เนื้อหาวันที่ : 2009-10-16 13:44:38 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1502 views

"ภาวะเศรษฐกิจถดถอยสิ้นสุดแล้ว!" เตรียมรับการฟื้นฟูที่ยาวนานและไม่มั่นคง

แกรนท์ ธอร์นตัน มั่นใจไทยจะสามารถทนต่อวิกฤตเศรษฐกิจ และฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น แต่ยังห่วงการเมืองและอุปสงค์ในประเทศเป็นอุปสรรคฉุดการเติบโตของธุรกิจ

.

แกรนท์ ธอร์นตัน มั่นใจไทยจะสามารถทนต่อวิกฤตเศรษฐกิจ และฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น แต่ยังห่วงการเมืองและอุปสงค์ในประเทศเป็นอุปสรรคฉุดการเติบโตของธุรกิจ

.

วันนี้ (16 ตุลาคม 2552)  แกรนท์ ธอร์นตัน เผยแพร่ "รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติสำหรับประเทศไทย" หรือ "International Business Report: Thailand Country Focus" ซึ่งเทียบเคียงประเทศไทยกับอีก 35 ประเทศด้วยเครื่องบ่งชี้ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติด้านบวกต่อเศรษฐกิจ, ความคาดหวังทางธุรกิจ, ข้อจำกัดทางธุรกิจ, และเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ

.

รายงานสำหรับปีนี้ยังมีการประเมินถึงประเด็นเพิ่มเติมอื่นๆ ได้แก่ การระดมทุน, ผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหาร, การพัฒนาทักษะ และสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอทางแก้ไขและสิ่งที่ควรดำเนินการเพื่อการรับมือกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อน

.
ภาพรวมสำหรับทั่วโลก

วิกฤตการณ์ทางการเงินส่งผลให้กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกโคจรเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยและต้องผันเปลี่ยนแผนงานตลอดจนภาพรวมสำหรับธุรกิจต่างๆ  

.

รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report 2009 หรือ IBR 2009) ประเมินความคิดเห็นของนักบริหารธุรกิจเอกชน  7,200 คนจาก 36 กลุ่มเศรษฐกิจ โดยการสำรวจของปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 17 ที่แกรนท์ ธอร์นตัน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการสำรวจ ตรงกับช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกในระดับที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่เคยมีมาก่อน

.

เพราะเป็นการรวมเอาวิฤตการณ์อย่างรุนแรงทางการธนาคารในหลายกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว การบีบคั้นของการให้สินเชื่อ การปรับลดฐานราคาของอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ และการลดลงของอุปสงค์และการลงทุนในวงกว้างไว้ด้วยกัน

.

เศรษฐกิจโลกตกเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อครึ่งหลังของปี 2008 และเสื่อมถอยยิ่งขึ้นในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2009 เมื่อการค้าทั่วโลกหดตัวอย่างรุนแรง จึงมีการลดทอนการลงทุนลงและมีความเลือนลางของอุปสงค์ผู้บริโภค โดยในช่วงระยะเวลา 9 เดือนนั้น เศรษฐกิจโลกได้สัมผัสถึงจุดที่ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ช่วงหลังสงคราม 

.

ทั้งนี้ กลางปี 2009 มีสัญญาณบ่งบอกว่าช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดของสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะผ่านพ้นไปแล้ว เนื่องจากมีมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายลง และการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือธนาคาร ได้ค้ำจุนความเชื่อมั่นและอุปสงค์อยู่

.

ในขณะที่วิกฤตการณ์อาจจะบรรเทาลง แต่การฟื้นตัวก็น่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ และกระท่อนกระแท่น แม้ว่าพัฒนาการที่พบเห็นในผลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้จะไม่แย่ลง แต่ตัวเลขสำหรับปี 2009 โดยรวมก็เป็นไปในทางลบ:

.

- GDP ทั่วโลกจะลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ โดยลดลงมากกว่า 1%
- กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมากจำนวนขึ้นคาดว่าจะมีการเติบโตที่ลดลงราว 4% ในขณะที่กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่มีการเติบโตที่ช้าลงอย่างมาก เหลือประมาณ 1.5%

.
- เงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงอย่างมาก เหลือต่ำกว่า 1% ในหลายประเทศ ส่วนกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วคาดว่าจะเกิดเงินฝืดในระยะหนึ่ง
- การว่างงานทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นและเกินกว่า 8% ในบางกลุ่มเศรษฐกิจ 
.

ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลายเป็น "ประวัติศาสตร์" ไปแล้วเมื่อปลายปีนี้ แต่บริษัทต่างๆ ยังจำเป็นต้องจัดการกับผลที่ตามมาในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตาม บางธุรกิจจะฟื้นตัวเร็วกว่าและบางธุรกิจจะฟื้นตัวช้ากว่า แต่ส่วนใหญ่จะต้องพบกับช่วงเวลาที่มีรายรับต่ำและผลกำไรเพียงเล็กน้อย

.
มุมมองอย่างลึกซึ้งในระดับท้องถิ่น

ประเทศไทย แม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าหลายประเทศอื่น แต่ก็ได้ประสบกับความเคราะห์ร้ายถึงสองชั้น เนื่องจากมีปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองนอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจโลก 

.

ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการ ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย ให้ความคิดเห็นว่า "เรามั่นใจเหมือนกับคนอื่นๆ ในความสามารถของประเทศไทยในการทานทนต่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดี      ที่จะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ

.

เนื่องจากมีภาคการธนาคารที่แข็งแกร่ง การส่งออกผลิตผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกและภาคการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว

.

อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 3 สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ หนึ่ง อุปสงค์และรายรับจะอยู่ในระดับที่น้อยลงในระยะหนึ่ง สอง บริษัทที่มีความทะเยอทะยาน จะต้องวางแผนในการริเริ่มดำเนินการเพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถลงทุนขยายกิจการหลังจากที่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว

.

สาม วิกฤตการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรม โดยบริษัทที่แข็งแกร่งในอนาคตก็คือบริษัทที่หยิบฉวยโอกาสในการสร้างความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพธุรกิจของตน ณ เวลานี้"

.

ไม่น่าแปลกใจเลยที่รายงาน IBR 2009 ของแกรนท์ ธอร์นตัน เผยว่าธุรกิจทั้งหลายในเกือบทุกประเทศมีทัศนคติด้านบวกต่อคาดการณ์เศรษฐกิจลดลงเกือบตลอดทั้งปี 2009 ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยยังมีทัศนคติด้านลบยิ่งขึ้นในปีนี้ โดยมีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวก/ลบลดลง 33% คือจาก -30% เมื่อปี 2008 เหลือเพียง -63% ในปี 2009 ทั้งนี้ เป็นระยะเวลา 6 ปีแล้วที่อินเดียเป็นอันดับหนึ่งของการสำรวจ ด้วยค่าดุลยภาพสุทธิที่ +83% (จาก +95% เมื่อปี 2008) 

.

ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงอยู่ในอันดับต่ำสุดด้วยค่าดุลยภาพที่ -85%  แม้ว่าคาดการณ์เศรษฐกิจจะดูไม่สดใส   แต่ความคาดหวังต่อการทำกำไรของธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยยังมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 32% จาก -52% เมื่อปี 2008 เป็น -20% ในปี 2009 แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าเป็นค่าดุลยภาพในทางลบ

.

การลดลงของอุปสงค์ผู้บริโภคถูกมองว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลที่สุดที่จำกัดการขยายตัวของธุรกิจในประเทศไทย โดยมีเพียง 16% ของผู้บริหารคาดหวังว่าอุปสงค์จะสูงขึ้น ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิก (53%) และค่าเฉลี่ยโลก (49%) อย่างมาก ความกังวลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่มีจำนวนผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อผลการสำรวจสำหรับประเทศไทย 

.

จากผลสำรวจ IBR ประเทศไทยมีผลลัพธ์ที่ดีใน 2 รายการ ได้แก่ ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมและต่อผู้หญิงในตำแหน่งหน้าที่บริหารสิ่งแวดล้อม

.

สำหรับเรื่องสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทย (99%) กล่าวว่าตนจะดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแม้ว่าจะประสบกับผลกระทบในด้านลบในพื้นฐานของธุรกิจ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกและของโลกอยู่ต่ำกว่า 60%

.

ถึงแม้ว่าสิ่งนี้ยังมิได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่    "มีสีเขียวเด่นชัดขึ้น" เป็นสิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจแถลงการณ์ว่าตนนั้นพร้อมที่จะสนับสนุนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

.
ผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่บริหารนั้น ด้วยผลการสำรวจในระดับ 38% ทำให้ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยมีผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสมากกว่าเอเชียแปซิฟิกโดยรวม (25%) และค่าเฉลี่ยโลก (24%) โดยมีเพียงบราซิลและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่า มองไปภายภาคหน้า

.

ด้วยเศรษฐกิจโลกได้ส่งสัญญาณของการฟื้นตัวบ้างแล้ว ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องทำการตัดสินใจอย่างมียุทธศาสตร์เป็นครั้งสำคัญ คุณเชื่อในคาดการณ์ที่ว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปในรูป "V" และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือว่าคุณเชื่อว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปในรูป "W" ซึ่งอาจจะมีไตรมาสที่แกว่งตัวขึ้นลงอยู่ 

.

หากคุณเชื่อในการฟื้นตัวในรูป "V" ดังนั้น ขณะนี้ได้เวลาเริ่มลงทุนในการขยายธุรกิจ และเสริมสร้างทีมงานที่มีจำนวนน้อยลงและขาดกำลังใจให้กลายเป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนการเติบโตที่มีอานุภาพแล้ว โดยหากเราอยู่ที่จุดแรกเริ่มของตัว "V" คุณอาจจะสนใจลงทุนในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ การโฆษณา และการควบรวมเพื่อขยายตลาด           

.

ยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตที่ประสบความสำเร็จนั้น เพียงแค่คุณเริ่มก่อนคู่แข่งของคุณไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือน ก็อาจช่วยให้บริษัทของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับส่วนแบ่งตลาดที่มากยิ่งขึ้นในโลกการค้าใหม่ที่จะตั้งต้นจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย 

.

อย่างไรก็ตาม หากคุณคาดว่าเรากำลังเข้าสู่การฟื้นตัวในรูป “W” หรือแม้แต่ประสบกับการขึ้นลงต่อเนื่องกันในรูป "Wwwwws" คุณอาจต้องการเตรียมตัวให้พร้อมกับวันที่มีอุปสรรคเกิดขึ้นและปรับกลยุทธ์ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและบริหารค่าใช้จ่าย 

.

หนึ่งในหลายๆ บทเรียนที่ได้เรียนรู้มาจากระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมาคือเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงซับซ้อนเกินกว่าที่โมเดลทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำการคาดการณ์ที่สมเหตุสมผลได้ อย่างไร  ก็ดี เราสามารถแนะนำให้คุณพิจารณาเศรษฐกิจจุลภาคของตลาดของคุณและตรองดูเกี่ยวกับการวิเคราะห์นั้น จงถามตัวเองว่า "ระดับของอุปสงค์ต่อสินค้าหรือบริการของเราอยู่ในระดับไหน?"           

.

"มีอุปสงค์คงค้างที่จะสามารถพลิกผันตลาดให้ดีขึ้นหรือไม่?" "สถานการณ์ทางการเงินของลูกค้าของเราเป็นอย่างไร จะสามารถซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้หรือไม่?"  "คู่แข่งกำลังทำอะไรอยู่ ณ เวลานี้?" การวิเคราะห์คำถามเหล่านี้อย่างรอบคอบน่าจะช่วยให้คุณมีเครื่องบ่งชี้ว่าคุณควรจะเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกผันในตลาดของคุณหรือไม่

.

ในประเทศไทย เรากำลังเห็นสัญญาณแรกเริ่มของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หากแต่ "ใบอ่อน" ที่แรกผลิเหล่านี้จำต้องได้รับการฟูมฟักและเติบโตด้วยนโยบายของรัฐบาล หลังจากที่ "การแบ่งสีเสื้อ" ทางการเมืองได้มีความเคลื่อนไหวน้อยลงในเดือนที่ผ่านๆ มา เจ้าของธุรกิจทุกคนมุ่งหวังว่ารัฐบาลจะสามารถทุ่มเทความสนใจมากขึ้นไปยังการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ พร้อมกับบริหารการฟื้นฟูดังกล่าว