เนื้อหาวันที่ : 2006-11-09 11:51:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7100 views

GHS: ระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก

คงไม่ต้องแจกแจงกันให้มากมายว่าในปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนเรา ช่างเฉียดเข้าใกล้การตายผ่อนส่งกันมากขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นจากมลภาวะ มลพิษ และสารปนเปื้อนที่มีอยู่รอบตัว ทั้งในน้ำ อากาศ หรือแม้กระทั่งในอาหาร ยา และสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากิน ใช้ กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

คงไม่ต้องแจกแจงกันให้มากมายว่าในปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนเรา ช่างเฉียดเข้าใกล้การตายผ่อนส่งกันมากขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นจากมลภาวะ มลพิษ และสารปนเปื้อนที่มีอยู่รอบตัว ทั้งในน้ำ อากาศ หรือแม้กระทั่งในอาหาร ยา และสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากิน ใช้ กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

.

จะว่าไปแล้ว ก็อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่า อันบรรดาเจ้ามลภาวะ มลพิษ หรือสารปนเปื้อนต่าง ๆ นั้น มันก็เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์เรานี่แหละ  แต่จะเป็นด้วยความจงใจอย่างไร้จรรยาบรรณ หรือจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเพื่อป้องกันการเกิดสารปนเปื้อนโดยความไม่รู้ รวมถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ทางการของประเทศต่าง ๆ จึงได้พัฒนามาตรการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีขึ้นมา ซึ่งมาตรการหนึ่งที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ การจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลาก นั่นเอง

.

.

แต่ทั่วโลกเรา ก็มีการจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลากอยู่หลายระบบ ซึ่งแตกต่างกันทั้งในเรื่องหลักเกณฑ์การแบ่งชนิดสารเคมี และการกำหนดสัญลักษณ์ บ่อยครั้งจึงก่อให้เกิดอาการ มึน ได้โดยง่าย เพราะสารเคมีชนิดเดียวกันอาจเป็นสารเคมีไวไฟในประเทศหนึ่ง แต่ไม่เป็นสารไวไฟในอีกประเทศหนึ่งก็ได้ แถมในบางประเทศก็อาจจะมีระบบการจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลากใช้อยู่หลายระบบอีกด้วย เรียกว่าเป็นแบบ Multi Standards กันเลยทีเดียว ตัวอย่างก็ใช่อื่นไกล พี่ไทยเรานี่เอง ที่กำหนดการให้ข้อมูลสารเคมีและอันตรายกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ไว้ในกฎหมายหลายฉบับด้วยกัน เช่น

.

- พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

- พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535

- พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

- พรบ. ยา พ.ศ. 2510

- พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522

- พรบ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535

.
ส่วนข้อกำหนดการติดฉลากสารเคมีและอันตราย ก็มีกำหนดไว้หลายระบบอีกเช่นกัน เป็นต้นว่า

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขนส่งวัตถุอันตราย (กำหนดระบบ UNRTDG)

- ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย (ไม่อ้างอิงระบบ)

- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2530) เรื่อง หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กำหนดระบบ EU และ UNRTDG)

- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2538 (กำหนดระบบ WHO และ UNRTDG)

- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 (กำหนดระบบ WHO และ UNRTDG)

.

ดังนั้นทางองค์การสหประชาชาติ จึงได้กำหนดระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals หรือ GHS) ขึ้นมาเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถสื่อสารข้อมูลอันตรายของสารเคมีได้โดยง่าย

.

ระบบ GHS นี้ ถือเป็นหนึ่งในหลายมาตรการที่ได้จากการประชุม Rio Earth Summit เมื่อปี พ.. 2535 ที่ผ่านมา ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการในเรื่องการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัย และเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการจัดการสารเคมีมีพิษอย่างไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญโดยย่อดังนี้

.

- ระบบ GHS จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

- การพัฒนาระบบ GHS จะต้องแล้วเสร็จภายในปี พ.. 2543 และต้องเป็นระบบที่เข้าใจได้ง่าย

- ในการพัฒนาระบบ GHS จะต้องมีการคำนึงถึงระบบเดิมที่ใช้กันอยู่แต่เดิม และต้องไม่กีดกันทางการค้า

- ให้องค์การระหว่างประเทศร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ในการจัดตั้งกลุ่มประสานงานการพัฒนาระบบใหม่

- โครงการต่าง ๆ ภายใต้องค์การสหประชาชาติ จะต้องร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดหลักสูตรอบรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการนำระบบใหม่มาใช้งาน

.

และในปี พ.. 2545 ผลการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ นครโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกา ก็ได้มีการยืนยันถึงพันธกิจของประเทศต่าง ๆ ในการจัดการกับสารเคมีอย่างเป็นระบบ ซึ่งหนึ่งในพันธกิจนั้นก็คือระบบ GHS นี่เอง ส่วนสาระของแผนปฏิบัติการโจฮันเนสเบิร์กก็คือ จะต้องกระตุ้นให้ทุกประเทศปฏิบัติตามระบบ GHS โดยเร็วที่สุด และทุกประเทศจะต้องนำระบบ GHS มาใช้ภายในปี พ.. 2551

.

หลังจากนั้นในเดือนกรกฎาคม พ.. 2546 ทางองค์การสหประชาชาติ ก็ได้ประกาศการตีพิมพ์หนังสือ GHS ทั้งในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ในที่ประชุม Sub-Committee of Experts on the Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

..

แผนผังที่ 1 การพัฒนา GHS-ด้านวิชาการ

.

.

.

แผนผังที่ 2 การพัฒนา GHS - ด้านการปฏิบัติ

.

.

1. จุดมุ่งหมายของระบบ GHS มีอยู่ 4 ข้อด้วยกัน ดังนี้

      1.1 เพื่อยกระดับการปกป้องอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีระบบที่เข้าใจได้ง่ายในการสื่อสารข้อมูลและอันตรายของสารเคมี 

      1.2 มีแนวทางให้กับประเทศที่ยังไม่มีระบบการจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลาก 

      1.3 ลดความซ้ำซ้อนของการทดสอบและการประเมินสารเคมี 

      1.4 อำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ สำหรับสารเคมีที่ได้ประเมินและจำแนกแล้วตามหลักเกณฑ์พื้นฐานระหว่างประเทศ

.
2. หลักการของระบบ GHS มีดังนี้

2.1 ระดับการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่ลดลงจากระบบเดิม

2.2 การจัดกลุ่มอันตรายของผลิตภัณฑ์เคมีจะพิจารณาสมบัติเฉพาะตัวเท่านั้น (ผลิตภัณฑ์รวมถึงสารประกอบ สารผสม สารละลาย และอัลลอยด์)

2.3 การจัดกลุ่มอันตรายและการสื่อข้อมูลอันตรายต้องมีพื้นฐานและเชื่อมโยงกัน

2.4 คำนึงถึงการจัดกลุ่มและการสื่อข้อมูลอันตรายที่มีอยู่เดิม

2.5 ระบบเดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงและดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2.6 เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อข้อมูลอันตรายจะต้องเกิดความเข้าใจได้ง่าย

2.7 การจัดกลุ่มอันตรายในระบบใหม่ต้องยอมรับข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่มีอยู่เดิม

2.8 พร้อมกับการปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงการปกป้องความลับทางธุรกิจด้วย

.

3. ขอบเขตของระบบ GHS จะครอบคลุมถึง สารเคมี สารผสม สารอัลลอยด์ รวมถึงสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการผลิตอีกด้วย โดยหลักเกณฑ์ของระบบมีดังนี้

3.1การจัดกลุ่มสารเคมี : แบ่งเป็นอันตรายด้านกายภาพ 16 ประเภท และอันตรายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีก 9 ประเภท ดังตารางที่ 1

.

.

3.2 การติดฉลาก : ฉลากสารเคมีจะต้องเข้าใจได้ง่าย ทั้งในระดับผู้ที่ทำงานด้านสารเคมี ผู้บริโภค และสาธารณชน โดยฉลากจะต้องประกอบไปด้วย

- คำเตือนและข้อความที่ชี้ระดับความรุนแรงของอันตราย

- ข้อควรระวังหรือข้อแนะนำวิธีการลดความเสี่ยงอันตราย

- ชื่อสารเคมี หรือในกรณีสารผสมให้ระบุสารเคมีองค์ประกอบที่มีอันตรายสูง ซึ่งมีพิษเฉียบพลัน มีฤทธิ์กัดกร่อนผิวหนังหรือตา ทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อกลายพันธุ์ สารก่อมะเร็ง หรือเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

- ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย และสถานที่ที่ติดต่อได้

- Pictogram ที่มีสัญลักษณ์แสดงถึงอันตรายด้านกายภาพ หรือด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

.

.

3.3 การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Material Safety Data Sheets: MSDS) เอกสาร MSDS จะมีอยู่ 16 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ชื่อสาร ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายและสถานที่ติดต่อ ส่วนประกอบ อันตราย การปฐมพยาบาล มาตรการผจญเพลิง มาตรการจัดการสารหกรั่วไหล การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล สมบัติทางกายภาพ เคมี ความเสถียรและว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา พิษวิทยา นิเวศวิทยา การกำจัด การขนส่ง กฎระเบียบข้อบังคับ และข้อมูลอื่น ๆ

ดังนั้นขอบเขตของการนำ GHS ไปใช้ จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

-          การขนส่ง: ฉลากของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง

-          การผลิต การจัดเก็บและผู้ผลิต: ฉลากสารเคมี

-          MSDS: ภาชนะบรรจุ และพื้นที่ในการปฏิบัติงาน

-          สินค้าอุปโภคบริโภคและผู้บริโภค: ฉลากผลิตภัณฑ์

.

ตัวอย่างการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ของ GHS (1)

.

ตัวอย่างการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ของ GHS (2)

.

.

4. ข้อดี-ข้อเสีย อุปสรรค และข้อจำกัดในการนำระบบ GHS มาใช้ในประเทศไทย มีดังนี้

.

.
เอกสารอ้างอิง

- The Globally Harmonized System (GHS) By American Chemistry Council

- Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS) By United Nations Publications

- The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS) By United Nations Economic Commission for Europe (UNECE)

- ระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก (GHS) และประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในการเสริมสร้างสวัสดิภาพด้านสารเคมี โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

- ขับเคลื่อนการจัดการสารเคมีไทยในกระแสโลก          โดย วรรณี พฤฒิถาวร และ ธนพรรณ สุนทระ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

- Globally Harmonized System โดย กฤติยา เหมือนใจ, กลุ่มงานความปลอดภัยสารเคมี, สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย 

.
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม Click เข้าไปอ่านกันได้ที่

 

http://www.trf.or.th/Home/draft/dep3/con_s1.ppt : ระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก (GHS) และประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในการเสริมสร้างสวัสดิภาพด้านสารเคมี โดย สกว.

- http://lib.diw.go.th/safety/pdf/Globally%20Harmonized%20System.pdf : Globally Harmonized System โดย กฤติยา เหมือนใจ, กลุ่มงานความปลอดภัยสารเคมี, สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย

- http://www.unece.org/trans/danger/publi/ghs/ghs.html: The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS) โดย UNECE

- http://www.unece.org/trans/danger/publi/ghs/officialtext.html: หนังสือ ‘Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS)’ โดย United Nations Publications