Products Showcase

Samsung พร้อมบุกโลกของ Internet of Thing ด้วยแพลตฟอร์ม Artik

 

ในงาน Samsung Developer Conference หรือ SDC ซึ่งจัดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Samsung ได้มีการเปิดตัวเทคโนโลยี IoT ที่ได้ลงแรงพัฒนามา โดยส่วนที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้ระบบปฏิบัติการที่ Samsung หมายมั่นปั้นมือไว้อย่าง Tizen หรือระบบบ้านอัตโนมัติอย่าง SmartThings ก็คือฮาร์ดแวร์ในตระกูล Artik ที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สร้างระบบ IoT โดยเฉพาะ

 

     ใงานนี้ Samsung ประกาศความคืบหน้าของฮาร์ดแวร์รุ่นบนในตระกูล Artik คือ Artik 10 รวมทั้งได้เปิดตัวเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์หรือ IDE สำหรับใช้พัฒนาระบบ IoT พร้อมกับแสดงผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นจากฮาร์ดแวร์ของ Artik โดยความร่วมมือกันของ Samsung และ Legrand ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ Smart Home รายใหญ่ของโลก และในงานเดียวกันนี้ Samsung ก็ยังได้ประกาศเปิดตัว Cloud platform ที่ชื่อว่า Artik Cloud ด้วย

 

          ในงานนี้ Samsung ประกาศความคืบหน้าของฮาร์ดแวร์รุ่นบนในตระกูล Artik คือ Artik 10 รวมทั้งได้เปิดตัวเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์หรือ IDE สำหรับใช้พัฒนาระบบ IoT พร้อมกับแสดงผลงานที่ถูกพัฒนาขึ้นจากฮาร์ดแวร์ของ Artik โดยความร่วมมือกันของ Samsung และ Legrand ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ Smart Home รายใหญ่ของโลก และในงานเดียวกันนี้ Samsung ก็ยังได้ประกาศเปิดตัว Cloud platform ที่ชื่อว่า Artik Cloud ด้วย

 

          Artik เป็นฮารด์แวร์แบบ Computer-On-Modules (COM) ซึ่งอันที่จริง Samsung ได้ประกาศเปิดตัวไปตั้งแต่เมื่อปีก่อน และเพิ่งถูกส่งให้กับนักพัฒนาได้เมื่อเร็วๆ นี้ โดย Artik 5 และ Artik 10 ก็เป็นฮาร์ดแวร์รุ่นกลาง-สูง ซึ่งทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Fedora ปัจจุบันนักพัฒนาสามารถสั่งซื้อโมดูลทั้งสองรุ่นนี้ได้แล้วจาก Digi-Key (http://www.digikey.com) โดยมีราคาอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ และ 150 ดอลลาร์ ตามลำดับ นอกจากนั้น Samsung ก็เตรียมที่จะส่ง Artik 1 ฮาร์ดแวร์รุ่นเล็กที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ RTOS ซึ่งกำลังจะตามออกมาในไม่ช้านี้อีกด้วย ความน่าสนใจก็คือ ทุกๆ โมดูลถูกออกแบบโดยให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รองรับเทคโนโลยี ARM TrustZone, มีระบบตรวจความถูกต้องของ boot image, ระบบ secure boot รวมทั้งระบบสื่อสารแบบเข้ารหัส เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของผู้ใช้งาน สำหรับข้อมูลที่มากขึ้นของแพลตฟอร์ม Artik ซึ่งได้ประกาศในงาน SDC มีดังนี้

 

 

  • Artik 5 เป็นโมดูลที่ติดตั้งมาด้วย SoC ซึ่งภายในเป็นโปรเซสเซอร์ Dual core ARM Cortex-A7 @1GHz มี GPU เป็น Mali 400 MP2 รองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 720p มีหน่วยความจำ LPDDR3 ขนาด 512MB และ eMMC Flash ขนาด 4GB รวมทั้งส่วนสื่อสารข้อมูลผ่าน WiFi, BLE และ Zigbee (และอยู่ระหว่างพัฒนาให้รองรับ 6loWPAN ด้วย)
  • Artik 10 ใช้โปรเซสเซอร์ Quad core ARM Cortex-A15 @1.5GHz และ Quad core ARM Cortex A7 @1.3GHz มี GPU เป็น ARM Mali-T628 MP6 รองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 1920x1080@12fps มีหน่วยความจำ LPDDR3 ขนาด 2GB และ eMMC Flash ขนาด 16GB รวมทั้งส่วนสื่อสารข้อมูลผ่าน WiFi, BLE และ Zigbee (และอยู่ระหว่างพัฒนาให้รองรับ 6loWPAN ด้วยเช่นกัน)
  • Arktik IDE เป็นโครงการโอเพนซอร์สของ IDE ที่ Samsung พัฒนาต่อมาจาก Eclipse Che (ที่แตกแขนงมาจากโครงการ Eclipse อีกทีหนึ่ง) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม Arktik ซึ่งนักพัฒนาสามารถจะใช้งานได้ฟรี IDE ที่ว่านี้สามารถรองรับภาษา C, C++, Java, JavaScript, Python และอื่นๆ
  • Arktik Cloud เป็นบริการของ Samsung ที่ได้เตรียม API และเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดเก็บ บันทึก และจัดการกับข้อมูลที่ได้จากระบบ IoT สามารถทำงานร่วมกับ Artik board ซึ่งทำงานเป็น IoT endpoint (Artik 1 และ 5) หรืออาจทำงานเป็นส่วน Gateway (Artik 5 and 10) โดย Arktik Cloud จะเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนขัอมูลระหว่าง ฮาร์ดแวร์, แอพพลิเคชัน, และบริการคลาวด์ จากระบบที่มาจากต่างผู้ผลิตกันสามารถจะทำงานร่วมกันได้ ปัจจุบัน Arktik Cloud สามารถรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น Amazon Echo, Nest thermostats, FitBit, Samsung Gear รวมทั้ง Raspberry Pi ด้วย

 

สำหรับคุณผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ Arktik เพิ่มเติมก็สามารถดูเพิ่มได้จากเว็บไซต์ https://www.artik.io

 

eCompass เซนเซอร์ความแม่นยำสูงสำหรับการนำร่องแบบ Dead Reckoning

 

ปัจจุบันผู้คนจำนวนมากหันมาใช้แอพพลิเคชัน Fitness-tracking บนสมาร์ทโฟน, สมาร์ทวอทช์, และใช้อุปกรณ์สวมใส่รูปแบบต่างๆ เพื่อติดตามกิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกายที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมากขึ้น เรื่อยๆ การใช้งานในลักษณะดังกล่าวต้องการการเก็บข้อมูลของตำแหน่งที่อยู่ที่มีความ แม่นยำ เพื่อเป็นข้อมูลหนึ่งสำหรับในการประเมินผล จึงเป็นที่มาของ eCompass เซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นโดย STMicroelectronics

 

     เซนเซอร์ที่ว่านี้สามารถใช้เป็นส่วนที่รับช่วงต่อในการคำนวณตำแหน่งที่ อยู่ เมื่อสัญญาณจากดาวเทียมในระบบ GPS เกิดขาดหายไปในบางช่วงบางตอน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเคลื่อนผ่านเข้าไปในอาคาร หรือวิ่งผ่านเข้าไปในชายคาที่ค่อนข้างทึบ เป็นต้น ด้วยหลักการที่เรียกว่า Dead Reckoning หรือ DR ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันในยุคก่อนจะมีดาวเทียมเหมือนอย่างในปัจจุบันนี้ โดยการใช้ทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่ นำมาใช้คำนวณหาตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลจาก eCompass จึงสามารถช่วยแก้ไขความผิดพลาดของทิศที่มุ่งหน้า (heading error) ลงไปอยู่ที่ต่ำกว่า 4 องศา แทนที่จะผิดพลาดที่ระดับ 10 องศา เหมือนอย่างอุปกรณ์ทั่วไปที่เดิมมีใช้งานกัน

 

          LSM303AGR เป็นเซนเซอร์แบบ eCompass ในตัวถังแบบ 12-lead LGA (มีขนาด 2 x 2 x 1 มิลลิเมตร) ที่พัฒนาขึ้นด้วยการนำเซนเซอร์ 3-axis MEMS accelerometer และ 3-axis Anisotropic Magneto-Resistive (AMR) sensor มาผนึกรวมเข้าด้วยกัน โดยเซนเซอร์แบบ AMR จะให้การตอบสนองที่ว่องไว มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า Hall sensor ที่เดิมใช้กัน และมีเสถียรต่ออุณหภูมิ (temperature stability) ที่ดีกว่าเซนเซอร์แบบ Magneto-Resistive (GMR) หรือ Tunnel Magneto-Resistive (TMR) ที่เดิมใช้กันอีกด้วย

 

คุณผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ eCompass เพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มได้จากเว็บไซต์ http://www.st.com

 

VARTA Microbattery แบตเตอรี่จิ๋วสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย

 

VARTA Microbattery เปิดตัว VARTA CoinPower Series ไมโครแบตเตอรี่ที่จะช่วยให้การออกแบบอุปกรณ์แบบพกพา ง่ายและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น CoinPower ประกอบด้วยรุ่น CP1254A2, CP1654A2 และ CP1454A3 ซึ่งให้แรงดัน 3.7 โวลต์ และมีความจุ 50, 100, 85mAh ตามลำดับ แบตเตอรี่เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีของ VARTA ภายใต้สิทธิบัตร 6 ฉบับ ซึ่งช่วยให้แบตเตอรี่มีความหนาแน่นของพลังงาน (Energy density) ที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ถึง 30%

 

     ไมโครแบตเตอรี่ในซีรี่ย์ CoinPower มีค่าการดิสชาร์จภายในเวลาตัว (self-discharge) อยู่ในระดับต่ำ และสามารถจ่ายกระแสสูงๆ ให้กับโหลดได้อย่างรวดเร็ว และสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีอายุการใช้งานมากกว่า 500 full cycle โดยสามารถจะเก็บกักพลังงานเอาไว้ที่ระดับ 80% ของความจุของตัวมันเอง เส้นผ่านศูนย์กลางของแบตเตอรี่อยู่ระหว่าง 12.1 - 16.1 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 1.6 - 3.2 กรัม ทุกรุ่นมีความหนา 5.4 มิลลิเมตร การชาร์จไฟทำแบบ CC/CV (constant current-constant voltage) โครงสร้างเปลือกด้านนอกซึ่งทำขึ้นจากแสตนเลสสตีล ช่วยให้ตลอดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะไม่มีการบวมหรือยุบตัว

 

          ด้วยขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบา จึงเหมาะจะใช้กับอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น หูฟังบลูทูธ, อุปกรณ์สวมใส่พกพา, อุปกรณ์ทางด้านสุขภาพ, เครื่องเล่นเกม, รวมทั้งกุญแจรถยนต์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

สำหรับคุณผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ CoinPower เพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มได้จากเว็บไซต์ http://www.varta-microbattery.com