ธนาคารซิตี้แบงค์ มุ่งมั่นจัดหลักสูตรอบรมเสริมความรู้ด้านการเงินให้แก่กลุ่มสตรีที่ขาดความมั่นคงทางการเงิน และผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย เป็นการเสริมสร้างรากฐานในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
|
. |
หากจะเปรียบเทียบการให้เงินสนับสนุนโดยให้เปล่ากับการให้ความรู้แก่บุคคลแล้ว การให้ความรู้ย่อมจะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากกว่าความช่วยเหลืออย่างแรก มูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเดินหน้ามุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ซึ่งตนเองมีความเชี่ยวชาญไปยัง 2 ภาคส่วนที่สำคัญของประเทศ |
. |
กลุ่มผู้หญิงที่ขาดความมั่นคงทางการเงิน โดยจะมุ่งเน้นกลุ่มผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ซึ่งเป็นผู้ดูแลการเงินของครอบครัว และกลุ่มผู้หญิงที่ประกอบอาชีพในธุรกิจกลางคืน ซึ่งกล่าวได้ว่าผู้หญิงทั้งสองกลุ่มเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนความเข้มแข็งของครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันหลักและสำคัญของสังคมและกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย ซึ่งเป็นรากฐานในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย |
. |
. |
กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มหญิงขาดความมั่นคงด้านการเงิน |
ธนาคารซิตี้แบงก์เล็งเห็นถึงปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งของสังคมไทย ที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการพัฒนาสังคมและผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน นั่นก็คือความไม่พอเพียงในเชิงเศรษฐกิจอันนำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบ กล่าวคือเมื่อครอบครัวเข้าสู่สภาวะคับขันและขาดเงินสำรองที่จะนำไปใช้ได้ในยามคับขัน การกู้ยืมนอกระบบจึงดูจะเป็นทางออกทางหนึ่งสำหรับครอบครัว ซึ่งหากว่าการจ่ายคืนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ เจ้าหนี้มักจะขูดรีดลูกหนี้ และใช้ความรุนแรงในการติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม |
.. |
จากการสำรวจเราพบว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลการเงินในครอบครัวของสังคมไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง การที่จะจัดการกับภาวะความไม่พอเพียงนั้น กลุ่มผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางสังคม เช่น กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือกลุ่มหญิงที่ครอบครัวมีฐานะยากจนจนตนเองต้องมาทำงานกลางคืนเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ควรได้รับการแนะนำและให้ความรู้อันเป็นหนทางที่จะช่วยให้กลุ่มหญิงเหล่านั้นได้รับความรู้เพื่อสามารถมีการบริหารการเงินส่วนบุคคลและครอบครัวให้ดีขึ้น |
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการ “ผู้หญิงฉลาดออม ฉลาดใช้” โครงการอบรมด้านการเงิน โดยมูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์ โดยหัวข้อการอบรมจะครอบคลุมถึงการตั้งเป้าหมายในชีวิต เคล็ดลับการออมเงิน เทคนิคการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และการทำให้เงินงอกเงย เป็นต้น |
. |
ในการรับสมัครกลุ่มผู้หญิงเป้าหมายนั้น สถาบันคีนันแห่งเอเซียร่วมกับมูลนิธิดวงประทีป เปิดรับสมัครกลุ่มผู้หญิงที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ซึ่งการอบรมให้แก่กลุ่มดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 14 และ 15 มีนาคม 2552 ในขณะที่รุ่นที่ 2 จะดำเนินการในเดือนเมษายน โดยสถาบันคีนันฯซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารโครงการจะร่วมกับเจ้าของธุรกิจกลางคืนกลุ่มหนึ่งในการรับสมัคร |
.. |
โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้หญิงที่ประกอบอาชีพในธุรกิจกลางคืน ที่มีรายได้ไม่แน่นอน และผู้หญิงที่มีรายได้สูงแต่มีสถานะทางอาชีพไม่มั่นคงในการอบรมการอบรมจะมุ่งเน้นการเสริมความรู้ไปในการทำกิจกรรม ผู้เข้าอบรมจะได้ความรู้ซึ่งสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้จริง ท้ายสุดของโครงการ คาดว่าจะมีกลุ่มผู้หญิงจำนวนไม่น้อยกว่า 75 รายผ่านการอบรมนี้ |
. |
กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs |
ตามสถิติของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (สสว.) ปี 2550 จำนวนธุรกิจกว่า 99.6% จากธุรกิจทั้งหมดทั่วประเทศเป็นธุรกิจ SMEs มีการจ้างงานทั้งสิ้นคิดเป็น 76% ของการจ้างงานในประเทศทั้งหมด หากธุรกิจ SMEs ของประเทศได้รับการบ่มเพาะและขัดเกลาไปในทางที่ดีนั้น แน่นอนที่สุด เศรษฐกิจของประเทศจะถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีเช่นเดียวกัน |
. |
จากสถิติดังกล่าว ทำให้มูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์เห็นความสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่จะสามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของไทย จึงให้เงินสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการให้ความรู้การบริหารการเงิน ซึ่งเป็นปรัชญาของซิตี้กรุ๊ปที่ว่า เมื่อธนาคารซิตี้แบงก์มีความเชี่ยวชาญด้านการเงิน อาสาสมัครของธนาคารที่อาสามาร่วมโครงการจะสามารถนำความรู้ของตนมาถ่ายทอดให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้ |
ดังนั้นเงินช่วยเหลือจำนวน 57,000 เหรียญสหรัฐอเมริกาจึงถูกนำมาพัฒนาโครงการอบรมดังกล่าว โดยธนาคารซิตี้แบงก์ และสถาบันคีนันแห่งเอเซียร่วมกันเป็นผู้บริหารโครงการ |
. |
หลักสูตรอบรมด้านการเงินซึ่งเรียกว่า “Become a financial Guru in 4 days” จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยความคิดเห็นจากผู้ประกอบการซึ่งตอบแบบสำรวจความต้องการที่สถาบันคีนันฯจัดทำขึ้นก่อนเริ่มโครงการ จากผลสรุปหัวข้ออบรมที่ผู้ประกอบการต้องการ |
ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์งบการเงิน การบริหารต้นทุน การเรียนรู้ระบบภาษี สอดแทรกไปกับการให้ความรู้ด้านประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมถึงความต้องการในการรับฟังการถ่ายทอดกรณีศึกษาจาก SMEs ที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว ซึ่งเป็นข้อคิดที่ดีและแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SMEs รุ่นต่อ ๆ ไป |
. |
ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปี 2551 มีผู้ประกอบการกว่า 106 รายเข้าร่วมโครงการอบรม จากผลแห่งความสำเร็จในรุ่นที่ 1 โดยดูจากผลการประมินโครงการแล้ว มูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์จึงเดินหน้าดำเนินโครงการอบรมให้ SMEs เป็นรุ่นที่ 2 ซึ่งการอบรมให้แก่ SMEs ในครั้งที่ 2 จะมีความเข้มข้นขึ้น และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน |
. |
การอบรมรุ่นที่ 2 นี้ จะเริ่มขึ้นอีกครั้งในวันที่ 17, 19, 24 และ 26 มีนาคม 2552 โดย ผู้ประกอบการ SMEs สามารถสมัครเข้าโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้ โดยสามารถดูหัวข้ออบรม รายชื่อวิทยากรผู้สอน หรือข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ www.kiasia.org |
. |
ซิตี้ |
บริษัทด้านการเงินชั้นน้ำของโลก ซึ่งมีลูกค้าอยู่กว่า 200 ล้านบัญชีจากการดำเนินธุรกิจในกว่า 140 ประเทศ ซิตี้ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ ซิตี้คอร์ปและซิตี้โฮลดิ้งส์ ซึ่งนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) การธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง |
. |
มูลนิธิซิตี้ |
มูลนิธิซิตี้มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ทั้งบุคคลและครอบครัวที่ด้อยโอกาสซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก โดยมูลนิธิซิตี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) Microfinance และ Microentrepreneurship (การเงินระดับ รากหญ้าและผู้ประกอบการระดับรากหญ้า) เพื่อเสริมสร้างให้บุคคลเหล่านั้น สามารถ ยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง 2) Small and Growing Businesses (ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต) อันจะนำไปสู่การสร้างงานและการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ |
3) Education (การศึกษา) เพื่อเตรียมเยาวชนสำหรับ ความสำเร็จทั้งส่วนตนและในงานอาชีพในอนาคต 4) Financial Education (การให้ความรู้ทางการเงิน) เพื่อช่วยให้หบุคคลสามารถตัดสินใจทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ด้วยความเข้าใจ และ 5) Environment (สิ่งแวดล้อม) โดยเน้นในการสนับสนุนองค์กรที่สร้างงานและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในขณะที่ให้ความ สำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
. |
โครงการให้ความรู้ทางการเงินของซิตี้ |
ด้วยความเชื่อที่ว่าความรู้คือสินทรัพย์นับแสน โครงการให้ความรู้ทางการเงินของซิตี้จึงได้ริ่เริ่มขึ้นในระดับนานา ประเทศทั่วโลก เป็นความพยายามของซิตี้ที่ต้องการสรรค์สร้างแนวทางที่จะช่วยเหลือให้บุคคล ครอบครัวและชุมชนได้มีเครื่องมือที่จะใช้ในการตัดสินใจทางการเงินอย่างมีวิจารณญาณ โดยซิตี้กำหนดเงิน สนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 200 ล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อดำเนินการให้ความรู้ทางการเงินใน 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ธุรกิจขนาดเล็กและสถาบันการศึกษาด้านการเงิน |
. |
สถาบันคีนันแห่งเอเซีย |
การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการสร้างสมดุลทั้งสามด้าน คือด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาพร้อมกับการสร้างเสริมสังคมให้เข้มแข็ง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความสมดุลทั้งสามนี้อาจหมายถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างช้าๆในระยะสั้น แต่นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว |
. |
หลังจาก สถาบันฯ ได้ก่อตั้งในปี 2536 สถาบันคีนันฯ ได้ให้การช่วยเหลือ บริษัท หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 และจากประสบการณ์ที่เรามี เรายังได้ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจ จุดมุ่งหมายของสถาบันคีนันฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน นั่นหมายถึงงานที่ครอบคลุมหลายกิจกรรม โดยใช้วิธีการที่หลากหลายที่จะนำไปสู่ผลที่มีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึงการที่สถาบันคีนันฯ ต้องทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน ที่จะนำมาซึ่งทักษะ ความรู้ แหล่งเงินทุนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ |