เนื้อหาวันที่ : 2006-09-11 11:02:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5953 views

โรงไฟฟ้าใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง

โรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อลดการใช้วัตถุดิบ และศึกษาการใช้วัตถุดิบอย่างอื่นแทนการใช้เชื้อเพลิงจาก แกลบ เช่น เศษไม้ เหง้ามันสำปะหลัง

หากเรามองถึงแหล่งการพัฒนา และความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมนั้น ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน คงจะนึกภาพเห็น หรือให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่อยู่ในเมืองหลวงหรือเขตปริมณฑลเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลืมไปว่าอุตสาหกรรมในเขตภูมิภาคนั้นก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ที่จะเป็นเฟืองจักรอันสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้รุดหน้าไปได้ ซึ่งในปัจจุบัน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหลายแห่งในท้องถิ่นต่าง ๆ มีศักยภาพในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ สามารถส่งออกแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในตลาดโลกได้อย่างน่าภาคภูมิใจ เช่นกัน

.

.

สำหรับคอลัมน์ Plant Tour ฉบับนี้ เราจึงมาไกลกันถึงจังหวัดชัยนาทเลยทีเดียว โดยทีมงานได้รับเชิญจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมเดินทางเยี่ยมชมการผลิตของ บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทั้งสองบริษัทที่เราจะไปทำความรู้จักนั้น อาจจะเป็นแค่ส่วน หนึ่ง ของฟันเฟืองที่ช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้า แต่ก็มีความสำคัญไม่ น้อย เช่นกันครับ

.

ภายใน บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด ทีมงานได้รับการต้อนรับจาก คุณรุ่งรัตน์ ประภาศิริกุล กรรมการผู้จัดการ และ คุณมนตรี ศรีรุณ ผู้จัดการโรงงาน ได้มาให้เกียรติเล่าถึงความเป็นมาของบริษัท กระบวนการดำเนินงานผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งแผนการดำเนินงานในอนาคตให้เราได้รับทราบกัน

.

โดยบริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง ตามโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) โดยมีกำลังการผลิต 6,000 กิโลวัตต์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า บริษัทใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด ใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสภาพแวดล้อมตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แห่ประชาชนในท้องถิ่น แทนที่จะนำไปทิ้งซึ่งเป็นการสูญเปล่า อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประชาชนในบริเวณพื้นที่โครงการให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

.

.
COMPANY PROFILE

บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด

สำนักงาน                 388 อาคาร เอส พี ชั้น 17 ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ ฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2273-0037 โทรสาร 0-2273-0735

โรงงาน                    15 หมู่ 10 ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17120 โทรศัพท์ 0-5646-1641-2 โทรสาร 0-5643-9015

ประกอบกิจการ        อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ผลิตภัณฑ์                 กระแสไฟฟ้า กำลังการผลิต 6,000 กิโลวัตต์

ก่อตั้งเมื่อ                  20 สิงหาคม พ.ศ. 2536

จำนวนพนักงาน       69 คน

เงินลงทุน                 300 ล้านบาท

พื้นที่                         51 ไร่

.

.

กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า

ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งนี้นั้น จะมีส่วนประกอบที่สำคัญของโรงไฟฟ้า ได้แก่ หม้อน้ำ กังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหม้อควบแน่น โดยจะมีหลักการทำงานดังนี้ คือ

.

1.นำน้ำที่ผ่านการปรับสภาพแล้วมาต้มให้เดือดจนกลายเป็นไอในหม้อน้ำ โดยใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ที่ได้จากเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น แกลบ ฟางข้าว ชังข้าวโพด เป็นต้น

.

2.น้ำที่ถูกต้มจนเดือดจนกลายเป็นไอน้ำได้แรงดันประมาณ 35 บาร์ จะถูกนำไปหมุนกังหันไอน้ำด้วยความเร็ว 3,000 รอบ/นาที (RPM) ซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้

.

3.ไอน้ำ ซึ่งผ่านกังหันไอน้ำแล้วจะถูกนำมาผ่าน Cooling Tower เพื่อทำการควบแน่นและกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำในหม้อควบแน่น ซึ่งน้ำที่ได้จะนำกลับไปใช้ผลิตเป็นไอน้ำอีก หมุนเวียนต่อเนื่องกันไป

.

.
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่จะตามมา ถือเป็นหัวใจในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านี้ บริษัทได้มีการวางแผนตั้งแต่การคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน โดยให้อยู่ในทำเลที่เหมาะสม ซึ่งจะอยู่นอกแหล่งชุมชนซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ น้อย และได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองจากการเผาไหม้มิให้ฟุ้งกระจายไปสู่ภายนอก รวมทั้งระบบการบำบัดน้ำจากกระบวนการผลิตและนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

.
ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าไบโอ-แมส เพาเวอร์

1.เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการลงทุนระบบสาธารณูปโภค โดยสนับสนุนให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับบริการที่ดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรม

.
2.ช่วยพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดย

          - ทำให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น 

         - รับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เศรษฐกิจของท้องถิ่นดีขึ้น 

          - สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น โดยเข้าร่วมเป็นส่วน หนึ่ง ของชุมชนนั้น

.

.

3.ลดการนำเข้าวัตถุดิบ4.แนวทางการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ช่วยส่งเสริมให้สังคมภาคการเกษตรแข็งแกร่ง และเติบโตไปพร้อมกับภาคอุตสาหกรรม โดยที่บริษัท ฯ มีแนวนโยบายในการสรรสร้างอุตสาหกรรมภาคการเกษตรต่อเนื่อง โดยใช้ผลผลิตของโครงการ เช่น ไอน้ำ หรือไอร้อนมาใช้อบพืชไร่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรได้ราคาสูงขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นจากต่างประเทศ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ หันมาใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นทดแทน ทำให้ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ

.

4.แนวทางการพัฒนาพลังงานยั่งยืน ช่วยส่งเสริมให้สังคมภาคการเกษตรแข็งแกร่ง และเติบโตไปพร้อมกับภาคอุตสาหกรรม โดยที่บริษัท ฯ มีแนวนโยบายในการสรรสร้างอุตสาหกรรมภาคการเกษตรต่อเนื่อง โดยใช้ผลผลิตของโครงการ เช่น ไอน้ำ หรือไอร้อนมาใช้อบพืชไร่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรได้ราคาสูงขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น

.

5.กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะจำหน่ายเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าที่แรงดัน 22 KV ซึ่งเป็นระดับแรงดันที่กระจายสู่ชุมชนต่าง ๆ อันจะเป็นผลให้ระบบไฟฟ้าที่เข้าสู่ชุมชนมีเสถียรภาพสูงขึ้นและปัญหาไฟฟ้าดับหรือตกจะสามารถบรรเทาลงได้

..

 

 

  

รุ่งรัตน์ ประภาศิริกุล 

 กรรมการผู้จัดการ  

บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด

.

"นอกจากภาระหน้าที่ในการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานแล้วเรายังให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของการควบคุมดูแลการผลิตไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานให้มีคุณค่าสูงสุด รวมทั้งการประสานงานและทำความเข้าใจที่ดีต่อมวลชนอีกด้วย ซึ่งเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจและทำให้เรามุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบพลังงานของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วน หนึ่ง ของสังคมไทย"

.

สภาวะอุตสาหกรรม กล ยุทธ ์ และการดำเนินงาน

จากการดำเนินงานของบริษัท ฯ ซึ่งต้องใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น ประสบกับปัญหาในเรื่องของการแย่งซื้อแกลบกับผู้ประกอบการโรงปูนซีเมนต์แถวจังหวัดสระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และนครสวรรค์ ที่มีการกว้านซื้อแกลบออกจากตลาดไปถึงร้อยละ 40-50 ส่งผลให้ราคาแกลบปรับตัวสูงขึ้นมาก จากเดิมบริษัท ฯ รับซื้อเพียงตันละ 200 บาท จนปัจจุบันราคาแกลบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บริษัทต้องรับซื้อในราคาสูงถึงตันละ 800-850 บาท

.

โดยโรงปูนเห็นว่า การใช้แกลบมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต จะสามารถทดแทนน้ำมันเตาลงได้เป็นบางส่วน เท่ากับช่วยลดต้นทุนการผลิตของโรงงานลงได้ ประกอบกับขี้เถ้า ที่ได้จากการเผาไหม้ของแกลบ ยังสามารถนำมาผสมกับปูนได้อีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้โรงปูนหันมาซื้อแกลบจากตลาดมากขึ้น ส่งผลทำให้แผนการขยายกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัทต้องมีการปรับเปลี่ยนการใช้วัตถุดิบจากการใช้แกลบเพียงอย่างเดียวมาเป็นวัตถุดิบตัวอื่น ๆ เช่น เศษไม้, ฟางข้าว และชานอ้อย ซึ่งมีราคาถูกกว่า

.

.

ปัจจุบัน บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 6,000 กิโลวัตต์ โดยจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) จำนวน 5,000 กิโลวัตต์และใช้เองภายในโรงงาน 850 กิโลวัตต์ มีการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าวันละ 180 ตัน แกลบเหล่านี้จะรับซื้อจากโรงสีในจังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียง ในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 6,000 กิโลวัตต์ ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตรวมเป็น 12,000 กิโลวัตต์ เป็นส่วนที่ขยายจากพื้นที่โรงงานเดิม ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการเจรจากับผู้ร่วมทุน โดยคาดว่าจะสามารถก่อสร้างส่วนขยายเพิ่มได้สำเร็จภายในปี 2550 โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้จะใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นเพื่อลดการใช้วัตถุดิบ และศึกษาการใช้วัตถุดิบอย่างอื่นแทนการใช้เชื้อเพลิงจากแกลบ ซึ่งกำลังศึกษาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างอื่น เช่น เศษไม้ เหง้ามันสำปะหลัง ฟางข้าว รวมถึงผลพลอยได้ที่เหลือจากการผลิต โดยเฉพาะขี้เถ้าจากแกลบในการนำไปผลิตเป็นอิฐมวลเบาเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น

.

จากภาพรวมของการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของ บริษัท ไบโอ-แมส เพาเวอร์ จำกัด เองก็ตาม คงจะทำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้น ทั้งกระบวนการในด้านการผลิต หรือกล ยุทธ ์ต่าง ๆ ที่บริษัทเหล่านี้ได้นำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่ในเวทีแห่งการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมนี้ได้ และนี่ก็เป็นเพียงแค่ส่วน หนึ่ง ของภาคอุตสาหกรรมในส่วนของภูมิภาคเท่านั้น เรายังมีอีกหลายบริษัท หลายกิจการที่เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้รุดหน้าไป  โปรดติดตามครับ

.
ขอขอบคุณ

- ดร.ประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- คุณเกียรติพงศ์ น้อย ใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- คุณเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- คุณคมสัน เหล่าศิลปเจริญ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

- คุณประทีป สุธีวงศ์ ผู้จัดการ บจก.ตรีเพชร อีซูซุ ชัยนาท