เนื้อหาวันที่ : 2009-07-14 13:28:23 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 995 views

ก.พลังงานหนุนเอกชนกู้เวิลด์แบงค์ลงทุนพลังงานทดแทน

กระทรวงพลังงานจับมือเวิลด์แบงค์ หนุนเอกชนกู้กองทุน Clean Technology Fund หวังผลักดันแผนพลังงานทดแทน 15 ปี ให้สำเร็จ เผยประเทศไทยจะได้วงเงินกู้รวมทั้งหมดกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

.

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ต้อนรับผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงค์ ซึ่งเป็นการเข้าพบเพื่อหารือความคืบหน้า โครงการ กองทุนเทคโนโลยีสะอาด หรือ Clean Technology Fund(CTF) ที่เวิลด์แบงค์เคยเสนอกับกระทรวงพลังงานก่อนหน้านี้

.

ทั้งนี้กระทรวงพลังงานยืนยันที่จะให้การสนับสนุนกับภาคเอกชนที่สนใจจะพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในการกู้เงินจากกองทุน Clean Technology Fund ที่จัดตั้งโดยเวิลด์แบงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านพลังงานทดแทน สนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นการเร่งรัดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีซึ่งเป็นวาระแห่งชาติให้ประสบผลสำเร็จ โดยกระทรวงพลังงานจะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานต่างๆของโครงการ โดยจะเป็นผู้พิจารณาโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ เวิลด์แบงค์

.

โดยในวันที่ 15 ก.ค.52 จะมีการจัด Work Shop ร่วมกันระหว่างกระทรวงพลังงานและเวิลด์แบงค์ ณ สำนักงานเวิลด์แบงค์ ประจำประเทศไทย (สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 30) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนเข้าร่วมกู้เงินในโครงการดังกล่าว

.

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้รับวงเงินกู้จากกองทุน CTF ในระยะต้นประมาณ 300 ล้านเหรียญ สหรัฐ และร่วมกับเงินทุนจากธนาคารโลกอีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะมีวงเงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปล่อยกู้แก่ภาคเอกชน โดยในส่วนของสินเชื่อจากเงินกองทุนจะมีอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ 1.75% ซึ่งจะมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20-30 ปี

.

"การที่เวิลด์แบงค์ให้ความสนใจให้สิทธิประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าว นับเป็นสัญญาณที่ดี ที่เวิลด์แบงค์เห็นว่า นโยบายการส่งเสริมพลังงานทดแทนของประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนที่สุดในอา เซียน และเป็นประเทศเดียวที่ได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ซึ่งการให้เงินกู้จากกองทุน Clean Technology Fund นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทน ภายใต้แผนพลังงานทดแทน 15 ปีแล้ว ในระยะยาวยังสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกและสามารถพัฒนาสู่การขายคาร์บอน เครดิตได้อีกด้วย" นายแพทย์วรรณรัตน์กล่าว

.
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์