กรมสรรพากร เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐบาลที่มีบทบาทในการพัฒนา และส่งเสริมให้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนในรูปแบบ e-services เพื่อรองรับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
|
. |
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก และประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารงานและเพิ่มศักยภาพการให้บริการประชาชนเพื่อให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว |
. |
ทั้งนี้รัฐบาลได้ตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยการพัฒนาที่ยั่งยืนและต่อเนื่อง ทำให้เกิดการทำงานของภาครัฐที่มุ่งไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government |
. |
กรมสรรพากร เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐบาลที่มีบทบาทในการพัฒนา และส่งเสริมให้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการประชาชนในรูปแบบที่เรียกว่า e-services เพื่อรองรับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ |
. |
จันทิมา สิริแสงทักษิณ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งกรมสรรพากร บุคคลผู้อยู่เบื้องหลังการนำเทคโนโลยีมาสู่การปฏิวัติการให้บริการครั้งใหญ่ของกรมฯ ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เล่าให้ฟังว่า เป็นเวลาเกือบทศวรรษที่กมสรรพากรได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานและพัฒนาระบบไอทีภายใน ด้วยมุ่งหวังที่จะยกระดับหน่วยงานราชการแห่งนี้ ให้เข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government |
. |
และวันนี้หน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศ ได้พัฒนาระบบจนสามารถให้บริการประชาชนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้โครงการ e-Revenue จนกระทั่งปัจจุบันกรรมสรรพากรสามารถที่จะให้บริการเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และในอนาคต กรมสรรพากรยังมีแผนที่จะนำรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายมาตอบสนองภาคธุรกิจ ประชาชน และสนับสนุนการทำงานของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด |
. |
จุดเริ่มต้น e-Revenue |
เนื่องจากกรมสรรพากร เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่น โดยมีสัดส่วนจำนวนภาษีที่จัดเก็บเพื่อเป็นรายได้ของรัฐประมาณร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งหมดของรัฐบาล และเพื่อเพิ่มความสมัครใจในการเสียภาษีของประชาชน |
. |
กรมสรรพากรได้เร่งปรับปรุงการบริกการงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เชิงรุกเพื่อยกระดับการให้บริการผู้เสียภาษีให้อยู่ในระดับ Integrated Service สามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ด้วยการใช้ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำลงและสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน |
. |
กรมสรรพากร จึงเป็นหน่วยงานอันดับต้น ๆ ของส่วนราชการที่ได้นำระบบคอมพิวเตอร์ มาช่วยในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่ปี 2531 โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานสถิติแห่งชิต มาช่วยในการจัดทำสถิติการจัดเก็บภาษีอากรและจัดทำสูตรคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และในปี 2526 กรมสรรพากรได้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนเองเป็นปีแรก |
. |
และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการพัฒนาระบบงานเป็นแบบ Online เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลผู้เสียภาษีเฉพาะภายใจกรมสรรพากร โดยในอีก 3 ปีต่อมา กรมสรรพากรได้เริ่มให้บริการค้นหาข้อมูลผู้เสียภาษีและจัดทำบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีแลล Online โดยเริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและขยายครอบคลุมจังหวัดในเขตปริมณฑล ซึ่งประกอบด้วย จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ |
. |
ในปี 2540 กรมสรรพากรได้นำโครงการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Object Oriented มาใช้พัฒนาระบบงานบริหารการจัดเก็บภาษี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกรมสรรพากรในการพัฒนาสู่ระบบ e-Revenue โดยได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ www.rd.go.th เพื่อให้บริการข้อมูลในด้านต่าง ๆ แก่ผู้เสียภาษี จากนั้นในปี 2543 กรมสรรพากรเริ่มนำไอทีเข้ามาพัฒนาการบริหารจัดการองค์กร โดยมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่ความเป็น e-Revenue อย่างเต็มรูปแบบ ตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาลและเริ่มให้บริการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต |
. |
จันทิมา เล่าว่า เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระภาษี กรมสรรพากรได้พัฒนาบริการ e-Revenue ขึ้น โดยประชาชนสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริการนี้สร้างความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ผู้รับบริการอย่างมากและที่สำคัญทำให้ระบบการจัดการภายในมีความโปร่งใส และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา กรมสรรพากรได้มีการพัฒนาการให้บริการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตและให้บริการข้อมูลแบบออนไลน์อย่างต่อเนื่องและทันสมัยจนถึงปัจจุบันมีผู้ชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตประมาณ 7 ล้านคน |
. |
นอกจากนี้ กรมสรรพากรเตรียมปรับปรุงเว็บไซต์ชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค Web 2.0 ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์การชำระภาษีออนไลน์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีเป้าหมายสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้กรมสรรพากรหวังว่าจะเพิ่มจำนวนผู้เสียภาษีผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Cloud Computing มารองรับการให้บริการและการทำงานของกรมสรรพากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
. |
"หน่วยงานราชการอย่างกรมสรรพากรได้มีการปฏิวิตรูปแบบใหม่ของการให้บริการประชาชน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมานับว่าเป็นกุญแจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพลิกโฉมการให้บริการของภาครัฐ ที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้สามารถรับบริการต่าง ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัสในทุก ๆ เวลาและสถานที่ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต" จันทิมา กล่าว |
. |
Collaborative e-Revenue ยุทธศาสตร์ใหม่เสริมประสิทธิภาพ การบริการชำระภาษี |
จากความสำเร็จของยุทธศาสตร์ e-Revenue กรมสรรพากรยังได้ขับเคลื่อนองค์การเข้าสู่ยุทธศาสตร์ของการใช้ไอซีทีในเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์ Collaborative e-Revenue ในรูปแบบของการสร้างพันธมิตรระหว่างภาครัฐด้วยกันเองและเน้นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับภาคเอกชน หรือ PPP (Public-Private-Partnership) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลังของยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ ด้วยมุ่งหวังเพื่อสร้างส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของกรมสรรพากรให้สอดรับกับความต้องการของผู้เสียภาษีและผู้ที่เกี่ยวข้อง |
. |
ยุทธศาสตร์ Collaborative e-Revenue จะขับเคลื่อนให้กรมสรรพากรบรรลุถึงเป้าหมายการยกระดับการบริการให้อยู่ในระดับ Integrated service สามารถให้บริกการผู้เสียภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใสด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกัลภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดการใช้ข้อมูลร่วมกันขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปแบบ |
. |
อาทิ ส่วนระบบงานที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่วนการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ได้แก่ ระบบ Web Service ระบบ Web Accessibility ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ระบบประมวลรัษฎากรอิเล็กทรอนิกส์ (e-Revenue code) ระบบการ Download แบบแสดงรายการภาษี แบบคำร้องหรือคำขอต่าง ๆ โครงการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น |
. |
นอกจากนี้กรมสรรพากรยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกรมฯ กับผู้เสียภาษีในการให้บริการข้อมูลภาษีสรรพากรด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ Customer Relationship Management (CRM) เพื่อให้เกิดทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีในบริการโดยกรมสรรพากรได้เพิ่มช่องทางในการบริการสอบถามข้อมูลภาษีอากรแก่ผู้เสียภาษีและประชาชนทั่วไปรวม 2 ช่องทาง คือ ด้วยระบบ RD Call Center และทางเว็บไซต์ |
. |
โดยประชาชนสามารถบันทึกข้อความผ่านอินเทอร์เน็ต และติดตามตรวจสอบสถานะของคำถาม-คำตอบได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ซึ่งระบบดังกล่าวเชื่อมโยงกับ Back office ซึ่งมีฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบ Online Real Time และบริการ Web Collaboration ซึ่งเป็นการให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ด้วยการมองเห็นหน้าจอเดียวกันระหว่างผู้ใช้บริการกับเจ้าหน้าที่ |
. |
จันทิมา กล่าวว่า ในส่วนของความร่วมมือกับภาคเอกชน นอกจากจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการจัดการโดยภาพรวมแล้ว กรมสรรพากรยังได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน ในการเปิดให้บริการรับชำระภาษีทุกประเภทผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ |
. |
เช่น ผ่านบัตรเครดิต ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสของธนาคาร ผ่านเคาร์เตอร์เซอร์วิสของจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ และผ่านระบบ Cash Management ของธนาคารเป็นต้น และล่าสุดกรมสรรพากรได้จัดทำระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อการบริการผู้เสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (Using Public Private Partnership for e-Service) |
. |
โดยร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในการให้บริการรับแบบแสดงรายการภาษีทางอินเทอร์เน็ตและแบบกระดาษสำหรับผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีในท้องที่ ต.เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รปะกอบการและผู้เสียภาษีสามารถยื่อนแบบแสดงรายการและชำระภาษีได้ทุกประเภทภาษี ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเกาะเต่า |
. |
โดยสาขาของธนาคารจะเป็นที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระภาษีอารตามประมวลรัษฎากร โดยโครงการดังกล่วได้เริ่มดำเนินการไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ทั้งนี้กรมสรรพากรคาดว่าจะใช้โครงการนำร่องดังกล่าวเป็นต้นแบบในการขยายการให้บริการประชาชนไปสู่หน่วยงานรับชำระภาษีอื่น ๆ ที่มีลักษณะเยวกัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับ Road Map ที่จะสนับสนุนให้ผู้ใช้บิการยื่นแบบทาบงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น |
. |
จากการเพิ่มศักยภาพการให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจในการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง กรมสรรพากรยังมีโครงการที่จะพัฒนาเว็บท่า เพื่อเป็นศูนย์รวมเว็บที่ให้บริการชำระภาษีอากรของประชาชนและธุรกิจที่ต้องการชำระภาษีให้กับกรมศุลการกร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต ผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย |
. |
ที่มา : วารสาร Smart Industry |