เนื้อหาวันที่ : 2009-12-01 17:50:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1435 views

อีเอ็มซี ชี้ธุรกิจไทยสดใส องค์กรสนใจลงทุนด้านไอที

ภาพรวมธุรกิจไทยสดใส เตรียมพร้อมรับมือเศรษฐกิจขาขึ้นไอดีซีเผย ในช่วง 2 ปีข้างหน้า องค์กรธุรกิจในอาเซียนมุ่งเน้นการปรับปรุงการให้บริการลูกค้าควบคุมค่าใช้จ่ายด้านไอที

 .

ภาพรวมธุรกิจไทยสดใส เตรียมพร้อมรับมือเศรษฐกิจขาขึ้นไอดีซีเผย ในช่วง 2 ปีข้างหน้า องค์กรธุรกิจในอาเซียนมุ่งเน้นการปรับปรุงการให้บริการลูกค้าควบคุมค่าใช้จ่ายด้านไอที      

 .

อีเอ็มซี ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เปิดเผยข้อมูลจากรายงานของไอดีซี ซึ่งระบุว่าองค์กรธุรกิจในประเทศไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการลงทุนด้านไอที แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก็ตาม ข้อสรุปนี้อ้างอิงรายงานของไอดีซีที่ได้รับการสนับสนุนจากอีเอ็มซี                        

 .

โดยรายงานดังกล่าวมีชื่อว่า “Is Your Company at Risk? Preparing a Strategy for Information Management” (บริษัทของคุณอยู่ในสภาวะเสี่ยงหรือไม่? การจัดเตรียมกลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการข้อมูล) เมื่อเทียบกับแนวโน้มระดับโลกซึ่งองค์กรต่างๆ ยังคงดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังแล้ว พบว่าธุรกิจของไทยมีแนวโน้มสดใสมากกว่า

 .

“องค์กรธุรกิจในประเทศไทยมองว่าช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ”       

 .

นายรอน โก๊ะ ประธานประจำภูมิภาคเอเชียใต้ของอีเอ็มซี กล่าว “ด้วยการใช้ประโยชน์และการลงทุนในเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้แก่บริษัทฯ และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง บริษัทฯ เหล่านี้ก็พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง”

 .

รายงานที่ไอดีซีจัดทำขึ้นนี้อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายไอที 405 คนในอินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า การปรับปรุงระดับการให้บริการแก่ลูกค้าถือเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรธุรกิจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยบริษัทต่างๆ มองว่าการให้บริการที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้าจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขันและสร้างจุดขายที่แตกต่าง

 .

นายรอนกล่าวเสริมว่า “เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องของการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน เช่น เพิ่มความคล่องตัวให้กับระบบงาน หรือเพิ่มความสะดวกในการจัดการข้อมูลอีกต่อไป แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้ยกระดับไปสู่การปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางด้านธุรกิจอย่างยั่งยืน”

 .
การรับมือกับความท้าทายและกำหนดภารกิจที่สำคัญ

การควบคุมตรวจสอบค่าใช้จ่ายด้านไอทีและการพัฒนาการให้บริการลูกค้าเป็นความท้าทายที่สำคัญในช่วง 2 ปีข้างหน้าสำหรับ 5 ประเทศในเอเชียที่ร่วมตอบแบบสอบถามครั้งนี้

 .

ทั้งนี้ นายรอน กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทต่างๆ ได้รับแรงกดดันอย่างมากในการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในตอนนี้ ทั้งนี้เพราะงบประมาณด้านไอทีมักจะถูกปรับลด หรือจัดสรรให้ในจำนวนที่เท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับการอัพเกรดระบบอย่างต่อเนื่องก็ตาม  

 .

แผนกไอทีจำเป็นที่จะต้องทำงานให้ได้มากขึ้น แต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง ในขณะที่บริษัทที่ปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะต้องสามารถระบุคุณประโยชน์ทางธุรกิจและผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม จึงจะได้รับการอนุมัติงบประมาณไอที”

 .

แม้ว่าบริษัทต่างๆ จะมองว่าการบริการลูกค้าถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันและเป็นจุดขายที่สร้างความแตกต่างให้แก่สินค้า ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่างๆ จาก 5 ประเทศนี้จึงระบุว่าทางบริษัทฯ มีแผนที่จะปรับใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านเทคโนโลยีในลักษณะที่สร้างสรรค์และสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

 .

ในส่วนของนายปีเตอร์ โก๊ะ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของอีเอ็มซี กล่าวว่า “การใช้จ่ายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคธุรกิจการเงินเป็นผลมาจากความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ เช่น Basel II, HIPPA, IAS39 และกฎหมาย Sarbanes-Oxley

 .

นอกจากนี้ ธนาคารต่างๆ ยังมองกว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นภารกิจทางด้านธุรกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง และตรงจุดนี้เองที่มีการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงการไอทีของธุรกิจการเงินเหล่านี้”

 .

ทั้งนี้ นายปีเตอร์กล่าวเสริมว่า “ในส่วนของธุรกิจโทรคมนาคม มีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับการผนวกรวมระบบไร้สาย 3G, ไวแม็กซ์ และบรอดแบนด์ เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้นผู้ให้บริการโทรคมนาคมจึงจำเป็นที่จะต้องนำเสนอคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าได้สูงสุด เพื่อขยายการให้บริการและโซลูชั่นแบบครบวงจรแก่ผู้ใช้ และด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการจึงต้องการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมใช้งานสูง สามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย”

 .

“ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตและภาคเอกชน พบว่าองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะเป็นอีกภาคส่วนที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเมืองไทย โดยมีการลงทุนด้านไอทีเป็นจำนวนมาก และโดยทั่วไปแล้ว บริษัทเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องของค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบในระยะปานกลางในช่วง 2-3 ปี มากกว่าเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุน               

 .

นอกจากนี้ เอสเอ็มอียังสนใจเครื่องมือด้านการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management - CRM) และระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย”

.

พร้อมกันนี้ นายปีเตอร์ชี้แจงเพิ่มเติมอีกว่า “การปรับใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านเทคโนโลยีในลักษณะที่สร้างสรรค์และสอดคล้องกับกลยุทธ์จะช่วยให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุน บริษัทที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีจะสามารถปรับปรุงการปกป้องข้อมูลและการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการผนวกรวมและเพิ่มความคล่องตัวให้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และแอพพลิเคชั่นด้านการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่มีอยู่”

.
ค่าใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชน - ประเด็นหลักที่สร้างความกังวลใจ

รายงานของไอดีซีเปิดเผยด้วยว่า การลดค่าใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นปัญหาหลักสำหรับองค์กรธุรกิจ ยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ เพราะบริษัทต่างๆ จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น ในขณะที่ภาครัฐก็ต้องประสบปัญหาในลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาคเอกชน

.

“สำหรับประเทศไทย รัฐบาลกำลังดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนด้านไอที ซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินการที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการจัดการ, จัดเก็บ, ปกป้อง, ใช้ประโยชน์ และปรับปรุงข้อมูลของหน่วยงานราชการทุกแห่ง จำเป็นที่จะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่แข็งแกร่งในทุกระดับ”

.

นายรอน โก๊ะกล่าวสรุปว่า “อีเอ็มซีมั่นใจว่า เราจะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ อีเอ็มซีลงทุนอย่างต่อเนื่องในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและภารกิจในการดำเนินงานของแต่ละองค์กร โดยจะรองรับการจัดการข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี”