เนื้อหาวันที่ : 2008-10-20 16:49:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4858 views

โครงการโรงไฟฟ้า เก็คโค่-วัน

นับว่าเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีค่าการปล่อยมลสารที่ต่ำที่สุดโรงหนึ่งในโลก โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีการควบคุมอัตราการระบายมลสารที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศไทย และธนาคารโลก รวมถึง มาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรปนับว่าเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดมาตรฐานหนึ่งของโลก

.

โครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน

บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท โกลว์ พบังงาน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าและสาธารณูปโภคเพื่ออุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศไทยกับบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี โดยปัจจุบันบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัดได้รับการคัดเลือกตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าไอพีพี จากกระทรวงพลังงานตามประกาศเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2550

.
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า และการกระจายเชื้อเพลิง

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่ให้มีการเปิดประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าไอพีพี ตามแผนพัฒนา PDP 2007 เพื่อให้มีปริมาณไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต โดยจากข้อมูลปริมาณการใช้ไฟในปี 2550 มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด 22,586 เมกะวัต ณ เดือนเมษายน คิดเป็นปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1478 เมกะวัตต์ต่อปีหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ต่อปี และยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

.

ดังนั้น เพื่อรักษาปริมาณไฟฟ้าสำรองในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมทางภาครัฐจึงได้มีการส่งเสริมให้เอกชนที่สนใจเข้าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าไอพี เพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงการเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ และการเพิ่มเสถียรภาพของราคาค่าไฟฟ้าด้วยการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในอัตราที่สูงมากถึงร้อยละ 67 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

.

.

.

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ตามมาตรการของภาครัฐ

ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าใหม่นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กลุ่มบริษัทโกลว์จะต้องปรับลดค่าอัตราการระบายมลสารจริงสูงสุด (Max Actual) ของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าปัจจุบันให้ลดลง โดยทางกลุ่มจะสามารถนำร้อยละ 80 ของปริมาณที่ลดลงได้ไปใช้ในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

.
โครงการโรงไฟฟ้าใหม่จะทำให้คุณภาพอากาศในบริเวณมาบตาพุดดีขึ้น

ต้องมีการปรับลดอัตราการระบายมลสารลง จึงจะสามารถขยายกำลังการผลิตเดิมหรือมีโครงการติดตั้งใหม่เกิดขึ้นแทนได้ โดยมีอัตราการระบบมลสารไม่เกินร้อยละ 80 ของปริมาณมลสารที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพอากาศโดยรวมของมาบตาพุดดีขึ้น

.

..

รายละเอียดโครงการ

  • ที่ตั้งโครงการ อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าปัจจุบันของกลุ่มบริษัทโกลว์ เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
  • ผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIAL) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • กำหนดการก่อสร้าง
    • ระยะเวลา 38 เดือน
    • เริ่มก่อสร้าง กลางปี พ.ศ.2551
    • แล้วเสร็จ ประมาณไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
  • กำลังการผลิตสุทธิ 660เมกะวัตต์
  • ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ใช้ประโยชน์ระบบสาธารณูปโภคเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น ท่าเทียบเรือสำหรับการขนถ่ายถ่านหิน สายพานลำเลียง ระบบสูบน้ำหล่อเย็นและรางระบายน้ำระบบสายส่ง ฯลฯ
  • ใช้ถ่านหินบิทูมินัสจากอินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย ที่มีกำมะถันต่ำเป็นเชื้อเพลิง (ไม่เกิน 1%)

.
จุดเด่นของโครงการ
  • จะทำให้ปริมาณมลสารในอากาศโดยรวมลดลง
  • มีมาตรการตรวจสอบและติดตามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดอายุโครงการ รวมทั้งการจัดแสดงข้อมูลให้ชุมชนและสาธารณชนรับทราบ
  • อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีระบบการจัดการและตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยและเข็มงวด
  • จัดสรรเงินเข้าโครงการกองทุนพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า

.
กระบวนการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  1. ถ่านหินคุณภาพดีชนิดบิทูมินัสนำเข้าจากต่างประเทศ จะถูกลำเลียงจากท่าเทียบเรือของโครงการ โดยระบบสายพานลำเลียงแบบปิด เข้าสู่ลานกองถ่านหิน
  2. ถ่านหินที่ถูกลำเลียงสู่โรงไฟฟ้าจะถูกบดเป็นผง ก่อนที่จะพ่นเข้าสู่หม้อต้มไอน้ำประสิทธิภาพสูง เพื่อทำการเผาไหม้ให้เกิดพลังงานความร้อน โดยหัวเผาที่ได้รับการออกแบบให้มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ เกิดออกไซต์ของก๊าซไนโตรเจนต่ำ (Low NOx Bumer)
  3. พลังงานความร้อนจะส่งผ่านไปสู่น้ำในหม้อต้มไอน้ำ ทำให้เกิดไอน้ำแรงดันสูง ซึ่งจะถูกส่งไปยังกังหันไอน้ำ เพื่อเกิดแรงขับไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเกิดเป็นพลังงานฟ้าขึ้น
  4. ไอน้ำที่ผ่านกังหันไอน้ำแล้ว จะถูกส่งเข้าสู่ระบบหล่อเย็นโดยใช้น้ำทะเลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนน้ำทะเลซึ่งใช้หล่อเย็นจะถูกควบคุมอุณหภูมิก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเลไม่ให้สูงเกินกว่าที่หน่วยงานภาครัฐฯ กำหนด ระบบหล่อเย็นจะใช้น้ำทะเล เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำดิบซึ่งจำเป็นสำหรับการเกษตรและครัวเรือน
  5. ก๊าซร้อนจากการเผาไหม้ในหม้อต้นไอน้ำจะถูกส่งไปยังระบบควบคุมมลภาวะ ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องดักจับออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน (SCR) เครื่องดักจับฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิติ (ESP) และเครื่องดักจับออกไซด์ของซัลเฟอร์ (FGD) ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศทางปล่องซึ่งมีความสูง 150 เมตร ระบบควบคุมมลภาวะนี้เป็นระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีค่าการระบายมลสารที่สะอาดที่สุดในประเทศไทย และเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหินชั้นนำแห่งอื่นในโลก
  6. เถ้าถ่านหินที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งหมดจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในไซโล ก่อนที่จะขนส่งให้กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์/อุตสาหกรรมคอนกรีตผสมเสร็จ เพื่อเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่
  7. การดำเนินงานของโครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน จะเป็นไปตามมาตรฐานสากล ใช้ถ่านหินคุณภาพสูง และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ Supercritical Pulverized Coal Boiler Technology ซึ่งเป็นระบบหม้อต้มไอน้ำประสิทธิภาพสูงสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงให้น้อยลง ทำให้ปริมาณการระบายมลสารลดลงด้วย
  8. มีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดอายุโครงการ โดยเฉพาะยิ่งกลุ่มบริษัทโกลว์ เป็นเอกชนรายแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการติดตั้งเป้าหมายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Emission Display Board) ซึ่งจะแสดงข้อมูลการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้า ณ เวลานั้นเปรียบเทียบกับมาตรฐานของประเทศ เพื่อให้ควมั่นใจกับหน่วยงานต่างๆ และชุมชนโดยรอบว่าการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามมาตรฐานตลอดเวลา
  9. นอกจากนี้ บริษัทฯ สามารถใช้ระบบการสนับสนุนการผลิตเดิมที่มีอยู่แล้วบางส่วน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี 

.

โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน นับว่าเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีค่าการปล่อยมลสารที่ต่ำที่สุดโรงหนึ่งในโลก โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีการควบคุมอัตราการระบายมลสารที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศไทย  และธนาคารโลก (World Bank Standards) รวมถึง มาตรฐานของกลุ่มประเทศยุโรป (EU Standards) ซึ่งนับว่าเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดมาตรฐานหนึ่งของโลก

.

 

 

.

ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ-ระดับประเทศ

  • ราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม (การประมูลพิจารณาจากปัจจัยด้านราคาและเทคนิค)
  • กระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป
  • เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยนำเอาเทคโนโลยีด้านการจัดการ และควบคุมสิ่งแวดล้อมระดับโลกมาใช้
  • ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในภาคการผลิตไฟฟ้า
ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ-ท้องถิ่นและชุมชน
  • คุณภาพอากาศดีขึ้น เนื่องมาจากการปล่อยมลสารลง
  • สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่นโดยผ่านการจัดการต่างๆ และภาษี
  • เพิ่มอัตราการจ้างงานในพื้นที่
  • เงินสมทบกองทุนพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า
    • ะหว่างการก่อสร้าง ประมาณปีละ 33 ล้านบาท
    • เมื่อเริ่มผลิตไฟ ประมาณปีละ 100 ล้านบาท

.

 คณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วยผู้แทนภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิผู้แทนภาครัฐ และผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า โดยชุมชนจะเป็นผู้ดูแลการใช้เงินกองทุน

 

 

.

โดยกองทุนมีกรอบการใช้จ่ายที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่ชั้นใน ที่อยู่ในรัศมี 5 กม. จากเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยสามารถจัดสรรเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและสุขภาพชีวิตของชุมชน
  • สนับสนุนด้านการศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม
  • สนับสนุนกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนกิจกรรมทางด้านสังคม

ทั้งนี้ คณะกรรมการกองทุนฯ จะพิจารณาดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของชุมชน และกิจกรรมที่ให้ประโยชน์กับส่วนรวมเป็นหลัก เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน

.
กลุ่มบริษัทโกลว์ และความรับผิดชอบต่อสังคม

ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมามากกว่า 15 ปี กลุ่มบริษัทโกลว์ตระหนักถึงความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน กับหน่วยงานราชการและสาธารณชนในการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มบริษัทโกลว์ได้ดำเนินโครงการในด้านการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มบริษัทโกลว์ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการต่างๆ และชุมชนด้วยดีตลอดมา

.

โครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน

รายละเอียดโครงการ
  • กำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ใช้ถ่านหินบีทูมินัสที่มีกำมะถันต่ำเป็นเชื้อเพลิง
ที่ตั้งโครงการ
  • อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าปัจจุบันของกลุ่มบริษัทโกลว์เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
  • ใช้ประโยชน์ระบบสาธารณูปโภคเดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อเป็นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ระยะเวลาก่อสร้าง
  • ผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลา 38 เดือน เริ่มก่อสร้าง กลางปี พ.ศ.2551  แล้วเสร็จประมาณไตรมาส 4 ของปีที่ 2554
จุดเด่นของโครงการ
  • โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
  • การปล่อยมลสารในอากาศโดยรวบลดลงช่วยให้คุณภาพอากาศในมาบตาพุดดีขึ้น
  • สมทบเงินกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ปีละประมาณ 100 ล้านบาท
  • มีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดอายุโครงการ
  • กลุ่มบริษัทโกลว์ เป็นเอกชนรายแรกในประเทศไทย ที่ดำเนินการติดตั้งป้ายแสดงผลคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Emission Display Board) แบบเวลาจริง

 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการระดับประเทศ

  • รักษาความมั่งคงด้านพลังงานของประเทศ
  • ผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต
  • อัตราค่าไฟฟ้าถูก
  • กระจายความเสี่ยงในการใช้เชื้อเพลงในการผลิตไฟฟ้า
  • ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในภาคการผลิตไฟฟ้า
เจ้าของโครงการ
  • บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เหมราช พัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)

สนใจข้อมูลเพิ่มโปรดติดต่อ : นายสมชัย กลิ่นสุวรรณมาลี บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)

สำนักงานกรุงเทพฯ : เลขที่ 195 เอ็มโพร์ทาวเวอร์ ชั้น 38 พาร์ควิง ถนนสาธรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

โทรศัพท์ : (66 2) 670 1500 #310 โทรสาร : (66 2) 670 1548-90

สำนักงานระยอง : เลขที่ 11 ถนนไอห้า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21150

โทรศัพท์ : (038) 684 780-8 # 5301 โทรสาร : (038) 684 789