เนื้อหาวันที่ : 2009-03-03 09:56:46 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 6099 views

รู้จักศัพท์เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 (ตอนที่ 1)

แท้จริงแล้วคุณภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นถูกสะท้อนออกมาทาง "คุณภาพชีวิต" หรือ "มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ" (Standard of Living) ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเกิดตาย อัตราการมีชีวิตอยู่รอดของทารก อัตราของผู้รู้หนังสือในประเทศ โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนในประเทศรวมไปถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งสิ้น

แม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะถูกวัดด้วย "อัตราการจำเริญเติบ โต ทางเศรษฐกิจ" หรือ Economic Growth แต่อย่างไรก็ดีการพัฒนาเศรษฐกิจยังจำเป็นต้องคำนึงถึง "คุณภาพ" ของการเจริญเติบ โต (Quality of growth) นั้นด้วยครับซึ่งก็เป็นหน้าที่ของภาครัฐอีกเช่นกันในการสร้างคุณภาพของการเจริญเติบ โต ให้เกิดขึ้น

.

แท้จริงแล้วคุณภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นถูกสะท้อนออกมาทาง "คุณภาพชีวิต" หรือ "มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ"(Standard of Living) ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเกิดตาย อัตราการมีชีวิตอยู่รอดของทารก อัตราของผู้รู้หนังสือในประเทศ โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนในประเทศรวมไปถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งสิ้นครับ

.

ปัจจุบันโลกของเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มาได้เกือบสิบปีแล้วนะครับ นับตั้งแต่ปี ค..2000 เป็นต้นมา เศรษฐกิจโลก (World Economy) ดูจะมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหุ้น ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาสินค้าเกษตรแม้แต่ราคาอาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพวกเราไม่สามารถปฏิเสธกระแส "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ได้อีกต่อไป

.

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า "กระแสโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจ" นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 แล้วนะครับ ทั้งนี้การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการทุบกำแพงเบอร์ลินได้กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าวิธีคิดแบบ "ทุนนิยม" คือ วิธีคิดที่สามารถตอบโจทย์การจัดการเศรษฐกิจได้ดีกว่าลัทธิเศรษฐกิจอื่นใด

.

ทั้งนี้หัวใจสำคัญของทุนนิยมอยู่ที่การปล่อยให้เศรษฐกิจดำเนินไปด้วยตัวของมันเองโดยอาศัย "กลไกตลาด" (Market Mechanism) หรือ "กลไกราคา" (Price Mechanism) เป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรโดยรัฐควรเข้าไปมีบทบาทในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด อันที่จริงแล้ว "ทุนนิยม" นั้นมีหลายรูปแบบนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละสังคมจะเลือกดำเนินการใช้ "กติกา" ทางเศรษฐกิจแบบใดในการจัดสรรทรัพยากร

.

สำหรับ "ซีรี่ส์เศรษฐกิจ" ในปีนี้ ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยเรื่องของ "ศัพท์เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21" ครับ ด้วยเหตุที่มีคำศัพท์เศรษฐกิจหลายคำเกิดขึ้นนับตั้งแต่เราย่างเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ ทั้งนี้ผู้เขียนจะเริ่มอธิบายศัพท์เศรษฐกิจตามช่วงเวลาที่เกิดขึ้นของศัพท์เหล่านั้นโดยเราจะมาเริ่มกันที่คำว่า Dot-Com Bubble ก่อนครับ

.
Dot-Com Bubble: เริ่มต้นฟองสบู่ในยุคมิลเลเนียม

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ "นเตอร์เน็ต" (Internet) เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกมากขึ้นนะครับ ผลพวงดังกล่าวทำให้เกิดธุรกิจที่อาศัยช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือที่รู้จักในชื่อ E-Commerce ด้วยเหตุนี้เองในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตจึงเกิดขึ้นมามากมายราวกับดอกเห็ด

.

นอกเหนือจากยักษ์ใหญ่อย่าง "ไมโครซอฟต์" (Microsoft) ภายใต้การนำของ "บิลล์ เกตต์" (Bill Gate) แล้ว บริษัทน้องใหม่ที่มาแรงในช่วงเวลานั้นอย่าง Amazon, eBay, Google รวมไปถึง Yahoo ก็ได้รับการจับตามองจากกลุ่มนักลงทุนที่เริ่มมองเห็นแล้วว่า "ธุรกิจ" ที่มีหน้าร้านบนจอคอมพิวเตอร์กำลังไปได้สวย

.

กล่าวกันว่าฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com นั้นเริ่มต้นราว ๆ ปี ค..1995 ครับโดยฟองสบู่ดังกล่าวถูกเป่าให้ฟูฟ่องพร้อม ๆ กับการเติบ โต ของธุรกิจ Dot-Com บนโลกอินเตอร์เน็ต และฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com นั้นพองตัวสูงสุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ปี ค.. 2000 ครับ โดยในวันนั้นดัชนีหุ้นของ NASDAQ แตะสูงสุดที่ 5,132.52 จุด

ดัชนี NASDAQ สูงที่สุดในรอบ 15 ปี เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค..2000

ซึ่งแสดงให้เห็นการพองตัวสูงสุดของฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com

(ภาพจาก www.wikipedia.org)

.

การโป่งพองของฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com เกิดขึ้นจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของราคาหุ้นในบริษัท Dot-Com อันเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคอินเตอร์เน็ต ในทำนองเดียวกันกับที่นักลงทุนเริ่มเข้ามาเก็งกำไรกันเป็นล่ำเป็นสันก็ยิ่งทำให้ "ความโลภ" ได้เป่าให้มูลค่าหุ้นของบริษัทเหล่านี้สูงเกินกว่าความเป็นจริงครับ

.

จะว่าไปแล้วลักษณะของฟองสบู่ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ Dot-Com นั้นมีความคล้ายคลึงกับฟองสบู่ที่เคยเกิดขึ้นในธุรกิจใหม่ ๆ ที่เติบ โต พร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 การขยายเส้นทางเดินรถไฟในสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ รถไฟ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท

.

ต่อมาช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในอเมริกาหรือ The Great Depression นั้น ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทก็กลับมาบูมอีกครั้งในหุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์และวิทยุ (Automobiles and Radio) เนื่องจากชาวอเมริกันเริ่มมีความต้องการที่จะซื้อรถยนต์มากขึ้นทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ขยายตัว และผลพวงของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นนี้เองที่ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี ค..1929

.

เช่นเดียวกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมทรานซิสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ (Transistor Electronics) ในทศวรรษที่ 50 หรือจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์บ้าน (Personal Computer) ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้หุ้นของบริษัทที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่บูมนั้นถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนบางครั้งไม่ได้สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของบริษัทเหล่านั้น

.

อย่างไรก็ตามฟองสบู่ของธุรกิจ Dot-Com ได้แตกลง (Bubble Burst) หลังจากพองตัวสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค..2000 โดยก่อนหน้านี้เริ่มจะมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับบริษัท Dot-Com ขนาดใหญ่ทั้งหลายอย่าง AOL (American Online) และ WorldCom โดยเฉพาะเรื่องการขาดสภาพคล่องของบริษัทยักษ์ใหญ่รวมไปถึงการฉ้อฉลของเหล่าผู้บริหารหลายคนในบริษัท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยิ่งทำให้ฟองสบู่ของธุรกิจ Dot-Com แตกเร็วขึ้นเนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของบริษัทต่าง ๆ ในธุรกิจ Dot-Com

.

ผลของฟองสบู่แตกทำให้หลายบริษัทต้องปิดตัวไปคงเหลือบริษัท Dot-Com ที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงอยู่ในตลาดเช่น Amazon.com และ eBay เป็นต้น ทั้งนี้นักวิเคราะห์ประมาณการความเสียหายจากการแตกของฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com นั้นคิดเป็นเงินถึง 5 พันล้านล้านเหรียญสหรัฐ

.

นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยลอย่างนาย "โรเบิร์ต ชิลเลอร์" (Robert Shiller) ยังตั้งข้อสังเกตว่าการแตกของฟองสบู่ในธุรกิจ Dot-Com นั้นมีส่วนต่อการพอง โต ของฟองสบู่สินทรัพย์ประเภทบ้านในสหรัฐอีกด้วยครับ โดยชิลเลอร์มองว่าเมื่อนักลงทุนที่มุ่งแต่เก็งกำไรหมดความสนใจต่อธุรกิจ Dot-Com แล้ว พวกเขาจึงได้เลือกสินทรัพย์ชนิดใหม่ที่จะเก็งกำไรต่อนั่นคือ "บ้าน" ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด "ฟองสบู่บ้าน" (Housing Bubble) จนเป็นต้นตอทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว

.

5 ผู้ยิ่งใหญ่ในธุรกิจ Dot-Com

.

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีส่วนทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่นั้นเติบ โต อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจเหล่านี้ได้เข้าไประดมทุนในตลาดหุ้น แม้ว่าตลาดหุ้นจะมีส่วนสำคัญในการสะสมทุนอันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบ โต ทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ตลาดหุ้นทั่วโลกได้กลายเป็น แหล่งเก็งกำไร สำหรับนักลงทุนผู้มีความโลภเป็นที่ตั้งดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งร้ายแรงส่วนใหญ่จะเริ่มต้นมาจากการพังทลายของตลาดหุ้นแล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

.
เอกสารประกอบการเขียน

1. Cassidy, John. Dot.com: How Lost its Mind and Its Money in the Internet Era (2002)

2. เนื้อหาและภาพประกอบจาก www.wikipedia.org