เนื้อหาวันที่ : 2006-08-29 11:03:11 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2425 views

ความเป็นมาในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ประเทศไทยของเรากำลังจะมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่งนั้นคือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องเก็บเพราะทุกวันนี้เราก็มีภาษีอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว

ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินกันมาบ้างว่าประเทศไทยของเรากำลังจะมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่งนั้นคือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องเก็บเพราะทุกวันนี้เราก็มีภาษีที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ในหลาย ๆ ตัวอยู่แล้ว จะเอาภาระอะไรมาเพิ่มให้ฉันอีก ทางคณะผู้เขียนจึงเห็นเป็นโอกาสในการทำความเข้าใจในการทำความเข้าใจกับบรรดาท่านผู้อ่านว่าจริง ๆ แล้วภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยทางคณะผู้เขียนจะขอเริ่มทำความเข้าใจจาก หลักการเก็บภาษี ความเป็นมาในเรื่องภาษีที่ดินและปลูกสร้าง และผลกระทบของการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

.
หลักการเก็บภาษี

เนื่องจากบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายถึง ความเป็นมาในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ปัจจุบันรัฐบาลได้ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขึ้น โดยมีความพยายามที่จะนำมาใช้ให้ทันภายในวันที่ 1 มกราคม 48) โดยก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว คณะผู้เขียนจะขออธิบายเรื่อง หลักการจัดเก็บภาษี ว่า ทำไมประชาชนจึงจำเป็นต้องมีหน้าที่เสียภาษีอากร และโครงสร้างภาษีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควรมีลักษณะอย่างไร

 .

โดยเราจะเริ่มกันจาก การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ การศึกษาถึงกลไกของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งหมายถึง ภาคเอกชน (Private Sector) และภาครัฐ (Public Sector) ภาคเอกชนมีบทบาทในฐานะเป็นหน่วยการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ ภาคเอกชนยังประกอบไปด้วย ธุรกิจ (Firm) ผู้ผลิต และแรงงาน (Labor) อันถือเป็นปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่ง

 .

การที่ภาครัฐมีบทบาทในฐานะเป็นผู้คุมกฎระเบียบต่าง ๆ (Law and Rule) เพื่อให้กลไกของระบบเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรัฐจำเป็นต้องสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆ ได้ ดังนั้น บทบาทประการสำคัญของรัฐในกลไกเศรษฐกิจคือ การเก็บภาษี และภาคเอกชนมีหน้าที่ในการจ่ายภาษี เพื่อนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ 

 .

ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ภาคเอกชนมีหน้าที่ในการชำระภาษีเพื่อรัฐจะได้นำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้เพราะรัฐมีหน้าที่สนับสนุนสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ถนน สร้างเขื่อน ไฟฟ้า เนื่องจากสาธารณูปโภคเหล่านี้เอกชนไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณมากหรือทำได้ก็ไม่คุ้ม ซึ่งในปัจจุบันนั้นฐานภาษีที่สำคัญที่รัฐดำเนินการจัดเก็บมาจากฐานภาษี 3 ประเภท อันได้แก่

 .

1.ภาษีที่มาจากรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.ภาษีที่มาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภค เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีรถยนต์

3.ภาษีที่มาจากทรัพย์สินทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์

 .

โดยโครงสร้างภาษีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาประเทศควรมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ

1. โครงสร้างภาษีควรเป็นไปในลักษณะที่หาทางลดการบริโภคของภาคเอกชน ในสินค้าหรือบริการประเภทที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้จ่ายของภาครัฐ กล่าวคือ โครงสร้างภาษีควรเป็นการดึงเอาเงินส่วนหนึ่งมาจากการใช้จ่ายในการบริโภคที่เกินกว่าที่ควร เช่น เก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย

2. โครงสร้างภาษีควรเน้นไปในทางการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภททุน ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือมี Value Added ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจน้อย เช่น เก็บภาษีรถยนต์ขนาดใหญ่ในอัตราที่สูงกว่ารถยนต์ปกติ หมายความว่าการใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างหรือผลกับการพัฒนาเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ปกติมากนัก

3. ควรหลีกเลี่ยง การเก็บภาษีจากกำไรของธุรกิจที่มาจากการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การเก็บภาษีสินค้าส่งออกบางประเภทที่ทำรายได้มาให้แก่ประเทศเป็นอย่างมาก ตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นคือ การเก็บค่า Premium ข้าวที่ส่งออก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวภายในประเทศ แต่ผลร้ายกลับตกอยู่กับเกษตรกรที่ต้องขายข้าวในราคาถูกให้พ่อค้าส่งออก เนื่องจากสิ่งที่พ่อค้าขาดทุนคือ กำไรเท่านั้น ดังนั้น การเก็บภาษีสินค้าส่งออกบางประเภทจึงมีผลกระทบค่อนข้างมาก

4. โครงสร้างภาษี ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในระยะยาว ด้วย เช่น ภาษีศุลกากร โดยเฉพาะภาษีสินค้าขาเข้าก็สมควรลดบทบาทลงไป เป็นต้น

5. โครงสร้างภาษี จะต้องอยู่ในรูปที่สามารถทำการบริหารได้ โดยใช้ทรัพยากรและบุคลากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

6. โครงสร้างภาษีจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่ประชาชน เช่น การเก็บอัตราภาษีก้าวหน้า (Progressive Tax Ratio) เป็นสิ่งจำเป็น ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเสียภาษี และความสำคัญของภาษีที่จะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพื่อให้ประชาชนเต็มใจให้ความร่วมมือในการเสียภาษีอย่างเต็มที่

7. โครงสร้างภาษีควรเน้นการพึ่งพารายรับจากภาษีหลาย ๆ ชนิด เพื่อกระจายภาระภาษีออกไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเพราะถ้าเก็บภาษีหลายชนิดเกินไป ก็อาจทำให้การบริหารไร้ประสิทธิภาพและเกิดการสูญเสียขึ้น

 .

โดยสรุป หลักการในเรื่องโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม คือ ต้องคำนึงถึงด้านการสร้างรายรับให้กับประเทศด้วย รวมทั้งคำนึงถึงความสามารถในการเสียภาษีของภาคเอกชน ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเน้นไปในด้านการเก็บภาษีทางตรง (Direct Tax) หรือภาษีที่เก็บจากฐานรายได้หรือทรัพย์สินให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดความสำคัญของภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) ที่เก็บจากฐานการบริโภคให้น้อยลง เว้นแต่ภาษีที่เก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าเกินความจำเป็น ภาษีเหล่านี้ควรเก็บให้มาก เพื่อลดการใช้จ่ายประเภทนี้ลง (ผลของการเก็บภาษีหรือมีโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้รัฐมีรายได้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศแล้ว ภาษียังเป็นเครื่องมือในการสร้างความเท่าเท่ยมให้กับคนในสังคมได้ด้วย โดยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้)

 .

ความเป็นมาในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สาเหตุสำคัญที่ต้องมีการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ เพราะ

 .

1. มีการกระจุกตัวในการถือครองที่ดิน ที่ดินส่วนมากในประเทศไทยยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการเก็งกำไร และการกระจุกตัวของผู้ถือครองที่ดิน ขณะเดียวกันการเก็บภาษีทรัพย์สินที่ใช้ในปัจจุบันในส่วนของภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ยังไม่ใช่เครื่องมือที่ดีพอในการลดปัญหาการกระจุกตัวในการถือครองที่ดิน กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำลังจะบังคับใช้นั้น จึงมีความต้องการให้ผู้ครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ต้องเสียภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า วิธีการที่จะควบคุมและลดปัญหาการเก็งกำไรที่ดินได้

 .

2. เพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่น การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการคลัง ซึ่งหมายถึง ให้ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการจัดเก็บรายได้ แม้ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน แต่ภาษีเหล่านี้มีระบบการประเมินและจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม มีข้อยกเว้นมาก ทำให้ผลการจัดเก็บไม่เหมาะสม ทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ในการจัดเก็บน้อย ขณะที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ช่วยให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากภาษีดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability to pay principal) กล่าวคือ ประชาชนทุกคนต้องเสียภาษี ใครมีทรัพย์สินมากก็ต้องเสียภาษีมาก จากหลักการ

 

 .

ดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันจะส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ต่อที่ดินอย่างมีประสิทธิากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันจะส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ต่อที่ดินอย่างมีประสิทธภาพ โดยเฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งถือเป็นค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถแก้ปัญหาการเก็งกำไรที่ดินโดยเป็นการบังคับทางอ้อมให้เจ้าของที่ดินต้องกระจายที่ดินออกมาเพื่อถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 .

กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของภาษีบำรุงท้องที่กับภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญดังนี้คือ

 .

1. เรื่องฐานภาษี จะใช้มูลค่าทรัพย์สิน (Capital Value) เป็นฐานในการคำนวณภาษี

2. อัตราภาษี ถูกกำหนดในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.1 การปรับลดอัตราภาษีให้ไม่เกินร้อยละ 0.1 นี้ จะทำให้ฐานภาษีกว้าง และมีผลกระทบมากขึ้น

3. นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังมีความพยายามจะขจัดปัญหาการกักตุนและเก็งกำไรที่ดิน โดยจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากเจ้าของที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ตามควร เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินไปสู่ภาคการผลิต

 .

ผลกระทบของการเก็บภาษีและสิ่งปลูกสร้าง

ผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องเสียภาษีที่อยู่อาศัย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดให้ประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มากน้อยตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อันจะทำให้ขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น ทั้งนี้ผลกระทบส่วนใหญ่น่าจะตกอยู่กับนายทุนมากกว่าประชาชนบุคลทั่วไปน่าจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เพราะจะทำให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมากขึ้นไม่กระจุกตังอยู่เฉพาะคนกลุ่มเดียว

.

1. ผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการสะสมที่ดิน (Land Bank) โดยภาษีดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนในการถือครองที่ดินสูงขึ้น ผู้ครอบครองส่วนใหญ่เป็น Land Developer จึงต้องมีการวางแผนโครงการเพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างชัดเจน

2. ผลกระทบต่อการใช้ที่ดินในภาคเกษตร โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้มีการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก้ปัญหาการสะสมที่ดินเพื่อเก็งกำไร การปล่อยที่ดินออกมา จะทำให้ภาคเกษตรมีทรัพยากรในการผลิตเพิ่มขึ้น

3. ผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นรอบตัวกระจายอำนาจทางคลังสู่ท้องถิ่น

 .

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็จะเป็นเรื่องใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย แน่นอนว่า ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลหลาย ๆ กลุ่มเสียประโยชน์ แต่ภาษีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเครื่องมือของรัฐในการแก้ปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินที่มีการกระจุกตัวในมือของคนไม่กี่กลุ่ม การบังคับทางอ้อมให้คนเหล่านี้ปล่อยที่ดินออกมาย่อมทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรได้เข้าถึงทรัพยากรที่ดิน ภาษีดังกล่าวยังสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลัง เป็นเครื่องมือของท้องถิ่นในการจัดเก็บรายได้ เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น เราคงต้องคิดต่อไปว่า การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะประสบผลสำเร็จอย่างที่เราคาดการณ์ไว้หรือไม่

 .
เอกสารอ้างอิง

1. แนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (2547), นพฤทธิ์ อนันอภิบุตร, วารสารการเงินการคลัง ปีที่ 17 ฉบับที่ 52 ก.พ.2547

2. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นมิตรกับคนจน (2547), นพฤทธิ์ อนันอภิบุตร, วารสารการเงินการคลัง ปีที่ 17 ฉบับที่ 52 มิ.ย. 2547

3. ปัญหา 108 ทางเศรษฐกิจ เล่ม 1 ความรู้เบื้องต้น (2523), ชมเพลิน จันทร์เรืองเพ็ญ และคณะ, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัท พิทักษ์ประชา จำกัด