เนื้อหาวันที่ : 2006-12-12 10:09:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5752 views

โครงการเรียกคืนซากหลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว 89 % ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอะลูมิเนียม 5 % ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง 6 %นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท 0.005 % จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย ซึ่งสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป มีส่วนประกอบหลัก คือ แก้ว 89 % ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วย ขั้วหลอดทำจากอะลูมิเนียม 5 % ผงฟอสเฟอร์สำหรับเคลือบผิวหลอดเพื่อการเรืองแสง 6 %นอกจากนี้ ภายในหลอดยังบรรจุด้วยสารปรอท 0.005 % จึงทำให้ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ถือเป็นของเสียอันตราย ซึ่งสารปรอทจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ได้โดยวิธีการต่อไปนี้

.

.

1.  เมื่อเกิดการแตกหัก  ไอปรอทที่บรรจุอยู่ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะระเหยออกสู่สิ่งแวดล้อม  และเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ

.

2.  หากทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป  ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์จะถูกฝังรวมกับขยะทั่วไป ส่งผลให้ไอปรอทแพร่กระจาย ออกสู่สิ่งแวดล้อม หากถูกนำไปฝังกลบแบบไม่มีการป้องกันที่ถูกต้อง  เมื่อฝนตก น้ำฝนที่ชะผ่านกองซากที่เป็นของเสียอันตราย จะทำให้สารพิษไหลปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  และดูดซึมเข้าสู่สัตว์น้ำและพืชผัก เมื่อคนรับประทานสัตว์น้ำหรือพืชผักที่ปนเปื้อนสารพิษ ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้

.

ในปี พ.ศ. 2499  ( ค.ศ.1956 )   มีการตรวจพบโรคที่เกิดจากพิษของสารปรอท(Mercury)ในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า โรคมินามาตะ (Minamata Diseases) เกิดจากคนรับประทานอาหารจำพวกปลาและหอยจาก อ่าวมินามาตะ ซึ่งมีสารปรอทเจือปนอยู่ เนื่องจากโรงงานผลิตพลาสติกแห่งหนึ่ง ปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารปรอท (Methylmercury) ลงสู่อ่าวเป็นเวลาหลายปี  ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 3,000 คน  ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการชาตามมือเท้าแขนขาและริมฝีปาก จากนั้นจะเริ่มมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย พูดไม่ชัด ฟังไม่ได้ยิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ และเป็นอัมพาตได้

.

วัสดุจากซากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามารถรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 90 โดยน้ำหนัก เศษแก้ว-->หลอมเป็นหลอดแก้วใสสำหรับ ผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์ใหม่ ส่วนอะลูมิเนียม--> เป็นวัตถุดิบสำหรับหลอมอะลูมิเนียมใหม่

.

.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ศึกษาและสำรวจสถานการณ์ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ในประเทศไทย พบว่าปริมาณซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วทั่วประเทศเกิดขึ้นประมาณ 40 ล้านหลอดต่อปี โดยร้อยละ 70 เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง และ ส่วนที่เหลือเป็นหลอดชนิดวงกลมและหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์  สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงเกิดขึ้นประมาณ 14 ล้านหลอด คิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ  โดยสามารถจำแนกแหล่งกำเนิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ บ้านพักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม และอาคาร/สำนักงาน/สถานประกอบการต่างๆ

.

จากการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการเกิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์จากแหล่งกำเนิดต่างๆ พบว่า อาคาร/สำนักงาน/สถานประกอบการต่างๆ เป็นแหล่งกำเนิดที่มีอัตราการเกิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มากที่สุด คือ โดยเฉลี่ยประมาณ 300 หลอด/อาคาร/ปี  รองลงมาคือ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีอัตราการเกิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์เฉลี่ยประมาณ 100 หลอด/โรงงาน/ปี  และสุดท้ายคือ บ้านพักอาศัย ซึ่งมีอัตราการเกิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์เฉลี่ยประมาณ 3 หลอด/หลังคาเรือน/ป ดังนั้น  อาคาร สำนักงาน และสถานประกอบการต่างๆ อาทิ โรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย ศูนย์แสดงสินค้า สถานีบริการน้ำมัน ป้ายรถประจำทาง สถานีรถไฟฟ้า และอาคารสำนักงานต่างๆ จึงเป็นแหล่งกำเนิดซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่สำคัญ เนื่องจากมีปริมาณการใช้และทิ้งหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นจำนวนมาก

.
โครงการเรียกคืนซากหลอดฟลูออเรสเซนต์

กรมควบคุมมลพิษ ได้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์รวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป จึงได้จัดทำโครงการเรียกคืนซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือในระยะเริ่มต้นจาก 2 โรงงานผลิต ได้แก่ บริษัท ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีจะมีการเก็บรวบรวมซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ปีละ 2 รอบ ในช่วงประมาณเดือน 6 และเดือน 12 ของปี โดยพื้นที่ให้บริการเก็บรวบรวม คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยจะต้องเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรง ที่ไม่แตกเท่านั้น และขณะนี้กำลังรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ คือ หน่วยงานผู้ทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยจะแยกทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป เพื่อนำไปจัดการอย่างเหมาะสมตามโครงการนี้ต่อไป

.

นายกิตติ สุขุตมตันติ กรรมการบริหารสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย (www.TIEAthai.org) และ ประธาน กลุ่มความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มอุตสาหกรรมไทยเพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าจะได้เชิญชวน สมาชิกของ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย สมาชิกกลุ่มความร่วมมือระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มอุตสาหกรรมไทยเพื่อสิ่งแวดล้อม สมาชิกชมรมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และ ผู้สนใจทั่วไป สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีอาคารตั้งอยู่นอกพื้นที่ให้บริการเก็บรวบรวม ก็สามารถขนส่งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ไปยังโรงงานรีไซเคิลหลอด ของผู้สนับสนุนโครงการได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ โรงงานรีไซเคิลของบริษัท ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง จำกัด ที่นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี หรือโรงงานรีไซเคิลของบริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ

.

โดยขอให้ประสานแจ้งนัดหมายล่วงหน้า และทั้งสองโรงงานจะรับจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือ ส่งมาที่ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย หรือ บริษัท ไดเร็คชั่นแพลน จำกัด 539/2 อาคารมหานครยิบซั่ม ถ.ศรีอยุธยา เขตพญาไท กทม 10400 (www.Directionplan.net) ทั้งนี้ จะต้องเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดตรงที่ไม่แตกเท่านั้น

.

สำหรับประชาชนทั่วไปก็สามารถให้ความร่วมมือได้ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงไม่ทิ้งซากหลอดฟลูออเรสเซนต์รวมไปกับขยะมูลฝอยทั่วไป และนำบรรจุใส่ซองบรรจุหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ระมัดระวังอย่าทำให้หลอดแตก และนำไปฝากทิ้งยังอาคารหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และขอเชิญชวนสื่อมวลชนช่วยกันประชาสัมพันธ์ และ รณรงค์ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการดี ๆ เช่นนี้ โดยผู้สนใจสามารถ download ใบสมัครเข้าร่วมโครงการได้จาก www.pcd.go.th/info_serv/haz_lamp.htm

.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนของเสียอันตราย สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ โทรศัพท์ 0 2298 2436-8 โทรสาร 0 2298 2425 E-mail : upassri.s@pcd.go.th