เนื้อหาวันที่ : 2009-09-30 17:08:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 981 views

ตำรวจสืบสวนบริษัท 1,000 แห่ง ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์

ตำรวจไทยประกาศ เริ่มต้นสืบสวนบริษัท 1,000 แห่ง ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เพื่อเป็นหัวหอกนำร่อง ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในองค์กรธุรกิจทั่วประเทศ

.

วันนี้ตำรวจไทยประกาศว่า ได้เริ่มต้นสืบสวนบริษัท 1,000 แห่ง ที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เพื่อเป็นหัวหอกนำร่อง      ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในองค์กรธุรกิจทั่วประเทศ

.

เจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกล่าวว่า การสืบสวนทั้ง 1,000 แห่งนี้ กำลังดำเนินการอยู่โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ชี้ว่าบริษัทเหล่านั้นได้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย พ.ศ. 2537 ข้อมูลเก็บรวบรวมมาได้จากแหล่งที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งตามปกติจะเป็นภายในบริษัทเป้าหมายเอง

.

อีกทั้งผู้พัฒนาซอฟท์แวร์และหน่วยงานรัฐของไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเอง ได้ให้แนวทางในการตรวจสอบผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดแก่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อตำรวจได้หลักฐานการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์จากผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ จะทำการตรวจสอบหลักฐานและพิสูจน์ความจริงของข้อมูลทันที จากนั้นเมื่อตำรวจได้หมายค้นก็จะทำการตรวจค้นเข้าไป  ตรวจค้นในสถานที่ตั้งของบริษัท

.

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ตำรวจจะเริ่มต้นบุกตรวจค้นโดยดูตามผลที่ได้จากการสืบสวน  "บริษัทห้างร้านต่างๆ จำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองปฎิบัติตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537" พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) กล่าวว่า "ในวันที่             26 ตุลาคม เราจะใช้ผลที่ได้จากการสืบสวนทั้ง 1,000 แห่งนี้เพื่อเริ่มตรวจค้นบริษัทตามข้อมูลการลักลอบใช้ลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในบริษัทเหล่านี้"

.

เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ทาง บก. ปอศ. ได้ทำการสืบสวนและเก็บรวบรวมข้อมูล บริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์อย่างจริงจัง และในเดือนสิงหาคมนับเป็นเดือนที่ทางบก. ปอศ. ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเข้าตรวจค้นบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์ พบซอฟท์แวร์ที่ละเมิดรวมมูลค่าทั้งสิ้น 54.5 ล้านบาท

.

บริษัทที่ถูกตรวจค้นอยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลายกลุ่ม และมีโครงสร้างการถือหุ้นหลายรูปแบบ โดยมีบริษัททั้งในอุตสาหกรรมผลิตสินค้า อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ ขนส่งสินค้า ออกแบบและวิศวกรรมที่ นอกจากกิจการของ       คนไทยแล้ว บริษัทของชาวต่างชาติก็ถูกตรวจค้นและพบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์เช่นกัน

.

พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ กล่าวว่า "บริษัทที่เราตรวจค้นมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือพวกเขาละเมิดพระราชบัญญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537 โดยการลักลอบใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย"

.

เจ้าหน้าที่ของทางบก. ปอศ. จะไม่เปิดเผยรายชื่อของบริษัทที่จะตรวจค้นรายต่อไป แต่พวกเขากล่าวว่าจุดประสงค์ในการนี้เพื่อลดอัตราการละเมิดซอฟท์แวร์ เพื่อทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เพื่อทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิของประเทศไทยที่อยู่ในระดับ 76 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบันลดลงอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของสากล

.

อัตราการละเมิดลิขสิทธิซอฟท์แวร์แม้ใช้ลิขสิทธิ์เถื่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอยู่ที่ 61 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทย กรรมการของบริษัทมีความผิดหากฝ่าฝืนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 โดยจะต้องรับโทษจำคุก 4 ปีและปรับถึง 800,000 บาท  นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายอาจมีไวรัสและมัลแวร์ ทำให้ผู้ใช้เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมและสูญเสียข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลของธุรกิจ

.

รู้จักกับปอศ.

กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นหน่วยงานของกรมตำรวจซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทย เมื่อปศท.ได้รับหมายค้นก็จะดำเนินการตรวจสอบการลักลอบใช้ลิขสิทธิ์เป็นรายสัปดาห์ บริษัทใดที่ใช้ซอฟท์แวร์ของบริษัทอย่างไม่ถูกต้องตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ก็จะถูกทางปศท.ดำเนินดคีทางกฎหมาย

.