เนื้อหาวันที่ : 2008-12-22 09:58:54 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1135 views

ปิยสวัสดิ์ แนะรัฐบาลใหม่เร่งพัฒนาพลังงานทดแทน

"ปิยสวัสดิ์" แนะรัฐบาลชุดใหม่ควรให้ความสำคัญในการเดินหน้าพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อรองรับปัญหาน้ำมันที่จะปรับสูงขึ้นในอนาคต มองราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลงในขณะนี้เป็นแค่ชั่วคราว มีแนวโน้มขยับไปที่ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลอีกครั้งหนึ่ง

"ปิยสวัสดิ์" แนะรัฐบาลชุดใหม่ควรให้ความสำคัญในการเดินหน้าพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อรองรับปัญหาน้ำมันที่จะปรับสูงขึ้นในอนาคต มองราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ลดลงในขณะนี้เป็นแค่ชั่วคราว มีแนวโน้มขยับไปที่ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลอีกครั้งหนึ่ง

..

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

.

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานสัมมนา "โลกร้อน..ในมุมมองของพลังงานสะอาด" ว่า ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายส่วนหันมาใช้พลังงานน้ำมันมากขึ้นเพราะมีภาระน้อยลง อีกทางหนึ่งกลับทำให้การค้นหาแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ การพัฒนาพลังงานทดแทน หรือพลังงานชีวมวลมีต้นทุนสูง จึงไม่จูงใจให้ฝ่ายต่างๆให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน

.

เพราะขณะนี้ต้นทุนการผลิตเอทานอลสูงกว่าน้ำมันเบนซินถึง 2 เท่าตัว ทำให้การพัฒนาพลังงานทดแทนไม่ค่อยเดินหน้ามากนัก และถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งจะอยู่ในระดับต่ำเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะจากนั้นในระยะปานกลางถึงระยะยาวราคาน้ำมันดิบก็จะขยับไปสูงขึ้นที่ประมาณ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลอีกครั้งหนึ่ง

.

ดังนั้น เมื่อมองเห็นว่าราคาน้ำมันจะขยับขึ้นเหมือนเดิม รัฐบาลชุดใหม่ต้องให้ความสำคัญในการเดินหน้าพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อรองรับปัญหาน้ำมันปรับสูงขึ้นในอนาคต อีกทั้งยอมรับว่าปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังชั้นบรรยากาศจะรุนแรงมากขึ้นในช่วง 20-30 ปีหน้าข้าง

.

ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศบนโลกเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซ CO2 สู่บรรยากาศหากเพิ่มขึ้นจาก 379 PM เพิ่มเป็น 1,000 PM ในช่วง 100 ปีข้างหน้าจะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงมากขึ้นบนโลก ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ก็ยังไม่เพียงพอในการลดก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศร้อยละ 90 ดังนั้น ทุกส่วนต้องเดินหน้าการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้โซลาร์เซลล์ การพัฒนาก๊าซไฮโดรเจน

.

เพราะหากไม่เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้จะมีปัญหาค่อนข้างมาก และการลดการปล่อยก๊าซ GHG อาจไม่ได้ลดลงตามข้อตกลงในพิธีสารโตเกียวในปี 2018 ดังนั้น การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังมีความสำคัญในการเดินหน้าก่อสร้าง เพราะจะเป็นพลังงานสะอาดที่ลดการปล่อยก๊าซ GHG ได้มากที่สุด.

.

ที่มา :  สำนักข่าวไทย