เนื้อหาวันที่ : 2008-10-22 10:21:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1794 views

บ๊อช ผู้นำระบบเบรก ABS เดินหน้ารณรงค์เทคโนโลยีขับขี่ปลอดภัย

บ๊อช เดินหน้ารณรงค์เทคโนโลยีขับขี่ปลอดภัย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้รถเล็งเห็นความสำคัญของระบบความปลอดภัยก่อนการเกิดอุบัติเหตุ ชี้ระบบเบรกน่าจะอยู่ในลำดับต้น ๆ พร้อมแนะ ABS และ ESP(R) ควรเป็นหนึ่งในอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์ทุกคัน

.

บ๊อช เดินหน้ารณรงค์เทคโนโลยีขับขี่ปลอดภัย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้รถเล็งเห็นความสำคัญของระบบความปลอดภัยก่อนการเกิดอุบัติเหตุ ชี้ระบบเบรกน่าจะอยู่ในลำดับต้น ๆ พร้อมแนะ ABS และ ESP(R) ควรเป็นหนึ่งในอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์ทุกคัน หลังพิสูจน์แล้วว่าลดการลื่นไถลได้สูงถึง 50-70 %

.

นายมาร์ติน เฮย์ ประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายขายชิ้นส่วนรถยนต์ภูมิภาคอาเซียน บริษัท บ๊อช ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บ๊อชเดินหน้าโครงการรณรงค์เทคโนโลยีขับขี่ปลอดภัย เนื่องจากเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีของรถยนต์ในปัจจุบันและอนาคตจะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน และเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่รถยนต์เป็นอย่างมาก

.

โดยในส่วนของบ๊อชมองว่าระบบเบรก หรือระบบควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ ถือว่ามีความสำคัญกับผู้ขับขี่รถยนต์เป็นอย่างมาก และคาดว่าความต้องการและการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น ระบบเบรก ABS และ ESP? จะมีความต้องการมากขึ้นในท้องตลาด

.

"บ๊อชรณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัย" เพื่อกระตุ้นให้ผู้ขับขี่รถยนต์เห็นว่าระบบความปลอดภัยก่อนการเกิดอุบัติเหตุในรถยนต์ (Active Safety System) เป็นสิ่งที่สำคัญ และมองว่าระบบเบรก ABS, ระบบเบรก ESP? เป็นหนึ่งในอุปกรณ์มาตรฐานที่น่าจะพิจารณาให้มีการติดตั้งมากับรถยนต์ทุกคันตั้งแต่การประกอบในโรงงาน เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ที่จะสามารถช่วยป้องกันหรือลดอัตรา การเกิดอุบัติเหตุได้ จึงได้เชิญหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ เข้าร่วมงานรณรงค์เทคโนโลยีขับขี่ปลอดภัย ด้วย ABS/ ESP?

.

โดยในงาน จะมีการอธิบายถึงคุณสมบัติ และประโยชน์ของระบบความปลอดภัยก่อน การเกิดอุบัติเหตุในรถยนต์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลของประเทศต่าง ๆ ที่มีต่อการวางแผนในการลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมถึงการเปิดโอกาสให้ร่วมทดสอบการขับรถและประสิทธิภาพของระบบเบรก ABS และESP? บนสนามทดลอง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับการพัฒนา ในประเทศไทยด้วย" นายมาร์ติน เฮย์ กล่าว

.

สำหรับบ๊อชเป็นผู้คิดค้นระบบเบรกป้องกันล้อล๊อค หรือ ABS และเป็นผู้เริ่มผลิตเพื่อการพาณิชย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 หลังจากที่ผู้ขับขี่รถยนต์พบกับปัญหาเบรกล็อค ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ และระบบเบรค ABS ได้เข้ามาจัดการกับปัญหาดังกล่าว จนมีผลให้การขับขี่มี ความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

.

นอกจากนี้ในปี 2529 ยังได้มีการพัฒนาระบบ Traction Control System (TCS) ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีระบบเบรก ABS ทำให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ สภาพถนน ไม่ว่าจะเป็นถนนลื่น การเข้าโค้ง รวมถึงการขับรถขึ้นหรือลงที่ลาดชัน อย่างเช่นภูเขาด้วย

.

สำหรับ Electronic Stability Program (ESP?) เป็นการรวมทั้งระบบ ABS และ TCS เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ขับขี่สามารถบังคับรถได้ดีขึ้น ในกรณีที่รถเกิดการลื่นไถลขึ้น ระบบESP? จะทำงานตรวจสอบทิศทางของรถอยู่ตลอดเวลา หากกรณีที่รถเกิดอาการเสียหลักในลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการสไลด์ออกซ้ายหรือขวา ระบบจะช่วยชดเชยและปรับสภาพให้รถทรงตัวอยู่ในสภาวะปกติทันที

.

จากการศึกษารถยนต์ที่ใช้ระบบดังกล่าว มีการประเมินว่า สามารถลดความเสี่ยงจากรถลื่นไถล ได้มากกว่า 30-50% ในรถยนต์นั่งปกติ และกว่า 50-70% ในรถยนต์ประเภท SUV โดยในทวีปยุโรประบบดังกล่าวสามารถช่วยชีวิตผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ประมาณ 4,000 คน และในสหรัฐอเมริกา อีกกว่า 10,000 คน

.

ในส่วนของระบบเบรก ABS มีการพัฒนาและได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากเดิม ระบบเบรก ABS ถูกมองว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับรถราคาแพงเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน รถยนต์ใหม่ทั่วโลกมากกว่า 70% มีการติดตั้งระบบ ABS มาจากโรงงาน โดยบ๊อชยังคงเป็นผู้นำในการผลิตระบบเบรก ABS ซึ่งในปี 2551 บ๊อชมีแผนที่จะผลิตระบบเบรค ABS ถึง 21 ล้านชุด ส่วนในประเทศไทยปัจจุบัน มีรถยนต์ที่ติดตั้งระบบเบรก ABS แล้วประมาณ 52%

.

ในส่วนของระบบ ESP? ในประเทศไทยยังถือว่ามีปริมาณที่น้อยมากคือมีเพียง 2% เท่านั้น ขณะที่ในทวีปยุโรป ระบบ ESP? กำลังเริ่มเข้าไปเป็นอุปกรณ์มาตรฐานภายในรถยนต์อย่างรวดเร็ว อย่างกรณีของ สหรัฐอเมริกา มีการออกระเบียบ ให้ใช้ระบบ ESP? ในรถยนต์ประเภทไม่เกิน 4.5 ตันทุกคันภายในปี 2555 ขณะที่ในออสเตรเลีย และยุโรป ก็กำลังเร่งให้มีการออกกฎหมายผลักดันให้รถทุกคันมีระบบ ESP? และจะบังคับใช้กับรถยนต์ใหม่ทุกคันภายในปี 2557