เนื้อหาวันที่ : 2009-10-28 15:14:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1719 views

กกพ. ผนึกก.อุตสาหกรรมปรับเกณฑ์อนุญาตตั้งโรงไฟฟ้า

กกพ. จับมือกระทรวงอุตสาหกรรมปรับแนวทางการให้อนุญาตตั้งโรงงาน และการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน หวังให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ชี้โปร่งใส ลดขั้นตอนการทำงานตามนโยบายรัฐ

กกพ. จับมือกระทรวงอุตสาหกรรมปรับแนวทางการให้อนุญาตตั้งโรงงาน และการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน หวังให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ชี้โปร่งใส ลดขั้นตอนการทำงานตามนโยบายรัฐ

.

วันนี้ (28 ตุลาคม 2552) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม โดย ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง แนวทางการให้อนุญาตตั้งโรงงานและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน ณ ห้องบอลรูม C โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ

.

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

.

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวภายหลังการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ว่า “ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานในครั้งนี้เป็นเรื่องแนวทางการให้อนุญาตตั้งโรงงานและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความชัดเจนในทางปฏิบัติตามกรอบการอนุญาตตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 และกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

.

ซึ่งก่อนที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 บังคับใช้ จะต้องไปขออนุญาตตั้งโรงงานกับทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

.

แต่เมื่อมีการออกพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ขึ้นมา ตามมาตรา 48 ของ พ.ร.บ. กำหนดให้การปลูกสร้างอาคาร หรือตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการพลังงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน

.

โดยให้การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกพ. ตามพระราชบัญญัติฯ โดย กกพ. ต้องขอความเห็นจากหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายต่างๆ ดังกล่าว และหน่วยงานดังกล่าวต้องแจ้งความเห็นพร้อมทั้งจำนวนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตามกฎหมายนั้นๆ ให้ กกพ. ทราบด้วย 

.

ดังนั้นทาง กกพ. และ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จึงได้ประสานความร่วมมือ และตกลงวิธีการทำงานกัน ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มายื่นขอใบอนุญาต ซึ่งมีรายละเอียดหน้าที่การดำเนินการตามข้อตกลงของทั้ง 2 หน่วยงาน คือ

.

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้พิจารณาการให้อนุญาตตั้งโรงงานประกอบกิจการพลังงานตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยจะขอความเห็นจากกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาอนุญาต นอกจากนี้ กกพ. จะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ และแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบกิจการพลังงานเกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม 

.

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จะเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานและแจ้งจำนวนค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บตามกฎหมายให้ กกพ. ทราบ อีกทั้งยังจะให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาแก่ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานร่วมกับ กกพ. รวมถึงจะเป็นผู้กำกับและดูแลโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

.

ภายหลังเมื่อผู้ประกอบกิจการโรงงานปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานต่อ กกพ. ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่ง กกพ. จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ที่ กกพ. ประกาศกำหนด

.

โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการแข่งขัน และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในระหว่างผู้รับใบอนุญาตด้วยกัน ตลอดจนคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้พลังงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้งนี้ กกพ. จะทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการพลังงานผ่านเงื่อนไขในใบอนุญาต เพื่อให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม ความปลอดภัยและทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงคุณภาพการให้บริการ

.

โดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด หากผู้รับใบอนุญาตรายใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กกพ. ก็จะมีบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าจะได้รับความเป็นธรรม และประโยชน์สูงสุด ดังคำกล่าวที่ว่า กกพ. โปร่งใส เที่ยงธรรม เชื่อถือได้” ดร.ดิเรกกล่าว

.

ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “ลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการปฏิบัติงานระหว่าง สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า และโรงงานที่เกี่ยวกับกิจการไฟฟ้า

.

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ประการสำคัญเพื่อ คือ เพื่อประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนที่อาจจะได้ผลกระทบอันเกิดจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และประการสำคัญที่สุดเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

.

ทั้งนี้เนื่องจากพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงานระหว่างสองหน่วยงาน คือ สกพ. และ อก. ในการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ของกระทรวงอุตสาหกรรม และตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ยังไม่ชัดเจนในเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ ในการให้อนุญาตตั้งโรงงานและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน จึงสร้างความสับสนให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วย 

.

ข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะได้กำหนดขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ แนวทาง และระยะเวลาในทางปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่แล้ว ยังทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ตลอดจนประชาชนสามารถทราบถึงระยะเวลาการดำเนินการที่ชัดเจนของแต่ละหน่วยงาน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และประการสำคัญยังเป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย” ดร.วิฑูรย์ฯ กล่าวคุมสิ่งแวดล้อม การจดทะเบียนเครื่องจักร เดียวกับในวันราชการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก