เนื้อหาวันที่ : 2009-01-23 18:22:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1211 views

ธปท.ลดเป้า GDP ปี 52 เหลือ 0-2% จาก 3.6% ปีก่อน, ส่วนปี 53 ขยับ 2-4%

แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 52 จะเติบโตต่ำลงเกิดจากแรงส่งสำคัญชะลอตัวลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ทำให้รายได้ของการส่งออกลดลง มีผลต่อการบริโภคภายในประเทศตามมา ซึ่งหากมองในกรณีเลวร้ายสุดเศรษฐกิจสหรัฐติดลบ 1% ก็จะทำให้การส่งออกของไทยในเชิงปริมาณติดลบ 7.8%

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับลดคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 52 ลงเหลือ 0-2% จากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 3.8-5.0% และประมาณการในปี 51 ที่ 3.6% เป็นผลจากปัจจัยทั้งนอกประเทศที่เป็นผลกระทบมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวและราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลพวงปัญหาภายในประเทศที่เป็นผลต่อเนื่องจากการชุมนุมปิดสนามบิน ซึ่งกระทบกับความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวอย่างมาก           

.
ส่วนในปี 53 เศรษฐกิจไทยจะขยับขึ้นมาขยายตัวได้ราว 2-4% โดยเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก
.

นางดวงมณี วงศ์ประทีบ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน กล่าวว่า ธปท.เชื่อว่าปีนี้คงจะไม่เกิดภาวะเงินฝืดหรือภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานบางเดือนอาจติดลบเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง แต่ธปท.ก็จะเน้นการดูแลภาวะเศรษฐกิจไม่ให้เกิดเงินฝืด ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอยจะทำให้การส่งผ่านนโยบายการเงินไม่ได้ผล โดยเฉพาะการจูงใจให้เกิดการใช้จ่ายของภาคประชาชน

..

แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 52 จะเติบโตต่ำลงเกิดจากแรงส่งสำคัญชะลอตัวลงมาก ขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกของไทย ทำให้รายได้ของการส่งออกลดลง มีผลต่อการบริโภคภายในประเทศตามมา ซึ่งหากมองในกรณีเลวร้ายสุดเศรษฐกิจสหรัฐติดลบ 1% ก็จะทำให้การส่งออกของไทยในเชิงปริมาณติดลบ 7.8% และเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่า 0% แม้ว่าจะเป็นไปได้แต่โอกาสเกิดก็ต่ำมาก

.

"ถ้าเศรษฐกิจไทยลดลง 1% จะมีผลต่อการจ้างงานลดลง 1.1 แสนราย ถ้าจีดีพีเหลือ 0% การว่างงานทั้งหมดจะอยู่ที่ 1 ล้านคน รวมแรงงานใหม่ที่จะเข้ามาสู่ระบบ ซึ่งขณะอัตราว่างงานอยู่ที่ 1.4% ของแรงงานทั้งหมด หรือประมาณ 5 แสนคน"นางดวงมณี กล่าว

.

ขณะที่ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวชะลอตัวจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ แต่ยังมีปัจจัยหนุนจากนโยบายการเงินการคลังที่จะช่วยพยุงไม่ให้ภาพรวมเศรษฐกิจตกต่ำหนัก ขณะที่คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 51-52 จะอ่อนค่าลงจากผลของวิกฤติการเงินในสหรัฐทำให้มีเงินทุนไหลออกไปเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัทแม่

.

"เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวอย่างรุนแรงเป็นสำคัญ แต่นโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้น ในขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนลดลงอย่างรวดเร็วมีส่วนช่วยพยุงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ได้บางส่วน"นางดวงมณี กล่าว

.

เอกสารของ ธปท.ระบุว่า เมื่อเปรียบเทียบกับข้อสมมติ 3 เดือนก่อนสรุปได้ ดังนี้ ข้อสมมติอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 52 และ 53 ปรับลดลงมากจากผลของวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมหลักถดถอย โดยจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี 53  

.

ข้อสมมติอัตราดอกเบี้ย Fed  Funds ลดลงสอดคล้องกับการเร่งแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่รุนแรงขึ้น ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐจากผลของการไหลออกของเงินทุนจากตลาดภูมิภาคและยังอยู่ในระดับที่อ่อนต่อเนื่องในปี 53 ราคาน้ำมันดูไบปีนี้ต่ำลงจากเดิมแต่จะเฉลี่ยทั้งปี 52 อยู่ที่ 45 ดอลลาร์/บาร์เรล จาก 95 ดอลลาร์/บาร์เรลในปีก่อน ขณะที่ปี 53 จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50 ดอลลาร์/บาร์เรลตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  

.

รายจ่ายของภาครัฐสูงกว่าเดิมในปีงบประมาณ 52 เป็นผลจากงบเพิ่มเติมประมาณ 115 พันล้านบาท ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ในปี 53 ต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย  ราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้นจากเดิม เพราะข้อมูลมีระดับที่สูงกว่าที่คาดไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ และจะชะลอลงในปีหน้า