เนื้อหาวันที่ : 2008-08-06 18:44:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1768 views

เอทานอล : พลังงานตัดทางเลือกเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

เมื่อโลกต้องอยู่ในภาวะของวิกฤตทางพลังงาน เทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาใช้แก้ปัญหา กลับถูกตั้งคำถามขึ้นมาอีกว่า นอกจากจะไม่แก้ปัญหาวิกฤติพลังงานดังกล่าวแล้ว ยังจะสร้างปัญหาอื่นๆ ขึ้นมาอีกไหม? ไม่ว่าจะเป็นการทำลายพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์และรักษาดุลภาพท่ามกลางวิกฤติโลกร้อน

เมื่อโลกต้องอยู่ในภาวะของวิกฤตทางพลังงาน  เทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะมาใช้แก้ปัญหา กลับถูกตั้งคำถามขึ้นมาอีกว่า นอกจากจะไม่แก้ปัญหาวิกฤติพลังงานดังกล่าวแล้ว  ยังจะสร้างปัญหาอื่นๆ ขึ้นมาอีกไหม?  ไม่ว่าจะเป็นการทำลายพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์และรักษาดุลภาพท่ามกลางวิกฤติโลกร้อน  และการสั่นคลอนปัญหาความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหารและโลกทั้งใบที่มนุษย์ยังคงไม่หยุดทำลายผลประโยชน์ที่กอบโกยได้จากนิเวศน์และหน่วยผลิตรายย่อย เพื่อความสะดวกสบายอย่างไร้ขีดจำกัดความพึงพอใจในยุคบริโภคนิยม  

.

เอทานอล ทำหน้าที่มาแทนน้ำมันเพียงบางส่วนเท่านั้น  แล้วในความเป็นจริงแล้ว เอทานอลสามารถมาทดแทนน้ำมันในโลกได้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อมีการโฆษณากันมากเกี่ยวกับการหันมาใช้เอทานอล ทำให้รัฐบาลในเกือบทุกประเทศในโลกหันมาสนับสนุนเอทานอล ด้วยการลดภาษี การให้ทุนอุดหนุนการผลิต ลดภาษีให้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเอทานอล หรือแม้แต่การลดภาษีให้กับอุตสาหกรรมที่พยายามจะผลิตเอทานอล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอทานอลรุ่นที่ 1 ผลิตจากพืชหลักๆ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม

.

.

สหรัฐเองก็มีการวางแผนไว้ว่า ภายในช่วงระยะเวลา 10 ปี จะต้องให้มีการผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแผนประมาณการนี้ จะทำให้บราซิลต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ป่าอะเมซอนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มาก เป็นปอดของโลก เป็นป่าดงดิบที่มีเหลืออยู่น้อยแล้วในโลกก็จะถูกบุกรุกมากยิ่งขึ้น   ในอินเดียหันมาปลูกพืชพลังงาน ซึ่งก็ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตเอทานอลกันมากขึ้น   ส่วนประเทศไทยเราใช้ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด  ขณะที่บริษัทซีพี (CP) ได้เข้าไปทำสัญญาในพม่าเพื่อลงทุนให้เกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาวและกัมพูชา ปลูกข้าวโพดมากขึ้น ตัดไม้พม่าแทนการบุกรุกป่าเมืองไทย เนื่องจากเมื่อพืชสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ ราคาผลผลิตทางเกษตรมันก็สูงขึ้นมาก 

.

เกษตรกรที่เคยปลูกพืชอาหาร เพื่อการยังชีพและขายก็หันมาปลูกพืชพลังงานแทนกันมากขึ้น ไม่ว่าในประเทศไหนๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย จำนวนพื้นที่ทางเกษตรที่มีอยู่จำนวนมากก็จะกลายไปเป็นพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน จะทำให้อนาคตราคาอาหารส่วนใหญ่ในโลกจะสูงแต่ผลประโยชน์นี้กลับตกถือมือเกษตรกรน้อยมาก  การปลูกพืชเชิงเดียวแปลงใหญ่นั้นใช้น้ำมากและขูดรีดแรงงาน ดังจะเห็นได้จาก ข้าวโพดซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิโก ตอนนี้ราคาข้าวโพดก็สูงขึ้นมาก เกษตรกรแบบยังชีพในเม็กซิโกได้หมดไปแล้ว เนื่องมาจากข้อตกลงนาฟต้า (NAFTA - ข้อตกลงเขตการค้าเสรีในทวีปอเมริกาเหนือ) ทำให้ข้าวโพดในสหรัฐเข้ามาตีตลาดในเม็กซิโก ซึ่งราคาข้าวโพดในตลาดโลกที่สูงนั้น ราคาข้าวโพดของเม็กซิโก้ก็ยิ่งสูงไปอีก เป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางอาหาร

.

การผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส จากพืชจำพวกยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นเอทานอลรุ่น 2 จะดูดน้ำ ทำให้ดินแห้งเหมือนทะเลทราย ทำลายสภาพแวดล้อม ซึ่งอีกปัญหาหนึ่งคือ เซลลูโลสส่วนใหญ่ในพืชจะพบอยู่ในสารที่เรียกว่าลิกนิน (Lignin) ในกากพืชที่จะนำเซลลูโลสออกมาทำเอทานอล จะต้องมีการย่อยสารลิกนินนี้ออกไป ซึ่งก็เหมือนที่ทำอยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษ ซึ่งก่อมลภาวะด้วย  ซึ่งบรรษัทย์ยักใหญ่เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมได้คิดค้น ยูคาลิปตัส GMO” ที่สามารถย่อยสลายลิกนินได้ในตัวมันเองเลย โดยใส่เอนไซม์เข้าไปในต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้ผลิตเซลลูโลสเลย การตัดและนำมาผลิตเอทานอลก็จะง่ายขึ้น   ยักษ์ใหญ่ก็ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น  หากแต่ยังเดินหน้าวิจัยเพื่อผลิต "สิ่งมีชีวิตเทียม"  ขึ้นมา  ย่อยสลายตัวเองแล้วให้พลังงานออกมาได้เลย และสิ่งมีชีวิตตัวนี้สามารถจดสิทธิบัตรได้ด้วย

.

คนที่ได้ประโยชน์จากพลังงานชีวภาพทั้งสามรุ่นนี้   คือ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ยักษ์ใหญ่ทั้ง 7 บริษัท ซึ่งผูกขาดการซื้อขายน้ำมันในโลก  อีกทั้งยังมีทุนสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย    กลุ่มที่ 2. คือ บริษัทธุรกิจเกษตร ซึ่งปกติเป็นเจ้าของไร่ขนาดใหญ่ ที่ผลิตธัญพืชอยู่แล้ว และทำพืชจีเอ็มโอด้วย  จะได้ประโยชน์ 3 ชั้นซ้อนกจาก ราคาพืชผลที่ผลิตเอทานอลสูงขึ้น , ราคาอาหารในโลกสูงขึ้น และการขายเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ ที่เกษตรกรก็จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัททุกปี

.

สรุปว่า "เอทานอล" จะทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ คือ กระทบต่อเรื่องอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหาร เพราะถ้าหากที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ถูกนำไปผลิตพลังงานหมด อาหารในโลกจะผลิตได้น้อยลง ต่อไปถ้าไม่อาจยังชีพได้ก็ต้องนำเข้าอาหารจากที่อื่น  แค่ปัจจุบันการที่เราเปิดเสรีทางการตลาดในโลกมากๆ คนที่ควบคุมอาหารกลายมาเป็นบริษัทใหญ่ๆ ธุรกิจใหญ่ๆ เกิดปัญหาสิทธิของเกษตรกร ซึ่งก็กลายเป็นแค่แรงงานในที่ดินตัวเอง ไม่สามารถยังชีพได้ รวมไปถึงปัญหาการแย่งน้ำ เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ปัญหาจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอในธรรมชาติ  

.

และโดยที่ พืชพลังงานที่จะนำมาผลิตเป็นเอทานอล อย่างข้าวโพดซึ่งก็เป็นพืชจีเอ็มโออยู่แล้ว ต่อไปอาจจะมีการวิจัยและผลิตเมล็ดพันธุ์ให้สามารถทนต่อยาฆ่าแมลงได้มากๆ โดยบริษัทธุรกิจเกษตรอ้างว่า คนไม่ได้บริโภคพืชพวกนี้ ทำให้เกิดการใช้ยาฆ่าแมลงสูงขึ้นในการเพาะปลูกพืชอื่นๆ ด้วย พืชจีเอ็มโอจะกระจายไปติดพืชที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ สิ่งมีชีวิตเทียมที่จะสร้างเอทานอลก็จะแพร่กระจายไปในสิ่งแวดล้อม

.

เรียบเรียงจาก เวทีเสวนา "เอทานอล : พลังงานไร้ทางเลือก"   โครงการสื่อสารแนวราบ (Local Talk Project) ร่วมกับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ในวันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ร้านเล่า จ.เชียงใหม่ http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=a1_18022008_01  (เข้าค้นเมื่อ18 กุมภาพันธ์ 2551) - ITPGR_rep[1].pdf

.

ที่มา : http://www.biothai.net