้ได้ ถ้าเราพูดถึงตัวกลอง มอนิเตอร์ควรฟังยังไง ให้มีความรู้สึกว่าการบาลานซ์มันดี ฟังเสียงร้องออกมาชัด สังเกตว่าวงเด็กๆ ทั่วๆ ไป ตามงานประกวด ปัจจุบันนี้วงเมทัล วงร็อค ทุกสิ่งทุกอย่างอัดกันมาแบบถล่มทลายเล่นสาดกันอย่างเดียว มันจึงไม่มีการบาลานซ์ที่ดี เช่น วง Korn จากประสบการณ์ที่เคยทำคอนเสิร์ตร่วมกัน เป็นแนวดนตรีฮาร์ดคอร์หนัก ๆ มือกลองเป็นคนที่มีสมาธิสูงมาก เพราะฉะนั้นเราได้ประสบการณ์จากตรงนี้ ว่าเป็นมือกลองที่ดีทำยังไง แน่นอนการฟัง การมีสมาธิ แล้วฟังรายละเอียดของเครื่องดนตรีอื่นๆ ประกอบ แล้วมาบาลานซ์ตัวเองให้ได้ ใครมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องกลองมั้ย หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่ากลองมีกี่ใบ อะไรบ้าง แต่วันนี้เราจะมาพูดคุยกันแบบ สบายๆ ไม่ต้องเครียดกัน...

 

          ทีนี้เรามาดูองค์ประกอบต่างๆ ของกลอง อย่างที่เห็น แน่นอน Bass Drum (กระเดื่อง) ขนาด 22 นิ้ว อันนี้ถือว่าเป็นสแตนดาร์ด แต่ถ้าเป็นดนตรีแจ็ซ ขนาดของ Bass Drum จะมีการลดลงมาเป็น 20 นิ้วหรือ 18 นิ้ว ความลึกของเนื้อเสียงจัดว่าค่อนข้างแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการที่เราเลือกว่า วงดนตรีเล่นแนวไหน เล่นแบบฟิวชั่นแจ็ซ ร็อค ป๊อบ ต้องดูด้วยว่าสไตล์แต่ละบุคคล จะเป็นทอมขนาด 10 นิ้ว, 12 นิ้วหรือ 16 นิ้ว หรือเป็นทอม 8 นิ้ว, 13 นิ้ว, 14 นิ้ว และมีการเพิ่มฟลอร์ทอมเข้าไปขนาด 18 นิ้ว ก็แล้วแต่จะใช้กับสไตล์ดนตรีที่เหมาะสม เราจะจัดเซตกลองแบบเต็มรูปแบบไหม ไล่จาก Cymbal หรือฉาบ มาตรฐานทั่วไปควรจะรู้ว่าเราควรจะเลือกใช้ฉาบกี่นิ้ว ถ้าเป็นสแตนดาร์ดก็คือ 18 และ 20 นิ้ว หรือ 21 ถ้าเป็น Live แต่ตัวนี้เป็นขนาด 16 ก็เป็นอีกหนึ่งสแตนดาร์ด ส่วนไฮแฮท 14 นิ้ว สำหรับการเลือกไฮแฮทก็มีผล บางครั้งมันเป็นเรื่องของสไตล์เพลง หรือนักดนตรีเองที่ชอบเสียงแบบไหนอย่างไร เราต้องค้นหาตัวเองว่า บุคลิกของเราควรที่จะนำมาใช้ แต่อย่าก๊อปปี้เขา ปกตินิสัยพฤติ กรรมของคนไทยจะบริโภคกันแบบก๊อปปี้ เห็นวงนั้นใช้อุปกรณ์แบบนี้ เราก็อยากจะใช้ตาม พยามค้นหาตัวเอง ฉันชอบแบบนั้นแบบนี้ แต่เราก็ต้องดูเรื่องของงบประมาณในกระเป๋าเรา ถ้ารัฐบาลยอมลดภาษีของฟุ่มเฟือยนี้ ก็ทำให้เราสบายตัวมากยิ่งขึ้น นี่คือประเทศไทย... นี่วกเข้าการ เมืองหน่อย... (หัวเราะ)

 

          ทีนี้มาดูเรื่องกลองต่อ การนั่ง การฟัง อันนี้หลายคนทำเป็นอยู่แล้ว ไม่มีใครถามเรื่องเกี่ยวกับกลองนะ ผมก็จะพูดไปเรื่อยๆ นะ ถัดไปเป็นเรื่องแอมป์เบส ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายลักษณะ ไล่ตั้งแต่แบบคอมโบ แบบมีหัวแอมป์ แบบตู้คูณ 4 ดอก หรือเป็นตู้โลว์ทั้งสองตู้เลย 12 นิ้ว 15 นิ้วจะเป็นซับวูฟเฟอร์ เพื่อให้เสียงได้ไดนามิก เวลาเราเล่นเบส ทีนี้เรามาดูว่าเราจะเตรียมความพร้อมยังไง แน่นอนตัวกีตาร์เบส สิ่งสำคัญคือตัวนักดนตรีเอง เดี๋ยวนี้กีตาร์เบสมีหลากหลายแบบ ทั้งแบบพาสซีฟ แบบแอกตีฟ มันมีหลากหลายให้เลือกใช้ ซึ่งผมจะพูดคร่าวๆ โดยรวม ในการเช็คของตัวน้องๆ นักดนตรีที่เข้ามาประกวด อันดับแรกคือถ้าเป็นแอคตีฟจะต้องเช็คแบตเตอรี่ที่อยู่ในตัวกีตาร์เบส เพื่อเตรียมความพร้อมในการขึ้นโชว์ ถ้าแบตเตอรี่หมดปุ๊บ หากโชคดีก็ยังพอมีเสียง แต่ถ้าโชคร้ายก็ดับไปเลย ถามว่าทำไมจึงต้องมีแบตเตอรี่มาหล่อเลี้ยง แน่นอนมันต้องมีแบตเตอรี่เข้าไปหล่อเลี้ยงคอยส์หรือปิ๊กอัพของกีตาร์เบสบางรุ่น ซึ่งมันเป็นวิวัฒนาการของตัวกีตาร์เบส ฉะนั้นต้องดูให้ดี ต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเกี่ยวกับแบตเตอรี่ คราวนี้มาดูกันสิว่าสายกีตาร์เบสเป็นยังไง ที่ซื้อมาจากยามาฮ่าตั้งแต่วันแรก อย่าลืมว่ามันต้องรองรับพวกเหงื่อของผู้เล่น มีคราบสกปรกทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนสายเบส ทำให้เสียงของกีตาร์เบสทึบได้ อันนี้เป็นเรื่องของวิชาการ

 

          ทีนี้ในการจูนสาย หรือการตั้งเสียงเป็นสิ่งสำคัญ หลายๆ โรงเรียนหรือนักเรียนหลายๆ คน ขาดความเอาใจใส่จากโรงเรียนมั้ย ขาดความเอาใจใส่ที่เกิดจากตัวนักเรียนเอง ครูฝึกสอนเป็นยังไง ตรงนี้ต้องดูด้วย บางคนมาถึงหน้างานไม่พร้อมเลย สายแจ็คไม่มี หรือเดินเตะสายบนเวที อันนี้เราพูดถึงการเตรียมความพร้อมนะ ทีนี้หน้าตู้แอมป์เราจะปรับแต่งยังไง ง่ายๆ เลย ให้เราตั้งไว้ Flat ความหมายของคำว่า Flat ก็คือตั้งไว้ตรงกลางหมด เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ผมเห็นหลายๆ โรงเรียน อาจจะปรับแต่งไม่ถูก ต้องเข้าใจว่าใครให้ความรู้กับเค้าในเรื่องเบส บางทีนิ้วกดสายไม่ตรงก็มี ผมพูดในฐานะที่มีประสบการณ์ คลุกคลีอยู่ในวงการมานาน เราก็มาเล่าสู่กันฟัง หลังจากวันนี้ปุ๊บ เราต้องกลับไปเทรนนิ่งเด็กของเรา ลูกศิษย์ของเรา รวมถึงกีตาร์ด้วยเช่นกัน พอทุกอย่างมันถูกต้อง ความมั่นใจก็จะมาทันที ตรงนี้คือสิ่งสำคัญ บทสรุปโดยรวมเรื่องสมาธิสำคัญที่สุด รวมถึงการเล่น มืออาชีพหรือผู้ที่กำลังจะเป็นมืออาชีพ หรือเล่นเพื่อความสนุกเฮฮา สามารถนำไปใช้ได้หมดเลย

 

          เรามาดูสิว่าเบสมีความสำคัญในหมู่คณะของพวกเรา เพราะเกี่ยวกับเรื่องดนตรี ให้จังหวะเป็นสิ่งสำคัญทั้งหมดเลย ต่อไปเรามาดูแอมป์กีตาร์ ทั้งแอมป์เบสและแอมป์กีตาร์ไอเดียจะคล้ายๆ กัน แต่มีบางอย่างที่แตกต่างกันอยู่นะ เช่นกีตาร์คอร์ด หรือกีตาร์โซโล่ จะใช้อุปกรณ์คล้ายๆ กัน แต่มันจะมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าย้อนยุคกลับไปในอดีต เอฟเฟ็กต์กีตาร์ใช้กันน้อยมาก มีเพียง Wah-Wah มีเพียงโวลุ่ม ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกปรับแต่งจากหน้าตู้ เราสังเกตดูว่าวงร็อคสมัยก่อน เราจะเห็นตู้แอมป์ Marshall เป็นแผงเลย... ทำไม..? เพราะว่าในสมัย ก่อนคอนโซลมิกเซอร์มีจำนวนแชนเนลน้อย มากสุดก็ไม่เกิน 16 แชนเนล ทำเฉพาะเสียงร้องอย่างเดียว มอนิเตอร์ที่เราเห็นวางบนเวทีเนี่ย ไม่มี ฉะนั้นแอมป์กีตาร์ทั้งหมดบนเวที จึงถูกใช้เป็นมอนิเตอร์ให้กับนักดนตรี ลองสังเกตดูนะ หากย้อนไปในอดีตจะเห็นตู้ Marshall เป็นสแต็คเรียงเป็นกำแพง สมัยก่อนไม่มีเอฟเฟ็กต์กีตาร์ แต่ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้จำนวนมาก ทีนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีตาร์ในด้านเทคนิค คือต้องตั้งเอฟเฟ็กต์ให้เข้ากับตัวตู้แอมป์กีตาร์ เพื่อให้ซาวด์มันไม่ดิสตอสจนเกินไป หรือโอเวอร์จนเกินไป ต้องพยายามทำความเข้าใจเองนะ

 

          ผมพูดตรงนี้สองชั่วโมงมันก็ยังแตกอยู่ อาจจะทำความเข้าใจได้ไม่มาก เราจะต้องปรับปรุงด้วยการอยู่กับแอมป์กีตาร์ อยู่กับเอฟเฟ็กต์และตัวกีตาร์แล้วปรับแต่งไปเรื่อยๆ พยายามทำแล้วฟังเสียง ว่าเสียงที่เราต้องการนั้นมันโอเคหรือยัง ฉะนั้นเราต้องกลับไปสอนน้องๆ หรือสอนลูกศิษย์ คุณครูบนยูทูปทั้งหลาย มีบทบาทและวิวัฒนการล้ำเลิศ เราพยายามดูในนั้นก็ได้ แต่เราต้องเอาข้อดีมาพัฒนาตัวเรา หรือตัวตนของเราเอง อย่าไปก๊อปปี้อย่างเดียว เราต้องพยายามหาตัวตน หาบุคลิกของเราให้เจอ ตอนนี้เรากำลังคุยกันเรื่องแอมป์กีตาร์ ที่ผมพูดมาทั้งหมดไล่จากตัวกลอง ตัวเบส และตัวกีตาร์ มันไม่ได้หลุดจากเรื่องของการมีสมาธิ น้องๆ ทุกคนที่เป็นนักดนตรี ที่ยังไม่เป็นมืออาชีพ ตรงนี้สำคัญ ถ้าเรามีสมาธิ จะทำให้เราเล่นดนตรีออกมาดี ไม่จำเป็นต้องเน้นหนักด้านวิชาการ หรือทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ก็ทำให้เราเล่นออกมาดีได้

 

          การเรียนอย่างอื่นถ้าเรามีสมาธิที่ดีมันก็นำพาเราไปได้ดีเช่นกัน ในอดีตคุณพ่อคุณแม่ของเราอาจจะไม่นิยมเล่นดนตรี เพราะจะถูกมองว่าเป็นเรื่องเต้นกินรำกิน ถูกปลุกฝังมาหมดเลย แต่ปัจจุบันกลับพยายามยัดเยียดเข้าอะคาเดมีทั้งหลาย เข้าเวทีประกวดทั้งหลาย มีการพัฒนาเด็กตัวเล็กๆ ส่วนตัวผมเคยเทรนนิ่งการใช้ไมโครโฟนในโครงการของบ้าน AF ทุกคนใฝ่ฝันอย่างจะเป็นซุเปอร์สตาร์ ทุกคนใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นนักดนตรี แน่นอนทุกคนที่เข้ามาอยู่ในนี้ ล้วนเป็นคนที่รักดนตรี รักการเล่นดนตรี รักเสียงเพลง ปัจจุบันมันเป็นแบบนี้เลย มันถูกปั่นให้มีความรู้สึกว่าดนตรีทั้งหมดเนี่ยมันสร้างจินตนาการได้หลากหลายแนวความคิด หลายๆ ส่วนได้รับการสนับสนุนลูกๆ หลานๆ ได้ดูดนตรี ได้เล่นดนตรี ร้องเพลงทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดีครับ ลองมีใครมาพูดสิว่า ดนตรีมีพิษมีภัย ไม่มีใครพูดใช่ไหม

 

          ปัจจุบันนี้ทุกๆ รัฐบาลทั่วโลกทั้งหมด ให้ความสำคัญกับเรื่องดนตรี เพราะฉะนั้นดนตรีมีบทบาทหมด ใครบอกว่าดนตรีเป็นการเต้นกินรำกิน ในยุคนี้ไม่ใช่แล้วนะ ดนตรีเนี่ยแหละทำให้ประเทศชาติเจริญ (หัวเราะ) อันนี้อาจจะมีนอกเรื่องหน่อย... กลับเข้าเรื่องกันต่อ... เรามาดูว่าเอฟเฟ็กต์กีตาร์มีผลยังไง เผื่อรอบบ่ายจะมีเซอร์ไพรส์กันนะ อาจจะมีเวิร์คช็อปเกี่ยวกับเรื่องกีตาร์ เราจะกลับมาอีกทีนึง อันนี้ผมพูดแบบรวมๆ เนื่องจากว่าอุปกรณ์พวกนี้ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องแมทช์และบาลานซ์ ทีนี้เรามาพิจารณาดูว่าตัวกีตาร์มันมีปัญหาอะไรมั้ย คำตอบคือมีแน่ นอน ตัวกีตาร์บางรุ่น บางยี่ห้อต้องใช้แบตเตอรี่ เอฟเฟ็กต์กีตาร์บางรุ่นบางยี่ห้อ หรือแทบจะทุกรุ่น ทุกยี่ห้อต้องใช้ไฟในการจ่ายแรงดันไฟฟ้า

 

          ตรงนี้เราต้องตรวจเช็คให้พร้อม เกี่ยวกับเรื่องเพาเวอร์ซัพพลายและกระแสไฟ เพราะที่ผ่านมาทั้งหมดเลย ที่ยามาฮ่าทำการประกวดยามาฮ่าลูกทุ่งมีปัญหาทุกปี อย่างที่บอกว่าเอฟเฟ็กต์ทั้งหลาย ต่อกันแบบพะรุงพะรัง เพื่อรอสแตนบายด์เตรียมขึ้น มีเวลาสักสิบนาที ก็กดดันอยู่แล้ว แรงกดดันจากเพื่อน แรงกดดันจากคณะกรรมการ จากผู้ชมทั้งหมด เด็กที่ยังไม่มีประสบการณ์ อุปกรณ์ก็ต้องแบกเอง มันจึงไม่มีสมาธิเลย ผมถึงบอกว่าสมาธิเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเลย เด็กขึ้นมาถือถาดใส่เอฟเฟ็กต์ สายแจ็คต่างๆ พะรุงพะรังหล่นร่วงลงพื้น ลืมอุปกรณ์ก็มี

 

          นี่คือสิ่งที่เราต้องวิเคราะห์ว่า ครูผู้สอน หรือผู้ลงทะเบียนทั้งหลาย ที่มีความรู้ความสามารถ เราก็ต้องมาช่วยกัน ผมเองมาทำหน้าที่ถ่าย ทอดจากประสบการณ์ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มันมีแบบนั้น แบบนี้นะ เราจะมาแก้ไขกันยังไง เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกพร้อม เช่นนักดนตรีระดับโลก กว่าเค้าจะมาถึงจุดนี้ได้ นักดนตรีระดับโลกถือเป็นยีนส์ระดับโลก ประชาชนทั้งโลกมีกี่พันล้านคน นักดนตรีเหล่านี้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ในจำนวนของประชากรโลก มือกีตาร์อย่าง สตีฟ ลูคาเธอร์ เขาจะมีเอ็นจิเนียร์ มีเทคนิเชียล คอยเทคแคร์ดูแลเค้าทุกสิ่งทุกอย่าง เค้าเล่นกีตาร์วันๆ นึง ใช้เวลาอยู่กับกีตาร์ จับคอร์ด ฝึกเทคนิคต่างๆ วันนึงมี 24 ช.ม. ก็ใช้เวลาอยู่กับกีตาร์สัก 16-17 ช.ม. นี่คือสิ่งที่เขาทำ เราหันมามองตัวเราซิ ว่าเราทำตรงนั้นได้มั้ย ผมไม่ได้ชี้แนะหรือบังคับว่าคุณจะต้องทำให้ได้ 18-20 ช.ม. แต่เราต้องดูความเป็นไปได้ของตัวเรา...

 

 

          ... (โปรดติดตามอ่านในตอนต่อไป... ครับ)...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด