เนื้อหาวันที่ : 2006-11-07 21:28:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2326 views

เผยโฉมสุดยอดเยาวชน ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ครั้งที่ 2

กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ประกาศผลรางวัลสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวได้ ฝีมือเยาวชนรอบชิงชนะเลิศรับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย ประกาศผลการตัดสินรางวัลสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ที่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวได้ จากฝีมือเยาวชนไทยในโครงการ ฮอนด้า อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ครั้งที่ 2 รอบชิงชนะเลิศในวันนี้ โดยมี ด.ช.พิชญ์พล จิรวงศาพันธุ์ เป็นผู้พิชิตตำแหน่งผู้ชนะเลิศระดับประถมต้น จากผลงานชื่อ นกช่วยนำทางคนตาบอด และ ด.ช.จิรายุทธ ฉัตรเพ็ชร ผู้ชนะเลิศระดับประถมปลาย จากผลงานชื่อ.เครื่องดักจับลูกน้ำโซล่าเซลล์ รับรางวัลเกียรติยศโล่พระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครอง พร้อมเตรียมบินลัดฟ้าสู่ญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอผลงานในเวทีเดียวกับเยาวชนญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมนี้

.

 

ทั้งนี้ ฮอนด้า ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ทั้งในระดับประถมต้นและประถมปลาย รวม 6 คน คิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมรางวัลทัศนศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น โดยทั้ง 6 คน จะได้เป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ยังบ้านเกิดของอาซิโม นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบปะพูดคุยกับ มร. มาซาโตะ ฮิโรเสะ หัวหน้าทีมวิศวกร ผู้ให้กำเนิดอาซิโมด้วย

.

นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ฮอนด้ารู้สึกภูมิใจที่มีส่วนในการผลักดันจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทย โดยโครงการ อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ ในปีนี้ มีเยาวชนส่งผลงานเข้าร่วมโครงการมากถึง 22,000 ชิ้นหรือเพิ่มขึ้นกว่า 70%จากปีที่แล้ว ทุกผลงานล้วนแสดงออกถึงจินตนาการของเด็กไทยแม้ว่าจะอยู่ในวัยประถมเท่านั้น โครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการจุดประกายแห่งความฝันสำหรับเยาวชนไทยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะฮอนด้าเชื่อว่าจินตนาการจะนำไปสู่การพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นในอนาคต เหมือนดังเช่นอาซิโมและนวัตกรรมยานยนต์อื่น ๆ ของฮอนด้า

.

ผมขอแสดงความยินดีกับเยาวชนที่ได้รับรางวัลในวันนี้ และขอฝากข้อคิดให้กับน้อง ๆ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการว่า ถึงแม้วันนี้น้องเยาวชนหลายคนอาจจะไม่ได้รับรางวัลใด ๆ แต่การได้เริ่มต้นลงมือคิดและทำด้วยตัวเอง ก็ถือเป็นการเริ่มสะสมประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ ขอให้ทุกคนจงมุ่งมั่นและพยายามทำตามความฝันต่อไป ทุกอย่างก็จะเป็นจริงได้อย่างแน่นอน นายอดิศักดิ์กล่าวเสริม

.

ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในรอบชิงชนะเลิศ ประกอบด้วย รศ. ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คุณวรพล พุฒจ้อย ผู้กำกับรายการอาวุโส สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ช่อง 9 คุณกงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์ ศิลปินโมเดิร์น อาร์ต คุณทรงวุฒิ ชนะภัย ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และคุณพักตร์พริ้ง เจริญสุข ดีไซเน่อร์ จากบริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เซ้าท์อีสต์เอเชีย จำกัด มาร่วมกันเฟ้นหาสุดยอดผลงานของเยาวชนรุ่นจิ๋วที่มีผลงานจินตนาการโดดเด่นที่สุด

.

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี - พระจอมเกล้าธนบุรี ให้ความเห็นว่า โครงการ อาซิโม ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ เป็นโครงการที่ให้โอกาสเด็กไทยได้ฝึกฝนการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ นั่นคือ นวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดคุณค่าสู่สังคมในอนาคต สำหรับการแข่งขันในปีนี้ เด็ก ๆ มีความกล้าคิดกล้านำเสนอไอเดียที่มีความลึกซึ้งมากขึ้น ส่วนผู้ชนะเลิศนับว่าเป็นผลงานที่สามารถสร้างความสมดุลในด้านความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นไปได้นำการนำไปใช้จริง

.

นายกงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์ ศิลปินโมเดิร์นอาร์ต ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การตัดสินในรอบชิงชนะเลิศนี้คณะกรรมการค่อนข้างลำบากใจ เพราะผลงานของน้อง ๆ แต่ละคนมีไอเดียที่น่าสนใจ และเข้ากับกระแสปัจจุบัน เช่น เรื่องพลังงาน ภัยธรรมชาติ ที่บอกให้เรารู้ว่าเด็กยุคใหม่ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และมีแนวคิดในการประดิษฐ์เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น การตัดสินจึงต้องเฟ้นหาผลงานที่โดดเด่นที่สุดโดยอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ เช่น คุณภาพของชิ้นงาน ความชัดเจนในการนำเสนอไอเดีย และต้องตอบโจทย์สิ่งประดิษฐ์จะต้องเคลื่อนไหวได้ยอดเยี่ยมที่สุด

.

สำหรับการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้น ณ อุทยานการเรียนรู้ ที เค ปาร์ค โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกจาก 120 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบ My Dreams Come True (แบ่งเป็นระดับประถมศึกษาตอนต้น คือ ป.1 ป.3 จำนวน 60 ผลงาน และระดับประถมศึกษาตอนปลาย คือ ป.4 ป.6 จำนวน 60 ผลงาน) เข้าสู่รอบรองชนะเลิศระดับละ 15 ผลงาน รวม 30 ผลงาน และในรอบสุดท้าย คณะกรรมการได้ค้นหาผู้ชนะเลิศทั้งสองระดับ ๆ ละ 1 ผลงาน รวม 2 ผลงาน เพื่อรับรางวัลโล่พระราชทานฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุด และรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 รวมทั้งหมด 6 คน นอกจากนั้นในปีนี้ ทางโครงการยังได้เพิ่มรางวัลขวัญใจสื่อมวลชน ระดับละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาสื่อมวลชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินรางวัล โดยมีรายชื่อทั้งหมดดังต่อไปนี้

.