เนื้อหาวันที่ : 2009-09-03 15:42:29 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2445 views

Economize Your Storage "ความคุ้มค่าของระบบจัดเก็บข้อมูล"

ด้วยสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในขณะนี้ ทำให้หลายบริษัทหันมายึดแนวทางอนุรักษ์นิยมและไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายในด้านใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี แต่กลับกลายเป็นโอกาสในการตรวจสอบการลงทุนด้านไอที และการนำกำลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ "ได้งานมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลง มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ"

.

ด้วยสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในขณะนี้ ทำให้หลายบริษัทหันมายึดแนวทางอนุรักษ์นิยมและไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายในด้านใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม วิกฤตครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการตรวจสอบการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) และการนำกลยุทธ์ต่างๆ ที่ทำให้ 'ได้งานมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลง' มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

.

รายงานฉบับนี้เน้นไปที่เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลและให้มุมมองของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ต่อการจัดการต้นทุนของระบบจัดเก็บข้อมูล ซึ่งนั่นจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและสร้างสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวด้วย

.

นายฮิว โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ระบุว่า: "การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเรามีเทคโนโลยีชั้นเยี่ยม แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเนื่องจากผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ซึ่งมองเห็นว่าเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเป็นหน่วยการเปลี่ยนแปลงสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ และมีทักษะด้านผู้นำที่สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ไปใช้เพื่อจัดการกับปัญหาที่แท้จริงของธุรกิจได้"

.
รากเหง้าของวิกฤตทางการเงิน

• วิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความสูญเสียความมั่นใจของนักลงทุนต่อมูลค่าของสินเชื่อที่อยู่อาศัย (การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์) ในสหรัฐ ส่งผลต่อวิกฤตสภาพคล่องของตลาดการเงิน ซึ่งกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางยุโรปต่างพากันอัดฉีดทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดเงินของตน

.

•  ภาวะล่มสลายของตลาดสินเชื่อการเคหะสำหรับผู้กู้ที่มีความน่าเชื่อต่ำ (ซับไพร์ม) และการพลิกกลับ (จากเคยเฟื่องฟูก็ดิ่งลงเหว) ของภาวะตลาดบ้านเฟื่องฟูในประเทศอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก

.

• สิ่งที่ตามมาหลังยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู คือ ตลาดการเงินเกิดภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งการขาดทุนแบบเหนือความคาดหมาย ทำให้ฐานเงินทุนของสถาบันการเงินหดหายในอัตราที่รวดเร็วเกินกว่าที่จะระดมทุนก้อนใหม่ได้ทัน

.

• มีการนำความรุนแรงของสถานการณ์ครั้งนี้ ไปเปรียบเทียบกับยุคเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปี 2472 ซึ่งภาวะนี้ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับไฟไหม้ป่า ส่งผลกระทบต่อบรรดาประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งสุดในโลก และทำให้หลายประเทศตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยบางประเทศในจำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

.

• ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต่างร่วงลง สถาบันการเงินขนาดใหญ่ต้องล้มละลาย หรือโดนซื้อกิจการ และรัฐบาลประเทศต่างๆ แม้กระทั่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกยังต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูระบบการเงินของตัวเอง

.

• ปัจจุบันเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลกต่างเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือกำลังตกอยู่ในภาวะนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้รวมถึงหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

.

• ในช่วงเวลาเช่นนี้ รัฐบาลเกือบทุกประเทศต่างพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคมาตรฐาน รวมถึงนโยบายด้าน เพิ่มการกู้ยืม, ลดดอกเบี้ย, ลดภาษี  และใช้จ่ายในงานด้านสาธารณะ อาทิเช่น สาธารณูปโภคพื้นฐาน

.

ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกต่อภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

• รายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีต่อเอเชียเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมักจะรุนแรงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคส่งออกของเอเชีย พึ่งพา และ เกี่ยวข้องอย่างมากกับเศรษฐกิจโลก

.
• นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังคาดการณ์ไว้ว่า

– การเติบโตของเอเชียจะลดลงอย่างมากที่ระดับ 1.3% ในปี 2552 จากที่เคยเติบโตถึง 5.1% ในปีก่อนหน้านี้
– จีนมีการดำเนินนโยบายในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความต้องการภายในประเทศ
– ในระยะยาวอาจต้องมีการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจโดยไม่เน้นพึ่งพาการส่งออก

.

• ท่ามกลางความหวังอันริบหรี่ บรรดานักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกขาลงได้เร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ
• ข้อมูลจากที่ประชุมโป๋อาว ฟอรัม ฟอร์ เอเชีย (บีเอฟเอ) ระบุว่าจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางรายในเอเชียจะเป็นแกนนำในการฟื้นตัวจากวิกฤติครั้งนี้

.

• ข้อมูลจากบีเอฟเอยังระบุด้วยว่าวิกฤตทางการเงินถือเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกให้สมดุลมากขึ้น
• หลายประเทศในเอเชีย เช่น จีนที่เมื่อเร็วๆ นี้ได้ประกาศรื้อแผนการใช้เงินของภาครัฐครั้งใหญ่

.
ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกต่อตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

• จากรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ของบริษัท การ์ทเนอร์ (2552) ระบุว่า "ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลดลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) โดยคาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอทีรวมทั่วโลกที่ระดับ 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2552 ลดลง 3.2% จากปี 2551 ที่มีรายได้รวมเกือบ 3.4 ล้านล้านดอลลาร์"

.

• ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก บริษัท การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าตลาดหลักทั้งหมดสี่ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการด้านไอที และโทรคมนาคม จะได้รับการปรับลดต่ำลง ซึ่งจะมีเฉพาะการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์เท่านั้นที่ยังคงเติบโตในทางบวก

.

• แม้ว่าการใช้จ่ายด้านไอทีจะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าไอทีสามารถช่วยลดต้นทุนโดยรวมขององค์กรและช่วยองค์กรขนาดใหญ่ควบคุมงบประมาณเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในปี 2552 ได้

.

• ขณะนี้องค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาใช้ไอทีเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนและนำโมเดลการดำเนินงานที่ปรับลดหรือตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลืองออกไปเข้ามาใช้ภายในองค์กรมากขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ไม่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีก็เนื่องมาจาก

– ไอทีรวมอยู่ในการดำเนินงานทุกด้านขององค์กรธุรกิจ
– เป็นระยะเวลาหลายปีมาแล้วที่โครงการเกี่ยวกับไอทีถูกกำหนดไว้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจและยากที่จะตัดออกได้ในทันที
– การใช้จ่ายด้านไอทีช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจได้อย่างน้อยสองไตรมาส
.

• บริษัท การ์ทเนอร์ ธุรกิจด้านการวิจัยเทคโนโลยี คาดว่าองค์กรต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกจะชะลอการอัปเกรดฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และโครงการด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ออกไป และจะหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาฐานลูกค้าและการจัดซื้อให้มากขึ้น รายงานยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่าในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด คาดกันว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตที่ระดับ  8.3% ในปี 2552 หรือคิดเป็น 585.7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ของการ์ทเนอร์ที่ระบุว่าอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 11%

.

• บริษัท ไอดีซี คาดการณ์หลังปี 2552 ว่าการใช้จ่ายด้านไอทีเพื่อฟื้นสภาพองค์กรจะมีอัตราการเติบโตถึง 6.0% ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ไอดีซีประมาณการว่ารายได้ของอุตสาหกรรมจะหายไปกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ เนื่องจากการใช้จ่ายที่ชะลอตัวในอีกสี่ปีข้างหน้านี้

.

• แม้ว่าภาคไอทีจะได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด แต่บางส่วนของอุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่นกว่าส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของธุรกิจและความคุ้มค่าที่ทำให้องค์กรสามารถได้งานมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลง

.
มุมมองด้านระบบจัดเก็บข้อมูล 

"ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสสำหรับองค์กรธุรกิจในเอเชียที่จะกลั้นลมหายใจของตนและวางแผนเชิงกลุยทธ์เพื่อแซงหน้าคู่แข่งด้วยการให้ความสำคัญกับการปรับใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด" ไซมอน พิฟ ผู้อำนวยการโครงการด้านการวิจัยระบบจัดเก็บข้อมูลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ไอดีซี กล่าว

.

• ไอดีซีคาดว่าข้อมูลแบบมีโครงสร้างจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ระดับ 32.3% ระหว่างปี 2550 - 2554 ขณะที่ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างจะมี CAGR ที่ระดับ 63.7% ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนคลังเนื้อหา ซึ่งเป็นข้อมูลที่สร้างโดย  Web 2.0 และบริษัทผู้ให้บริการอุปกรณ์เคลื่อนที่จะมี CAGR ที่ระดับ 121%

.

• การควบคุมและการลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการและการบริหารที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จะเป็น "ส่วนสำคัญ" สำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ที่จะต้องดำเนินการต่อไป

.

• จากรายงานของบริษัท ไอดีซี ระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและระบบปรับอากาศเทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายด้านการบริหารและจัดการอุปกรณ์ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดรายจ่ายการดำเนินงาน (Operating Expenditure) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ใหม่หรือรายจ่ายการลงทุน (Capital Expenditure) ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

.

• องค์กรธุรกิจสามารถลดรายจ่ายด้านการลงทุนได้ด้วยการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ศูนย์ข้อมูลของตนให้เต็มที่ และยังสามารถประหยัดรายจ่ายการดำเนินงานด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดการและพลังงานได้ด้วย

.

• สิ่งที่เกิดตรงข้ามกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ก็คือการขยายของข้อมูลในเชิงบวกแม้ว่าธุรกิจจะชะลอตัวอยู่ก็ตาม แต่อัตราการเติบโตของข้อมูลกลับไม่ได้ชะลอตัวตามไปด้วย

.

• จากผลการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลท่ามกลางภาวะปั่นป่วนของตลาดเงิน พบว่า

.

– 57% ของซีไอโอระบุว่าพวกเขาจะไม่ลดการลงทุนด้านระบบจัดเก็บข้อมูลขององค์กรตน
– ต้นทุนด้านการจัดการ (69%) และการจัดสรรทรัพยากรระบบจัดเก็บข้อมูล (52%) เป็นงานที่สำคัญที่สุดที่จะต้องดำเนินการให้ลุล่วงในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนเช่นนี้

.

– ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านเทคโนโลยีระบุว่าแนวทางหลักที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จก็คือการยึดปัจจัยสำคัญที่สุดเพียงปัจจัยเดียว

.

– การให้คำอธิบายที่แน่ชัดเกี่ยวกับการลงทุนในระบบจัดเก็บข้อมูล (52%) และการได้งานมากขึ้นจากสินทรัพย์ปัจจุบัน (50%) เป็นสิ่งสำคัญสองประการที่ซีไอโอต้องการจากผู้ค้าเทคโนโลยี

.

• ผู้ใช้ที่ปรับโครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลของตนให้ทันสมัยภายในวงงบประมาณที่จำกัดและตามข้อกำหนดที่เคร่งครัดกำลังหันมาใช้ระบบเสมือนจริง ระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ เทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลสีเขียว (เชิงอนุรักษ์) และแนวทางการจัดการและเครื่องมือที่ดีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยและข้อตกลงของระดับการบริการ

.

• จากข้อมูลของ SNIA ระบุว่าระบบเสมือนจริง (Virtualization), การกำจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data De-duplication), การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ/ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud  Computing/Cloud Storage) และ SaaS เป็นหัวข้อที่ร้อนแรงที่สุดในปี 2552 เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องการได้รับ TCO และ ROI ที่ดีขึ้น การใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นและการปรับใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้งานมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลงเป็นจุดสำคัญของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล

.

• การรวมระบบเป็นหนึ่งเดียวจะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญขององค์กรเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งจะต้องการสถาปัตยกรรมใหม่มากกว่าผลิตภัณฑ์ระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ การรวมระบบเป็นหนึ่งเดียวนั้นจะต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

– ไม่รบกวนการทำงานของแอพพลิเคชั่น
– ใช้การลงทุนที่มีอยู่แล้ว
– ลดต้นทุนการดำเนินงานโดยที่ไม่เพิ่มความซับซ้อนใดๆ
– เพิ่มการใช้ประโยชน์สิ่งมีอยู่และเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น
– ตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วผ่านการปรับใช้บริการใหม่ต่างๆ แทนที่จะเพิ่มโซลูชั่นใหม่

.
กลยุทธ์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ - ความคุ้มค่าของระบบการจัดเก็บข้อมูล (Economize Your Storage)
ประเด็นสำคัญ:

แนวคิด 'ความคุ้มค่าของระบบจัดเก็บข้อมูล' (Economize Your Storage) ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คือการช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่ได้สูงสุด ลดค่าใช้จ่าย ได้สินทรัพย์ต่างระบบที่มีอยู่ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับคืนมา ทำให้การจัดการเป็นเรื่องง่าย และสามารถปรับใช้การป้องกันข้อมูลได้อย่างเหมาะสมด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง (Storage Virtualization), การจัดสรรดิสก์อย่างอิสระ (Dynamic Provisioning), การจัดเก็บเนื้อหาถาวร (Content Archiving) และการป้องกันข้อมูล  (Data Protection)

.
แนวคิดสนับสนุน:

• แนวคิดแบบเดิมขององค์กรเมื่อต้องจัดการกับความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีจำกัด คือ การจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือเพิ่มดิสก์ข้อมูล แม้ต้นทุนการจัดซื้อจะมีเพียง 20-30% ของต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวมของระบบจัดเก็บข้อมูล (TCO) แต่แนวทางนี้สร้างภาระทางการเงินอย่างมหาศาลให้กับองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและยังนำไปสู่ความซับซ้อนและความต้องการด้านการจัดการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

.

• แนวทาง "ความคุ้มค่าของระบบจัดเก็บข้อมูล" ของฮิตาชิ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบใหม่ในการจัดการปัญหาด้านการขยายตัวของข้อมูลด้วยการให้ความรู้แก่ผู้จัดการระบบจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการประเมินต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (Total Cost of Ownership :TCO) และสร้างแผนปฏิบัติการเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากสินทรัพย์ระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันที่มีอยู่ ( Return on Assets :ROA)

.

• บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ระบุต้นทุนการดำเนินงานของระบบจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน 33 ชนิด  ทุกชนิดจะครอบคลุมตั้งแต่ความเสี่ยงด้านการดำเนินการตามกฎข้อบังคับและประเด็นการเก็บรักษาข้อมูล ไปจนถึงการลดจำนวนไลบรารีเทป เทปไดรฟ์ และการลดค่าใช้จ่ายระยะยาว

.
• แนวคิด "ความคุ้มค่าของระบบจัดเก็บข้อมูล" ช่วยให้องค์กร

– ระบุส่วนที่สามารถช่วยประหยัดต้นทุนระยะยาวและระยะกลางได้
– ลดทั้งรายจ่ายด้านการลงทุน (Capital Expenditure :CAPEX) และรายจ่ายด้านการดำเนินการ (Operational Expenditure: OPEX)
– ปรับปรุงระดับบริการขณะที่ต้นทุนลดลง
– ลดการพึ่งพิงแบบจำกัดผู้ค้า
– ช่วยให้องค์กรเป็นอิสระจากโมเดลความซับซ้อนของภาวะผันแปรขึ้นลงของต้นทุน
– นำสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่ดีเยี่ยมมาใช้ได้ภายใต้หลักการพิจารณาเชิงต้นทุน
– นำความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับมาใช้ได้
– จัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่ต่างระบบกันได้โดยง่าย
– โอนย้ายข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ

.

• บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ทำงานร่วมกับลูกค้ากว่า 600 รายทั่วโลกตั้งแต่ปี 2545 ด้วยการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำให้สภาพแวดล้อมระบบจัดเก็บข้อมูลที่ต่างระบบสามารถช่วยประหยัดเงินให้กับองค์กรได้ การเข้าร่วมกับบริษัท ฮิตาชิเพื่อความคุ้มค่าของระบบจัดเก็บข้อมูลของคุณ ถือเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพจากการลงทุนปัจจุบันได้สูงสุดและลด CAPEX และ OPEX ได้อย่างต่อเนื่อง

.
แนวคิดที่ได้รับการยอมรับ:
• ในการรวมระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระเข้าด้วยกัน จะทำให้ลูกค้าสามารถ
– ประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปี 20%
– เพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ได้ 30 - 40%
– ลด TCO ได้ 30%
– เรียกความจุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับคืนได้ 30%-50%
.

• มหาวิทยาลัยศูนย์สาธารณสุขศาสตร์ของยูทาห์ (University of Utah Health Sciences Center: UUHSC) ได้รับ ROI 127% ภายใน 14 เดือนและคาดว่าภายในสามปีของการใช้โซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงของฮิตาชิ (Hitachi Storage Virtualization) จะประหยัดเงินได้มากกว่า 1.6 ล้านดอลลาร์

.

• บริษัทสิบอันดับแรกใน Forbes Global 2000 สามารถเรียกคืนความจุที่ไม่ได้ใช้งานกลับคืนได้กว่า 150 เทราไบต์ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 ล้านดอลลาร์เมื่อนำโซลูชั่นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดิสก์อย่างอิสระของฮิตาชิ (Hitachi Dynamic Provisioning) เข้ามาใช้ภายในองค์กร

.

• เศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูล: การประเมินต้นทุนที่แท้จริงของระบบจัดเก็บข้อมูล, ไอดีซี, ธันวาคม 2551 ระบุว่า แนวคิดของ "บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในเรื่องเศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูลแสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงของสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนและทำให้การวิเคราะห์ ROI กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจด้านการลงทุนในระบบจัดเก็บข้อมูลด้วย"

.

• การศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ระบุว่า ระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันได้รับการใช้ประโยชน์เพียง 20 - 30% เท่านั้น แต่การจัดซื้อระบบจัดเก็บข้อมูลยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

.

• บริษัท ฟิเดลิตี้ เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส (เอฟเอ็นไอเอส) ได้รับทุนคืนภายในไม่กี่เดือนหลังจากปรับใช้สถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบระดับชั้นเสมือนจริง คาดว่าโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลจะช่วยเอฟเอ็นไอเอสประหยัดได้มากกว่า 27 ล้านดอลลาร์ภายในสามปี

.

• "สถาปัตยกรรม Thin Client และ  SAN ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า 900,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์* ในปีแรกของการดำเนินโครงการ” เอ็ด ซาแลนท์ รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงแรมและรีสอร์ทมิลเลนเนียม (นิวซีแลนด์) กล่าว

.

• จากรายงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ระบุว่าการโอนย้ายข้อมูลไปยัง "เทคโนโลยีรุ่นใหม่" จะทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 76,000 ดอลลาร์ต่อเทราไบต์

.

• "ด้วย Hitachi USP V ทำให้เราสามารถรวมสภาพแวดล้อมของระบบจัดเก็บข้อมูลที่แยกส่วนกันก่อนหน้านี้ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้เกิดความสามารถด้านระบบเสมือนจริงและสามารถโยกย้ายข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งนั่นตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างสูงสุด นอกจากนี้ เรายังสามารถสั่งงานได้จากจุดเดียว ตลอดจนลดความซับซ้อนและต้นทุนการเป็นเจ้าของได้อีกด้วย…"  ไบรอัน คริปส์ สถาปนิกระบบจัดเก็บข้อมูล บริษัท ซีล แอร์ กล่าว

.

• ด้วยเครือข่ายทั่วประเทศ 1,412 สาขา และเอทีเอ็ม 3,177 จุดในเมืองต่างๆ 527 แห่ง ธนาคารเอชดีเอฟซี สามารถประหยัดชั่วโมงการทำงานได้นับพันชั่วโมง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีเสมือนจริงของฮิตาชิ นายฮาริช เชตตี รองประธานฝ่ายบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ธนาคาร เอชดีเอฟซี กล่าวว่า "โซลูชั่นระบบเสมือนจริงของฮิตาชิช่วยให้เราสามารถจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น เราไม่เพียงสามารถขยายอายุการใช้งานของสินทรัพย์เดิมเท่านั้น แต่ยังสามารถจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดผ่านพูลเสมือนจริงเพียงพูลเดียวได้

.

ซึ่งนั่นปรับปรุงการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานได้อย่างมาก เรายังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตได้อย่างมากด้วยการส่งมอบเวลาตอบสนองให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้นและรักษาต้นทุนของการทำสแนปช็อตฐานข้อมูลขนาด 3 เทราไบต์จำนวนมากให้ลดน้อยลงได้"

.