เรื่องทั่วไป

สมรภูมิ High Tech Hardware ตอนที่ 7

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ

 

เมื่อหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทใกล้ตัวผู้ใช้งานทั่วไปมากยิ่งขึ้น

 

 

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์หุ่นยนต์อัจฉริยะ

 

     เรื่องราวของเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีพัฒนาการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนกับว่าทั้งแวดวงผู้ผลิตอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาและแม้กระทั่งบรรดาผู้ประกอบการ Startup ต่าง ๆ ก็ช่วยกันต่อยอดพัฒนาทั้งเทคโนโลยีเซนเซอร์ อัลกอริทึมของซอฟต์แวร์ที่ใช้บริหารจัดการหุ่นยนต์ ไปจนถึงการพัฒนาทางด้านวิศวกรรมวัสดุ อันมีผลทำให้หุ่นยนต์ในปัจจุบันมีขีดความสามารถในการทำงานที่เหมาะสมกับการใช้งานในแขนงย่อยต่าง ๆ มากขึ้น ที่สำคัญก็คือมีผลทำให้ต้นทุนในการพัฒนาหุ่นยนต์ต่ำลง สามารถสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้ในทางธุรกิจได้ในราคาที่ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถลงทุนได้

 

          นิยามของหุ่นยนต์ หรือ Robot หมายถึงเครื่องจักรกลที่มีความสามารถในการรับคำสั่งในการทำงานที่ซับซ้อนและสามารถช่วยงานมนุษย์ได้จริงในสภาพแวดล้อมจริง หุ่นยนต์ที่ได้รับการพัฒนาสร้างขึ้นและใช้งานในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีรูปทรงหรือลักษณะที่เหมือนกับมนุษย์ บางชนิดยังคงคล้ายกับเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ด้วยความสามารถที่ทำงานอันซับซ้อนและสามารถโปรแกรมการทำงานเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ได้อย่างมาก เครื่องจักรเหล่านี้ก็นับได้ว่าเป็นหุ่นยนต์โดยปริยาย อย่างไรก็ตามการต่อยอดวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีก็ทำให้หุ่นยนต์จำนวนมีรูปร่างใกล้เคียงกับมนุษย์ แม้กระทั่งสามารถทรงตัวได้คล้ายกับมนุษย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งาน ที่สำคัญก็คือวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT ทำให้หุ่นยนต์สามารถพัฒนาความฉลาดของตนมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Cloud และเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางที่คอยเก็บประสบการณ์ซึ่งอยู่ในรูปของระบบฐานข้อมูลและการช่วยต่อยอดสร้างอัลกอริทึมในการคิดเองของหุ่นยนต์จากวิศวกรทั่วโลก

 

          การใช้งานหุ่นยนต์ในปัจจุบันจึงเริ่มแพร่หลายไปในตลาดใหม่ ๆ ตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตลาดเริ่มแรงของการใช้งานหุ่นยนต์ มาสู่บ้านพักอาศัย ภัตตาคาร ร้านอาหาร วงการแพทย์ อุตสาหกรรมขนส่ง ฯลฯ และยังมีการสร้างผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง การศึกษา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ลูกโซ่ในการต่อยอดพัฒนาขีดความสามารถของหุ่นยนต์ให้มากขึ้น ซึ่งก็ยิ่งส่งผลให้ราคาของหุ่นยนต์ลดต่ำลงอีกมาก และเชื่อได้ว่าหุ่นยนต์จะสามารถเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ บทความในตอนนี้จะได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในแวดวงต่าง ๆ อันประกอบไปด้วย หุ่นยนต์ตั้งโต๊ะ (Desktop Robotics) หุ่นยนต์สำหรับธุรกิจบริการ (Service Robotics) หุ่นยนต์สำหรับใช้งานในบ้าน (Domestic Robotics) หุ่นยนต์เพื่อการติดต่อสื่อสาร (Social Robot) หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง (Entertain Robotics) หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotics) หุ่นยนต์เพื่อช่วยการทรงตัวของมนุษย์ (Human Augmentation) และหุ่นยนต์ในวงการยานยนต์ (Transportation Robotics) โดยจะกล่าวเจาะไปในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่น่าสนใจเป็นกรณีไป

 

หุ่นยนต์ตั้งโต๊ะ

 

          ปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์จำนวนมากที่ใช้สร้างผลิตภัณฑ์และชิ้นงานได้รับการออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อ Smart Phone หรือแม้กระทั่งกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่ออาศัยระบบฐานข้อมูล Big Data หรือ Data Analytic ในการสร้างความเป็นอัจฉริยะและความหลากหลายในการช่วยมนุษย์ทำงาน สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจก็คืออุปกรณ์หรือที่จะเรียกต่อจากนี้ว่าหุ่นยนต์ประเภทตั้งโต๊ะ ซึ่งไม่ได้มีความสามารถในการนำพาตัวเองให้เคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้ มีราคาที่ไม่แพง บริษัทห้างร้าน ห้องทดลอง หรือแม้กระทั่ง Co-Working Space หลาย ๆ แห่งจึงสามารถลงทุนซื้อหุ่นยนต์เหล่านี้มาให้บริการได้ รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างของหุ่นยนต์ประเภทตั้งโต๊ะ หรือ Desktop Robot

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด