เนื้อหาวันที่ : 2009-09-04 09:59:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2018 views

สหรัฐเริ่มใจชื้นเห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้น หลังธุรกิจบริการหดตัวน้อยลงในเดือน ส.ค.

สหรัฐเผยภาคอุตสาหกรรมบริการหดตัวน้อยลงในเดือน ส.ค. ชี้เป็นหลักฐานว่ากำลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่เฟดเร่งออกมาตรการกระตุ้น หวังช่วยดันเศรษฐกิจโตในไตรมาส 3

สหรัฐเผยภาคอุตสาหกรรมบริการหดตัวน้อยลงในเดือน ส.ค. ชี้เป็นหลักฐานว่ากำลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่เฟดเร่งออกมาตรการกระตุ้น หวังช่วยดันเศรษฐกิจโตในไตรมาส 3

.

ดัชนีอุตสาหกรรมนอกภาคการผลิตของสถาบันจัดการอุปทานในเดือนส.ค.ขยายตัวแตะที่ 48.4 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนจากระดับ 46.4 จุดในเดือนก.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ถึงภาวะตกต่ำในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวซึ่งมีสัดส่วน 90% ของเศรษฐกิจในสหรัฐ         

.

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พยายามที่จะแก้ปัญหาในตลาดสินเชื่อขณะที่รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ อาทิ การเพิ่มแรงจูงใจทางภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านครั้งแรก ซึ่งช่วยกระตุ้นความต้องการและอาจช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ตาม รายงานเศรษฐกิจอีกฉบับหนึ่งระบุว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการระหว่างว่างงานปรับตัวสูงขึ้นกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ซึ่งช่วยตอกย้ำกระแสคาดการณ์ของเฟดที่ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคจากภาวะซบเซาในตลาดแรงงาน 

.

ไนเจล กอลท์ นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ อิงค์ กล่าวว่า "เศรษฐกิจใกล้ฟื้นตัวดีขึ้น และขณะนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าเราผ่านพ้นช่วงของการตกต่ำมาแล้ว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมทุกด้าน ซึ่งคาดว่าในปีหน้าจะเริ่มเห็นถึงอัตราจ้างงานที่เพิ่มขึ้น" 

.

โดยกระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการระหว่างว่างงานครั้งแรกลดลง 4,000 รายสู่ระดับ 570,000 รายในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ส.ค. แต่ยังสูงกว่าระดับ 564,000 รายที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 

.

ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์จากโพลล์บลูมเบิร์กคาดว่า ในคืนนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเดือนส.ค.ที่ลดลง 230,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับที่ลดลงน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี ขณะที่อัตราว่างงานมีแนวโน้มพุ่งแตะที่ 9.5%     

.

ทั้งนี้ ข้อมูลอุตสาหกรรมภาคบริการที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยหนุนที่ช่วยให้ดัชนี S&P 500 ปิดพุ่ง 0.9% เมื่อคืนนี้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะ 10 ปีขยายตัวแตะที่ 3.34% จากระดับ 3.31%

.