เนื้อหาวันที่ : 2008-10-16 16:44:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3165 views

นอนกรน เสียงที่น่ารำคาญ

การนอนกรนมีผลเสียอย่างไรต่อสุขภาพ นอกจากเสียงกรนที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า สามารถสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง หรือคนที่นอนในบริเวณเดียวกัน ในบางรายถึงกับทำให้มีปัญหาด้านครอบครัวเกิดขึ้น


1.การนอนกรนเกิดจากอะไร
 
2.การนอนกรนมีผลเสียอย่างไรต่อสุขภาพ นอกจากเสียงกรนที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้วว่า สามารถสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้าง หรือคนที่นอนในบริเวณเดียวกัน ในบางรายถึงกับทำให้มีปัญหาด้านครอบครัวเกิดขึ้น การอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ที่นอนกรน อาจมากถึงระดับที่ทำให้หยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้ ถ้าเกิดขึ้นบ่อย และถี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพดังต่อไปนี้
 
         - ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ไม่แจ่มใส แม้ว่าจะนอนจำนวนชั่วโมงเพียงพอแล้ว 
         - มีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวในตอนเช้าหลังตื่นนอน 
         - อาการง่วงหงาวหาวนอนมากกว่าปกติในช่วงตอนกลางวัน 
         - มีอาการหลับใน ขณะนั่งทำงานหรือขับรถ 
         - ความจำหรือสติปัญญาแย่ลงกว่าวัยอันสมควร 
         - อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย โกรธง่าย 
         - เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น 
         - ในเด็กอาจมีปัญหาเรื่องการเรียนที่แย่ลง หรือปัสสาวะรดที่นอนในเด็กโต เป็นต้น 


3.พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราก็นอนกรมกันมานาน ทำไมไม่เห็นเป็นโรคอะไรกันมากมาย คนส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการนอนกรน และทำให้เกิดปัญหาเรื่องเสียงรบกวนแต่เพียงอย่างเดียว เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบว่ามีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย คนกลุ่มหลังนี้เท่านั้นที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพตามมา


4.จะทราบได้อย่างไรว่าอาการนอนกรนที่เป็นอยู่เป็นแบบกรนอย่างเดียว หรือมีอาการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เราสามารถทราบจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งทำ "การทดสอบขณะนอนหลับ" ก็จะสามารถบอกได้ว่าการนอนกรนของท่านเป็นแบบใด
 
5."การทดสอบขณะนอนหลับ" คืออะไร เป็นการทดสอบโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการวินิจฉัยว่าท่านมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ ถ้ามี มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยเป็นเครื่องมือวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการไหลของอากาศทางจมูก เสียงกรน ขณะทำการทดสอบ ท่านเพียงแต่เข้านอนตามปกติ และติดอุปกรณ์เหล่านี้
 
โดยไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ วิธีการรักษาในขั้นต่อไป คือ การใช้เครื่องเพิ่มความดันในทางเดินหายใจ (CPAP) โดยจะเพิ่มความดันในทางเดินหายใจของท่าน และทำให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่ตลอดเวลา หรืออาจใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งสามารถใช้การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อน การผ่าตัดด้วยลำแสงเลเซอร์ การผ่าตัดด้วยคลื่นวิทยุเพื่อทำให้อาการนอนกรนดีขึ้น
 
6.ถ้ามีอาการนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย จะมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ สมควรอย่างยิ่งที่จะทำการรักษา เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา วิธีการรักษาจะคล้ายคลึงกับอาการนอนอกรนธรรมดา แตกต่างกันที่ควรจะให้การรักษาหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน


เช่น ลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการใช้เครื่อง CPAP หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมไปด้วยการรักษาด้วยการผ่าตัดอาจต้องทำมากกว่าการรักษาอาการนอนกรนธรรมดา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจที่มีอยู่
 
7.การรักษาด้วยการผ่าตัดได้ผลเป็นอย่างไร มีอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปการผ่าตัดจะได้ผลในระดับค่อนข้างดี (ประมาณ 75-80%)  


8.เมื่อมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลจะได้รับการตรวจรักษาอย่างไร แพทย์จะทำการซักประวัติตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก โดยละเอียด รวมทั้งให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินอาการนอนกรน เพื่อใช้ในการติดตามผลการรักษา


แพทย์จะทำการตรวจหาตำแหน่งการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วยการส่องกล้างตรวจรวมทั้งส่งการตรวจเอกซเรย์ด้านข้างของกระโหลกศีรษะ เพื่อประเมินช่องทางเดินหายใจของผู้ป่วย ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (รพ. กรุงเทพมีบริการทำการทดสอบนี้ให้ถึงบ้านในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) เมื่อได้ผลแล้วจะให้คำแนะนำวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วย


ถ้าผู้ป่วยเลือกใช้การรักษาด้วยเครื่อง CPAP จะมีบริการให้ผู้ป่วยได้ทดลองใช้เครื่อง 1 อาทิตย์ฟรี และให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการรักษาอีกครั้ง ถ้าเลือกการรักษาด้วยการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลฯ สามารถบอกค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการรักษาด้วยโปรแกรมการผ่าตัดแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการนอนกรนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ด้วย อัตราเสี่ยงสำหรับการผ่าตัดรักษาอาการนอนกรนไม่แตกต่างจากการผ่าตัดอื่น ๆ
 
9.ถ้าผลการทดสอบมีเพียงอาการนอนกรนอย่างเดียว จะมีวิธีรักษาอย่างไร ผู้ที่มีอาการอาจจะเลือกรักษา หรือไม่รักษาก็ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีปัญหากับคู่นอนหรือการเข้าสัมคมมากน้อยเพียงใด วิธีการรักษาเริ่มตั้งแต่วิธีง่าย ๆ ที่ท่านสามารทำได้ด้วยตัวเอง เช่น
 
- นอนตะแคง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รักษาโรคอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ 


10.ถ้าใช้วิธีดังกล่าวแล้ว อาการนอนกรนยังไม่ดีขึ้นจะทำอย่างไร การนอนกรนเกิดจากการที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อากาศที่เราหายใจขณะหลับ ผ่านลงไปสู่ปอดไม่สะดวก เกิดการสั่นของเพดานอ่อน และลิ้นไก่ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน
 
ที่มา : http://www.bangkokhealth.com