เนื้อหาวันที่ : 2009-10-01 17:14:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1967 views

กระทรวงไอซีที ตั้งเป้า 5 ปี พลิกโฉมรัฐบาลอิเล็กทอรนิกส์สมบูรณ์แบบ

จับตาไอซีที ตั้งเป้าภายในปี '57 ชาวไทยจะได้สัมผัสโฉมใหม่ของบริการจากภาครัฐสมบูรณ์แบบผ่านระบบออนไลน์ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการใช้งาน

จับตาไอซีที ตั้งเป้าภายในปี '57 ชาวไทยจะได้สัมผัสโฉมใหม่ของบริการจากภาครัฐสมบูรณ์แบบผ่านระบบออนไลน์ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการใช้งาน

.

.

เราอาจคุ้นเคยกับรูปแบบการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่อำนวยความสะดวกในการขอใช้บริการภาครัฐต่าง ๆ มาบ้างแล้ว แต่ภายในปี 2557 ประชาชนชาวไทยจะได้สัมผัสโฉมใหม่ของบริการจากภาครัฐสมบูรณ์แบบผ่านระบบออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ
แม้กระทั่งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ซึ่งบริการอิเล็กทรอนิกส์นี้จะครอบคลุมตั้งแต่การให้บริการประชาชนทั่วไป ในลักษณะที่เป็น government-to-consumer (G2C)  

.

อาทิ แจ้งเกิด ทำบัตร เปลื่ยนชื่อ แต่งงาน หรือหย่าร้าง และบริการใจภาคธุรกิจ หรือ government-to-business (G2B) และ government-to-enterprise (G2E) ตั้งแต่บริการจดจัดตั้งบริษัท บริการภาษีนิติบุคคล บริการข้อมูลและคำร้องต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจของเอกชน รวมถึงบริการหน่วยงานรัฐด้วยกันเอง หรือ government-to-government (G2G) 

.

ภาพบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สมบูรณ์แบบดังกล่าวนี้ เป็นเป้าหมายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ได้ตั้งเรือธงของการพัฒนาระบบบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government) ไว้ว่าจะดำเนินการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายว่าทุกหน่วยงานราชการจะสามารถให้บริการภาครัฐแบบบูรณาการผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่มีประชาชนผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง

.

อังสุมาล ศุนาลัย รองปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้ร่างแผนทิศทางการพัฒนาระบบ บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ แบบก้าวกระโดดสำหรับปี 2553-2557 โดยยึดแนวคิดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการใช้งาน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์   

.

โดยเริ่มต้นจากความเป็น Connected Government (c- Government) ไปสู่ Mobile and Multi-Chanel Government (m- Government) และ Ubiquitous Government (u- Government) และในที่สุดจะพัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Transformed Government (t- Government) ที่รัฐบาลสามารถให้บริการออนไลน์ต่าง ๆ กับประชาชนได้อย่างสมบูรณ์แบบ 

.

ทั้งนี้ แผนการดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2553 เพื่อพัฒนารัฐบาลไทยไปสู่ c-Government โดยพันธกิจในส่วนนี้คือการบูรณาการบริการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของ e-services   

.

ทั้งนี้ภาครัฐจะต้องมีการบริการออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ (Interchanged e-service) อย่างน้อยหน่วยงานละหนึ่งบริการ และต้องมีบริการออนไลน์แบบบูรณาการ (Integration e-service) ข้ามกรมภายในกระทรวงเดียวกัน อย่างน้อยกระทรวงละหนึ่งบริการ และในแผนการดำเนินงานระยะนี้จะเริ่มนำร่องโครงการ m-Government ไปพร้อม ๆ กันด้วย

.

สำหรับในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ทางกระทรวงฯ จะเริ่มแผนการพัฒนาไปสู่ m-Government โดยมีกรอบเวลากรทำงานสองปี คือในปี 2554 และ 2555 ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐผ่านทางช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ  

.

ทั้งนี้เป้าหมาของโครงการ m-Government คือแต่ละหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการบริการออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2554 และเพิ่มเป็นอย่างน้อยร้อยละ 75 ในปีถัดไป และจะต้องมีบริการออนไลน์แบบบูรณาการข้ามกรมภายในกระทรวงเดียวกันอย่างน้อยร้อยละ 20 ในปี 2554 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในปีถัดมา รวมทั้งต้องขยายรูปแบบบริการจากบนเว็บไซต์มาสู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่

.

สำหรับแผนระยะที่ 4 เป็นการพัฒนาในส่วนของ u-Government ซึ่งจะเริ่มดำเนินในปี 2556 โดยมีแผนที่จะเชื่อมโยงบริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งเว็บไซต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ และอุปกรณ์อื่น ๆ ณ ที่ใดก็ได้ และเป็นการให้บริการตลอดเวลา ทั้งนี้ตัวชี้วัดของแผนในระยะนี้คือ ภาครัฐจะต้องมีการบริการออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ครบสมบูรณ์ในปี 2556 มีบริการออนไลน์แบบบูรณาการข้ามกรมภายในกระทรวงเดียวกัน ร้อยละ 75 และจะต้องเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดในปี 2557

.

ส่วนระยะสุดท้าย คือ การพัฒนาไปสู่รูปแบบของ t-Government ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปะ 2557 เพื่อให้บริการภาครัฐออนไลน์สมบูรณ์แบบหลายช่องทาง ภายใต้แนวคิด ที่เดียว ทันใด ทั่วไป ทุกเวลา

.

อังสุมาล กล่าวว่า เมื่อการดำเนินงานครบกำหนดตามแผน รัฐบาลไทยจะกลายเป็นรัฐบาลที่ใกล้ชิดับประชาชนทุกภาคส่วน ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์จากภาครัฐได้อย่างหลายหลายวีและช่องทาง และจะได้รับการบริการที่เป็นแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) แม้ว่าบริการดังกล่าวจะเป็นบริการที่ต้องอาศัยความร่วมมือขอหน่วยงานภาครัฐมากกว่าหนึ่งหน่วยงานหรือหนึ่งกระทรวงก็ตาม

.

ทั้งนี้ เพื่อผลักดันแผนการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริง กระทรวงไอซีทีได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารชุดโครงการขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ 4 ชุด เพื่อขับเคลื่อนโครงการทั้งสิ้น 17 โครงการภายใน 5 ปี ภายใต้งบประมาณการดำเนินการทั้งสิ้น 200 ล้านบาท

.

อาทิ โครงการพัฒนา CIO (Chief Information Officer) ของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนา CIO ภาครัฐให้ได้ปีละประมาณ 300 คน

.

โครงการพัฒนาบุคลากรสายอาชีพด้านไอซีทีเพื่อดำเนินการพัฒนาด้าน e-Government  service ปีละ 500 คน โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีครบวงจน โครงการนำร่องการพัฒนาประยุกต์ใช้ SOA (Service Oriented Architecture) ในหน่วยงานภาครัฐและโครงการพัฒนา e-Government ตามแนวทางความร่วมมือกับภาคเอกชน (Public-Private-Partnership : PPP) เป็นต้น

.

"ขณะนี้เรามีโครงการที่ดำเนินการไปแล้วได้แก่ โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ หรือ GIN (Government Information Network) ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงระดับกรมและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศแล้ว และที่เรากำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องคือ การพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับในกระบวนการให้บริการของภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Information Security) เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินงานและเพิ่มความมั่นใจในการให้บริการ ภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์"

.

นอกจากนี้ อังสุมาล กล่าวเสริมว่า กระทรวงไอซีทียังต้องมีการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

.

ซึ่งได้แก่ การพัฒนาระบบ Common Platform เพื่อเป็น Government Gateway ในการเชื่อมต่อระบบงานและข้อมูลหน่วยงานภาครัฐแบบ One-Stop โดยผ่านเว็บไซต์กลาง โครงการศึกษาเพื่อพัฒนา e-Payment สำหรับภาครัฐและโครงการพัฒนากรอบแนวทางมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลแห่งชาติ หรือ Thailand e-Government Interoperability Framework (Th e-GIF)

.

ที่มา : Smart Industry