เนื้อหาวันที่ : 2009-06-30 11:22:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2174 views

GM วางแผนทิ้งหุ้นในโรงงานประกอบรถร่วมทุนในสหรัฐกับโตโยต้า

เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป เล็งยกเลิกการถือหุ้นในโรงงานประกอบรถกับโตโยต้า มอเตอร์ หลังจากที่ทั้ง 2 บริษัทไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องประเภทของรถที่จะมีการผลิตที่โรงงานดังกล่าว

.

บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป (GM) เล็งยกเลิกการถือหุ้นในโรงงานประกอบรถกับโตโยต้า มอเตอร์ หลังจากที่ทั้ง 2 บริษัทไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องประเภทของรถที่จะมีการผลิตที่โรงงานดังกล่าว                          

.

จีเอ็มและโตโยต้าได้ทบทวนแผนการดำเนินการที่บริษัท นิว ยูไนเต็ด มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง อิงค์ ซึ่งดูแลโรงงานประกอบรถดังกล่าว นับตั้งแต่ที่ฟริทซ์ เฮนเดอสัน ซีอีโอของจีเอ็ม ได้กล่าวไว้เมื่อเดือนเม.ย.ว่า บริษัทจะยกเลิกการทำธุรกิจรถปอนเทียค ไวบ์ ซึ่งเป็นรถเพียงรุ่นเดียวที่ประกอบที่โรงงานดังกล่าว และเมื่อวานนี้ จีเอ็มก็ออกมาเปิดเผยว่า จะยกเลิกการถือหุ้นในโคงงานดังกล่าว 

.

โรงงานแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของจีเอ็มและโตโยต้าตั้งแต่เมื่อปี  2537 และยังเป็นโรงงานประกอบรถแห่งแรกของโตโยต้าในสหรัฐ โดยการขยายตัวของโตโยต้าในสหรัฐนั้นได้รับแรงหนุนจากรถนำเข้าต้นทุนต่ำ จีเอ็ม ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายล้มละลายนั้น กำลังเดินหน้าปิดโรงงาน ปลดพนักงาน และยกเลิกแบรนด์รถที่ไม่สามารถทำกำไรได้ 

.

บลูมเบิร์กรายงานว่า โยชิฮิโร่ โอคุมูระ เจ้าหน้าที่ของแอสเสท เมเนจเมนท์ กล่าวว่า การรักษาโรงงานดังกล่าวไว้จะทำให้โตโยต้าต้องแบกรับภาระทางการเงินมาก ซึ่งการประกาศการยกเลิกถือหุ้นครั้งนี้จะต้องเป็นข่าวใหญ่แน่นอน เพราะโตโยต้าเองต้องการเดินหน้าโรงงานแห่งนี้ต่อไป 

.

การประกาศยกเลิกถือหุ้นของจีเอ็มเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทพยายามยกเลิกแผนการทำธุรกิจรถปอนเทียค ไวบ์ ที่ประกอบขึ้นที่โรงงานในเมืองฟรรีมอนท์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา โดยจีเอ็มได้ถือหุ้นอยู่ครั้งหนึ่งในโรงงานดังกล่าว และรถรุ่นต่างๆของโตโยต้าก็คิดเป็นสัดส่วน 76% ของผลผลิตรถมาจนถึงเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา 

.

ฮิเดอากิ ฮอมมมะ โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า โตโยต้าหวังว่าจะทำธุรกิจร่วมทุนต่อไป และบริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับโรงงานแห่งนี้ แต่เราก็เคารพการตัดสินใจของจีเอ็ม เพราะสถานการณ์แวดล้องทางเศรษฐกิจและธุรกิจของโตโยต้านั้นก็อยู่ในขั้นหนักหนาสาหัสเช่นกัน ดังนั้นการตัดสินใจของจีเอ็มจึงเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับโตโยต้าเช่นกัน