เนื้อหาวันที่ : 2008-09-11 10:01:22 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2629 views

คลัสเตอร์ ( Cluster ) กู้ชาติ

รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย อุตสาหกรรมขนาดเล็กจะอยุ่ได้ต้องอาศัยการรวมกลุ่มเป็น คลัสเตอร์ เป็นการทำที่ไม่ยุ่งยาก มีจุดยืนที่ชัดเจน โดดเด่นไม่ซ้ำใคร และสอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจมหภาค

 โดย ดร.วิลเลี่ยม วู

.

คำว่า "รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย" เป็นคำพังเพยโบราณ ที่ยังใช้ได้ดีอยู่ในยุคสมัยนี้  ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการทำ คลัสเตอร์ แนวทางสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์ โอท็อป  การออกกฎหมายต้านโมเดิร์นเทรด เพื่อช่วยรักษาโชว์ห่วย หรือ แม้กระทั่งนโยบายการกระตุ้นส่งออกสู้ค่าเงินบาท ล้วนเป็นนโยบายที่ดี ซึ่งยังไม่สามารถทำให้ประสพผลสำเร็จให้เป็นรูปธรรมได้...เนื่องจากผู้ที่คิดนโยบายไม่ใช่ผู้รู้ และ ผู้ปฏิบัติจริงในอุตสาหกรรมนั้น ๆ จึงขาดประสบการณ์เชิงลึกในการแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติได้

.

ผู้ที่จะทำให้แนวคิดต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้นั้น ควรเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมนั้นๆ และ รู้จริง อย่างเช่น การทำ คลัสเตอร์ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า เหมือนกับ กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป  ก็คือ คลัสเตอร์ โดยที่จริงแล้ว คลัสเตอร์ หมายถึง การรวบรวมเอาผู้ผลิต เส้นด้าย  โรงย้อม  สีย้อม  โรงทอ  ผู้ออกแบบ และ โรงเย็บ มารวมกัน เป็นกลุ่ม ถ้าจะให้ดีต้องมีผู้ซื้อ

.

อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า หรือ พ่อค้าส่ง หรือ  ผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาร่วมด้วย ยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น จนทำให้เกิด ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ( Value Chain ) เกิดขึ้น เราอาจเรียก คลัสเตอร์ นี้ว่า Garment Cluster หรือ คลัสเตอร์เสื้อผ้าสำเร็จรูป  หรือ อีกนัยหนึ่ง การทำ คลัสเตอร์ อาจจะรวมเอา ผู้ผลิตวัตถุดิบ  ผู้ผลิตสินค้า  ผู้ขายสินค้า  และ ผู้ซ้อสินค้า ยกตัวอย่างเช่น การนำเอา ฟาร์มโค กระบือ โรงฆ่าสัตว์ โรงฟอกหนัง โรงงานผลิตเครื่องหนัง รองเท้า หมวก กระเป๋า และ เสื้อหนังมารวมกัน

.

รวมทั้งผู้ออกแบบ ผู้ซื้อ  ผู้ขายส่ง และ ห้างค้าปลีก รวมกันเป็น Leather Cluster หรือ คลัสเตอร์ เครื่องหนัง  ขอบข่ายอาจจะแคบลงไปหากรวมกันยาก หรือ วัตถุดิบบางอย่างอยู่ต่างประเทศ ก็ทำ กลุ่มเล็กๆ ที่มีต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ ที่อยู่ในจังหวัด หรือ ในประเทศก่อน เป็น ห่วงโซ่อุปทานสั้นๆ ก็ได้  การทำ Fashion Cluster เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไม่ใช่แค่เอาเครื่องหนังสำเร็จรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป และ จิวเวอร์รี่มารวมกันก็เป็นคลัสเตอร์ ได้ เพราะนั่นเรียกว่า เป็น Category Cluster คือ คล้ายๆร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง เท่านั้นเอง

.

ซึ่งไม่แน่เสมอไปที่ผู้ซื้อ จะต้องเป็นคนๆเดียว หรือ กลุ่มเดียวกัน  จึงทำให้การรวมตัวนั้นดูดี แต่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ยกเว้น งานเดินแฟชั่นโชว์ หรือ การเปิดร้านค้าปลีกเท่านั้น เพราะไม่เกิดการรวมตัวในด้านวัตถุดิบ หรือ แม้กระทั่งการพูดคุยก็พูดกันคนละเรื่อง เพราะ เสื้อผ้ามีวัตถุดิบหลากหลายประเภท กระเป๋า และ จิวเวอรี่ก็เช่นกัน ทำให้ดู คลัสเตอร์ กว้างเกินไปจนจับต้นชนปลาย หรือ เริ่มต้นไม่ถูก

.

โอท็อป ก็เช่นกัน คือ ไม่ได้ผลิตตามข้อมูลตลาด แต่ผลิตตาม การสนับสนุนของรัฐฯ จังหวัด หรือ อำเภอหนึ่ง อาจมีความถนัด หรือ วัตถุดิบ ทำไวน์องุ่นได้ แต่ จังหวัดอื่น ๆ อาจทำไม่ได้  ไม่ใช่ ให้ทุกจังหวัด ทำไวน์เหมือนๆกันหมด ทุกๆ อำเภอ หรือ สถานที่ย่อมต้องมี Product Champion หรือ พระเอก เพียงตัวเดียว ไม่ใช่ผลิตได้ทุกอย่าง  เหมือนจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อก่อนเป็น เมืองที่มีวัฒนธรรมล้านนา

..

ปัจจุบัน ไม่รู้ว่า กลายเป็นอะไรแล้ว ทั้งศูนย์ประชุมนานาชาติ  ศูนย์ดอกไม้นานาชนิด  ศูนย์ท่องเที่ยวไนท์ซาฟารี  แล้วยังเป็น ฮับของสายการบินอีก  เป็นต้น จนไม่รู้ว่า จะให้คำนิยามเชียงใหม่ว่าอะไร เพราะไม่มีจุดยืน หรือ Positioning ที่เด่นชัด  การออกกฎหมายสกัดกั้นการขยายตัวของโมเดิร์น เทรด ก็ทำได้ช้ามาก จนเกือบจะสายเกินแก้ เพราะ ทุกที่ ทุกจังหวัด ทุกซอย มี โมเดิร์นเทรด ขนาด ใหญ่  กลาง  เล็ก Express, kiosk เต็มไปหมด เหมือน Sme , Otop และ โชว์ห่วย เป็น แซนด์วิช ถูกบีบทั้งบน และ ล่าง จนไส้กรอกแบนเป็นแฮมแล้ว

.

โรงงานที่ผลิตส่งออกก็ยังเล่นเพลงเดิมๆ คือ รับจ้างผลิต OEM กินค่าแรงเป็นหลัก พอค่าแรงเพิ่ม  วัตถุดิบแพงขึ้น หรือ แม้กระทั่ง ค่าเงินบาทแข็งตัว โดยไม่ได้คาดคิด เหมือน คลื่น       ซึนามิ ก็ไม่มีกำแพงป้องกัน จนต้องปิดกิจการทำให้เกิดปัญหาว่างงาน สร้างปัญหาสังคมเพิ่มอีก หลายพันครอบครัว เหตุเพราะพึ่งแต่ตลาดส่งออก 100% หรือ ขายโมเดิร์นเทรด 100% พอเขาเลิกซื้อ หรือ ปันใจให้ที่ ๆ ถูกกว่า ก็หายใจไม่ออก ตายทันที

.

เพราะยืมจมูกเขาหายใจมาตลอด ไม่มีก๊อก 2 เหมือนมอร์เตอร์ไซด์  มีก๊อกเดียว หมดแล้ว....หมดเลย หมดทั้งเงิน หมดทั้งธุรกิจ เผลอๆยิงตัวตาย หมดทั้งชีวิต ทั้งตระกูลก็มี  แล้วนโยบายรัฐบาล ก็มักเป็นนโยบายวัวหายแล้วล้อมคอก คือ มาออกกฎให้ฝากเงินดอลล่าร์ได้นานขึ้น  แนะให้ทำการซื้อเงินดอลล่าร์ หรือ ผูกค่าเงินไว้ล่วงหน้า   จะผูกทำไมในเมื่อ ค่าเงินมันแข็งจนใกล้ติดเพดานแล้ว มีแต่จะอ่อนลง ไม่แข็งมากกว่านี้แล้ว

.

เมื่อรู้ปัญหาอย่างนี้แล้ว ประกอบกับธุรกิจร้านอาหารในไทยกำลังรุ่งเรือง เหตุเพราะว่า ร้านอาหารในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น อาหารไทย จีน  เกาหลี ญี่ป่น ฝรั่ง หรือ แม้กระทั่ง อินเดีย  เมื่อมาดัดแปลงโดยกุ๊กไทย ให้เหมาะกับรสชาติที่คนไทยชอบแล้ว  อาหารทุกชนิดมีรสจัดจ้าน กว่าเดิม และ เป็นที่ถูกปากของคนทั้งโลก  อีกทั้ง กุ๊ก หรือ เชฟไทยก็เป็นที่ต้องการของร้านอาหารทั่วโลกอีกด้วย

.

ประเทศไทยก็มีวัตถุดิบในการประกอบอาหารอยู่มากมายกว่า ทุกๆประเทศ ทั้งเนื้อสัตว์  อาหารทะเล  ผัก ผลไม้  เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น จึงเป็นแนวร่วมที่ดี ที่จะทำ คลัสเตอร์ ที่ไทยมีทั้ง วัตถุดิบที่ดี  บวกกับ คนทำอาหารที่เก่ง และ เป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยว มีวัฒนธรรมที่สวยงาม มีทะเลสวยงาม ที่ว่ายน้ำอาบแดดได้ ไม่เหมือนเมืองนอก ที่น้ำเย็นเจี๊ยบ   และอากาศเย็น ไม่สามารถถอดเสื้อ อาบแดดได้ จึงทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว และ เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต เกาะสมุย และ เชียงใหม่ คราคร่ำไป ด้วยนักท่องเที่ยว บางคนติดใจ มาตั้งรกราก เปิดร้านอาหาร โรงแรม ร้านเหล้า และ แต่งงานกับสาวไทย ก็มากมาย

.

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทั้ง ปัญหา  จุดแข็ง  จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ของ ประเทศไทย ประกอบกับประสบการณ์ในวงการ ผัก ผลไม้สด อาหารกระป๋อง แช่เข็ง อาหารแห้ง  ของใช้บนโต๊ะอาหาร และ เครื่องครัว ของ ดร.วิลเลี่ยม วู คนไทย 100% บ้านเกิดแถวหัวลำโพง ตลาดน้อย  จึงทำให้แนวคิดหาทางออกโดยจัดทำ คลัสเตอร์ ของใช้ต่างๆในร้านอาหาร และ โรงแรม ขึ้น เนื่องจาก ร้านอาหาร และ โรงแรมไทย มีมาก แต่เชื่อไหมครับว่า ร้านอาหารเหล่านี้หาซื้อ อุปกรณ์ในการทำอาหารได้ยากมาก

.

เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร การจะจัดซื้อ จัดหาสินค้าให้ครบตามที่ กุ๊ก เชฟ ฝ่ายจัดเลี้ยง หรือ ตามที่ลูกค้าร้านอาหารแต่ละประเภทต้องการ บางอย่างจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อทำให้ บรรยากาศในการรับประทานอาหารนั้น สมบูรณ์แบบที่สุด  การใช้ทฤษฏีรวมกันเราอยู่ โดยนำเอา วัตถุดิบต่างๆในการปรุงอาหาร ของใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัวในการทำอาหาร ของตกแต่งร้านอาหาร หรือ แม้กระทั่งระบบการจัดการ และ ซอฟแวร์ในการบริหารร้านอาหาร มารวมกันนั้นในที่ๆเดียว เป็นเรื่องที่ฝ่ายจัดซื้อ ทุกคนกำลังรอคอย เพื่อลดภาระความยุ่งยาก และ งานด้านการสั่งซื้อ ให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น

.

ดร.วิลเลี่ยม วู ผู้ริเริ่มโครงการ คลัสเตอร์ นี้ จึงนำ บริษัท สยาม โฮรีก้า จำกัด มาเป็นตัวกลางในการยกกองทัพ อุปกรณ์ของใช้ เพื่อร้านอาหาร และโรงแรม มารวมกัน ที่ชั้น 5 ของ  ห้างเซียร์ รังสิต เพื่อให้เป็น แหล่งรวม ของใช้เพื่อร้านอาหาร และ โรงแรม จากไทย และอาเซียน โดยทำให้งานแสดงสินค้านานาชาติแห่งนี้ เป็นงานถาวร ที่เปิดทุกวัน ไม่มีวันหยุด และ เป็นจุดนัดพบ ซื้อ - ขาย แห่งใหม่ ของคนไทย และคนต่างชาติ ไม่ว่าคุณจะเป็น ผู้ซื้อ - ผู้ขาย หรือผู้อยากเปิดร้านอาหารของตนเอง เพียงแวะมาท่านก็จะเห็นสินค้ามากกว่า 100,000 รายการจากทั่วภูมิภาค

.

ตัวอย่างการทำ คลัสเตอร์ ในลักษณะนี้ จึงเป็นการทำที่ไม่ยุ่งยาก  มีจุดยืนที่ชัดเจน  โดดเด่นไม่ซ้ำใคร และสอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจมหภาค สามารถทำเป็นศูนย์ส่งออกไปต่างประเทศได้ อีกทั้งยังเป็น ศูนย์ค้าส่งนานาชาติ ที่คนต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้านสามารถแวะเวียนมาซื้อของได้  และรวมเอา อุตสาหกรรมหลัก หลากหลายอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของไทยมารวมกัน

.

เช่น อุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้ง เกษตรกรที่ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ อุตสาหกรรมเครื่องครัว อุตสาหกรรมของใช้บนโต๊ะอาหาร อุตสาหกรรมการออกแบบ และตกแต่งร้าน  อุตสาหกรรม คหกรรม และ พ่อครัว และที่สำคัญเป็น คลัสเตอร์ ที่สนับสนุน อุตสาหกรรมร้านอาหาร โรงแรม และการท่องเที่ยว จนทำให้ คลัสเตอร์ อุปกรณ์ของใช้ในร้านอาหาร และ โรงแรม ภายใต้เครื่องหมายการค้า โฮเร็กซ์ นี้  จึงจะเป็นตัวอย่างการทำ คลัสเตอร์ ที่ถูกที่  ถูกทาง และถูกเวลาในสถานการณ์ขณะนี้