เนื้อหาวันที่ : 2009-01-14 10:00:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1121 views

บอร์ด รฟท.ปรับวงเงินรถไฟฟ้าสีแดงหลังได้อานิสงส์ราคาน้ำมัน

รฟท. ปรับวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หลังได้รับอานิสงส์ราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง สามารถรวมระบบรถไฟฟ้าอยู่ใน วงเงินโครงการ 69,000 ล้านบาทได้ พร้อมสั่ง รฟท.เร่งรัดจัดตั้งบริษัทลูกและหาบุคลากรเข้ามาฝึกอบรมเตรียมความพร้อมเปิดใช้แอร์พอร์ตลิ้งค์ กลางปีนี้

รฟท. ปรับวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หลังได้รับอานิสงส์ราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง สามารถรวมระบบรถไฟฟ้าอยู่ใน วงเงินโครงการ 69,000 ล้านบาทได้ พร้อมสั่ง รฟท.เร่งรัดจัดตั้งบริษัทลูกและหาบุคลากรเข้ามาฝึกอบรมเตรียมความพร้อมเปิดใช้แอร์พอร์ตลิ้งค์ กลางปีนี้

.

ที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีมติปรับวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หลังได้รับอานิสงส์ราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง สามารถรวมระบบรถไฟฟ้าอยู่ใน วงเงินโครงการ 69,000 ล้านบาทได้ พร้อมสั่ง รฟท.เร่งรัดจัดตั้งบริษัทลูกและหาบุคลากรเข้ามาฝึกอบรมเตรียมความพร้อมเปิดใช้แอร์พอร์ตลิ้งค์ กลางปีนี้

.

นายสุชัชวีร์  สุวรรณสวัสดิ์  โฆษกคณะกรรมการ รฟท. เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ รฟท.วันนี้ (13 ม.ค.)  ได้พิจารณาการปรับลดวงเงินลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งเดิมกรอบวงเงินก่อสร้างอยู่ที่ 69,000 ล้านบาท ไม่รวมระบบรถไฟฟ้า หลังจากราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมันดีเซลใน ตลาดโลกปรับลดลง รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์ส่งผลดีต่อต้นทุนก่อสร้างให้ต่ำลง ซึ่งจากการ ประเมินล่าสุดวงเงิน 69,000 ล้านบาท สามารถใช้เป็นวงเงินที่รวมระบบรถไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งเท่ากับวงเงินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวลดลงประมาณ 6,000 ล้านบาท

.

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้ในการก่อสร้างจากองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งมีหลักเกณฑ์ต้องให้ผู้ขอกู้เงินต้องกู้ยืมเงินเผื่องานเพิ่มเติม เพื่อรับประกันความสำเร็จของโครงการไว้ด้วย จึงทำให้เงินกู้ที่ไทยกู้ยืมจากไจก้าจำนวน 89,000 ล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะมีมูลค่างานด้านระบบรถไฟฟ้า 6,000 ล้านบาท

.

คณะกรรมการ รฟท.มีมติจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ โดยไม่ได้ใช้เงินกู้จากไจก้า นอกจากนี้  อานิสงส์ของการปรับลดราคาของวัสดุก่อสร้างและน้ำมันดีเซล ยังส่งผลให้วงเงินลงทุนโครงการก่อสร้างและปรับปรุงทางรถไฟในระยะที่ 5 และที่ 6 ซึ่งครอบคลุมทางรถไฟในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถประหยัดเงินลงทุนได้กว่า 3,000 ล้านบาท

.

สำหรับการเร่งรัดโครงการแอร์พอร์ต ลิงค์นั้น  นายสุชัชวีร์  กล่าวว่า  คณะกรรมการได้ให้ฝ่ายบริหารไปเจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้าง  เพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติการขยายระยะเวลาก่อสร้างไว้ 180 วัน และให้เร่งรัดจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อให้บริการเดินรถและเร่งจัดหาบุคลากรเข้ามาฝึกอบรมเตรียมความพร้อม สำหรับการเปิดให้บริการตามกำหนดกลางปีนี้  

.

นอกจากนี้  ที่ประชุมยังอนุมัติให้จัดหาปลอกล้อรถไฟ จำนวน 4,000 ปลอก ให้เพียงพอต่อการใช้งานในช่วงขาดแคลน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา เมื่อราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้น  ทำให้การจัดหาซื้อปลอกล้อมีต้นทุนสูง และดำเนินการได้ยาก แต่ขณะนี้เมื่อราคาเหล็กลดลง รฟท.จึงเห็นว่าควรเร่งการจัดซื้อเพื่อให้ปลอกล้อมีเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่ง รฟท.มีความต้องการใช้งานเดือนละไม่น้อยกว่า 700 ปลอก.

.

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการว่า ที่ประชุมได้พิจารณาปรับลดวงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นเงิน 6.94 หมื่นล้านบาท จากเดิม 7.56 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธา ลดลงเหลือ 4.4 หมื่นล้านบาท จากเดิม 5.5 หมื่นล้านบาท งานระบบรถไฟฟ้า ลดลงเหลือ 1.34 หมื่นล้านบาท จากเดิม 1.53 หมื่นล้านบาท

.

ขบวนรถไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่มีแผนการจัดซื้อเป็นเงิน 6.15 พันล้านบาท งานรื้อย้าย เพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาท จากเดิม 50 ล้านบาท งานว่าจ้างที่ปรึกษา ลดลงเหลือ 2.33 พันล้านบาท จากเดิม 2.72 พันล้านบาท งานเผื่อเหลือเผื่อขาด 1.38 พันล้านบาท เท่าเดิม

.

สาเหตุที่มีการปรับกรอบวงเงินก่อสร้าง เนื่องจากต้องการให้ใช้ราคาเป็นราคาปัจจุบันที่ราคาน้ำมันและวัสดุลดลง โดยรวมสามารถลดวงเงินก่อสร้างได้ประมาณ 5-6 พันล้านบาท หลังจากนี้จะได้เสนอให้กระทรวงคมนาคม และครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการต่อไป ส่วนแหล่งเงินที่จะใช้ในโครงการนั้น รฟท.ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า)