เนื้อหาวันที่ : 2009-03-12 09:03:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1628 views

แผนการปฏิวัติพลังงานในห้วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจ

ในห้วงเวลาของวิกฤตเศรษฐกิจนี้ ความจำเป็นในการสนับสนุนแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซยิ่งมีแรงส่งเพิ่มมากขึ้น แผนการปฏิวัติพลังงานแสดงให้เห็นว่า เราจะจัดการกับวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร โดยการลงทุนในระบบพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลให้กับสภาพเศรษฐกิจ

ในห้วงเวลาของวิกฤตเศรษฐกิจนี้ ความจำเป็นในการสนับสนุนแผนการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซยิ่งมีแรงส่งเพิ่มมากขึ้น แผนการปฏิวัติพลังงานแสดงให้เห็นว่า เราจะจัดการกับวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร โดยการลงทุนในระบบพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลให้กับสภาพเศรษฐกิจ

 

นี่เป็นแผนการปฏิวัติพลังงานโลกฉบับที่สอง นับจากที่มีการจัดพิมพ์รายงานฉบับแรกในเดือนมากราคมปี 2550 หลายต่อหลายประเทศมองเห็นผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ได้จากระบบพลังงานหมุนเวียน

 

รายงานฉบับนี้ได้คำนวณการประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงโดยรวมสำหรับภาคพลังงาน ซึ่งจะเพิ่มไปถึง 18.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 หรืออยู่ในราว 7.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น การประยหัดต้นทุนโดยการลดความต้องการพลังงานซึ่งใช้มาตรการประสิทธิภาพพลังงานในภาคการขนส่งและภาคการผลิตความร้อนคิดเป็นเงินนับล้านล้านเหรียญสหรัฐ นอกเหนือจากการประหยัดที่ได้กล่าวมาข้างต้นในภาคการผลิตไฟฟ้า

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

ในขณะนี้ ทั้งรัฐบาลและประชาชนทั่วโลกกำลังประสบปัญหาจากราคาพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งผันผวนขึ้นลงไปตามกลไกของตลาดโลก ตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก (Brent crude oil) เท่ากับ 55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในช่วงที่มีการนำเสนอรายงานแผนการปฏิวัติพลังงานฉบับแรก จนถึงกลางปี 2550 ราคาของมันได้เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

 

 และจากนั้นลดลงไปอยู่ที่ประมาณ 70 เหรียญสหรัฐ ราคาเชื้อเพลิงอื่นๆ ยิ่งคาดการณ์ได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนถ่านหิน ก๊าซและยูเรเนียมก็มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน นี่ไม่เพียงพอแต่ส่งกระทบต่อต้นทุนในภาคอุตสาหกรรมและการขนส่ง แต่รวมถึงค่าไฟฟ้าตามบ้านเรือนอีกด้วย

 

โดยการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เป็นปัจจัยอีกต่อไป ในทางตรงข้าม (ยกเว้นกรณีของชีวมวล) แหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ทั้งหมดไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ทันทีที่มีการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนสามารถจัดส่งพลังงานอย่างเป็นอิสระ จากตลาดพลังงานโลกและในราคาที่คงที่

 

ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในปัจจุบันจนถึงปี 2573 ภายใต้แผนพลังงานที่เป็นไปตามปกติขององค์การพลังงานระหว่างประเทศนั้นอาจสูงมากถึง 15.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการลงทุนด้านพลังานหมุนเวียนและการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมภายใต้แผนการปฏิวัติพลังงานได้ทั้งหมด

 
โอกาส

รัฐบาลของประเทศในกลุ่มองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้มาถึงทางสองแพร่ง เมื่อพิจารณาถึงการสร้างความมั่นคงของระบบการจัดหาพลังงานในอนาคต โดยที่โรงไฟฟ้านับร้อยแห่งในกลุ่มประเทศดังกล่าวจะต้องแทนที่ด้วยโรงไฟฟ้าใหม่ ระดับของการลงทุนทั่วโลก โดยรวมที่ต้องใช้กับโครงการโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ไปจนถึงปี 2573 นั้นมีมูลค่า 11-14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยเร่งที่สำคัญของการลงทุนในการผลิตพลังงานใหม่จะมาจากการปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุ

 

หน่วยงานด้านพลังงานจะต้องเลือกเทคโนโลยีของตนภายในอีก 5 ถึง 10 ข้างหน้า บนพื้นฐานของนโยบายพลังงานของประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้การเปิดเสรีทางการตลาดพลังงานหมุนเวียนและเป้าหมายของการลดการปล่อยคาร์บอน ในห้วงเวลาที่รัฐบาลกำลังมองหาโอกาสของการลงทุนที่มั่นคง การให้เงินกู้กับโครงการพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและแสงอิทตย์นั้นเป็นหนึ่งในหลายๆ ทางเลือกที่ฉลาดที่สุด

 

การลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนยังเปิดให้มีโอกาสการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์มีการใช้แรงงานที่เข้มข้นมากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์และด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดการจ้างงานที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี มีการจ้างมากกว่า 235,000 คน ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์มีการจ้างงานมากกว่าอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั้งหมดในเยอรมนี อุตสาหกรรมพลังงานลมในเยอรมนีจ้างงานมากกว่า 85,000 คนคิดเป็นสองเท่าของจำนวนคนงานเหมืองแร่ในประเทศ

 

สภาพพลังงานหมุนเวียนโลกประมาณว่าจะมีการจ้างงาน 2.1 ล้านตำแหน่งภายในปี 2573 ในอุตสาหกรรมพลังงานลม และสมาคมอุตสาหกรรมเซลสุริยะแห่งยุโรปก็ประมาณว่าภายในปี 2563 จะมีคนราว 2 ล้านคนทำงานในอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลก ดังนั้น แผนการปฏิวัติพลังงานจึงเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของโลกในห้วงเวลานี้

 

การลงทุนที่ใช้ในการผลิตพลังงานภายใต้แผนการปฏิวัติพลงงานอยู่ในราว 14.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่แผนการพลังงานที่ดำเนินไปตามปกติขององค์การพลังงานระหว่างประเทศจะอยู่ในราว 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น จะมีเงินลงทุนเพิ่มอีก 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐที่จะนำไปใช้ในอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม จะเห็นว่า การลงทุนต่อปีโดยเฉลี่ยที่ต้องการในแผนการปฏิวัติพลังงานคิดเป็น 1.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงลงร้อยละ 25 และประหนัดเงินต่อปีอยู่ในราว 7.50 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

 

ผลรวมของตัวเลขดังกล่าว ไม่อาจเปรียบเทียบได้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น การล้มละลายในภาคการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆ นี้ งบประมาณ 2.5 ล้านล้านยูโร ถูกอัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเงิน หรือสงครามในอิรักซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญยูโร เห็นได้อย่างชัดเจนจากวิกฤติทางการเงินที่ผ่านมาว่า เจตจำนงทางการเมืองอยู่ที่ไหน เงินก็ไปที่นั่น

 

การลงทุนต่อปีเฉลี่ยในภาคพลังงานในแผนการปฏิวัติพลังงานระหว่างปี 2548 และ 2573 อยู่ในราว 5.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวเท่ากับจำนวนงบประมาณที่ใช้อุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วทั้งโลกในเวลา 2 ปี ดังนั้น เราต้องยกเลิกเงินอุดหนุนที่ให้กับเชื้อเพลิงฟอสซิลและนำมาลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและมาตรการประสิทธิภาพทางพลังงาน

 

การลงทุนและการตัดสินใจด้านเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลก การลงทุนส่วนหใญ่ในภาคการผลิตพลังงานใหม่ๆ จะเกิดขึ้นในจีน ตามด้วยอเมริกาเหมือนและยุโรป ส่วนเอเชียใต้รวมถึงอินเดีย และในเอเชียตะวันออกซึ่งมีประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น นั้นก็เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญในลำดับต้นของการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน

 
อะไรคืออุปสรรคที่ต้องข้ามพ้น

ในยุโรป โครงการซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EU Emission Trading Scheme) อาจมีผลกระทบมาก ในแง่ที่ว่าเงินลงทุนส่วนใหญ่นั้นจะไปที่ไหน โครงการไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานหมุนเวียนและการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม ระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกที่ออกแบบเป็นอย่างดีในสหรัฐอเมริกานั้น ก็จะมีผลกระทบในลักษณะเดียวกันต่อพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานในสหรัฐอเมริกา

 

ในประเทศกำลังพัฒนาสถาบันการเงินระหว่างประเทศจะมีบทบาทหลักต่อทางเลือกของเทคโนโลยีในอนาคตและอาจเป็นผลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเจรจาพิธีสารเกียวโต ซึ่งผลักดันให้มีการเร่งพัฒนาพลังงานและหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานโดยความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากประเทศพัฒนาแล้วเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา

 

อนาคตของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนมักจะขึ้นอยู่กับทางเลือกทางการเมืองทั้งของรัฐบาลแต่ละประเทศและประชาคมโลก ในขณะเดียวกัน กรีนพีซเชื่อว่ามาตรฐานทางเทคนิคที่เข้มงวดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรับประกันว่าเครื่องทำความเย็น ระบบทำความร้อน คอมพิวเตอร์และยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่านั้นจะนำออกขายสู่ท้องตลาด ผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะไม่ต้องจ่ายไฟเพิ่มขึ้นและไม่ทำลายสภาพภูมิอากาศของโลก

 
พลังงานหมุนเวียนทำได้

โชคไม่ดีที่คนจำนวนมากยังคงเชื่อว่าเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนนั้นสามารถทำได้ในสิ่งที่เราต้องการ ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่าของความก้าวหน้าทางเทคนิค เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น กังหันลม แผงเซลสุริยะ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าความร้อนสุริยะและอื่นๆ ได้ก้าวขึ้นไปสู่กระแสหลัก

 

ตลาดพลังงานหมุนเวียนของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างตื่นตาตื่นใจ ในปี 2550 ผลตอบแทนนั้นมีมูลค่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่าของปีก่อนหน้านี้ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมีความหลากหลายอย่างมากทั้งในเรื่องของความอ่มตัวทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ แต่มีแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากมายที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นซึ่งรวมถึง พลังงานลม ชีวมวล แผงเซลสุริยะ ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ มหาสมุทรและพลังงานน้ำ (ขนาดเล็ก) ลักษณะที่มีร่วมกันของพลังานเหล่านี้คือไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือปล่อยออกมาน้อย และขึ้นอยู่กับแหล่งธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด

 

เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนบางชนิดนั้นมีความสามารถในการแข่งขันแล้วและมีความคุ้นทุนเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการพัฒนาในเชิงเทคนิคและเป็นสินค้าที่ใช้กันแพร่หลายขณะเดียวกัน การที่ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเพิ่มขึ้น เมื่อการปล่อยคาร์บอนถูกทำให้เป็นมูลค่าทางการเงิน พลังงานหมุนเวียนก็จะยิ่งแข่งขันได้เพิ่มมากขึ้น

 .
ถึงเวลาของการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม หากโลกจำเป็นต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียนนั้นค่อนข้างสั้นโดยเปรียบเทียบ และหากเรายังคงดำเนินแผนการพลังงานที่เป็นไปตามปกติเหมือนที่เป็นมา การตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้าก๊าซในวันนี้จะนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลเราจะยิ่งตกอยู่ในกับดักพลังงานสกปรกอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิล และแบกภาระต้นทุนในอนาคตของมันเพิ่มขึ้นอีกในช่วง 40 ปีข้างหน้า

.

อุตสาหกรรมพลังงานและหน่วยงานด้านพลังงานจำเป็นมีภาระความรับผิดชอบมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากการตัดสินใจด้านการลงทุนในปัจจุบันจะกำหนดแนวทางการจัดหาพลังงานของคนรุ่นต่อไป เราเชื่อมั่นอย่างสูงว่า การจัดกาพลังงานของคนรุ่นต่อไป จะต้องเป็น "ยุคพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด (Solar Generation)" นักการเมืองจากประเทศอุตสาหกรรมจำเป็นต้องคิดใหม่ทันทีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์พลังงานของตน

 .

ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา จะต้องเรียนรู้ความผิดพลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วและลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียนแทนที่จะเป็นถ่านหินและนิวเคลียร์ และมุ่งสร้างเศรษฐกิจบนรากฐานอันแขงแกร่งของการจัดหาพลังงานที่มีความยั่งยืน

.

พลังงานหมุนเวียนขยายสัดส่วนเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 2 เท่า ของการจัดหาพลังงานของโลกไปจนถึงร้อยละ 30 ภายในปี 2573 ทั้งหมดทั้งมวลนี้ สิ่งที่ยังขาดอยู่คือเจตจำนงทางการเมืองในการสนับสนุนการจัดวางระบบพลังงานหมุนเวียนในทุกภาคส่วนในระดับโลกพร้อมๆ กับมาตรฐานด้านประสิทธิภาพทางพลังงานที่มีศักยภาพมหาศาล ภายในปี 2573 ราวครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าของโลกสามารถได้มาจากพลังงานหมุนเวียน

.

ในห้วงเวลาแห่งความไร้เสถียรภาพทางเศราฐกิจ การลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนคือฉากเหตุการณ์ที่อย่างน้อยที่สุดมี 3 ฝ่ายได้ประโยชน์ นั่นคือ ประฌยชน์ต่อความมั่นคงทางพลังงานประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และประโยชน์ต่อสภาพภูมิอากาศโลก

.
เขียนโดย สเวน เทสเก ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานหมุนเวียน กรีนพีซสากล