เนื้อหาวันที่ : 2009-04-02 13:26:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2629 views

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบำรุงรักษา

แนวทางการประเมินประสิทธิภาพการบำรุงรักษานั้น มีด้วยกันหลายวิธีที่ได้นำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยการนำหลักการทางสถิติหรือทางเทคนิคต่างๆมาใช้งาน ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่จะพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหา หรือวัดประสิทธิภาพการบริหารงานของฝ่ายซ่อมบำรุงภายในโรงงานทั้งสิ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวล้วนต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบำรุงรักษา
(Maintenance Analysis)
วิทยากร   คุณไกรวิทย์ เศรษฐวนิช
ที่ปรึกษาโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำ
ครั้งที่ 1 วันที่ 18 พฤษภาคม 2552
ครั้งที่ 2 วันที่ 18 สิงหาคม 2552
เวลา 9.00 - 16.00 น.
สถานที่ : SE-ED Learning Center  ชั้น 2  จัตุรัสจามจุรี

 
หลักการและเหตุผล 

แนวทางการประเมินประสิทธิภาพการบำรุงรักษานั้น มีด้วยกันหลายวิธีที่ได้นำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยการนำหลักการทางสถิติหรือทางเทคนิคต่างๆมาใช้งาน ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่จะพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหา หรือวัดประสิทธิภาพการบริหารงานของฝ่ายซ่อมบำรุงภายในโรงงานทั้งสิ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวล้วนต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน กล่าวคือต้องการทราบความสามารถการบริหารงานของฝ่ายซ่อมบำรุง ซึ่งเราสามารถแบ่งการประเมินประสิทธิภาพเป็นสองส่วนดังนี้

 

• การวัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรเช่น การหาค่า OEE, MTBF, MTTR, Reliability, Availability, Maintainability เป็นต้น
• การประเมินระบบการบริหารงานเชิงธุรกิจเช่น ค่าใช้จ่าย แผนการดำเนินงานและความสามารถของบุคลากรของฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นต้น
ดังนั้นผู้บริหารจะต้องทราบสถานะการดำเนินงานของฝ่ายซ่อมบำรุงอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นเช่นไร เพื่อจะได้นำผลการดำเนินงานดังกล่าวไปพัฒนาหรือปรับปรุงข้อบกพร่องต่อไป มิฉะนั้นท่านอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการดำเนินธุรกิจ เหมือนกับบางโรงงานที่กำลังประสบอยู่อย่างแน่นอน

 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นำแนวความคิดการประเมินระบบการบำรุงรักษาไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน
2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรฝ่ายซ่อมบำรุงภายในองค์กร
 
เนื้อหาการอบรม
- แนวทางการคำนวณหาประสิทธิภาพของเครื่องจักร เช่น การค่า OEE, MTBF, MTTR และ Reliability, Availability, Maintainability
- หลักของการวิเคราะห์ปัญหาเครื่องจักรตามแนวทาง PM Analysis
- กรณีตัวอย่างโรงงานที่พัฒนาระบบ TPM ในประเทศญี่ปุ่น
- แนวทางการประเมินระบบการบริหารการบำรุงรักษา เช่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การวิเคราะห์เหตุขัดข้องของเครื่องจักร
- วิเคราะห์แผนการซ่อมบำรุง / ถาม-ตอบ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม
ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง วิศวกรวางแผนการซ่อมบำรุงและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ 0-2657-6003-4   สายพิเศษ 081-626-7226
www.se-ed.com
จัดโดย  บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงรุก