เนื้อหาวันที่ : 2009-06-01 15:48:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1861 views

คลังสหรัฐเอาใจจีน ยืนยันจะลดยอดขาดดุลงบประมาณขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว

ไกธ์เนอร์ ยันสหรัฐจะลดช่องว่างการขาดดุลงบประมาณโดยเร็วที่สุด ตั้งเป้าจะลดยอดขาดดุลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลงเหลือ 3% เอาใจจีนในฐานะผู้ถือตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐรายใหญ่สุด

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีนว่า สหรัฐจะลดช่องว่างการขาดดุลงบประมาณโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับที่ชะลอตัว แต่สหรัฐก็ตั้งเป้าไว้ว่า จะลดยอดขาดดุลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลงเหลือประมาณ 3% พร้อมกับย้ำด้วยว่า จีนเป็นประเทศผู้ถือตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐรายใหญ่สุด              

.

การเดินทางเยือนจีนของรมว.คลังสหรัฐเป็นเวลา 2 วัน เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น นายไกธ์เนอร์มีกำหนดการณ์เข้าพบกับนายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และหวาง จีชาน รองนายกรัฐมนตรีจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐ

.

ในปีนี้ ตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐทำให้นักลงทุนต้องขาดทุนครั้งมโหฬาร จากการคาดการณ์เรื่องยอดขาดดุลที่จะสูงขึ้น และการที่นายกฯจีนได้ออกมาแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ของจีน

.

หยู ย่งชิง นักวิจัยอาวุโสของ Chinese Academy of Social Sciences และอดีตที่ปรึกษาของธนาคารกลางจีน กล่าวว่า เราหวังว่าการเดินทางเยือนจีนของรมว.คลังสหรัฐจะช่วยคลายความวิตกกังวลของจีน ประชาชนชาวจีนเป็นห่วงเรื่องความมั่นคงของสำรองเงินตราต่างประเทศ 

.

จีนได้ถือตราสารหนี้ 7.68 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเดือนมี.ค. สำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย. ยอดขาดดุลของสหรัฐคาดว่า จะสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ จากระดับปีที่แล้ว 4.55 แสนล้านดอลลาร์ 

.

ไกธ์เนอร์กล่าวว่า เรากำลังปรับลดยอดขาดดุลการเงินลงสู่ระดับที่ยั่งยืนในระยะกลาง ซึ่งหมายความว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เกิดภาวะไร้สมดุลระหว่างทรัพยากรการเงินและการใช้จ่ายงบประมาณของลงเหลือประมาณ 3% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่หนี้สินภาคประชาชนต่อ GDP อยู่ในช่วงขาลง ซึ่งจะเป็นการปรับลดตัวเลขจากการคาดการณ์ในปีนี้ที่ 12.9% 

.

รมว.คลังสหรัฐกล่าวต่อไปว่า สหรัฐคงจะต้องยกเลิกโครงการยกเลิกการจัดเก็บภาษีและโครงการช่วยเหลือรัฐบาลที่มีเป้าหมายในการฟื้นเศรษฐกิจ การลดการใช้จ่ายก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน รวมถึงการปฏิรูปด้านการดูแลรักษาสุขภาพ