เนื้อหาวันที่ : 2006-03-09 11:26:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2097 views

เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ "ศึกดวลคนอัจฉริยะ" IRPUS’ 49

เน้นย้ำศักยภาพเด็กไทย สู่งานวิจัยนำไปใช้ได้จริง ชี้แก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมไทย สร้างผลงานต่อยอดสู่ตลาดโลกและนวัตกรรมใหม่

งาน IRPUS ปี 49 เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ ศึกดวลคนอัจฉริยะ เน้นย้ำศักยภาพเด็กไทย สู่งานวิจัยนำไปใช้ได้จริง ชี้แก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมไทย สร้างผลงานต่อยอดสู่ตลาดโลกและนวัตกรรมใหม่กว่า 200 โครงงาน เชิญเข้าร่วมชมผลงานดังกล่าวฟรี  MCC Hall เดอะมอลล์งามวงศ์วาน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2 เมษายนศกนี้ 

.
การพัฒนาการศึกษา เพื่อให้เกิดเป็นความรู้ที่สามารถนำไปสู่การใช้งานได้จริงนั้น ผู้ที่ดำเนินการศึกษาควรจะต้องได้รับโอกาสในการดำเนินงานวิจัย ทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานให้ทุนวิจัย และความสนับสนุนในการให้โอกาสฝึกฝนฝีมือของผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อสร้างให้นิสิต นักศึกษา ที่กำลังจะจับการศึกษาในระดับปริญญาตรี
.

โครงการโครงงานสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี หรือ IRPUS (Industrial and Research Projects for Undergraduate Students) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)จึงเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ที่กำลังอยู่ในชั้นปีสุดท้าย สร้างโครงงานวิจัยเพื่อทดลองหาประสบการณ์ อีกทั้งบางส่วนยังมีโอกาสที่จะได้สร้างโครงงานที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการเอกชนได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย

.

 ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า โครงการ IRPUS มีส่วนอย่างมากในภารกิจหลักของ สกว.ที่เน้นการสร้างความรู้ สร้างคน และสร้างระบบวิจัย แม้ว่าความรู้ที่ได้จากโครงการนี้อาจจะไม่ใช่ความรู้ที่ลึก เนื่องจากเป็นงานวิจัยขั้นต้นที่ทำโดยนักศึกษา แต่ก็เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับการใช้งานและในหลายกรณีก็เป็นความคิดริเริ่มจากมุมมองที่สดใหม่ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างคนและสร้างระบบวิจัยที่ดี เพื่อสนับสนุนการศึกษาอุดมศึกษาใน การสร้างคนโดยบูรณาการปัญหาจริงในอุตสาหกรรมผ่านทางวิชาโครงงานปีสุดท้ายและอาศัยการฝึกงานภาคฤดูร้อนของนักศึกษาเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงงาน โจทย์กับบทเรียน ระหว่างอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย ถือเป็นกลไกสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ พร้อมเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันทำให้แต่ละฝ่ายเข้าใจกันและสร้างประโยชน์ให้แก่กันมากยิ่งขึ้น สำหรับปีนี้มีนักศึกษาที่ได้รับทุนจำนวน 373 คน มีอาจารย์เข้าร่วมจากมหาวิทยาลัยต่างๆจำนวน 133 คน นอกจากนี้ยังมีภาคอุตสาหกรรมจำนวนกว่า 100 บริษัท              

.

ตัวอย่างโครงงานกว่า 200 โครงงานที่เข้าร่วมงานในปีนี้ อาทิ การศึกษาและเตรียมแผ่นสไตรีน-เมทิลเมทาคริเลตโคพอลิเมอร์ทนแรงกระแทก แบบโปร่งใส โดยกระบวนการหล่อ โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมี ดร.กิติกร จามรดุสิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำโครงการ ซึ่งโครงการนี้เป็นงานต่อยอดจากโครงการในปีที่แล้วที่ได้หาแนวทางชวยลดตนทุนการผลิตแผนพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบโปรงใส ด้วยการนําเอาสไตรีนมาโคพอลิเมอรกับเมทิลเมทาคริเลต แตวยคุณสมบัติเฉพาะบางอยางของพอลิสไตรีนที่มีความแข็งและเปราะมากกวาพอลิเมทิลเมทาคริเลต เมื่อนำมาผสมกันจะมีสมบัติดาน ความเหนียวและสมบัติการทนแรงกระแทกที่ลดลง

.

ทีมวิจัยในโครงการนี้ จึงแก้ไขด้วยการเติมยางสังเคราะห์เข้ามาเติมเป็นสารช่วยปรับปรุงสมบัติการทนแรงกระแทก และความยืดหยุ่นของแผ่นโคพอลิเมอรซึ่งการต่อยอดโครงการดังกล่าวในปีนี้สามารถนำยางธรรมชาติ คือ ยางแท่ง มาใช้ทดแทนยางสังเคราะห์ดังกล่าวได้แล้ว ทั้งนี้ยังได้คุณสมบัติที่ดีเหมือนเดิม

.

นอกจากนี้ทีมวิจัยและภาคเอกชนโดย บริษัท แพนเอเชียอุตสาหกรรม จำกัด ยังได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาผลิตเพื่อจำหน่าย จึงนับเป็นผลงานวิจัยที่เกิดการนำไปใช้จริงอย่างเห็นผล โดยสวนหนึ่งของผลิตภัณฑแผนพอลิเมทิลเมทาคริเลตแบบโปรงใสที่ขึ้นรูปดวยกระบวนการหลอนี้ จะนําไปใชกับงานกระเบื้องมุงหลังคา และสวนประกอบของรถยนตเช่น กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนใส ป้ายโฆษณาติดไฟ กระจกหน้าด้านหมวกนิรภัย เป็นต้น ขณะนี้บริษัทดังกล่าวยังได้เปิดตลาดส่งออก นำงานวิจัยนี้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อ่างจากุชชี่ ที่มุงแกไขปญหาการนําเขาวัตถุดิบจากตางประเทศ โดยใช้ยางธรรมชาติมาเป็นส่วนผสม งผลใหสามารถลดดุลการคาที่เกิดจากการนําเขาวัตถุดิบจากต่างประเทศลงได

.

ด้าน รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์  ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า โครงการ IRPUS เพื่ออุตสาหกรรมในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการคือ 1.สนับสนุนการผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการทำงานวิจัยและพัฒนาในโรงงานอุตสาหกรรมจริง 2.สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการวิจัยและพัฒนาที่ดีขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการ และ 3.สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสสัมผัสกับการวิจัยและพัฒนาภาคปฏิบัติเพื่อเสริมทักษะและความเชื่อมั่น ด้วยเชื่อว่าทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาความรู้สาขาต่างๆเพื่อให้เกิดการรวมพลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันจะนำไปสู่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต  

.

โดยภาคอุตสาหกรรม นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สามารถเข้าชมผลงานดังกล่าวได้ฟรี MCC Hall เดอะมอลล์ งามวงศ์วานตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น.ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม- 2 เมษายน ศกนี้