เนื้อหาวันที่ : 2008-10-31 09:40:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1340 views

เอเชีย ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนได้ 67% ในอนาคต ไม่พึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิล-พลังงานนิวเคลียร์

แผนการสนับสนุนพลังงานที่ยั่งยืนแห่งอนาคตของกรีนพีซระบุ ภายในปี 2593 ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ร้อยละ 67 โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมทั้งพลังงานนิวเคลียร์

แผนการสนับสนุนพลังงานที่ยั่งยืนแห่งอนาคตของกรีนพีซระบุ ภายในปี 2593 ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ร้อยละ 67 โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมทั้งพลังงานนิวเคลียร์

.

รายงานเรื่อง "ปฏิวัติพลังงาน แผนการพลังงานโลกที่ยั่งยืน" จัดทำขึ้นโดยสภาพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป (European Renewable Energy Council-EREC) และกรีนพีซสากล(Greenpeace International) ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงานอย่างมุ่งมั่นสามารถสร้างอุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินราว 360 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

.

โดยที่ระบบพลังงานดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้า ของโลกได้ครึ่งหนึ่ง ลดต้นทุนเชื้อเพลิงคิดเป็นเงินราว 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันก็ช่วยปกป้องสภาพภูมิอากาศ แผนการปฏิวัติพลังงานนี้เสนอแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จาก ภาคพลังงาน

.

ทั้งนี้เพื่อรับประกันว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มได้สูงสุดภายในปี 2558 และจะต้องลดปริมาณลงหลังจากนั้น เป้าหมายนี้สามารถบรรลุผลได้โดยที่รับรองว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดียและประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ

.

นาย ธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "รายงานฉบับนี้ยังแสดงถึงแนวทางในการสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในเอเชีย ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยปกป้องคนรุ่นอนาคตจากภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย เราจำเป็นต้องมีนโยบายพลังงานที่เข้มแข็งและชัดเจนจากผู้นำประเทศเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการใช้พลังงาน"

.

นายธารากล่าวต่อไปว่า "มาตรฐานของประสิทธิภาพพลังงานที่รัดกุมนั้นมีความสมเหตุสมผลในทางเศรษฐกิจและชะลอความต้องการใช้พลังงานที่ขยายเพิ่มขึ้นทั่วโลก การประหยัดพลังงานในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม จะทำให้เกิดพื้นที่สำหรับการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้การใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดที่ขยายตัวมากขึ้นถึง 4 เท่าในภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคการผลิตความร้อนและภาคขนส่งมวลชน ยังทำให้เราสามารถลดค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคนจาก 4 ตันให้เหลือ 1 ตันต่อคนให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2593"

.

โดยเฉพาะสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในปัจจุบัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดถือเป็นทางออกที่อย่างน้อยที่สุดได้ประโยชน์ถึง 3 ฝ่ายนั่นคือ ประโยชน์ต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ และผลดีต่อสภาพภูมิอากาศ

..

ในขณะที่แผนการพลังงานที่ดำเนินไปตามปกติขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มาพร้อมกับต้นทุนด้านสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจ แผนการปฏิวัติพลังงานโลกฉบับนี้สร้างกรณีที่ชัดเจนของ การดำเนินการแบบไม่ธรรมดา" มีการประมาณว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงถ่านหินที่ใช้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปี 2573 จะสูงถึง 15.9 ล้านล้านบาท

..

ซึ่งมากกว่าต้นทุนที่นำไปใช้ภายใต้แผนการปฏิวัติพลังงานเสียอีก นอกจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะผลิตไฟฟ้าโดยไม่ก่อให้เกิดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงไปจนถึงปี 2573 แล้ว ยังเป็นการขยายโอกาสด้านอาชีพและช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก

.

นาย โอลิเวอร์ สคาฟเฟอร์ ผู้อำนวยการด้านนโยบายของสภาพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป(EREC) กล่าวว่า "ตลาดพลังงานหมุนเวียนของโลกสามารถเติบโตในอัตราที่เป็นตัวเลข 2 เท่าจนถึงปี 2593 และมีขนาดแซงหน้าอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน ตลาดพลังงานหมุนเวียนในขณะนี้มีมูลค่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และขยายตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุก 3 ปี"

.

"เนื่องจากการประหยัดในเชิงขนาด พลังงานหมุนเวียนอย่างเช่น พลังงานลมในพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นมีความสามารถในการแข่งขันกับพลังงานแบบเดิมได้แล้ว และนับจากจากปี 2558 เป็นต้นไป เรามั่นใจว่าพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดในทุกภาคส่วนจะมีศักยภาพในเชิงประสิทธิภาพของต้นทุนมากที่สุด อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนมีความพร้อมและสามารถที่จะสนับสนุนการปฏิวัติพลังงานให้เกิดขึ้นจริง อุปสรรคที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเทคนิค แต่เป็นอุปสรรคทางการเมืองที่จะสร้างภาคพลังงานของโลกขึ้นใหม่" นายโอลิเวอร์กล่าวเสริม

.

รายงานฉบับนี้ยกประเด็นหน้าต่างแห่งโอกาสที่เหลืออยู่ไม่มากในการตัดสินใจเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นสูงสุดภายในปี 2558 และลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น รัฐบาล สถาบันทางการเงินและภาคธุรกิจพลังงานจะต้องลงมือทำ ในทันทีและจะต้องเห็นร่วมกันในข้อตกลงที่แข็งแกร่งด้านสภาพภูมิอากาศภายใต้เวทีเจรจาของสหประชาชาติ