แนวคิดของลอจิสติกส์และโซ่อุปทานได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับความสนใจในระดับนโยบายของชาติเลย แต่ละหน่วยงานในระดับกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ รวมถึงสภาพัฒน์ ฯ ก็พยายามที่จะศึกษาและหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายด้านลอจิสติกส์และโซ่อุปทานในระดับกระทรวงเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติทั้งหลาย
ด้วยความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยการแข่งขัน ความเร็ว ต้นทุน คุณภาพ รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้าและความต้องการที่หลากหลายผลักดันให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับสภาวะ การลดต้นทุนดำเนินงาน การลดความผิดพลาด ลดรอบเวลาปฏิบัติงาน และการตอบสนองต่ออุปสงค์อย่างทันเวลา
โครงการ Six Sigma ในวงการการจัดการธุรกิจและอุตสาหกรรม แต่ในทุกวงการของการจัดการ เริ่มมีการนำเอาตำแหน่ง Black Belt เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในการจัดการโครงการสำหรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรธุรกิจ อาจจะเป็นตำแหน่งที่ดูทันสมัย แต่การทำงานในตำแหน่งได้อย่างเต็มที่ตามความคาดหวังไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ ทุกคนจะต้องได้รับการฝึกฝน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่อไป
โรงงานที่มีโครงการ Six Sigma ต้องจัดเตรียมบุคลากร จัดองค์กรใหม่ การฝึกอบรมการใช้เครื่องมือ โรงงานที่การดำเนินการเรื่องลีนจะดำเนินโครงการในลักษณะที่คล้ายกัน แต่ต่างกันตรงรายละเอียดของการดำเนินโครงการ องค์กรจำนวนมากยังดำเนินโครงการประเภทอย่างแยกส่วน ซึ่งโครงการทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน
อุตสาหกรรมผลิตเส้นใย เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีโรงงานไม่มากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ (20 แห่ง) จ้างแรงงานกว่า 10,000 คน เนื่องจากต้องลงทุนเทคโนโลยีสูง จึงต้องติดตั้งกำลังการผลิตมากเพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้กำลังผลิตในประเทศและภูมิภาคเอเชียมีกำลังการผลิตส่วนเกินจากความต้องการมาก ต้นทุนการผลิตสูง
ตอน การปรับความเชื่อมโยงให้ตรงกัน ในเรื่อง A ตัวที่สาม คือ การเชื่อมต่อให้ตรงกัน ดังนั้นการจัดการโซ่อุปทานที่ดีและได้ผลต้องประสานรวมหรือบูรณาการเอาความสามารถเฉพาะเรื่องให้มาทำงานร่วมกัน และประเภทเดียว คือ การจัดการความสามารถของแต่ละองค์กรให้เกิดการเชื่อมต่อเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้องและซึ่งมีผลต่อโซ่อุปทานโดยตรงและทำให้โซ่อุปทานถึงขั้นล้มเหลวได้
ปัญหาการกัดกร่อนโครงสร้างสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานไฟฟ้ากระแสตรงเช่น การเดินรถไฟฟ้าทั้งใต้ดิน บนดิน ใต้น้ำ หรือลอยฟ้า และจากการเชื่อมไฟฟ้าแบบ DC การใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้า และสายส่งไฟฟ้าแบบ DC System เป็นต้น การศึกษา Stray Current จึงมีความจำเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้งานระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟ DC
จากการวิเคราะห์ ในวงการธุรกิจโลกภาครัฐหรือเอกชน ระยะสองสามปีที่ผ่านมานั้นมีการเคลื่อนไหวในแนวคิดในการจัดการธุรกิจในการประสานรวมเอาทั้ง Lean และ Six Sigma รวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อจะได้ประยุกต์ใช้ในกระบวนการโซ่อุปทาน (Supply Chain Process) หรือ กระบวนการธุรกิจ (Business Process) แนวโน้มตรงนี้จึงเกิดเป็นสองแนวคิดนี้
พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่สามารถนำมาใช้ทำงานได้ เช่น ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรม เช่น แกลบ ฟาง ชานอ้อย ขี้เลื่อย เศษไม้ เปลือกไม้ มูลสัตว์ รวมทั้งของเหลือหรือขยะจากครัวเรือนมนุษย์ พลังงานชีวมวล ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานที่ภาครัฐกำลังมีการศึกษาในการนำมาใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการใช้พลังงานของคนไทย
เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการปรับปรุงผลิตภาพทั่วทั้งโรงงานโดยครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยมุ่งแสดงด้วยสัญญาณ แถบสี และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในสถานที่ทำงาน เพื่อให้พนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจสารสนเทศต่าง ๆ สอดคล้องกับแนวคิดลีนสำหรับการดำเนินการบริหารโรงงานด้วยหลักการมองเห็นจะเริ่มด้วยการจัดทำกิจกรรม 5 ส.
พบกันอีกครั้งหนึ่งใน A ตัวที่สอง คือ Adapt หรือการปรับเปลี่ยน จากลักษณะพิเศษของโซ่อุปทานยุคใหม่ที่มีอีก 2 คุณลักษณะ เมื่อตลาดหรือความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปในทิศทางที่มีพัฒนาการขึ้น องค์กรธุรกิจคงจะต้องปรับเปลี่ยนโซ่อุปทานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า อาจจะยาก แต่สำคัญมากในการพัฒนาที่จะส่งผลถึงการได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน
การสร้างระบบพลังงานใหม่ให้แก่มนุษยชาติโดยใช้ไฮโดรเจน แต่ยังมีความท้าทายหลายเรื่องให้บุกเบิกและค้นคว้า ได้แก่ การผลิต การเก็บ การส่งจ่าย วิธีการผลิตไฮโดรเจนมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ปริมาณ และคุณภาพของไฮโดรเจน ความพยายามในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการผลิตได้ให้ความสำคัญถึง เรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การนำแนวคิดแบบลีนมาปฏิบัติใช้งาน คือ การให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกคนในกระบวนการปรับปรุงการทำงาน ในหลายองค์กรมีความเชื่อว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นคนปฏิบัติงาน ส่วนอีกกลุ่มจะทำหน้าที่ติดตามแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงาน สำหรับกลุ่มคนที่ทำการปรับปรุงการทำงานและกระบวนการธุรกิจ ส่วนมากตามปกติยิ่งจะไม่เป็นที่คุ้นเคยกับกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานเสียเท่าไรนัก
อุตสาหกรรมฟอกย้อม เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า อุตสาหกรรมนี้ใช้แรงงานและเทคโนโลยีด้านเคมีสิ่งทอสูง มีโรงงานกว่า 400 แห่ง จ้างแรงงานกว่า 50,000 คน เป็นโรงงานขนาดใหญ่จำนวน 100 แห่ง (หรือ 25%ของโรงงานฟอกย้อม) มีระบบการผลิตอัตโนมัติ ส่วนอีก 300 แห่งเป็นโรงงานขนาดกลางและเล็ก ใช้เครื่องจักรเก่า
ภายหลังจากการศึกษาเกี่ยวกับ Toyota มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี และได้สังเกตการณ์บริษัทต่าง ๆ ที่ดิ้นรนในการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน จึงเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สิ่งที่ครู Toyota ได้พร่ำบอกคือ วิถีแห่งโตโยต้า นั้น มิใช่เพียงแค่ชุดของเครื่องมือการผลิตแบบลีนเช่น ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-time Manufacturing)
ปัจจุบันสภาวะการดำเนินธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงต้องดำเนินการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก แนวทางบริหารผลิตภาพโดยรวมได้มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและการสร้างสรรค์
การใช้แสงเลเซอร์ในงานตัดถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเพราะมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนานแล้ว โดยเทคนิคดั้งเดิมมีการใช้แก๊สปกคลุมรอยตัดขณะตัดด้วยแสงเลเซอร์ แต่วิธีการดังกล่าวมีข้อจำกัดคือ แสงไม่สามารถตัดวัสดุหนา ๆ ได้เนื่องจากลำแสงที่บานออกเรื่อย ๆ ทำให้การควบคุมขนาดรอยตัดลึกลงไปทำได้ลำบาก
วิถีแห่งโตโยต้าและระบบการผลิตแบบโตโยต้า เปรียบเสมือนเป็นขดเกลียวคู่พันธุกรรมหรือ DNA ของ Toyota คือ มีการกำหนดรูปแบบในการจัดการและสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัท รูปแบบแห่งความสำเร็จของ Toyota สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรใด ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ จากการขาย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ลอจิสติกส์ และการจัดการ
แรงงานมนุษย์ (Human Resource) เป็นปัจจัยหลักของการสร้างผลิตผลและมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยทรัพยากรอื่น ๆ เนื่องจากแรงงานที่มีคุณภาพจะมีศักยภาพในการเรียนรู้และเกิดทักษะที่หลากหลายซึ่งส่งผลให้เกิดผลิตภาพต่อองค์กรที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมักเห็นว่าแรงงานจะมีการปฏิบัติงานที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของแรงงาน
การอนุรักษ์พลังงาน หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้นคือ การประหยัดพลังงานโดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตออกไปให้ได้มากที่สุด ความสูญเปล่าในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ในทุกส่วนงาน ขึ้นกับว่าจะมีสัดส่วนอยู่มากน้อยเท่าไร โดยความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมนี้หมายถึงความต้องการในการใช้พลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม
การสร้างต้นแบบรวดเร็วเป็นกระบวนการผลิตชิ้นงานต้นแบบ 3 มิติโดยตรงจากภาพและข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยใช้หลักการของการสร้างของแข็งโดยอิสระ ซึ่งเป็นการนำภาพคอมพิวเตอร์ 3 มิติ มาแยกให้เป็นชั้นตามภาคตัดขวาง จากนั้นข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปกำหนดการสร้างต้นแบบขึ้นทีละชั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามเส้นทางที่กำหนดของภาพคอมพิวเตอร์
สตีมแทร็ปรั่ว หรือ Fail Open ไอน้ำจะรั่วไหล และถ้าโรงงานที่ไม่มีการนำคอนเดนเสทกลับมาใช้ สตีมแทร็ปรั่วทำให้สิ้นเปลืองน้ำด้วย ส่วนสตีมแทร็ปตัน หรือ Fail Closed ไม่มีผลต่อการสิ้นเปลืองพลังงานหรือน้ำ แต่มีผลต่อการลดความสามารถการให้ความร้อนของระบบลดลงและทำให้อุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ไอน้ำเสียหาย