เนื้อหาวันที่ : 2009-03-20 15:18:28 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1697 views

ฟอร์ติเน็ต ชูเทคโนโลยีทรงพลัง สอดคล้องกับเศรษฐกิจยุครัดเข็มขัด

ฟอร์ติเน็ต เสริมประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย ประกาศเปิดตัวระบบปฏิบัตการ ฟอร์ติโอเอส 4.0 เพิ่มความคุ้มค่าและประโยชน์ใช้สอยให้กับอุปกรณ์ระบบการบบริหารจัดการรักษาความปลอดภัยแบบเบ็ดเสร็จ

.

ฟอร์ติเน็ต (Fortinet®) ผู้บุกเบิกและผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นระบบการบริหารจัดการรักษาความปลอดภัยแบบเบ็ดเสร็จหรือ ยูทีเอ็ม (UTM - Unified Threat Management) ประกาศเปิดตัวระบบปฏิบัติการ FortiOS™ 4.0 (ฟอร์ติโอเอส 4.0) ซึ่งถือเป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ไปอีกขั้นของเฟิร์มแวร์ที่ผนวกรวมคุณสมบัติและความสามารถใหม่ๆ นับร้อยเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าและประโยชน์ใช้สอยให้กับอุปกรณ์ระบบการบริหารจัดการรักษาความปลอดภัยแบบเบ็ดเสร็จ อย่างฟอร์ติเกท (FortiGate®)

.

4 คุณสมบัติโดดเด่นที่สุดของระบบปฏิบัติการ OS ใหม่ของฟอร์ติเน็ต ประกอบด้วย Application Control, Data Leakage Protection (DLP), WAN Optimization และ SSL Traffic Inspection    ทั้งนี้ การผสานคุณสมบัติเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเสริมเกราะป้องกันภัยให้กับเครือข่ายได้โดยการขจัดข้อมูลไม่พึงประสงค์ที่แฝงมากับการใช้งานระบบเครือข่ายที่ส่งผลให้การใช้งานแบนด์วิดธ์ที่มีอยู่เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันยังช่วยเร่งความเร็วให้แก่ข้อมูลที่ปราศจากการแฝงมาของภัยคุกคาม เพื่อให้การทำงานของเครือข่ายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

.

ด้วยระบบปฏิบัติการ FortiOS 4.0 ฟอร์ติเน็ตได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับระบบรักษาความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร โดยการนำเสนอเทคโนโลยีที่รวมคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่จำเป็นทั้งหมดและการบริการดูแลระบบเครือข่ายอันทรงพลังไว้ใน UTM แพลตฟอร์มที่ครบครับในหนึ่งเดียว

.

คุณสมบัติอันโดดเด่นทั้ง 4 อย่างของระบบปฏิบัติการ FortiOS 4.0 จะเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมเกราะป้องกันภัย ช่วยให้การใช้งานระบบได้อย่างคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้แก่องค์กรทุกขนาด  ทั้งนี้ ประโยชน์หลักๆ ที่จะได้รับจากระบบ ปฏิบัติการใหม่นี้ คือ

.

สัมผัสถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยใหม่ๆ ซึ่งแต่ก่อนจะสามารถหาได้จากอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบแยกประเภท (Standalone) เท่านั้น

.

เพิ่มระดับขีดความสามารถด้านการระบบรักษาความปลอดภัยผ่านเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่ผสานกันเป็นหนึ่งเดียวและทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างราบรื่น

.

เพิ่มศักยภาพความปลอดภัยและการควบคุมการใช้งานระบบเครือข่ายของผู้ใช้งานภายในองค์กร ที่ซึ่งติดต่อสื่อสารกันผ่าน Web-based Application ต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากความนิยมในการใช้แนวคิด Software-as-a-Service การให้บริการ Software ผ่าน Internet (SaaS) และ Cloud Computing (ระบบประมวลผลร่วม ที่ผู้ใช้งานสนใจแต่ผลลัพท์เท่านั้น) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

.

ลดจำนวนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตั้งและใช้งานเกี่ยวกับความปลอดภัยและการบริการดูแลบนระบบเครือข่าย ซึ่งนำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนของการปล่อยคาร์บอนและซากของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่วยให้บริหารจัดการระบบได้ง่ายขึ้นและช่วยประหยัดในส่วนของค่าใช้จ่ายในการลงทุนในทรัพย์สินถาวรและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน (CAPEX/OPEX) ได้อีกด้วย

.

"การเปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ FortiGate นับเป็นความได้เปรียบของเรา เพราะเรานำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มค่าเพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรต่างๆ ที่กำลังมองหา ทางเลือกที่ให้ความคุ้มค่าสูงสุดกับเม็ดเงินที่ลงทุนไปโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย" มร. เคน เซีย ผู้ก่อตั้ง ซีอีโอ และประธานของฟอร์ติเน็ตกล่าว

.

"การบรรจบกันของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก่อให้ เกิดความต้องการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยที่ทรงพลัง แต่ขณะเดียวกันก็ช่วยประหยัดด้วย โดยเฉพาะ    ในภาวะที่ลูกค้าถูกกดดันให้เพิ่มผลผลิตงานด้วยการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ระบบปฏิบัติการ FortiOS 4.0 เป็นตัวอย่างความสำเร็จอีกขั้นของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นผลจากความเชี่ยวชาญของฟอร์ติเน็ตและเรายินดีที่ได้นำเสนอความล้ำหน้าดังกล่าวให้แก่ลูกค้าในช่วงเวลาที่พวกเขาต้องการอย่างเร่งด่วนที่สุด"

.

FortiOS 4.0:  ความปลอดภัย ความรวดเร็ว และประสิทธิภาพที่เหนือกว่า

ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ระบบปฏิบัติการ FortiOS 4.0 นำมาช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและระบบเครือข่าย ของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในตระกูล FortiGate มีรายละเอียด ดังนี้

.

ควบคุมการใช้งานแอพพลิเคชั่น (Application Control) – ทำการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากแอพพลิเคชั่นประเภทต่างๆ โดยที่การตรวจสอบได้ถูกพัฒนาจากการเฝ้าระวังในส่วนของพอร์ตและโปรโตคอล มาเป็นการเฝ้าระวังที่ตัวแอพลิเคชั่นโดยตรง ทั้งยังสามารถบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัยสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ กว่า 1,000 แอพพลิเคชั่น

.

รวมถึงการเข้าตรวจสอบแอพพลิเคชั่นบางตัวที่มีความสามารถในการหลีกเลี่ยงการใช้งานพอร์ตมาตรฐานหรือ ลักลอบเปิดช่องทางเฉพาะ (Tunneling) ส่งข้อมูลแปลกแยกไปจากปกติมาภายในช่องทางที่ถูกมองว่าเป็นช่องทางมาตรฐานเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบได้อีกด้วย 

.

ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (Data Leakage Prevention) – ช่วยในการระบุถึงและป้องกันการส่งผ่านข้อมูลสำคัญ หรือข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทออกไปสู่ภายนอกองค์กร โดยสามารถทำงานได้กับทุกแอพพลิเคชั่น แม้แต่ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสด้วย SSL ก็จะถูกนำมาตรวจสอบได้ด้วยเช่นกัน, สามารถตั้งค่าในการเก็บข้อมูลสำหรับการตรวจสอบย้อนหลังโดยละเอียด เพื่อช่วยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ, สามารถช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรที่หากมีการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงขององค์กรได้  

.

WAN Optimization – เร่งความเร็วการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนระบบเครือข่าย WAN   พร้อมทั้งควบคุมให้การรักษาความปลอดภัยแบบหลายระดับชั้นแก่ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านทั้งหมด, ส่งผลให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่าย, ลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่าน WAN, ลดปริมาณความต้องการใช้แบนด์วิดธ์และทรัพยากรจากเซิร์ฟเวอร์, ช่วยเพิ่มผลผลิตงานแก่ผู้ใช้งาน และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้งานและดูแลรักษาระบบเครือข่ายอีกด้วย (เฉพาะผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม FortiGate รุ่นที่มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในตัว)  

.
SSL Inspection การตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสด้วย SSL (Secure Socket Layer เช่น  https และอื่นๆ)

เพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัยและการควบคุมนโยบายบนข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส, โดยสามารถที่จะทำการตรวจวิเคราะห์หาข้อมูลซึ่งปกติจะถูกซ่อนไว้ภายในการเข้ารหัส, ช่วยเสริมประสิทธิภาพการป้องกันภัยสำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์และแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเข้า รหัสการส่งข้อมูล, และยังช่วยให้สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวของทราฟฟิกในเครือข่ายได้ละเอียดและทั่วถึงมากขึ้น 

.

เกร็ก ยัง และ จอห์น เพสคาโตร์ ระบุไว้ในรายงาน Magic Quadrant for Enterprise Firewalls, November 2008 ของการ์ทเนอร์ว่า "กระบวนการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและภัยคุกคามต่างๆ ที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดความต้องการใหม่ๆ ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย

.

แบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้นบวกกับการสื่อสารระหว่างแอพพลิเคชั่นในรูปแบบใหม่ (เช่น Web 2.0) กำลังเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการใช้โปรโทคอลทั้งหลายและการนำเสนอข้อมูล การให้บริการ Software ผ่าน Internet (SaaS) เป็นเครื่องมือที่ทำให้ข้อมูลสำคัญถูกส่งออกไปเก็บสำรองไว้ในที่ต่างๆภายนอกองค์กร และยังรวมทั้งการที่ธุรกิจต่างๆ พึ่งพาระบบไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรง ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทิศทางของการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย"