เนื้อหาวันที่ : 2009-09-21 15:21:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1245 views

ชาวเอเชียเรียกร้องให้โอบามามีบทบาทนำในข้อตกลงโลกร้อน

ผลสำรวจความคิดเห็นเผย ชาวเอเชียเรียกร้องข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ต้องการให้ปธน.โอบามามีบทบาทนำ ชี้ข้อตกลงจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของประธานาธิบดีสหรัฐ

.

ความคิดเห็นของสาธารณชนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมอบความหวังของการมีข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกไว้ที่คนๆ หนึ่ง นั่นก็คือประธานาธิบดีบารัค โอบามา จากผลการสำรวจความคิดเห็นใหม่ล่าสุดระบุว่า ร้อยละ 53 มีความเห็นว่าข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นที่การประชุมสุดยอดว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นครโคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมนี้ขึ้นอยู่กับภาวะความเป็นผู้นำของประธานาธิบดีสหรัฐ

.

ตามมาด้วยประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโนแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ร้อยละ 15) และประธานาธิบดีมาโมฮาน ซิงห์แห่งอินเดีย (ร้อยละ 14) ด้วยถูกมองเห็นว่าเป็นผู้นำที่สำคัญ โดยเฉพาะจากผู้ลงคะแนนเสียงให้การสนับสนุนทางการเมือง

.

การสำรวจความคิดเห็นนี้ดำเนินการในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยไซโนเวต (Synovate) หน่วยวิจัยการตลาดชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก และเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก (WWF) กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 350.org เพื่อสนับสนุนการรณรงค์ TckTckTck ซึ่งเป็นแนวร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

.

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนในประเทศจีน อินดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และประเทศไทยหวังที่จะเห็นผู้นำของตนมีพันธะกรณีต่อปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศในการประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์คและการประชุม G20 ในพิทส์เบิร์กในปลายเดือนกันยายนนี้

.

ความคิดเห็นจากการสำรวจเชื่อว่า ประเทศที่มีศักยภาพความเป็นผู้นำมากที่สุดจะเป็นประเทศกลุ่มที่ทำให้เกิดข้อตกลงใดๆ ที่โคเปนเฮเกนได้ยากที่สุด ที่น่าแปลกใจคือ ร้อยละ 43 ของความคิดเห็นระบุว่าเป็นประเทศจีน แกนนำกลุ่มประเทศ G77 ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 38 อินเดียร้อยละ 33 ญี่ปุ่นร้อยละ 25 รัสเซียร้อยละ 24 แอฟริกาใต้ร้อยละ 20 บราซิลร้อยละ 18 สหราชอาณาจักรร้อยละ 17 เยอรมนีร้อยละ 16 เม็กซิโกร้อยละ 15 ฝรั่งเศสร้อยละ 14 และแคนาดาร้อยละ 10

.

"ข้อเรียกร้องสำหรับรัฐบาลให้ทำงานให้ได้ข้อตกลงที่เป็นธรรม มีเป้าหมายสูง และมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ณ โคเปนเฮเกนนั้น ขับเคลื่อนโดยความเข้าใจที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวิกฤตของปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญหาของอนาคต" "คนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียคิดว่ามีบางประเทศสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้" คิม คาสเตนเซน หัวหน้าโครงการด้านโลกร้อนของกองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลกกล่าว

.

"ถ้าสหรัฐอเมริกา จีนและอินเดียร่วมกันแสดงศักยภาพภาวะผู้นำตามที่คนในเอเชียต้องการจะเห็น การประชุมที่โคเปนเฮเกนจะก่อให้เกิดข้อตกลงระดับโลกที่ปกป้องโลกจากหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปกป้องประเทศที่ยากจนและล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ประเทศในเอเชีย"

.

"การได้ข้อตกลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นนี่ไม่ใช่เวลาของการขัดขวางเพื่อให้ได้มาแต่ผลประโยชน์ส่วนตน" ชาวเอเชียแสดงการเรียกร้องอย่างแข็งขันจากประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งหมดให้ลงมือปฏิบัติ และเรียกร้องให้ประเทศซีกโลกเหนือและใต้รวมพลังแก้ไขปัญหาระดับโลกร่วมกัน ในขณะที่ความคิดเห็นร้อยละ 73 มองว่าประเทศร่ำรวยต้องมีบทบาทนำในการต้านสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

.

"เพราะมีความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์ในการเป็นผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากที่สุด และขณะเดียวกันมีความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซอีกด้วย ความคิดเห็นร้อยละ 68 ชี้ว่าประเทศกำลังพัฒนาต้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามนี้ด้วย "เพราะว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้เพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้มากขึ้น และต้องปรับทิศทางจากแบบจำลองการพัฒนาที่สกปรกไปสู่การพัฒนาที่สะอาด

.

อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่คนในประเทศต่างๆ ที่ได้รับสำรวจความคิดเห็นต้องการ คือ ให้รัฐบาลของพวกเขาลงมือทำ โดยร้อยละ 79 บอกว่า "ไม่ว่าประเทศอื่นๆ จะทำอะไร และมีความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์อย่างไร ฉันต้องการให้รัฐบาลของฉันลงมือทำ และแสดงภาวะความเป็นผู้นำ เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศ"

.

"การสำรวจความคิดเห็นได้สะท้อนถึงความต้องการและปัญญาของชาวเอเชียในภาคเมืองที่รวมพลังกัน ซึ่งส่งสัญญานที่ชัดเจนไปยังผู้นำของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานาธิบดีโอบามา ให้ร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างข้อตกลงที่เป็นธรรมและการจัดแบ่งความรับผิดชอบที่เหมาะสม ในการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ชัยเลนดรา ยัสวัน ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

.

 "การประชุมรอบพิเศษของสมัชชาสหประชาชาติที่นิวยอร์กในวันที่ 22 กันยายนนี้คือโอกาสของผู้นำโลกในการลงมือทำตามพันธะกรณีที่เสนอโดยประชาชน และการปฏิบัติการอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อยุติการทำลายป่าอันเป็นการลดการปล่อยก๊าซอันดับแรกสุด"

.

ร้อยละ 59 ต้องการเห็นรัฐบาลของตนเข้าร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมที่โคเปนเฮเกน แต่จะต้องไม่เปิดช่องให้มีเกิดการฉวยโอกาส พวกเขาเห็นว่าการได้มาซึ่งข้อตกลงนั้นสำคัญ แต่ต้องเป็นธรรม โดยปกป้องสิทธิในการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ

.

ร้อยละ 29 ยังเห็นเพิ่มเติม โดยเรียกร้องให้รัฐบาลของตนยืดหยุ่นและประนีประนอม พวกเขาเห็นด้วยว่า "การได้ข้อตกลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นนี่ไม่ใช่เวลาของการขัดขวางเพื่อให้ได้มาแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ฉันต้องการให้ประเทศของฉันเป็นผู้นำและคิดว่าเราสามารถให้ได้มากกว่านี้" มีเพียงร้อยละ 12 ของคนเมืองในเอเชียที่เชื่อว่าข้อตกลงใดๆ ที่ออกมาจะเป็นข้อตกลงที่แย่ ดังนั้น รัฐบาลของพวกเขาไม่ควรไปลงนาม

.

"การสำรวจความคิดเห็นได้สะท้อนถึงความต้องการและปัญญาของชาวเอเชียในภาคเมืองที่รวมพลังกัน" เจมี่ เฮน ผู้ประสานงานภาคพื้นเอเชียตะวันออกของกลุ่ม 350.org กล่าวว่า "ข้อเรียกร้องสำหรับรัฐบาลให้ทำงานให้ได้ข้อตกลงที่เป็นธรรม มีเป้าหมายสูง และมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ณ โคเปนเฮเกนนั้น ขับเคลื่อนโดยความเข้าใจที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวิกฤตของปัจจุบัน ไม่ใช่ปัญหาของอนาคต การสำรวจความคิดเห็นชี้ว่าประชาชนต่างกังวลเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเขาก็รู้ด้วยว่ามีวิธีแก้ปัญหา"

.

ในเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อันตราย ที่คาดการณ์โดยนักวิทยาศาสตร์ ผลประทบที่ชาวเอเชียวิตกกังวลมากที่สุด คือ การขาดแคลนน้ำ (ร้อยละ 32) และภาวะสุขภาพที่เลวร้ายลง (ร้อยละ 31)  ตามด้วยการสูญพันธุ์ของสัตว์และพืช (ร้อยละ 20) และการขาดแคลนอาหาร (ร้อยละ 17) ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นต่อประเทศกำลังพัฒนาที่เปราะบางในเอเชีย

.

การยุติการทำลายป่าไม้เป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นของคนเอเชีย เมื่อพิจารณาถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยร้อยละ 39 บอกว่านี่เป็นทางออกหลักเพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบภูมิอากาศ ร้อยละ 28 คิดว่าต้องมีการปฏิบัติการในภาคพลังงานเป็นลำดับแรก โดยการขยายเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ดำเนินการมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน และเปลี่ยนแปลงแนวทางการขนส่งที่มีมลพิษน้อยลง

.

ร้อยละ 17 บอกว่าให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิตและการบริโภค ร้อยละ 16 บอกว่าแผนปฏิบัติการในภาคเกษตรกรรมเป็นทางออกที่สำคัญอันดับต้น

.

"การสำรวจความคิดเห็นชี้ว่าประชาชนต่างกังวลเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเขาก็รู้ด้วยว่ามีวิธีแก้ปัญหา" การสำรวจความคิดเห็นนำเสนอสู่สาธารณะชนก่อนเวทีการประชุมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในกรุงวอชิงตัน (17-18 กันยายน)

.

การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ก (21-22 กันยายน) และ การประชุมสุดยอด G20 ในพิทส์เบิร์ก (24-25 กันยายน) การประชุมเจรจาโลกร้อนสหประชาชาติจะมีขึ้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 กันยายนเป็นต้นไป และความก้าวหน้าจากการประชุมที่กรุงเทพฯ จะขึ้นอยู่กับผลจากการประชุมต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

.