เนื้อหาวันที่ : 2006-10-04 10:46:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3922 views

บริหารจัดการชิ้นส่วนอะไหล่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การวางแผนและการควบคุมปริมาณชิ้นส่วนอะไหล่คงคลังอย่างเหมาะสม เป็นส่วนสำคัญของโปรแกรมบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีชิ้นส่วนอะไหล่ที่ถูกต้องเก็บไว้สำหรับ

การวางแผนและการควบคุมปริมาณชิ้นส่วนอะไหล่คงคลังอย่างเหมาะสม เป็นส่วนสำคัญของโปรแกรมบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่มีชิ้นส่วนอะไหล่ที่ถูกต้องเก็บไว้สำหรับการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมตามปกติระยะเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงาน (Downtime) จะขยายออกไป หากมีชิ้นส่วนมากเกินไป บริษัทจะต้องรับภาระต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น และค่าโสหุ้ยในการจัดเก็บรักษาสินค้าคงคลัง

.

.

มีกลยุทธ์ในการจัดการกับชิ้นส่วนอะไหล่ ซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกลยุทธ์ที่สามารถพิจารณาได้ถึงปัญหา และการฝึกปฏิบัติรูปแบบใหม่และนวัตกรรมที่มีการปรับปรุงใหม่ ๆหลายแบบ โซลูชั่น EAM หรือบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management-EAM) จะช่วยสนับสนุนการวางติดตั้งที่เหมาะสมและเป็นไปได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 .
กลยุทธ์ที่พิสูจน์แล้ว

การสืบค้นรายการ สำหรับผู้วางแผนการบำรุงรักษา ซึ่งไม่คุ้นเคยกับจำนวนรายการชิ้นส่วน อาจเป็นเรื่องลำบากในการระบุที่อยู่ของชิ้นส่วนที่เหมาะสมในระบบคอมพิวเตอร์ ชื่อและคุณสมบัติของชิ้นส่วนเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้การสืบค้นง่ายขึ้น ชื่อเรียก คือ ชื่อที่มีความหมาย ชื่อง่าย ๆของชิ้นส่วน ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มุณสมบัติจะช่วยเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น อย่างเช่น ไฮดรอลิการสืบค้นโดยใช้คำ 2 คำนี้ร่วมกันจะแสดงปั๊มไฮดรอลิกทั้งหมดในรายการชิ้นส่วนในสต็อคของแฟ้มต้นฉบับ

 .

หัวเรื่องที่แยกกันและรายละเอียดรายการสามารถสืบค้นให้แคบขึ้น ซึ่งจะพิจารณาได้ถึงรูปทรง โครงสร้าง ขนาด สูตร ความจุและอื่น ๆ ถ้าชิ้นส่วนนั้นสามารถใช้ชิ้นส่วนอื่นหรือชิ้นส่วนที่เทียบเท่ากันแทนได้ ความสัมพันธ์นี้ควรมีเก็บในบันทึกสต็อคสินค้าด้วย

 .

การวิเคราะห์ ABC และ XYZ  กฎ 80:20 ซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไปแสดงให้เห็นถึงโดยปริมาตรของโกดังประมาณ 80% มีความสัมพันธ์กับรายการสินค้าในคลังเพียง 20% ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับ 20% ที่สำคัญนั้น

 .

โดยทั่วไปแล้ว รหัส ABC และ XYZ ใช้จำแนกชิ้นส่วนเหล่านั้น รหัสถูกกำหนดจากมูลค่าหริอปริมาณการเคลื่อนไหวของสินค้าในสต็อค รหัสแต่ละตัวจะมีความสัมพันธ์กับ ขอบเขตบน ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูงที่สุด ที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อชิ้น สามารถกำหนดรหัส ABC เป็น A ได้ และชิ้นส่วนที่มีปริมาณการเคลื่อนไหวเร็วที่สุดสามารถกำหนดรหัส XYZ เป็น X ได้

 .

การเติมเต็มอัตโนมัติ  กระบวนการทางความคิด ซึ่งทำได้โดยอัตโนมัตินี้ มีความสัมพันธ์กับการสั่งซื้อชิ้นส่วนใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดขึ้นอย่างพิสูจน์ได้ โดยตามหน้าที่ของระบบแล้ว ปริมาณการสั่งซื้อที่แนะนำจะสร้างแบบฟอร์มให้สั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะแสดงถึงจุดสั่งซื้อ (Recorder Points-ROP) และปริมาณที่จะสั่งซื้อ (Recorder Quantities-ROQ) ที่มีในบันทึกสินค้าคงคลัง เมื่อระดับปริมาณสินค้าคงคลังสำหรับชิ้นส่วนหนึ่งต่ำกว่าจุดสั่งซื้อ การสั่งซื้อใหม่ที่แนะนำก็จะแสดงขึ้นให้ใส่ปริมาณที่จะสั่งซื้อ ซึ่งจะสร้างแบบฟอร์มการสั่งซื้อขึ้นมา การเติมเต็มอัตโนมัตินี้จะช่วยประหยัดเวลาและป้องกันการล่าช้า และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วยขบวนการจัดซื้อด้วยคน

 .

เมื่อค่าการสั่งซื้อใหม่ (ROQ) ที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอ สามารถนำการคำนวณปริมาณสั่งซื้อทางเศรษฐกิจ (economic order quantity-EOQ) มาใช้คำนวณปริมาณสั่งซื้อที่ถูกต้องของชิ้นส่วนอะไหล่ เพื่อทำการจัดซื้อเมื่อจำเป็นต้องเติมเต็ม EOQ สามารถนำมาพิจารณาได้ถึงการลดปริมาณลง ต้นทุนการวางใบสั่งซื้อ ต้นทุนในการจัดเก็บ และปัจจัยอื่น ๆได้

 .

ระดับบริการผู้จำหน่าย  การยึดหลักตามข้อมูลระดับบริการซัพพลายเออร์ภายในบันทึกสินค้าคงคลัง ช่วยแสดงให้เห็นถึงผู้จำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และคุ้มทุนมากที่สุดได้ ทำให้จำแนกซัพพลายเออร์ที่ดีได้ โดยดูจากประวัติช่วงเวลาระหว่างการวางแผนกับการเริ่มผลิต (Lead Time) การตั้งราคา คุณภาพ จำนวนการขนส่งที่น้อยหรือมากเกินไป ได้รับสินค้าในสภาพเสียหายบ่อยแค่ไหน ความถี่ของรายการสั่งซื้อล่วงหน้า และเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีความชอบในการเลือกผู้จำหน่ายเหล่านี้ให้ทำหน้าที่จัดหามากกว่า

 .

สถานที่นำไปใช้  เป็นการมองดูว่าชิ้นส่วนนำไปใช้ที่ใด ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนลูกปืนแบริ่งที่นำไปติดตั้งที่ทรัพย์สินส่วนใด ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งพื้นโรงงานและโกดัง จากภาพนี้ทำให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าเข้าใจว่าจะนำชิ้นส่วนไปใช้อย่างครอบคลุมตลอดการดำเนินการได้อย่างไร และช่วยนักวางแผนฝ่ายซ่อมบำรุงในการพิจารณาถึงจำนวนรายการและปริมาณชิ้นส่วนที่ติดตั้งบนทรัพย์สินหนึ่ง

 .

ประสิทธิภาพของการมีโกดังหลายแห่ง  เมื่อมองไปข้างหน้า จะเห็นว่าประสิทธิภาพโกดังหลายแห่ง ทำให้บริษัทมีมุมมองกว้างขึ้นต่อปริมาณชิ้นส่วนอะไหล่คงคลังที่เก็บไว้มากกว่า 1 โกดัง หรือ ในสถานที่ที่ห่างออกไป ในสภาพแวดล้อมที่มีโรงงานหลายแห่ง หรือ มีฝ่ายซ่อมบำรุงกระจายอยู่ทั่วไป ความสามารถในการมองเห็นสินค้าคงคลังที่เก็บในโกดังต่าง ๆ จะทำให้สามารถควบคุมการมีชิ้นส่วน และข้อตกลงระดับบริการระหว่างบริษัทจะรวมเป็นหนึ่งเดียว หรือ ใช้เกณฑ์เฉพาะบริษัทก็ได้

 .
วิธีที่ขัดแย้งกัน

วิธีการเติมชิ้นส่วนให้ทันเวลา (Just-in-time JIT) เป็นที่นิยม แต่บางทีก็มีแนวคิดสวนทางกัน โดยให้มีปริมาณสินค้าคงคลังน้อยที่สุดในโกดัง และเติมให้เต็มเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องใช้งานให้ทันเวลา ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดเก็บชิ้นส่วนได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็มีความเสี่ยงมาก สูตรในการเติมชิ้นส่วนที่ดีที่สุดไม่สามารถคาดการณ์ถึงการหยุดชะงักกะทันหัน ผู้จำหน่ายที่ออกจากธุรกิจ บริษัทขนส่งที่มีการประท้วงหยุดงาน หรือ การขาดแคลนวัตถุดิบอย่างกะทันหันได้ การประหยัดระดับชิ้นส่วนในสต็อคมากเกินไป จะเป็นผลให้ไม่สามารถซ่อมแซมเครื่องมือได้ทันเวลา หรือ ทำให้สายการผลิตไม่สามารถทำงานต่อไปได้

 .

ในด้านการบริหารจัดการทรัพย์สิน จะนำความสำคัญของชิ้นส่วนมาพิจารณาว่า จะนำมาใช้วิธี JIT หรือไม่ รหัสสำคัญในบันทึกชิ้นส่วนสินค้าคงคลัง EAM สามารถนำมาใช้แยกแยะรายการเหล่านี้ได้

 .

การผลิตแบบประหยัด หรือการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) คือ แนวคิดที่เหมือนกับทัศนวิสัยส่วนใหญ่ การผลิตแบบประหยัดหมายถึง การผลิตให้มากขึ้น ด้วยเวลาที่ใช้ออกสู่ตลาดน้อยลง และขจัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการซ่อมบำรุงและโกดังสินค้า โดยสร้างแรงกดดันให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ การวางแผนที่ดีขึ้น และลดต้นทุนและดำเนินการด้วยปริมาณชิ้นส่วนคงคลังที่น้อยลงมาก

 .

โปรแกรมการผลิตแบบประหยัดที่ครอบคลุมนี้คุ้มค่าต่อการนำไปใช้ แต่หลายขั้นตอนสามารถเอาไปหนุนระดับปริมาณชิ้นส่วนคงคลังที่ขาดแคลนได้ เครื่องมือวิเคราะห์ชิ้นส่วนคงคลัง EAM การจัดการแคตาลอก และการเติมชิ้นส่วนอัตโนมัติสามารถนำไปใช้ลดปริมาณชิ้นส่วนคงคลังที่มีอยู่ สามารถติดตามได้ว่าแต่ละรายการนำไปใช้ที่ไหน อย่างไร และสถานที่เก็บสินค้า เพื่อที่ว่าการรักษาสินค้าคงคลังจะพอดีกับความต้องการ

 .
วิธีการใหม่ 

การจัดซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจัดหารายการชิ้นส่วนที่ใช้ทางอ้อมและชิ้นส่วนหายาก ราคาไม่แพง  หรือชิ้นส่วนที่สังเกตได้ในระยะสั้น และชิ้นส่วนทดแทนได้ ผู้ผลิตอุปกรณ์แบบดั้งเดิม (Original Equipment Manufacturer-OEM) ตัวแทนซื้อขาย ผู้แทนจำหน่าย ผู้ผลิต และร้านเครื่องจักรกลเกือบทั้งหมดจะมีศักยภาพในการรับการสั่งซื้อทางเว็บไซต์อยู่แล้ว

 .

ปัจจุบันนี้บริษัทส่วนใหญ่จัดซื้อวัสดุที่ใช้ทางอ้อมผ่านระบบออนไลน์ บริษัทประมาณครึ่งหนึ่งจะจัดซื้อวัสดุที่ใช้ทางตรงผ่านระบบออนไลน์ และประมาณ 1 ใ3 ใช้วิธีแลกเปลี่ยนในวงการอุตสาหกรรม และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น ใช้บริการแพนเทลลอส(www.pantellos.com) และ เอนโพเรียน (www.enporion.com)  สำหรับยูทิลิตี้ต่าง ๆ  และเคมคอนเน็ค(www.chemconnect.com)  สำหรับเคมีภัณฑ์และพลาสติก

 .

การแก้ปัญหาด้วยการจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับระบบ EAM ของบริษัทช่วยตรวจสอบว่า รายการสิ่งของอยู่ในโกดังเรียบร้อยแล้วหรือไม่ ช่วยตรวจรับใบสั่งซื้อโดยอัตโนมัติ และช่วยเตือนข้อยกเว้นให้กับผู้ซื้อ ด้วยการต่อรองราคาที่ดีกว่าและเงื่อนไขของแหล่งอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายกับสินค้าทางตรงไว้ 10-15% และประหยัดค่าสินค้าทางอ้อมและบริการได้ 20-25% ขณะเดียวกันกับตัดจำนวนครั้งของวงจรออก

 .

อุปกรณ์ไร้สาย (Mobile Computing)กลายเป็นส่วนที่มีความชำนาญมากขึ้นและเป็นที่นิยมมากขึ้นในโกดังสินค้า เจ้าหน้าที่โกดังสามารถทำการตรวจนับวงจร โดยไม่ต้องทำให้การดำเนินการหยุดชะงัก โดยจำแนกชิ้นส่วนอัตโนมัติด้วยบาร์โค้ด เทคโนโลยีไร้สายสามารถจับสินค้าคงคลังผ่านบาร์โค้ดได้ และถ่ายทอดข้อมูลในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงไปยังเครือข่ายบริษัท การที่วัสดุสำคัญที่มีอยู่ง่ายต่อการตรวจสอบมากขึ้น ส่งผลให้การบริหารจัดการทรัพย์สินทันเวลามากขึ้น

 .

ด้วยระบบไร้สาย ข้อมูลในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงจะไหลผ่านขบวนการหลักในโกดัง ซึ่งประกอบด้วยการรับ การเอาไปเก็บ การคัดเลือก การปล่อยหรือการกลับคืน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวในถังข้อมูลลบทิ้ง สำหรับบริษัทที่มีการนำการบริหารจัดการทรัพย์สินไปใช้ ข้อผิดพลาดจะลดลง ระยะเวลาคัดเลือกลดลง 1 ใ3 การเลือกตามกำหนดเวลาพัฒนาขึ้นจาก 64 เป็น 98.89% และต้นทุนโดยรวมลดลง 20%

 .

ดัชนีชี้บ่งความสำเร็จ  (Key Performance Indicators-KPI) เป็นเครื่องมือช่วยเสริมการตัดสินใจที่เป็นที่นิยมอย่างเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหา EAM สามารถคำนวณ KPI ในรอบของสินค้าคงคลังได้ โดยแบ่งงบประมาณสินค้าคงคลังด้วยระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ย เมื่อพื้นที่มีปัญหาลดลง ก็จะมีการแจ้งล่วงหน้าส่งไปที่ผู้จัดการโรงงานและผู้จัดการโกดังโดยอัตโนมัติให้เร่งขยายการดำเนินการ KPI ของห่วงโซ่อุปทานอื่นสามารถรวมถึงพฤติกรรมของผู้จำหน่าย ความล้าสมัย รายการที่มีอยู่แต่ไม่ได้ใช้ การตั้งราคาของซัพพลายเออร์ และอื่น ๆ

 .

การจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Relationship Management-SRM) เป็นแนวความคิดแบบใหม่ในการพัฒนาและจัดการความสัมพันธ์ระยะยาวกับซัพพลายเออร์ ของเครื่องมือพิเศษและชิ้นส่วนทดแทนในวงการอุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องทรัพย์สิน ซัพพลายเออร์บางรายมักจะชอบลักษณะที่ดูเหมือนเกือบจะผูกขาด เนื่องจากลักษณะพิเศษเฉพาะของชิ้นส่วนแทนที่ที่เขามี

.

ความสัมพันธ์เหล่านี้ช่วยเสริมให้เกิดการจัดหาทางอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติสำหรับชิ้นส่วนที่ต้องการ การเก็บชิ้นส่วนจากนอกสายงาน หรือ เก็บจากในสายงานจากผู้จำหน่ายที่เป็นเจ้าของโดยตรง SRM ต้องการสร้างให้เห็นถึงทัศนวิสัย 2 ทางของความต้องการชิ้นส่วนและการหามาได้ ซึ่งได้นำไปสร้างการเข้าถึงการแก้ปัญหา EAM ก้าวหน้า

.
การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้จำหน่าย (Vendor-Managed Inventory-VMI) การที่ซัพพลายเออร์เป็นเจ้าของสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ จนมีความต้องการเกิดขึ้น เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการลดสินค้าคงคลังและต้นทุนการจัดการ ในขณะเดียวกันก็มีอุปสงค์สำหรับชิ้นส่วนและเครื่องมือ ศักยภาพที่ประสานกันภายในการแก้ปัญหา EAM ก้าวหน้า ช่วยสนับสนุนให้สามารถมองเห็นได้ 2 ทาง และมีการดำเนินการตามความต้องการโดยกลยุทธ์นี้
.

การบริหารจัดการสินค้านอกแหล่งที่มาและการบำรุงรักษา  ตามแนวโน้มการใช้ประโยชน์ผู้ร่วมมือ เพื่อดำเนินธุรกิจที่ไม่ใช่ตัวหลัก บริษัทที่เน้นเรื่องทรัพย์สินจำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมและมีพื้นฐานความรู้ที่ลึกซึ้ง เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ สามารถอยู่เหนือกว่ากำลังการผลิตได้ ปัจจุบันนี้การค้าที่ประสานงานกัน (Collaborative Commerce- c-commerce) และศักยภาพการประสานกันทางอินเทอร์เน็ตภายในบริษัทต่าง ๆช่วยสนับสนุนการควบคุมดูแลทรัพย์สินและบริการซ่อมบำรุงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การแก้ปัญหาโดยใช้ EAM ก้าวหน้า สามารถช่วยเสริมแบบโครงสร้างธุรกิจ โดยการจัดหาความสามารถที่จะใช้ข้อมูล ณ เวลาที่เกิดขึ้นจริงที่จำเป็นร่วมกัน ภายในและภายนอกบริษัท

.

การจัดการอะไหล่ที่มีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาทรัพย์สินอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การผสมผสานกันกลยุทธ์สินค้าคงคลังและโกดังสินค้าที่พิสูจน์แล้ว เข้ากับวิธีการใหม่ ๆและวิธีที่ขัดแย้งอย่างลงตัว ยิ่งส่งผลให้บริษัทได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาล

 .
ศัพท์น่ารู้

EOQ (Economic Order Quantity)-ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด ต้นทุนต่ำที่สุด Carrying Cost-ต้นทุนในการจัดเก็บ

KPI (Key Performance Indicators)-ดัชนีชี้บ่งความสำเร็จ วัดความสำเร็จในการทำ Supply Chain

EAM (Enterprise Asset Management)-ระบบ EAM เป็นระบบที่เชื่อมโยง หรือ รวมกระบวนการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน

SRM (Supplier Relationship Management)-การจัดการความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งวัตถุดิบ

VMI (Vendor-managed Inventory)-การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย