เนื้อหาวันที่ : 2009-03-11 09:15:28 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 10112 views

การพัฒนาคนให้ก้าวทันสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้

ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค "คลื่นลูกที่สาม" หรือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ "สังคมฐานความรู้" (knowledge based society) หรือ "สังคมเศรษฐกิจกิจฐานความรู้" (knowledge based economy society) ซึ่งอำนาจจะอยู่ที่ข้อมูลข่าวสาร

.

ปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค "คลื่นลูกที่สาม" หรือ "เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ "สังคมฐานความรู้" (knowledge based society) หรือ "สังคมเศรษฐกิจกิจฐานความรู้" (knowledge based economy society) ซึ่งอำนาจจะอยู่ที่ข้อมูลข่าวสาร โดยยุค "คลื่นลูกที่หนึ่ง" คือ การปฏิวัติเกษตรกรรม อำนาจจะอยู่ที่กำลังของผู้ปกครอง การผลิตเป็นการผลิตแบบดั้งเดิม ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ยังไม่มีการใช้เครื่องจักรมากนัก สำหรับยุค "คลื่นลูกที่สอง"

.

คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม อำนาจจะอยู่ที่กลุ่มผลประโยชน์และนักการเมือง ส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่เพื่ออุตสาหกรรม การค้า และการส่งออก ซึ่งทำลายวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม การผลิตจะใช้ทุนเข้มข้นทั้งเงินทุนและเครื่องจักรที่ทันสมัย ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย  

.

ภาคอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ส่งผลให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดด แต่ได้นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหามลพิษทางด้านต่างๆ ทั้งทางน้ำ อากาศ และเสียง และได้ลุกลามจนกลายเป็น "ภาวะวิกฤตโลกร้อน" ในปัจจุบัน ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญและภยันตราย จึงได้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสรุปยุค "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" จะพบว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"

.

ลักษณะของยุค "สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้" จะให้ความสำคัญกับมิติการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เกิดกระแสประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในการปกป้องพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนสามารถเลือกและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สำหรับประเทศไทยได้เกิด "องค์กรอิสระ" ต่างๆ มากมายที่เป็นเครื่องมือในการจรรโลงหลักนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรมในสังคม เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกตรอง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีบทบาทสำคัญในการรักษาความสมดุลของกลุ่มประชาชนในสังคมมากขึ้น

.

จุดเด่นของยุค "สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้" ที่สำคัญคือเป็นยุคเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไร้พรมแดนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เกิดการเชื่อมยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) การจัดเก็บภาษีเงินได้อิเล็กทรอนิกส์ (e-revenue) การค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เป็นต้น ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ทวีบทบาทความสำคัญยิ่งขึ้น มีการพัฒนา Hardware และ Software ในรูปแบบและโปรแกรมนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

.
 ดังนั้น การผลิตและพัฒนา "คน" ให้สามารถก้าวทันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้น จำเป็นต้องมี "การปฏิรูปการศึกษา" อย่างจริงจังที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาคนให้ก้าวทันสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้" "การพัฒนาคน" จะมีความหมายที่กว้างกว่า "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" (Human Resource Development) เนื่องจาก "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" เป็นการคิดแบบตะวันตกแบบแยกส่วนโดยเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคนเป็นการมองคนในแง่เศรษฐศาสตร์
.

คือ มองว่าเป็นทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต จึงต้องมีการฝึกอบรม เพิ่มความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ แก่คนในองค์กร เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตมากที่สุด (Productivity) ต้นทุนต่ำสุด (Economizing) นำไปสู่การได้กำไรสูงสุด (Maximize Profit) องค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) แต่ "การพัฒนาคน" เป็นการคิดแบบตะวันออกแบบองค์รวมหรือการพัฒนาทุกด้าน ทั้งทางด้านการศึกษา การฝึกอบรม การมีงานทำ ค่าตอบแทน ชีวิตความเป้นอยู่หรือคุณภาพชีวิตการสาธารณสุข อายุขัย ฯลฯ

.

สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะต้องขับเคลื่อนด้วยระบบการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถามศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา วัยเด็ก วัยทำงาน วัยสูงอายุ จนถึงสิ้นอายุขัย และระบบการศึกษาดังกล่าวจะเป็นการสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) 

.

ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาคนในชาติจึงเป็นการวางรากฐานที่สำคัญยิ่งของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน จึงเป็นประเด็นเร่งด่วนหรือวาระแห่งชาติ โดยจะต้องสร้างและพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร ภาคีหุ้นส่วน ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ฯลฯ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา นวัตกรรม สำหรับกำหนดแผน นโยบาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนาคนที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน

.

สำหรับแนวทางการผลิตและพัฒนาคนเพื่อสนองความต้องการทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ฯลฯ ต้องเน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ทั้งระดับการศึกษาและประเภทการศึกษา เช่น สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 

.

โดยผลิตและพัฒนาคนให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ มีความสามารถคิดเชิงบูรณาการแบบองค์รวม คิดวิเคราะห์ คิดเป็นระบบ คิดเชิงยุทธศาสตร์ คิดนอกกรอบ ฯลฯ รวมทั้งต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ฯลฯ ซึ่งจะต้องผลิตและพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข

.
ในส่วนการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) สามารถจัดการได้สำหรับองค์ความรู้ระดับต่างๆ ได้แก่
  • ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง ซึ่งยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ กลั่นกรอง ใช้ในการสืบค้นความจริงหรือในการคำนวณ
  • สารสนเทศ (Information) เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือเป็นข้อมูลที่ถูกจัดรูปหรือจัดเก็บเพื่อการแสดงหรือการชี้แจง หรือเป็นการจัดเก็บเพื่อนำไปวิเคราะห์และคำนวณ
  • ความรู้ (Knowledge) เป็นสารสนเทศที่ผ่านการถอดความ ผ่านกระบวนการคิดต่างๆ ทำให้เข้าใจ หรือเป็นข้อมูล สารสนเทศที่ถูกจดจำในรูปประสบการณ์
  • ปัญญา (Wisdom) เป็นความรู้ที่ถูกต้อง ปราศจากอคติและความคิดเห็น มีความเที่ยงตรงไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

สำหรับองค์ความรู้ในระดับต่างๆ ดังกล่าว จะมีทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เผยแพร่ในรูปเอกสาร สื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ และความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่ได้เผยแพร่ในรูปเอกสารและสื่อต่างๆ ซึ่งมีทั้งอธิบายได้แต่ยังไม่ได้ถูกนำไปบันทึก อธิบายได้แต่ไม่อยากอธิบาย และอธิบายไม่ได้

.

การบริหารจัดการองค์ความรู้ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้สามารถจัดทำในรูปแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เป็นแหล่งรวบรวมรายการความรู้ขององค์กร โดยวิเคราะห์ว่าความรู้อะไรที่องค์กรต้องการ ขณะนี้องค์กรมีความรู้เรื่องอะไรบ้าง ยังขาดความรู้เรื่องใด ความรู้จัดเก็บไว้ที่ไหน จัดเก็บอย่างไร ใครเป็นผู้สร้างและผู้ใช้ความรู้ และจะแสดงหาความรู้ด้วยวิธีการใด หลังจากนั้นต้องกำหนดวิธี ขั้นตอน และกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งต้องมีการพัฒนาการบริหาร จัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ความรู้ที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

.
การบริหารจัดการความรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ

ประการที่ 1  การผลิตหรือการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Production or Knowledge Creation) เป็นการศึกษาค้นคว้า วิจัย แสวงหาความรู้ (Knowledge Acquistion) และต่อยอด ตกผลึกวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ นำไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าแห่งความรู้ (Value Chain of Knowledge) โดยมีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการสืบค้นความรู้

.

ประการที่ 2 การแพร่กระจายความรู้ หรือการถ่ายทอด (Knowledge Diffusion or Knowledge Trandfer) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตและพัฒนาคนผ่านระบบการศึกษาทั้งภายในและภายนอกระบบ ในระดับการศึกษาและประเภทการศึกษา รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ดาวเทียม เป็นต้น ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้โดยผ่านชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : Cop) และ

.

ประการที่ 3 การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization) เป็นการใช้ความรู้เพื่อประกอบอาชีพต่างๆ ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ และการใช้ความรู้เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ เมื่อมีการใช้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องจนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ทำให้เกิดนวัตกรรม (Innovation)

.

ซึ่งนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นนวัตกรรมที่ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม หรือประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพมาตรฐาน และนวัตกรรมกระบวนการผลิต (Process Innovation) เป็นนวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการผลิตเดิมหรือกระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นการเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือลดต้นทุนการผลิต นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องมีกระบวนการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) เช่นเดียวกับการบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)

.

 ซึ่งจะต้องผสานพลังร่วมกัน (Synergy) เพื่อไปสู่องค์กรแห่งความรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างแท้จริง ดังที่ Alvin Toffer ได้กล่าวว่า The illiterate of the twenty-first century will not be those who cannot read and write but those who cannot learn, unlearn and relearn. ซึ่งความหมายของคำว่า illiterate แห่งศตวรรษที่ 21 จะไม่ใช้ผู้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ ลบความรู้ชุดเก่าที่ล้าสมัยออกจากสมอง และเรียนรู้ความรู้ชุดใหม่

.

จากการที่กระบวนการศึกษาเป็นการสร้างความรู้ (Knowledge) ที่สำคัญดังกล่าว กระบวนการฝึกอบรมก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างทักษะ (Skill) และประสบการณ์สำหรับคนที่เข้าสู่วัยทำงานหรือกำลังแรงงาน โดยฝึกอบรมด้วยการปฏิบัติจริง 9Training by Doing) มีการสอนงาน การทดลองงาน พี่เลี้ยง พี่สอนน้อง สถานประกอบการต้องสนับสนุนให้แรงงานได้รับการฝึกฝนอบรม โดยมีแนวคิดว่าการฝึกอบรมเป็นการสร้างสินทรัพย์ทุนความรู้ ทุนปัญญา ให้แก่องค์กร ไม่คิดว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยมองว่าแรงงานเป็นเพียงปัจจัยการผลิตเท่านั้น

.

เมื่อคนหรือแรงงานมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ดี นำไปสู่การมีสมรรถนะ (Competency) ที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้คน ซึ่งสมรรถนะของคนแยกเป้นความรู้ที่จำเป็น (Knowledge) ทักษะที่จำเป็น (Skill) และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attribute) ซึ่งนายจ้างหรือสถานประกอบการจะประเมินสมรรถนะประจำตำแหน่ง (Competency Set)

.

โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือสมรรถนะหลัก (Core ompetency) หรือสมรรถนะทั่วไป (General Competency) เป้นความรู้ ทักษะพื้นฐานที่คนต้องมี และสมรรถนะในหน้าที่ (Functional Competency) หรือสมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency) เป็นความรู้ ทักษะเฉพาะตำแหน่งนั้นๆ คนที่มีขีดสมรรถนะสูงจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพหรือผลิตภาพ (Productivity) แก่องค์กรสามารถสร้างสรรค์คุณค่าแก่สินค้าและบริการ (Value Creation) สินค้าและบริการมีคุณภาพและราคาสูงขึ้นทสามารถสร้างรายได้แก่องค์กร ทำให้องค์กรมีขีดสมรรถนะสูงและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และจะเกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

.

อีกทั้งนายจ้างจึงควรนำหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามมรรถนะ (Competency Based Pay) มาใช้ควบคู่กับการจ่ายค่าตอบแทนตามคุณวุฒิการศึกษาหรือตำแหน่งหน้าที่ (Job Based Pay) เพียงอย่างเดียว โดยนายจ้างแบ่งปันผลประโยชน์แก่แรงงานอย่างเป็นธรรม ไม่แสวงหากำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว โดยถือว่าแรงงานมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิต ทำให้สังคมมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม รวมทั้งหากนายจ้างและคนในสังคมผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ผลักดันภาระต้นทุนของตนเองไปเป็นต้นทุนของสังคม

.

โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibillty : CSR) แล้วทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และหากทุกคนในองค์กรตระหนักถึงระบบธรรมาภิบาลในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความรับผิดชอบ เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ ไม่แสวงหาประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมาย ไม่แสวงหาความสุขบนความโชคร้ายของผู้อื่น สามารถนำไปสู่สังคมอยู่เป็นสุข (Green and Happiness Society) สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่ยึด คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม