เนื้อหาวันที่ : 2009-02-11 11:21:24 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2487 views

วิกฤตนำเข้าเหล็กไทยทะลุ 6 แสนล้าน เร่งรัฐแจ้งเกิด "โรงถลุงเหล็ก" ด่วน

"เหล็กต้นน้ำ" เป็น "วาระเร่งด่วน" ที่ต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมรากฐานที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลก แก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาว วันนี้ขาดความชัดเจนและความจริงใจว่าต้องการให้มีโครงการนี้หรือไม่

"เหล็กต้นน้ำ" เป็น "วาระเร่งด่วน" ที่ต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมรากฐานที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลก แก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาววันนี้ขาดความชัดเจนและความจริงใจว่าต้องการให้มีโครงการนี้หรือไม่

.

.

ตัวเลขล่าสุดของกรมศุลกากรระบุว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าเหล็กพิกัด 72 และ 73 ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2551 มีมูลค่ามากถึง 613,839 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบมูลค่าการนำเข้าเหล็กของไทยเพียง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค. 51) 412,064 ล้านบาท มีมูลค่าเกือบเท่ากับการนำเข้าเหล็กในปี 2550 ทั้งปี ที่มีมูลค่านำเข้า 414,274 ล้านบาท และข้อมูลจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยระบุว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน ประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศมากถึง 11.17 ล้านตัน คาดการณ์ตัวเลขตลอดทั้งปีมีมากถึง 14.9 ล้านตัน

.

จากเวทีสัมมนา "เหล็กไทย สร้างไทย" ก้าวแรกฝ่าวิกฤต 5 แสนล้าน ซึ่งจัดโดยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย จับมือกับหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้หยิบยกเรื่องของอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ หรือโครงถลุงเหล็กมาเป็นประเด็นหารือ โดยทุกภาคส่วนเห็นพ้องกันว่า "เหล็กต้นน้ำ" เป็น "วาระเร่งด่วน" ที่ต้องรีบผลักดันให้เกิดขึ้นในเมืองไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมรากฐานที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลก แก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาว

.

นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานเปิดงาน กล่าวว่า ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบเหล็กเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นเกาหลี หรืออีกหลายประเทศที่ใช้เหล็กจำนวนมากต่างมียุทญศาสตร์อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำรองรับ อีกทั้งตอนนี้ไทยเรามีประเทศเพื่อนบ้านที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างเวียดนาม มาเลเซีย

.

ถ้าในอนาคตประเทศเหล่านั้นสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำไปได้ก่อน ไทยจะเสียเปรียบเยอะมาก อาจถึงกับส่งผลให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาเหล็กต้องมีการปรับฐานหรือย้ายการลงทุนออกจากประเทศ นั่นคือความจำเป็นเร่งด่วนว่าทำไมจึงต้องผลักดันเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด ส่วนกรอบระยะเวลานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดไว้ว่าภายใน 2 สัปดาห์ จะรีบนำเรื่องไปหารือกับนายกรัฐมนตรีและในการประชุม ครม. เศรษฐกิจ

.
นายดำรง สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ไทยมีศักยภาพสูง แต่ติดปัญหาใหญ่คือการผลักดันนโยบาย ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

จากอดีตถึงปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเดิมเกษตรกรรมเป็นหลัก มาเป็นโครงสร้างที่มีการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาหากดู GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวม) ของประเทศ จะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนอยู่มากถึง 39% หลายเรื่องเกี่ยวข้องกับเหล็กและเหล็กกล้า ตั้งแต่ปี 42 เป็นต้นมา มีการขยายตัวในการใช้เหล็กสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ย 16% ต่อปีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศทำให้ควบคุมได้ยากในเรื่องคุณภาพสินค้า ราคา

.

ในอเมริกาเมื่อมีเหล็กต้นน้ำเกิดขึ้น ก็มีโรงงานผลิตรถยนต์ไปตั้งทันทีเกิดความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ การพัฒนาอุตสาหกรรมก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ลดการขาดดุลการค้า สร้างมูลค้าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจโดยรวมสำหรับ “เหล็กต้นน้ำ ถือว่าประเทศไทยมีความพร้อมในเรื่องที่สำคัญที่สุด คือมีศักยภาพในหลายๆ ด้าน อีกทั้งมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องรองรับ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ส่งออก 6 แสนกว่าล้านบาท แต่ติดที่ยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดอย่างจริงจัง

.

"ปัญหาใหญ่จริงๆ คือเรื่องการผลักดันนโยบาย ตอนนี้มีผู้สนใจมีศักยภาพเต็มที่แล้ว ในแง่การผลักดันนโยบายให้เกิดต้องมีความจริงจังทำงานกันใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐผมเชื่ออยู่อย่างเขาจะจริงจังและลุยงานเต็มที่เมื่อทุกภาคส่วนเห็นพ้อง โครงการนี้ค่อนข้างใหญ่ มีความอ่อนไหวสูง ต้องลงทุนสาธารณูปโภค ท่าเรือ ถนน แหล่งน้ำไฟฟ้า ฯลฯ ต้องมีเจ้าภาพร่วมเยอะ ทางออกในการแก้ปัญหาจะเป็นวาระแห่งชาติหรือไม่เป็นหลักคือทุกภาคส่วนต้องเห็นพ้องกันและช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้นจริง"

.
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผอ.สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
"เหล็กต้นน้ำ" เป็นโอกาสสำคัญของประเทศ จะทำให้เกิดขึ้นเร็วควรบรรจุเข้า "เซาท์เทิร์นซีบอร์ด"

แหล่งแร่เหล็กสำคัญของโลกอยู่ที่บราซิลและออสเตรเลีย หากมองในถูมิภาคเอเซีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เทียบระยะทางจะอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบกว่าประเทศไทย การขนส่งแร่มาไทยจึงถูกกว่า การมีตำแหน่งโลจิสติกส์ที่ดี การสร้างโรงงานใกล้แหล่งวัตถุดิบที่ดี มีตลาดขนาดที่ใหญ่ และมีโอกาสส่งออกไปภูมิภาคนี้ได้ด้วยแล้ว ถือเป็นความสามาถและโอกาสหนึ่งที่จะมีเหล็กครบวงจรในประเทศ ยิ่งเราพัฒนาความเจริญมากเท่าไหร่ก็ยิ่งใช้เหล็กมากขึ้นเท่านั้น การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้นซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก ถ้ายังนำเข้าวัตถุดิบเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ การลดต้นทุนคือต้องไปกดค่าแรงให้มีแรงงานราคาถูก

.

ที่ผ่านมาโครงการโรงถลุงเหล็กกลับไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปัญหาหลายด้าน เช่น ปัญหาการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมบ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการบริหารงานเชิงนโยบาย และความเชื่อมโยงการทำงานกับหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกัน หากนำโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กเข้าบรรจุในแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้เร็วเกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน

.

อย่างไรก็ตาม การจะมองเรื่องเหล็กต้นน้ำให้ได้ชัด ต้องมองให้เห็น 2 มิติ การสร้างอุตสาหกรรมนี้ให้เกิดขึ้นได้ถือเป็นโอกาสของประเทศและถ้าไม่ทำจะมีความเสี่ยงอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง กลุ่มคนมาประท้วงคิดว่าโดยเนื้อแท้มีความหวังดีมีเจตนาอยากดูแลอนุรักษ์ทรัพยากร เพียงแต่อาจจะมองไม่ครบทุกมิติ ทุกกิจกรรมบนโลกนี้ทั้งการเกษตรประมง ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งสิ้น ในแง่ของอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน แต่มีเทคโนโลยีและวิธีการจัดการที่สามารถทำได้

.
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์
ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์นายใหญ่ติด 1 ใน 5 ของเอเซีย แต่เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเหล็กต้นน้ำระยะยาวอาจต้องย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น

อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน เน้นรถยนต์เอการขนส่งเป็นหลัก อย่างรถปิดอัพที่ประเทศไทยถือเป็นแชมเปี้ยนต้องการความแข็งแรงสูง จึงจำเป็นต้องใช้เหล็กคุณภาพเป็นส่วนประกอบประเทศไทยเป็นรากฐานการผลิตรถยนต์รายใหญ่ติด 1 ใน 5 ของเอเซีย และส่งออกสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของเอเซีย สามารถส่งออกได้ในปี 2551 สูงถึง 6.5 แสนล้านบาท 

.

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ ซึ่งคาดว่าจะมีการผลิตสูงถึง 600,000 คันต่อไป จะทำให้มีความต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นอีกมาก ดังนั้น การที่จะทำให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนการผลิตได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ปรับเปลี่ยนตามตลาดได้อย่างรวดเร็ว

.

จะเห็นได้ว่าประเทศผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของเอเซีย 5 อันดับแรก ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวที่ไม่มีโรงถลุงเหล็กเหมือนที่อื่น ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้ ดังนั้น หากยังไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ ระยะยาวก็มีโอกาสที่จะเห็นอุตสาหกรรมยานยนต์ย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น อีกทั้งถ้าประเทศคู่แข่งของไทยในอาเซียนตั้งโรงถลุงเหล็กได้ก่อน ก็จะสามารถดึงฐานการผลิตรถยนต์จากไทยไปได้ โดยเฉพาะเวียดนามก็ประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาเหล็กต้นน้ำและย้ำที่จะดึงฐานการผลิตดังกล่าวด้วย

.
นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการเครือสหวิริยา
เครือสหวิริยาได้ก้าวเดินมาถึจุดที่ต้อง "หยุดรอ" ภาครัฐ ที่จะต้องมีนโยบายจริงจังและชัดเจนเพิ่อให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจ

ในปีที่ผ่านมาไทยต้องสูญเสียรายได้จากการนำเข้าเหล็กกว่า 6 แสนล้านบาท เปรียบเสมือนการเสียเลือดเป็นจำนวนมากที่จะเข้ามาหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทย มีแผลใหญ่ขนาดนี้ ถ้าไม่อุดเลือดที่ไหลอยู่ สุดท้ายเศราฐกิจไทยก็อยู่ไม่ได

.

เหล็กเป็นวัสดุใกล้ตัวและเป็นมิตรกับมนุษย์เราอยู่ยุคเหล็กมานานกว่า 3,000 ปี ไล่มาตั้งแต่ ยุคหิน มายุคทองแดง หรือ ยุคสำริด อารยะธรรมมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มใช้เหล็กนำมาทำเป็นอาวุธ มีดดาบ เครื่องครัวและเราจะใช้เหล็กกันไปอีกนาน เนื่องจากไม่มีวัสดุอื่นเป็นมิตรและมีปริมาณมากเท่ากับเหล็กอีกแล้ว

.

ประเทศไทยมีโอกาสและมีปัจจัยดีหลายด้าน ถ้าเราเร่งปักธงชิงความได้เปรียบยึดครองปัจจัยการผลิต ตั้งโรงถลุงเหล็กได้ ก็จะถือว่าเราเดินมาถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โจทก์ข้อต่อไปหลังจากมีเหล็กต้นน้ำแล้ว เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่งกว่า

.

วันนี้โรงถลุงเหล็กสหวิริยาจึงขอ "หยุดรอ" ความชัดเจนและความจริงใจจากรัฐบาลว่าต้องการให้มีโครงการนี้หรือไม่ เพราะโครงการขนาดนี้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญร่วมกันโดยเฉพาะจากรัฐบาล

.

เราวางแผนและเตรียมงานมานานจึงมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน และก็ตั้งใจจริงที่จะทำโครงการโรงถลุงเหล็ก ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นปัจจุบันไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เช่นนนี้ ที่จริงกลับเหมาะเพราะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปีในการก่อสร้าง

.

ซึ่งก็จะเป็นจังหวะที่เศรษฐกิจกลับมาพอดี นับได้ว่าเป็นโครงการที่จะช่วยให้ประเทศพร้อมที่จะก้าวต่อไป แต่เนื่องจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ต้องมีหลายฝ่ายเข้ามารวม ทั้งสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ผลิตเครื่องจักรจากต่างประเทศผู้จัดจำหจ่ายวัตถุดิบ ต่างต้องการความมั่นใจจากภาครัฐในรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งรัฐบาลต้องก้าวออกมาสนับสนุนอย่างจริงจังและจริงใจมิฉะนั้นโครงการก็จะไม่สามารถสำเร็จได้ ดังนั้นเครือสหวิริยาได้ก้าวเดินเข้ามาถึงจุดที่ต้องหยุดรอภาครัฐ

.

โดยเฉพาะรัฐบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก จะต้องมีมาตรการที่ชัดเจนออกมาเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจและมาตรการนี้ต้องทำได้เร็วและต้องเป็นมาตรการถาวรที่จะทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไรครงการก็สามารถดำเนินการต่อไปได้จนแล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม”