Products Showcase

Foxconn เตรียมปรับลดจำนวนพนักงาน 6,000 คน เพื่อใช้หุ่นยนต์ทำงานแทน

 

          หุ่นยนต์กำลังกลายเป็นภัยคุกคามที่ทำให้พนักงานของโรงงานในประเทศจีน ต้องหวาดกลัว ไม่ใช่เพราะการรุกขึ้นต่อต้านมนุษย์เหมือนในภาพยนตร์ไซไฟ แต่เป็นเพราะในอนาคตอันใกล้นี้ พวกเขาจะถูกเลิกจ้างและต้องตกงาน แน่นอนว่าเรื่องราวแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะการนำหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม Foxconn เพิ่งเริ่มนำเราก้าวเข้าการเปลี่ยนครั้งใหญ่ของเรื่องราวที่ว่านี้

 

          Foxconn (บริษัทซัพพลายเยอร์รายใหญ่ของ Apple) เริ่มลดจำนวนพนักงานจาก 110,000 คน ลงเหลือ 50,000 คน และจะแทนที่ตำแหน่งงานเหล่านั้นด้วยหุ่นยนต์ ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นใน กลุ่มบริษัทผู้ผลิตในพื้นที่ Chinese manufacturing hub of Kunshan ที่เริ่มนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยหนึ่งในจำนวนบริษัท 35 แห่ง ก็คือ Foxconn ที่ได้ใช้เงินลงทุนไปกว่า 4 พันล้านหยวน (610 ล้านดอลลาร์) กับการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการรับมือจากเหตุการระเบิดครั้งใหญ่ จนทำให้เกิดผู้เสียชีวิตมากถึง 146 คน ในปี 2014 รายงานจาก นสพ. South China Morning Post ชี้ว่าจากการสำรวจของหน่วยงานรัฐ พบว่ามีบริษัทขนาดใหญ่อยู่มากกว่า 600 แห่งในพื้นที่คุนชาน (Kunshan) นี้ที่มีแผนจะปรับลดพนักงานลงเช่นเดียวกันด้วย

 

          อย่างไรก็ตาม Foxconn ชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า พวกเขาต้องการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตในงานที่ มีความซ้ำซาก ที่ก่อนหน้านี้ต้องทำโดยใช้แรงงานคนเท่านั้น เพื่อจะได้พัฒนาและฝึกฝนให้พนักงานสามารถทำงานอื่นๆ ในกระบวนการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น งานด้านการวิจัยและพัฒนา, การควบคุมกระบวนการต่างๆ และการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

 

          ในพื้นที่ของคุนชานมีจำนวนของโรงงานมากเกินกว่าที่หน่วยงานรัฐบาลกลาง ได้กำหนดไว้มาก (ที่ราว 46% ของพื้นที่ทั้งหมด) ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่นก็พยายามที่จะควบคุมให้อัตราเติบโตของการพัฒนาที่ดินในพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นศูนย์ให้ได้ ก่อนที่จะค่อยๆ พยายามปรับลดจำนวนลงในปี 2020 ซึ่งคงไม่ใช่ข่าวดีนักสำหรับพื้นที่แห่งนี้ ในที่ซึ่งมีประชากรอยู่มากกว่า 2.5 ล้านคน โดยการสำรวจเมื่อปี 2014 พบว่า 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดเป็นแรงงานต่างถิ่นที่เข้ามาทำงานในโรงงานต่างๆ ในพื้นที่นี้นั่นเอง

 

          ก่อนหน้านี้ พื้นที่คุนชานสามารถผลิตเครื่องแลบทอป (labtop) ได้มากถึง 120 ล้านเครื่อง แต่ว่าตัวเลขดังกล่าวได้ตกมาอยู่ที่ 51 ล้านเครื่อง จากการความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ต่อมาสมาร์ทโฟนก็ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกเข้ามาแทนที่ โดยเมื่อปีที่แล้ว มีการผลิตสมาร์ทโฟนออกมาได้มากกว่า 20 ล้านเครื่องเลยทีเดียว

 

รถยนต์บินได้ ความฝันที่เข้าใกล้ความจริง (อีกนิด)

 

          เรื่องของรถยนต์บินเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันในแวดวงเทคโนโลยีว่า มันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันแสนไกลมาโดยตลอด แต่ว่าบางทีอาจถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนความคิดนั้นใหม่เสียแล้ว เมื่อ Larry Page หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Google ให้ความสนใจและเริ่มลงทุนอย่างเงียบๆ ในบริษัท on-demand air transportation โดยได้สนับสนุนเงินลงทุนกับบริษัทผู้พัฒนาเครื่องบินขนาดเล็ก 2 แห่ง คือ Zee.Aero และ Kitta Hawk ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้ รวมทั้งบริษัทผู้ผลิตอากาศยานยักษ์ใหญ่อีกหลายๆ ราย ต่างก็กำลังอยู่ระหว่างพัฒนายานพาหนะที่สักวันหนึ่ง จะช่วยให้การเดินทางบนท้องฟ้ากลายเป็นเรื่องที่แสนง่ายและสะดวกสบายกว่าที่ เคยเป็นมา

 

 

Larry Page หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Google

 

          ดูเหมือน Page ต้องการพิสูจน์ว่าเขาสามารถทำอะไรที่แสนจะท้าทาย และเมื่อมองในหลายๆ มุมก็เป็นไปได้ว่ารถยนต์บินอาจถึงจุดที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้แล้วจริงๆ ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีของหุ่นยนต์โดรนที่ในปัจจุบันแพร่หลายอย่างมาก ทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น รวมทั้งระบบ automated mapping และ navigation ที่ต่างก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง

 

          อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ต้องเอาชนะให้ได้อีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานที่ใช้เพื่อบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังงานปริมาณมหาศาล แต่เทคโนโลยีของแบตเตอรี่ในขณะนี้ก็ยังมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก และมีราคาแพงที่มาก และระบบการบินอัตโนมัติที่อาจดูเหมือนว่าจะง่ายกว่าระบบของรถยนต์ขับเคลื่อน อัตโนมัติที่ต้องอยู่บนท้องถนนที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ว่าระบบของรถยนต์บินจำเป็นต้องมีความแน่นอนและแม่นยำสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้โดยสารที่ไม่ได้ทีทักษะอย่างนัก บินมืออาชีพ ทั้งสองเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ยังต้องการเวลาในการหาทางออกที่ดี

 

          Terrafugia เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่อยู่ระหว่างพัฒนาเครื่องบินส่วนบุคคลขนาดเล็กเช่นกัน โดยเครื่องต้นแบบรุ่นล่าสุดก็คือ TF-X ซึ่งเป็นยานบินขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าที่สามารถบินขึ้นและลงได้ในแนวดิ่ง หรือ VTOL (Vertical Takeoff and Landing) เหมือนในภาพยนตร์ไซไฟไม่มีผิด ซึ่งผู้ผลิตออกตัวว่าคงต้องเวลาอีกราวๆ สัก 12 ปี กว่าจะสามารถผลิตออกมาให้ใช้งานได้จริง 

 

 

กังหันแบบใหม่ที่ไร้ใบพัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

          Vortex Bladeless บริษัทสตาร์ทอัพจากประเทศสเปนได้พัฒนากังหันรูปแบบใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากการ ไหลวนของของไหล โดยเมื่อกระแสของไหล (เช่น กระแสลม กระแสน้ำ) เคลื่อนผ่านกังหันที่ว่านี้ จะทำให้เกิดการแยกจากกันและเกิดเป็นกระแสหมุนวนขึ้นที่ด้านข้างของตัวกังหัน เจ้ากระแสหมุนวนที่ว่านี้เอง ทำให้เกิดเป็นแรงปะทะและกลายเป็นการสั่นสะเทือนตามมา พลังงานจลน์ที่ได้จากการสั่นนี้เองที่สามารถนำมาแปลงสภาพให้กลายเป็นพลังงาน ไฟฟ้าได้

 

          David Yáñez หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแห่งนี้ ได้ไอเดียของกังหันลมแบบใหม่มาจากการศึกษาการถล่มของสะพานข้ามช่องแคบทาโคมา (Tacoma Narrow bridge) ในสหรัฐอเมริกา สะพานแห่งนี้ถล่มในปี 1940 โดยมีสาเหตุจากการสั่นสะเทือนที่ตัวสะพานจนเกินขีดจำกัด โดยการสั่นสะเทือนที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นกระแสลมหมุนในลักษณะเดียวกันนั่นเอง

 

          กังหันลมของ Vortex มีน้ำหนักเบา ไม่มีทั้งเกียร์บอกซ์ (gearbox) หรือว่าแบร์ลิง (bearing) โดย Yáñez เล่าว่าต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของกังหันลมแบบใหม่จะต่ำกว่ากังหันแบบเดิมอยู่ ถึง 40% ปัจจุบัน Vortex ได้รับเงินทุน 1 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนส่วนบุคคลและจากหน่วยงานรัฐบาลของสเปน และอยู่ระหว่างหาเงินทุนเพิ่มอีกราว 5 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางการระดมทุน โดย Yáñez คาดว่าจะสามารถทดลองสร้างโรงผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมขนาด 4 กิโลวัตต์ได้ในปี 2016 และน่าจะจ่ายไฟฟ้าที่ระดับ 1 เมกะวัตต์ได้ในราวปี 2018

 

          อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานจลน์ ซึ่งเมื่อเทียบกับกังหันลมแบบเดิมที่สามารถเปลี่ยน 80 - 90% ของพลังงานจลน์ที่ได้จากการหมุนของใบพัดเพื่อสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่ว่ากังหันแบบใหม่ที่ไร้ใบพัด ประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานจะอยู่ที่ระดับ 70% เท่านั้น ข้อจำกัดดังกล่าวมาจากการที่กังหันชนิดนี้มีพื้นที่ในการกวาดเพื่อ สร้างพลังงานเพียงแคบๆ ประสิทธิภาพที่ได้จึงน้อยกว่ากังหันลมแบบเดิมอยู่มาก แต่ว่าด้วยข้อดีในแง่ของต้นทุนการผลิตและการบำรุงรักษาที่ถูกกว่า และในการติดตั้งกังหันลมแบบใหม่ ก็ไม่จำเป็นต้องเผื่อพื้นที่สำหรับการหมุนกวาดของใบพัด ทำให้สามารถชดเชยข้อจำกัดดังกล่าวด้วยการติดตั้งจำนวนกังหันมากตัวขึ้นได้บน พื้นที่ขนาดเท่ากันกับที่กังหันลมแบบเดิม ซึ่งจากการทดลองในห้องวิจัยก็พบว่าการที่กังหันลมแบบไร้ใบพัดนี้ถูกตั้งอยู่ ใกล้ๆ กัน ก็สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าโดยรวมให้สูงขึ้นได้อีกด้วย

 

          ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานของกังหันลมแบบเดิม เช่น เสียงและเงารบกวน อันตรายที่จะเกิดกับนก รวมไปถึงผลกระทบต่อภูมิทัศน์ ที่กังหันลมแบบใหม่มีผลกับเรื่องเหล่านี้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ ยังคงต้องอาศัยวันเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่ามันจะให้ผลที่น่าพึงใจอย่างที่คาดหวังหรือไม่ และจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยอย่างที่ผู้ออกแบบคาดหวังไว้หรือเปล่า

 

 

เทรนด์การใช้งานเซนเซอร์รับภาพแบบซีมอสที่มากและมากขึ้น

 

          ทุกวันนี้กล้องของสมาร์ตโฟนกลายเป็นฟีเจอร์สำคัญเมื่อคิดจะเลือกซื้อ สมาร์ทโฟนมาใช้งานไปเสียแล้ว เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเซนเซอร์รับภาพแบบซีมอส (CMOS image sensor) กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาหลายปี ที่ผ่านมา

 

          ประเมินกันว่าอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ามากถึง 19 พันล้านดอลลาร์ โดยมี Sony ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่ง เป็นสัดส่วนอยู่มากถึง 35% หรือมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ จากมูลค่าตลาดรวมในปี 2015 ที่มีมูลค่าถึง 10.3 พันล้านดอลลาร์  โดยผู้เล่นหลักๆ ของอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ Samsung, Omnivision, On Semiconductor, Canon, Toshiba และ Panasonic แต่ไม่มีรายใดที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ใกล้เคียงกับ Sony ได้เลย แม้แต่ Samsung ซึ่งครองตลาดเป็นอันดับสองก็ยังมีส่วนแบ่งตลาดอยู่เพียง 19% ทิ้งห่างกันอยู่มากทีเดียว

 

          อุตสาหกรรมที่เติบโตมาเรื่อยๆ ก็ทำให้เทคโนโลยีของเซนเซอร์รับภาพถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน และช่วยให้เกิดฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ มากมาย เช่น การปรับโฟกัสภาพอัตโนมัติ (auto-focus), การเพิ่มคุณภาพของภาพถ่าย, ฟังก์ชันชดเชยการสั่นไหว (OIS, Optical Image Stabilization) ฟังก์ชันเหล่านี้ช่วยให้ช่างภาพมือสมัครเล่นสามารถได้ภาพสวยๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพแบบเซลฟี่สนุกกับการถ่ายภาพได้มากขึ้น ด้วย

 

          แนวโน้มของการใช้งานเซนเซอร์รับภาพแบบซีมอสในอนาคตยังคงสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากรูปแบบการใช้งานที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับสมาร์ทโฟนอีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การนำไปใช้งานในยานยนต์ที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังจะเป็นตัวเร่งให้ความต้องการใช้งานแบบก้าวกระโดด ประเมินกันว่าจะมีความต้องการใช้งานเซนเซอร์รับภาพในยานยนต์เพิ่มขึ้นได้ถึง 23% ในปี 2015 หรือคิดเป็นมูลค่า 537 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแม้จะยังเทียบไม่ได้กับการใช้งานในสมาร์ทโฟน แต่ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสรออยู่อีกมาก

 

          มองขึ้นไปบนท้องฟ้า เซนเซอร์รับภาพเหล่านี้ก็ถูกใช้งานเช่นกันจากความนิยมของหุ่นยนต์โดรน เพื่อประยุกต์กับใช้งานรูปแบบใหม่ ก็ทำให้กล้องสำหรับหุ่นยนต์โดรนจำเป็นต้องให้คุณภาพของภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งต้องการความสามารถอื่นๆ เช่น ความสามารถในการประมวลผลภาพที่ตอนนี้เริ่มถูกนำมาผนึกลงในเซนเซอร์รับภาพ บ้างแล้ว

 

          และกระแสความสนใจล่าสุดกับเทคโนโลยี VR หรือ Virtual Reality ซึ่งจะเห็นได้จาก VR headset ของหลายๆ ผู้ผลิตที่เริ่มมีออกมามากขึ้น แน่นอนว่าเซนเซอร์รับภาพเป็นส่วนสำคัญที่ใช้สร้างอินพุตให้กับระบบเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นกล้องแบบ 3D cameras, กล้องถ่ายภาพแบบ 360 องศา ซึ่งความนิยมในการใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ เหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นแปรที่สร้างให้เกิดความต้องการใช้งานเซนเซอร์รับภาพที่มี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสอีกมากมายที่รออยู่ในอนาคต